แนวโน้มการตลาด

ในบังกลาเทศ เครื่องดื่มสามัญที่เป็นที่รับรู้กันทั่วไป หมายถึง การดื่มชา ตามร่องรอยวัฒนธรรมที่อังกฤษทิ้งไว้  แต่เมื่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศและประชากรมีรายได้เพิ่มสูงขึ้น ทำให้รสนิยมการบริโภคของผู้คนสมัยใหม่เปลี่ยนไป กาแฟจึงกลายเป็นหนึ่งในเครื่องดื่มยอดนิยมอย่างที่ชาเคยครอบครองมายาวนาน

เมื่อพิจารณาถึงคุณประโยชน์ต่อสุขภาพและรสชาติที่เป็นเอกลักษณ์ ผู้บริโภคจำนวนมากหันมาสนใจการดื่มกาแฟ ผู้บริโภคบางคนถึงกับเปลี่ยนไปดื่มกาแฟโดยเลิกดื่มชาไปเลย โดยเฉพาะกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่มีความเชื่อว่า การดื่มกาแฟระหว่างพักงานช่วยเพิ่มพลังงานและช่วยให้ทำงานได้กระฉับกระเฉงขึ้น ด้วยเหตุนี้ ความต้องการบริโภคกาแฟจึงเพิ่มขึ้นอย่างมาก และในช่วงหลายปีที่ผ่านมาตลาดก็เติบโตอย่างแข็งแกร่ง โดยความต้องการกาแฟอยู่ที่ประมาณ 1,750 ตัน และอัตราการเติบโตร้อยละ 10 ต่อปี

เนื่องจากรายได้ที่เพิ่มขึ้นและรสนิยมที่เปลี่ยนแปลงไปตามระดับรายได้ ทำให้ผู้บริโภคเปลี่ยนความสนใจไปดื่มเครื่องดื่มคุณภาพระดับพรีเมียม ในตลาดมีกาแฟหลากหลายรสชาติให้ลิ้มลอง แตกต่างกันไปจากกรรมวิธีการคั่ว การชงและการเพิ่มส่วนผสมต่างๆ  โดยผู้บริโภคสามารถปรับแต่งเครื่องดื่มให้ตรงกับความต้องการของตนเองได้ รวมทั้งสามารถเพลิดเพลินการดื่มให้สอดคล้องกับฤดูกาล โดยดื่มกาแฟร้อนในช่วงอากาศเย็นและกาแฟเย็นในช่วงอากาศร้อนหรือแล้วแต่ความต้องการของผู้บริโภคแต่ละราย

กาแฟเป็นตัวเลือกอันดับต้น ๆ ของผู้บริโภคเนื่องจากเป็นเครื่องดื่มที่ปรับแต่งได้หลากหลายรสชาติ กลายเป็นเครื่องดื่มยอดนิยมของสังคมสมัยใหม่ไปโดยปริยาย ปัจจุบันผู้คนนิยมดื่มกาแฟในระหว่างการประชุมทางเจรจาธุรกิจ การเมือง การพบปะระหว่างเพื่อนฝูง การเรียนเป็นกลุ่ม และกิจกรรมทางสังคมอื่นๆ คนรุ่นใหม่นิยมดื่มกาแฟมากกว่าเครื่องดื่มอื่นๆ

จากการศึกษาของบริษัท Nestlé บังกลาเทศ พบว่าประชากร 35 ล้านคนในประเทศมีรายได้ต่อหัวอยู่ที่ 4,000-5,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ คนมีเงินกลุ่มนี้พร้อมที่จะจ่ายเพื่อซื้อเครื่องดื่มที่มีคุณภาพ โดย Nestlé บังกลาเทศซึ่งเป็นผู้ผลิตและนำเข้ารายใหญ่ เป็นผู้นำตลาดด้วยส่วนแบ่งมากกว่าร้อยละ 39

