ผู้ผลิตเพิ่มความหลากหลายของสินค้า “อาหารทะเลจากพืช” ตามความสนใจของผู้บริโภค

 

สินค้าอาหารทะเลจากพืช เช่น ปลาทอด ซาชิมิ ฯลฯ ที่ทำจากวัตถุดิบอย่างถั่วเหลือง ผงหัวบุก และพืชอื่นๆ ได้รับความสนใจจากผู้บริโภคในตลาดญี่ปุ่นมากขึ้น ผู้ผลิตมีการพัฒนาสินค้าใหม่ๆ ที่รูปร่างหน้าตาและรสชาติคล้ายของจริงออกว่างจำหน่ายอย่างต่อเนื่อง ด้วยความกังวลว่าทรัพยากรทางทะเลอาจลดลงเนื่องจากการจับสัตว์น้ำที่เกินขีดจำกัด “อาหารทะเลจากพืช” จึงอาจเป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับผู้บริโภคที่ให้ความสนใจในเรื่องการอนุรักษ์ธรรมชาติและการพัฒนาอย่างยั่งยืน
ผู้ผลิตเพิ่มความหลากหลายของสินค้า “อาหารทะเลจากพืช” ตามความสนใจของผู้บริโภคเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา บริษัท NH Foods Ltd. ได้วางจำหน่ายสินค้าปลาทอด “Fish Fly” ที่ทำจากวัตถุดิบ เช่น ถั่วเหลืองและสารสะกัดจากสาหร่าย สามารถใช้เครื่องปิ้งขนมปังอุ่นรับประทานได้สะดวก การพัฒนาผลิตภัณฑ์นี้ ใช้เวลาประมาณ 1 ปี และมีความยากตรงการเลียนแบบลักษณะเนื้อของเนื้อปลา ผู้บริโภคได้ให้ความเห็นว่า “ทั้งรสชาติและความเหนียวนุ่มของเนื้อดูไม่เหมือนเนื้อปลาจากพืช” บริษัทฯ มีแบรนด์สินค้าที่เป็นผลิตภัณฑ์ประเภท “เนื้อจากพืช” ที่ใช้วัตถุดิบโปรตีนจากพืชมาตกแต่งกลิ่นและรสชาติ ผลิตภัณฑ์ที่ออกจำหน่ายครั้งนี้ จึงได้นำเทคโนโลยีเหล่านั้นมาใช้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์
บริษัท Aeon Retail Co., Ltd. ได้วางจำหน่าย “Fish Fly” ในซูเปอร์มาร์เก็ตของบริษัทบางแห่งในเขตคันโตเหนือและจังหวัดทางภาคตะวันตก ซึ่งได้ให้ความเห็นว่า “เนื่องจากผลิตภัณฑ์เนื้อจากพืชจำหน่ายได้ดี จึงตัดสินใจวางจำหน่ายอาหารทะเลจากพืชด้วย”
เจ้าหน้าที่บริษัท NH Foods Ltd. กล่าวว่า “การขยายการผลิตสินค้าเนื้อจากพืชสู่อาหารทะเลจากพืช เป็นความพยายามที่จะแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับความยั่งยืนอีกขั้น” บริษัทฯ วางแผนจำหน่ายผลิตภัณฑ์ “popcorn shrimp” ที่ทำจากผงหัวบุกให้กับผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมอาหารในปลายเดือนพฤษภาคม และจะขยายช่องทางการจำหน่ายสู่ร้านอาหาร เช่น ร้านอิซากายะ (ร้านเหล้าสไตล์ญี่ปุ่น) เป็นต้น
บริษัทผู้ผลิตสินค้าอาหาร Azuma Foods Co., Ltd. ได้ใช้ผงหัวบุกในการพัฒนาสินค้าซีรีย์ “Marude Sakana Series” และ “Marude Salmon” 3 ชนิด มีการเลียนแบบเส้นไขมันของปลาที่มีลักษณะเฉพาะ วางจำหน่ายในรูปแบบแท่งปลาดิบซาชิมิ สามารถนำมาทำเป็นข้าว

