มาเลเซียได้รับผลกระทบจากการค้าโลกชะลอตัวอย่างรวดเร็ว

รายงานโดย Fitch Ratings ความว่า การค้าทั่วโลกกำลังชะลอตัวลงอย่างมากหลังจากการฟื้นตัวอย่างรวดเร็วหลังการระบาดใหญ่ในปี 2564 และ 2565 โดยมีปัจจัย อาทิ การคุมเข้มทางการเงิน การสนับสนุนทางการคลังที่ลดลง และการเปิดภาคบริการอีกครั้ง กำลังส่งผลกระทบต่ออุปสงค์สินค้าทั่วโลก ซึ่งช่วงที่เกิดโรคระบาดนั้นเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด

 

อีกทั้ง การผลิตภาคอุตสาหกรรมของโลกยังคงชะลอตัวลงอย่างรวดเร็วเช่นกัน ซึ่งการค้าบริการเพิ่มขึ้น แต่การผลิตภาคบริการเฉพาะทางทั่วโลกน้อยลง โดย Fitch คาดการณ์ว่า การเติบโตของการค้าโลกที่ร้อยละ 1.9 ในปี 2566
ซึ่งลดลงอย่างมาก จากร้อยละ 5.5 ในปี 2565 โดยจะสอดคล้องกับผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ทั่วโลก
ซึ่ง Fitch คาดการณ์ว่า ในปีนี้จะเติบโตร้อยละ 2.0 โดยลดลงจากร้อยละ 2.7 ใน 2565

 

การเติบโตทางการค้าดูเหมือนจะไม่น่าจะแซงหน้า GDP ในระยะกลางเนื่องจากโลกาภิวัตน์หยุดนิ่ง ซึ่งปริมาณการค้าสินค้าโลกกำลังลดลง แต่จะได้รับการชดเชยบางส่วนจากการฟื้นตัวของภาคการบริการ อย่างการท่องเที่ยวและการขนส่งฟื้นตัว อย่างไรก็ตาม ภาคการบริการ คิดเป็นร้อยละ 22 ของการค้าทั้งหมด แต่ยังไม่เพียงพอที่จะรองรับการเติบโตของการค้าโดยรวมทั้งประเทศ โดย Fitch ทางเล็งเห็นว่าห่วงโซ่อุปทานไม่ได้เป็นข้อจำกัดสำคัญต่อกระแสการค้าอีกต่อไป การชะลอตัวของการค้าปัจจุบันและดูเหมือนจะสะท้อนถึงอุปสงค์ที่ชะลอตัว

 

นอกจากนี้ Fitch รายงานเสริมว่า อุปสงค์สินค้าอุปโภคบริโภคของสหรัฐฯ และทั่วโลกกำลังอ่อนตัวลง ซึ่งส่งผลถึงการออกมารตการต่างๆ อาทิ การยุติมาตรการกระตุ้นทางการคลังที่มุ่งเน้นผู้บริโภคของสหรัฐฯ การคุมเข้มทางการเงิน
และการปรับสมดุลของอุปสงค์กลับไปสู่การใช้ภาคบริการ หลังจากปัจจุบันมีการการยกเลิกมารตการต่างๆ ในช่วงโควิด-19

 

อุปสงค์สินค้าที่ลดลงสืบเนื่องมาจากการชะลอตัวของการผลิตภาคอุตสาหกรรมทั่วโลกนั้นมากกว่า GDP ทั่วโลก
โดยการค้าสินค้าทั่วโลกเป็นไปตามวัฏจักรการผลิตภาคอุตสาหกรรมมากกว่า GDP เนื่องจากการผลิตสินค้ามีความเป็นสากลมากขึ้น การคาดการณ์ของ Fitch เกี่ยวกับอัตราส่วนการค้าต่อ GDP ที่คงที่นั้น ตรงกันข้ามกับการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องที่เห็นได้จากช่วงต้นทศวรรษ 1990 ถึงกลางทศวรรษที่ผ่านมา แต่ในขณะที่หลักฐานบางอย่างของการเปลี่ยนทิศทางการค้าเกิดขึ้น แต่ก็ไม่มีหลักฐานใด ๆ ในขั้นตอนนี้ว่าโลกาภิวัตน์กำลังจะย้อนกลับ

 

 

ความคิดเห็น สคต.

สคต. เล็งเห็นถึงปัจจัยสำหรับการชะลอตัวของการค้า เนื่องจากนโยบายการเงินที่เข้มงวดขึ้น การสนับสนุนทางการคลังที่ลดลง ซึ่งมีส่วนทำให้การค้าขายนั้นน้อยกว่าภาคผลิตสินค้า ในความเป็นจริงปัจจุบันมวลการค้าขายสินค้ากำลังลดลงแต่ท่องเที่ยวและการขนส่งกำลังฟื้นตัวซึ่งส่งผลให้ภาคการบริการเพิ่มขึ้น แต่มีเพียงบางส่วนเท่านั้นสามารถชดเชยได้ อีกทั้ง ความต้องการสินค้าของผู้บริโภคที่ลดลงทำให้การผลิตภาคอุตสาหกรรมลดลงอย่างรวดเร็ว และยังส่งผลให้ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่อ่อนตัว เช่น ทองแดง และผลผลิตภาคอุตสาหกรรมที่ลดลงในจีน โดยผู้ประกอบการควรคำนึงถึงความเสี่ยงและปัญหาทางการค้าที่อาจเกิดขึ้นในช่วงภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวลง อย่างไรก็ตาม สคต. คาดหวังความกังวลดังกล่าวจะส่งผลกระทบต่อการส่งออกของไทยไม่มากก็น้อยแต่ยังคาดการณ์ว่าการส่งออกของไทยไปยังประเทศมาเลเซียจะยังคงแข็งแกร่งต่อไป

 

 

สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์

thThai