เนื่องจากความต้องการเพิ่มขึ้นทุกวัน ร้านกาแฟต่างๆ จึงเปิดขึ้นทั่วประเทศ โดยเฉพาะในเมืองใหญ่ ตอนนี้จึงเป็นเรื่องยากที่จะหาพื้นที่ในกรุงธากาที่ไม่มีร้านกาแฟ ร้านค้าเหล่านี้ขายกาแฟมากกว่า 20 ชนิดที่มีรสชาติแตกต่างกัน รวมทั้งมีกาแฟสำเร็จรูปขายในแผงขายชาริมถนน ส่งผลให้เกิดการแข่งขันในด้านการบริการ การตกแต่งร้านที่ดึงดูดลูกค้ามากขึ้น ร้านกาแฟ North End Coffee Roasters ซึ่งเป็นร้านที่เป็นที่รู้จักกันดีในกรุงธากา มีสาขามากกว่า 10 แห่ง มียอดขายเครื่องดื่มกาแฟโดยเฉลี่ย 400-500 แก้วต่อวันต่อสาขา และยังผลิตกาแฟบดพร้อมชงหลากหลายรสชาติออกจำหน่ายอีกด้วย โดยมีร้าน Rich Café ซึ่งมีจำนวนสาขาและยอดขายใกล้เคียงกันเป็นคู่แข่งสำคัญ

โอกาสทางการตลาด

เครื่องดื่มกาแฟในบังกลาเทศเป็นเครื่องดื่มของหมู่ผู้มีอันจะกิน ซึ่งยังนับว่าน้อยมากเมื่อเทียบจำนวนประชากรที่มีนัยสำคัญในเชิงปริมาณ นอกจากนี้ กาแฟเป็นที่นิยมโดยคนรุ่นใหม่รวมถึงนักเรียนและคนวัยทำงานเป็นส่วนใหญ่ ส่งผลให้ตลาดกาแฟเติบโตได้ไม่รวดเร็วเท่าที่ควร ในทางกลับกัน ยังมีคนส่วนหนึ่งเข้าใจผิดว่ากาแฟมีรสขมและผู้ดื่มกาแฟจะมีปัญหาการนอนหลับ

คนวงในให้ความเห็นว่า หากกาแฟได้รับการส่งเสริมอย่างกว้างขวาง ตลาดจะเติบโตเร็วขึ้น และผู้บริโภคจะได้รับประโยชน์จากเครื่องดื่มที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ และปัจจุบันกาแฟเป็นเครื่องดื่มที่ครองตลาดเพียงร้อยละ 45 เท่านั้น เนื่องจากประชากรส่วนใหญ่ยังคงไม่มีความสามารถเข้าถึงกาแฟได้ และมีเครื่องดื่มอย่างชาซึ่งมีราคาถูกกว่า และสามารถหาซื้อได้อย่างแพร่หลายทั่วไปมาทดแทน

 ภาพรวมตลาด:

บังกลาเทศนําเข้ากาแฟสําเร็จรูปเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งอยู่ที่ประมาณร้อยละ 86 และส่วนที่เหลือร้อยละ 14 เป็นการนำเข้าเมล็ดกาแฟที่คั่วแล้วและที่เป็นเมล็ดกาแฟดิบ ในช่วงห้าปีที่ผ่านมาโดยเฉลี่ยแล้วตลาดกาแฟขยายตัวในอัตราร้อยละ 20.31 ความต้องการกาแฟต่อปีมีมากกว่า 1,700 ตัน แม้ว่าชาจะเป็นเครื่องดื่มยอดนิยมในบังกลาเทศมานานอย่างยาวหลายทศวรรษ แต่ความต้องการกาแฟก็เพิ่มขึ้นอย่างมากเช่นกัน

รสนิยมการดื่มเครื่องดื่มเปลี่ยนไปในช่วงต้นทศวรรษ 2000 เมื่อกาแฟสําเร็จรูปของเนสกาแฟได้รับความนิยม จากการที่บริษัท Nestlé นำเข้ามาจำหน่ายในตลาดกาแฟบังกลาเทศ จนถึงปัจจุบัน เนสกาแฟแบบซองครองตลาดกาแฟส่วนใหญ่ สามารถหาซื้อผลิตภัณฑ์ได้ทั่วไปในแม้ในร้านขายของชำเล็กๆ  นอกจากนี้ยังมียี่ห้อกาแฟสำเร็จรูปอื่นๆ ที่พยายามเข้ามามีส่วนแบ่งในตลาด เช่น Kofi, MacCoffee,  Davidoff, Bon  cafe, Torabika, Royal cafe, Good Day, Lavazza, Douwe Egberts,  OldTown, kopiko, starbucks เป็นต้น อย่างไรก็ตาม กาแฟยี่ห้อเหล่านี้ หาซื้อได้เฉพาะในเขตตัวเมืองเท่านั้น เมื่อเร็ว ๆ นี้มีกาแฟสองยี่ห้อ ได้แก่ เขาช่องและบัดดี้ดีน เข้ามาทำการตลาดด้วย