ผู้ผลิตเพิ่มความหลากหลายของสินค้า “อาหารทะเลจากพืช” ตามความสนใจของผู้บริโภค

หน้าปลาหรือการ์ปัชโช (อาหารอิตาลี) ได้ หาซื้อได้ทางเว็บไซต์ออนไลน์ของบริษัทฯ และจำหน่ายได้กว่า 40,000 ชิ้นตั้งแต่เริ่มจำห

น่ายเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2564
เมื่อเดือนเมษายน 2565 สินค้าได้รับการรับรองตรา “VEGAN” จากองค์การไม่แสวงหาผลกำไร VegeProject Japan เจ้าหน้าที่บริษัทฯ มีความเห็นว่า “ผลิตภัณฑ์นี้ สามารถรับประทานได้ตั้งแต่ผู้บริโภคกลุ่ม vegan ตลอดจนผู้ป่วยหรือผู้ที่ต้องควบคุมสารโปรตีนอีกด้วย” บริษัทตั้งใจเพิ่มผลิตภัณฑ์ภายใต้ซีรีย์ดังกล่าวอีก 2 ชนิด ได้แก่ “ปูอัด” และ “Negitoro”
นอกจากบริษัทขนาดใหญ่แล้วบริษัทใหม่ๆก็ให้ความสนใจในการผลิต “อาหารทะเลจากพืช” เช่นกัน บริษัท Next meats ได้ใช้ถั่วเหลืองและไขมันจากพืชผลิต “Next Tuna 1.0” ปลากระป๋องทูน่าจำหน่ายในราคา 5 กระป๋อง 1,950 เยน (ประมาณ 490 บาท) ซึ่งจำหน่ายได้อย่างต่อเนื่อง และในอนาคตตั้งใจจะขยายช่องทางการจำหน่ายสู่อุตสาหกรรมร้านอาหาร  ร้านค้าปลีกก็ให้ความสนใจเช่นกัน ห้างสรรพสินค้าอิเซตัน สาขาชินจุกุ มีการจัดอีเวนท์ภายใต้ธีม “Plant Based Food” เจ้าหน้าที่ห้างฯ ให้ความเห็นว่า “หลังจากจัดอีเวนท์อยู่หลายครั้ง สังเกตได้ว่าผู้บริโภคเริ่มคุ้นเคยกับผลิตภัณฑ์เนื้อจากพืช และกลายเป็นทางเลือกใหม่ให้กับผู้บริโภค นอ

กจากกลุ่มเป้าหมายที่เป็นผู้หญิงแล้ว ยังได้รับการตอบรรับที่ดีจากกลุ่มผู้บริโภคชายสูงอายุที่ใส่ใจในสุขภาพอีกด้วย” การจัดงานครั้งต่อไป คือ ช่วงฤดูใบไม้ร่วงที่จะถึงนี้

ผู้ผลิตเพิ่มความหลากหลายของสินค้า “อาหารทะเลจากพืช” ตามความสนใจของผู้บริโภค

 

บริษัท NISSIN FOODS HOLDINGS CO.,LTD. 

ได้พัฒนาสินค้า “ปลาไหลย่าง” จากวัตถุดิบโปรตีนถั่วเหลืองเนื้อหยาบและไขมันจากพืช บริษัทสำรวจตลาด TPC Marketing Research ให้ความเห็นว่า “บริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง NH Foods Ltd. และบริษัทรายใหญ่อื่นๆให้ความสนใจในอาหารทะเลจากพืชมากขึ้น จึงคาดว่าตลาดจะขยายตัวอีกในอนาคต” จากข้อมูลขอ

งบริษัทฯ พบว่า มูลค่าตลาดเนื้อจากพืชในปี 2553 มีมูลค่าเท่ากับ 4,800 ล้านเยน (ประมาณ 1,200 ล้านบาท) ตลาดได้ขยายตัวขึ้นโดยมูลค่าตลาดในปี 2564 เท่ากับ 34,000 ล้านเยน (ประมาณ 8,500 ล้านบาท) และคาดการณ์ว่า ปี 2568 มูลค่าตลาดจะเพิ่มขึ้นเป็น 73,000 ล้านเยน (ประมาณ 18,000 ล้านบาท)

