AEON ตั้งเป้ายอดจำหน่ายสินค้าออร์แกนิก 60,000 ล้านเยน

AEON ตั้งเป้ายอดจำหน่ายสินค้าออร์แกนิก 60,000 ล้านเยนบริษัท AEON TOPVALU Co.,Ltd. ตั้งเป้ายอดจำหน่ายสินค้าซีรี่ย์ “TOPVALU (TV) green eye organic” ในปี 2568 เท่ากับ 60,000 ล้านเยน (ประมาณ 15,000 ล้านบาท) กระตุ้นยอดจำหน่าย 3 เท่าเมื่อเทียบกับยอดจำหน่ายปีที่ผ่านมา เพื่อช่วงชิงและครองตลาดสินค้าออร์แกนิกภายในประเทศญี่ปุ่นให้ได้ร้อยละ 30
สินค้าซีรี่ย์นี้ เป็นแบรนด์สินค้าซึ่งAEON ตั้งเป้ายอดจำหน่ายสินค้าออร์แกนิก 60,000 ล้านเยนเป็น top runner ในกลุ่มสินค้ารักษ์โลกที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมของบริษัทฯ มีผลิตภัณฑ์หลากหลาย เช่น ถั่ว ผลไม้อบแห้ง ผักแช่แข็ง อาหารแปรรูป ฯลฯ ซึ่งปัจจุบัน สินค้าซีรี่ย์นี้มีประมาณ 2,000 รายการ โดยในปี 2568 ทางบริษัทฯได้วางแผนเพิ่มรายการสินค้า 3 เท่าเช่นเดียวกับยอดจำหน่าย และยังมีแผนด้านมาตรการเรื่องสิ่งแวดล้อมด้วย โดยบริษัทตั้งใจจะเปลี่ยนสินค้าแบรนด์ TOPVALU ให้เป็นสินค้า 3R (Reduce Reuse Recycle) ในปี 2568 โดยจะพิมพ์เครื่องหมาย 3R บนบรรจุภัณฑ์ เพื่อแสดงให้เห็นว่าสินค้าแบรนด์ TOPVALU นั้นเป็นสินค้าที่มีส่วนช่วยให้เกิดสังคมหมุนเวียน (circulating society) ขึ้นจริง
AEON ตั้งเป้ายอดจำหน่ายสินค้าออร์แกนิก 60,000 ล้านเยนเนื่องจากในปีนี้ เป็นปีที่สินค้าซีรี่ย์ “TOPVALU (TV) green eye organic” ครบรอบ 30 ปี นอกจากทางบริษัทฯจะมีแผนเพิ่มประเภทสินค้าแล้ว ยังมีแผนในการออกแบบบรรจุภัณฑ์ใหม่ และจัดทำโลโก้ครบรอบ 30 ปี เพื่อช่วยในการดึงดูดผู้บริโภคอีกด้วยปีนี้ อีกทั้ง ทางบริษัทกำลังพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ และพร้อมสานสัมพันธ์ความร่วมมือกับผู้ผลิตให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น โดยปัจจุบัน นอกจากทางบริษัทฯ จะมีผลิตภัณฑ์ซีรี่ย์ “TV green eye organic” นี้แล้ว ยังมีสินค้าซีรี่ย์ “TV green eye natural” ซึ่งเป็นซีรี่ย์ผลิตภัณฑ์ออร์แกนิกที่เป็น Private brand (PB) ที่มีมูลค่าจำหน่ายปลีกสูงสุดในญี่ปุ่นAEON ตั้งเป้ายอดจำหน่ายสินค้าออร์แกนิก 60,000 ล้านเยน
สำหรับมูลค่าตลาดสินค้าออร์แกนิกในประเทศญี่ปุ่นนั้น ยังมีแนวโน้มขยายตัวอย่างต่อเนี่อง จากการสำรวจพบว่า ในปี 2560 ผู้บริโภคร้อยละ 42 ให้ความสนใจสินค้าออร์แกนิก และในปี 2563 เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 53 ซึ่งเกินครึ่งหนึ่ง นอกจากนี้ ภาพลักษณ์ของสินค้าออร์แกนิก แบ่งตามกลุ่มอายุพบว่า กลุ่มผู้บริโภคช่วงอายุ 20 ปี (20 – 29 ปี) ร้อยละ 79 เห็นว่า “สินค้าออร์แกนิกดีต่อโลก” และกลุ่มผู้บริโภคช่วงอายุ 60 ปี (60 -69 ปี) ร้อยละ 84 เห็นว่า “สินค้าออร์แกนิกดีต่อสุขภาพ” อีกด้วย
และเมื่อวิเคราะห์โดยแบ่งกลุ่มผู้บริโภคตามความสนใจออกเป็น 3 กลุ่มพบว่า ร้อยละ 13 เป็น “กลุ่มกรีน” หรือกลุ่มที่สนใจและมีพฤติกรรมบริโภคสินค้าออร์แกนิก ร้อยละ 77 เป็น “กลุ่มไลท์กรีน” หรือกลุ่มผู้บริโภคที่มีความสนใจแต่ยังมีขีดจำกัดในการบริโภคสินค้าออร์แกนิก และร้อยละ 11 เป็น “กลุ่มเกรย์” เป็นกลุ่มที่ไม่สนใจและไม่มีพฤติกรรมบริโภคสินค้าออร์แกนิก ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีสัดส่วนน้อยที่สุด ซึ่งประธานบริษัท AEON TOPVALU Co.,Ltd. ก็ได้ให้ความเห็นว่า “กลุ่มกรีน” เป็นกลุ่มผู้บริโภคที่รู้จักและซื้อสินค้าออร์แกนิกอยู่แล้วตามร้านค้า เช่น ร้าน Bio c’ Bon ส่วน “กลุ่มไลท์กรีน” ก็มีจำนวนเพิ่มขึ้นและมีพฤติกรรมเปลี่ยนไป

บทวิเคราะห์ (ผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย)
ประเทศญี่ปุ่นเป็นตลาดสินค้าอาหารออร์แกนิกที่มียอดขายเป็นอันดับ 2 ในเอเชียรองจากประเทศจีน และเป็นตลาดที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 13 ของโลก ประเทศญี่ปุ่นเองมีการผลิตสินค้าอาหารออร์แกนิกโดยใช้มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ของตัวเองในชื่อว่า Organic JAS โดยในปัจจุบันประเทศญี่ปุ่นมีมูลค่าตลาดสินค้าอาหารออร์แกนิกอยู่ประมาณ 60,000 ล้านบาท/ปี แต่ประเทศญี่ปุ่นมีผลผลิตต่อปีอยู่เพียง 66,824 ตัน ซึ่งส่วนมากคือสินค้าประเภทผักและข้าว เนื่องจากประเทศญี่ปุ่นมีพื้นที่จำกัดจึงไม่สามารถขยายพื้นที่เพาะปลูกได้ การที่ตลาดอาหารออร์แกนิกในญี่ปุ่นมีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง จึงเป็นโอกาสที่ดีของสินค้าออร์แกนิกนำเข้าซึ่งรวมถึงสินค้าของไทยด้วย

สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงโตเกียว
ฉบับที่ 37 ประจำวันที่ 10 – 16 มิถุนายน 2566
————————————–
อ้างอิงและเรียบเรียงจาก
หนังสือพิมพ์ The Japan Food Journal ฉบับวันที่ 7 มิถุนายน 2566
ภาพประกอบข่าวจากเว็บไซต์ https://www.topvalu.net/gurinai/organic/
ภาพประกอบแบนเนอร์ https://www.topvalu.net/gurinai/organic/

thThai