 

การผลิตในประเทศ:โครงการของรัฐบาลกระตุ้นการผลิต

ตามข้อมูลของแผนกพืชสวน กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรบังกลาเทศ การปลูกกาแฟเริ่มต้นขึ้นในพื้นที่บางส่วนเขตเชิงเขาด้านตะวันออกเฉียงเหนือที่ติดชายแดนอินเดียและเมียนมาร์มาตั้งแต่ทศวรรษที่ 1990 รัฐบาลมุ่งมั่นที่จะส่งเสริมพืชเศรษฐกิจตัวใหม่ที่มีศักยภาพในตลาดและตั้งเป้าเป็นผู้ส่งออกกาแฟ

ปัจจุบัน ท่ามกลางความต้องการที่เพิ่มขึ้น การปลูกกาแฟได้ขยายออกไปนอกพื้นที่แนวเชิงเขาไปยังพื้นที่ราบอื่นๆ รวมถึง Nilphamari, Tangail และ Moulvibaza มีการเพาะปลูกสายพันธุ์โรบัสต้าและอาราบิก้าในเชิงพาณิชย์ เนื่องจากได้รับความสนใจจากเกษตรกรมากขึ้น กรมส่งเสริมการเกษตรและสถาบันวิจัยการเกษตรบังกลาเทศ ใช้เงินอุดหนุนจำนวน 2 พันล้านตากาในการส่งเสริมและพัฒนากาแฟ แต่ยังไม่ประสบความสำเร็จมากนัก

การนําเข้า:

ด้วยอุปสงค์ในประเทศที่เพิ่มขึ้น บังกลาเทศนำเข้ากาแฟจากต่างประเทศ เช่น อินเดีย มาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เกาหลี เวียดนาม ไทย  สหรัฐอเมริกา และออสเตรเลีย ปริมาณการนำเข้าเพิ่มขึ้นอย่างมากในช่วงหลายปีที่ผ่านมา จากข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติ บังกลาเทศนําเข้ากาแฟรวมในปี 2563-64 ปริมาณ 1,749,460 กิโลกรัม ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาอัตราการเติบโตเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 20.31% ปริมาณการนําเข้าและมูลค่าของกาแฟรวมแสดงอยู่ในตารางด้านล่าง

ปริมาณมูลค่ากาแฟนำเข้าของบังกลาเทศ

เมล็ดกาแฟ, กาแฟสำเร็จรูป

ปี 2559-60 ถึง 2563-64 (ก.ค.- มิ.ย.)

ปี ปริมาณ (กก.) มูลค่ารวม US$ Δ ปริมาณรวม Δ มูลค่ารวม
เมล็ดกาแฟ กาแฟสำเร็จรูป ปริมาณรวม
255960 176,437 900,984 1,077,421 6,200,858 39.14 55.33
256061 296,789 1,210,006 1,506,795 7,197,240 39.85 16.07
256162 261,420 1,065,770 1,327,190 9,187,570 -11.92 27.65
256263 248,344 1,621,738 1,870,082 13,425,802 40.91 46.13
256364 228,592 1,520,868 1,749,460 11,766,101 -6.45 -12.36

ที่มา:  สำนักงานสถิติแห่งชาติ Bangladesh Bureau of Statistics (BBS)

หมายเหตุ:  มูลค่ารวม คำนวณจาก Taka เป็น US$ จากอัตราแลกเปลี่ยนเฉลี่ยรายปี

Rate:  TK 93.00 (2563-64),  84.81 (2562-63), 84.78 (2561-62) 84.02 (2560-61), 82.10 (2559-60)

 

ผู้เล่นหลักในตลาด:

อินเดียเป็นซัพพลายเออร์รายใหญ่ของสินค้ากาแฟ ไปยังตลาดบังกลาเทศซึ่งส่งออกไปเป็นจำนวน 972,813 กิโลกรัม ในปี 2563-64 ส่วนแบ่งการตลาดของอินเดียอยู่ที่ร้อยละ 55.61 ในแง่ของปริมาณและร้อยละ 56.79 ในแง่ของมูลค่า ส่วนมาเลเซีย เป็นซัพพลายเออร์รายใหญ่อันดับ 2 โดยส่งออกไปยังบังกลาเทศปริมาณ 191,772 กิโลกรัมในปี 2563-64 ส่วนแบ่งการตลาดของมาเลเซียอยู่ที่ร้อยละ 10.96 ในแง่ของปริมาณ สิงคโปร์ เป็นซัพพลายเออร์รายใหญ่อันดับ 3 โดยส่งออกไปบังกลาเทศจำนวน 177,785 กิโลกรัม ส่วนแบ่งการตลาดในแง่ของปริมาณของสิงคโปร์อยู่ที่ร้อยละ 10.16 นอกจากนั้น บังกลาเทศยังนําเข้ากาแฟจากอินโดนีเซีย สหรัฐอาหรับ
เอมิเรตส์ เกาหลี เวียดนาม ไทยและประเทศอื่น ๆ  ตามปริมาณและมูลค่าดังที่แสดงไว้ด้านล่าง

ปริมาณนำเข้ากาแฟรวมของบังกลาเทศ

ปี 2563-64 (ก.ค.- มิ.ย.)

 

ลำดับ ประเทศ ปริมาณ (กก.) มูลค่า US$ ส่วนแบ่งปริมาณ % ส่วนแบ่งมูลค่า %
1 India 972,813 6,681,407 55.61 56.79
2 Malaysia 191,772 1,369,194 10.96 11.64
3 Singapore 177,785 1,085,374 10.16 9.22
4 Indonesia 136,845 891,006 7.82 7.57
5 UAE 120,644 768,340 6.90 6.53
6 Korea 31,842 204,949 1.82 1.74
7 Vietnam 24,633 145,044 1.41 1.23
8 Thailand 10,852 63,881 0.62 0.54
  Other countries 82,274 556,905 4.703 4.73
Total 1,749,460 11,766,101 100.00 100.00

ที่มา:  สำนักงานสถิติแห่งชาติ Bangladesh Bureau of Statistics (BBS)

หมายเหตุ: มูลค่ารวม คำนวณจาก Taka เป็น US$ จากอัตราแลกเปลี่ยนเฉลี่ยรายปี 1US$=TK 93.00

 

การนําเข้าจากประเทศไทย:

จากสถิติของสำนักงานสถิติแห่งชาติบังกลาเทศ ในปี 2563-64 บังกลาเทศนําเข้าจำนวน 10,852 กก. เป็นลำดับ 8 ซึ่งมีมูลค่า 63,881 เหรียญสหรัฐฯ นำเข้าไปจำหน่ายในห้างสรรพสินค้าและจำหน่ายออนไลน์ ถือว่ายังส่วนแบ่งในตลาดน้อย สาเหตุสำคัญมาจากอัตราภาษีนำเข้าค่อนข้างสูงทำให้ราคาจำหน่ายสูงตามไปด้วย ขนาดของสินค้า ยี่ห้อสินค้ามีส่วนสำคัญต่อการตัดสินใจของผู้บริโภค นอกจากนั้นการนำเข้าของผู้นำเข้านิยมนำเข้าไปจำนวนน้อย สินค้าจึงขาดตลาด ปริมาณการนำเข้าและมูลค่าในช่วงที่ผ่านมาแสดงอยู่ในตารางด้านล่าง

 ปริมาณนำเข้ากาแฟจากไทย

ปี 2559-64 (ก.ค.- มิ.ย.)

 

ปี ปริมาณ (กก.) มูลค่า US$ ปริมาณ Δ% มูลค่า Δ%
255960 7,055 26,786
256061 13,043 33,555 84.88 25.27
256162 4,873 33,820 -62.64 0.79
256263 5,575 34,074 14.41 0.75
256364 10,852 63,881 94.65 87.48

ที่มา:  สำนักงานสถิติแห่งชาติ Bangladesh Bureau of Statistics (BBS)

หมายเหตุ:  มูลค่ารวม คำนวณจาก Taka เป็น US$ จากอัตราแลกเปลี่ยนเฉลี่ยรายปี

Rate:  TK 93.00 (2563-64),  84.81 (2562-63), 84.78 (2561-62) 84.02 (2560-61), 82.10 (2559-60)

 

 นโยบายการนําเข้า:

กาแฟเป็นสินค้านําเข้าที่ต้องได้รับอนุญาตจาก Chief Controller, Import & Export (CCI&E) กระทรวงพาณิชย์ การนำเข้าสินค้าจะต้องมีใบรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า ใบรับรองความปลอดภัยในการบริโภคของมนุษย์ ที่ออกโดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของประเทศผู้ส่งออก ผู้นําเข้ากาแฟจะต้องนำกาแฟไปทดสอบการปนเปื้อนสารกัมมันตภาพรังสีและการรับรองจากสถาบันทดสอบมาตรฐานบังกลาเทศ (BSTI) เมื่อผ่านขั้นตอนต่างๆ แล้วสินค้าจะได้รับอนุญาตการตรวจปล่อยจากท่าเรือ