บทวิเคราะห์ (ผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย)
ที่ผ่านมา “เนื้อจากพืช” ได้กลายเป็นอาหารใกล้ตัว เนื่องจากมีสินค้าวางจำหน่ายในซูเปอร์มาร์เก็ตและร้านอาหารมากขึ้น อีกทั้งมีการพัฒนารสชาติและตัวเนื้อวัตถุดิบทำให้หาซื้อและรับประทานได้ง่ายขึ้น มีบริษัทหลายบริษัทพัฒนาสินค้าอย่างต่อเนื่องออกวางจำหน่าย ซึ่งบริษัทเหล่านี้ นอกจากการพัฒนาผลิตภัณฑ์เนื้อจากพืชแล้ว ยังหันมาสนใจที่จะพัฒนาอาหารทะเลจากพืชเพื่อเป็นการเพิ่มทางเลือกให้กับผู้บริโภค
นอกจากตลาดเนื้อจากพืชของญี่ปุ่นที่มีแนวโน้มเติบโตแล้ว ตลาดเนื้อจากพืชของโลกยังมีแนวโน้มขยายตัว โดยปี 2563 มีมูลค่าเท่ากับ 11,000 ล้านเหรียญสหรัฐ และคาดการณ์มูลค่าในปี 2573 เท่ากับ 88,600 ล้านเหรียญสหรัฐ ด้วยความตระหนักในเรื่องสิ่งแวดล้อม การพัฒนาอย่างยั่งยืน และความใส่ใจในสุขภาพของผู้บริโภคที่สูงขึ้น บริษัทญี่ปุ่นหลายบริษัทพยามที่จะช่วงชิงส่วนแบ่งตลาดเนื้อจากพืชที่กำลังเติบโต และเริ่มหันมาสนใจตลาด “อาหารทะเลจากพืช” ด้วยผู้บริโภคญี่ปุ่นมีความคุ้นเคยกับอาหารทะเล อาหารทะเลจากพืชจึงเป็นสินค้าที่มีโอกาสเติบโตอย่างต่อเนื่องในตลาดนี้ สำหรับผู้ประกอบการไทยในกลุ่มอุตสาหกรรมอาหาร มีหลายบริษัทที่ผลิตสินค้า “เนื้อจากพืช” และมีบางส่วนนำเข้าสู่ตลาดญี่ปุ่นแล้ว และคาดว่าปริมาณและมูลค่าการส่งออกจะขยายตัวต่อไปเนื่องจากราคาเนื้อสัตว์ที่แพงขึ้น ประกอบกับความใส่ใจสุขภาพและการพัฒนาอย่างยั่งยืน สำหรับอาหารทะเลจากพืช ผู้ผลิตไทยก็นับว่ามีศักยภาพในการผลิต เพราะมีการผลิตเนื้อปูอัดซุริมิและคามาโบโกะที่ทำจากเนื้อปลาบดเป็นปริมาณมากอยู่แล้ว อาหารทะเลจากพืชจึงเป็นอีกสินค้าหนึ่งที่น่าสนใจสำหรับผู้ประกอบการไทยในการพัฒนาสินค้าเพื่อส่งออกมาตลาดญี่ปุ่น

ฉบับที่ 35 ประจำวันที่ 27 พฤษภาคม – 2 มิถุนายน 2566

สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น
————————————–
อ้างอิง
หนังสือพิมพ์ Nikkei MJ ฉบับวันที่ 22 พฤษภาคม 2566
ภาพประกอบข่าวจากเว็บไซต์ https://www.nipponham.co.jp/
https://azumarche.jp/
https://shop.nextmeats.jp/
https://www.nissin.com/
ภาพประกอบแบนเนอร์ https://www.shoku-do.jp/

thThai