อัตราภาษีนําเข้า:

ปัจจุบันอัตราอากรในการนําเข้ากาแฟ ร้อยละ  58.60-89.32 แตกต่างกันตามประเภทพิกัดและขนาดการบรรจุหีบห่อ รายละเอียดของภาษีนําเข้ามีดังต่อไปนี้

ภาษีนําเข้า

ปี 2566-67 (ก.ค.- มิ.ย.)

HS. Code Description CD SD VAT AIT RD AT TTI
09011110 Coffee, Not Roasted or Decaffeinated 25 20 15 5 3 5 89.32
09011190 Coffee, Not Roasted or Decaffeinated 25 0 15 5 3 5 58.60
09011210 Decaffeinated coffee, not roasted, wrapped/canned up to 2.5 KG 25 20 15 5 3 5 89.32
09011290 Decaffeinated coffee, not roasted, Excl wrapped/canned 25 0 15 5 3 5 58.60
09012110 Roasted coffee, not decaffeinated, wrapped/canned up to 2.5kg 25 20 15 5 3 5 89.32
09012190 Roasted coffee, not decaffeinated, Excl wrapped canned 25 0 15 5 3 5 58.60
09012210 Roasted, decaffeinated coffee Wrapped/canned up to 2.5 kg 25 20 15 5 3 5 89.32
09012290 Roasted, decaffeinated coffee excl. Wrapped/canned up to 2.5 kg 25 0 15 5 3 5 58.60
09019010 Coffee husks and skins, coffee substitutes containing coffee Wrapped/canned up to 2.5 k 25 20 15 5 3 5 89.32
09019090 Coffee husks and skins, coffee substi contain coffee excl. Wrapped/canned up to 2.5 k 25 0 15 5 3 5 58.60
2101.11.00 Extracts, Essence and concentrates of coffee 25 20 15 5 3 5 89.32
2101.12.00 Preparations with a basis of extract essences or concentrates or with a basis of coffee. 25 20 15 5 3 5 89.32

Notes:   CD = Custom Duty, RD= Regulatory Duty, SD = Supplementary Duty, VAT=Value Added Tax, AT= Advance Tax, AIT =Advance Income Tax, TTI= Total Tax Incidence.

 

 

โอกาสของไทย

ประเทศไทยยังมีโอกาสที่ดีในการส่งออกกาแฟมายังบังกลาเทศ เนื่องจากบังกลาเทศเป็นตลาดกาแฟที่กำลังเติบโตและมีความต้องการกาแฟเพิ่มขึ้น ปัจจัยที่ทำให้บังกลาเทศเป็นตลาดกาแฟที่น่าสนใจ ได้แก่

ประชากรบังกลาเทศที่เป็นชนชั้นกลางเพิ่มมากขึ้น ซึ่งทำให้เป็นตลาดที่มีศักยภาพสูงสำหรับธุรกิจกาแฟ

เศรษฐกิจบังกลาเทศกำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว ทำให้ผู้คนมีรายได้มากขึ้นและสามารถใช้จ่ายมากขึ้นกับสินค้าฟุ่มเฟือย

วัฒนธรรมการดื่มกาแฟในบังกลาเทศกำลังได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น ผู้คนในบังกลาเทศเริ่มดื่มกาแฟมากขึ้น และต้องการดื่มกาแฟคุณภาพสูงมากขึ้น

ประเทศไทยยังมีโอกาสที่จะลดภาระภาษีในการส่งออกกาแฟไปยังบังกลาเทศ เนื่องจากอยู่ระหว่างการเจรจาข้อตกลงการค้าเสรี หากข้อตกลงการค้าเสรีดังกล่าวสำเร็จ จะทำให้โอกาสส่งออกกาแฟจากประเทศไทยมีมากขึ้น

สรุป:

บังกลาเทศเป็นตลาดนําเข้ากาแฟ โดยมีผลผลิตภายในประเทศเล็กน้อย แม้ว่าตลาดกาแฟของบังกลาเทศยังคงมีขนาดเล็ก แต่เติบโตขึ้นทุกปี เนสท์เล่บังกลาเทศครองตลาดกาแฟแห่งนี้ โดยเฉพาะกาแฟสำเร็จรูปที่มีจำหน่ายทั่วไปทั้งในห้างสรรพสินค้าและร้านค้าของชำ รวมทั้งแผงขายชาริมถนน ผู้บริโภคในส่วนนี้มักจะเป็นระดับชนชั้นระดับทั่วไปถึงระดับกลางๆ ที่ต้องการลิ้มรสชาติกาแฟ หรือต้องการความสะดวกรวดเร็วในการตระเตรียม ในส่วนของกาแฟชงสด ซึ่งเป็นตลาดระดับบน ราคาจำหน่ายค่อนข้างสูง ผู้บริโภคในส่วนนี้มักจะเป็นระดับชนชั้นกลางถึงระดับบน ที่มีรายได้และรสนิยมสูง ต้องการการผ่อนคลายในเวลาว่างหรือเป็นเครื่องดื่มระหว่างการเจรจาธุรกิจ ซึ่งตลาดกาแฟทั้งสองประเภทยังคงมีโอกาสอยู่มาก

ข้อสังเกตสำคัญสำหรับตลาดบังกลาเทศ ผู้นําเข้าบังกลาเทศส่วนใหญ่ต้องการนําเข้าสินค้าต่างๆ โดยเฉพาะสินค้าอุปโภคบริโภค จากมาเลเซีย สิงคโปร์และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เนื่องจากทั้งสามประเทศนี้มีการรวบรวมสินค้านำเข้าจากประเทศผู้ผลิตต่างๆ และมีผู้ค้าส่งออกที่คอยรวบรวมคำสั่งซื้อจากผู้นำเข้าบังกลาเทศ สินค้าที่สั่งซื้อจะคละประเภท คละขนาด คละยี่ห้อ และคละคุณภาพ และส่งออกไปยังบังกลาเทศ ผู้นำเข้าจะนำสินค้าไปฝากขายกับเจ้าของห้างสรรพสินค้า (เจ้าของห้างจะไม่นำเข้าเอง) ซึ่งต้องเสียค่าธรรมเนียมในการวางสินค้าบนชั้นวาง รวมทั้งค่าธรรมเนียมในการใช้บริการ และห้างสรรพสินค้าจะจ่ายเงินค่าสินค้าก็ต่อเมื่อมีการจำหน่ายสินค้าหน่วยสุดท้ายออกไปจากห้าง ผู้นำเข้ารายย่อยจึงมักจะขาดเงินทุนหมุนเวียนในการทำธุรกิจ ทำให้ขาดโอกาสในการทำการตลาด

อย่างต่อเนื่อง ในส่วนของผู้ประกอบการรายใหญ่ มักจะมองว่าฐานการตลาดยังไม่โต และกำลังไต่ระดับ จึงยังไม่เร่งรีบสร้างตลาดมากนัก

 รายชื่อผู้นำเข้ากาแฟของบังกลาเทศ

No Company Contact Address Remarks
1 Rigs Marketing

 

113/A, Tajgaon I/A, Dhaka-1208 Imports Instant White Coffee (Kopi ABC brand) 10,000 kg/yerar from Indonesia. Company also imports 1000 kg/year Khao Shong Brand coffee from Thailand since Sept 2019.
2 Vision Plus

 

51 R K Mission Road, Dhaka-1203 Recently company has imported 3 tons ‘Buddy Dean’ branded coffee from K.P.Y. Food International Company Ltd., Thailand.
3 Advanced Distribution Co.

 

Banglamotor, Dhaka-1000

 

Imports Instant Coffee (Nescafe Gold brand) from UK and Instant Coffee Barista Reserve Wholebean – Smooth Espresso (Douwe Egberts – Moccona brand) from Australia.

Annual import quantity is around 6,000 kg in a year.

4 SMB Distribution Ltd.

 

Road 8A, House 36. Nikunjo1,Dhaka -1229. Imports 3in1 Instant Coffee (MacCoffee brand) from Malaysia.
5 Indo Bangla Enterprise

 

H#58, Road#7/A, Banani, Dhaka – 1213

 

Company imports instant Cappuccino Coffee (Good Day brand) from Indonesia.
6 Pan Asia Trade House House#8, Road#3 Link Road Middle Badda,Gulshan Dhaka-1212. Gudaraghat. Imports coffee (Lavazza brand).

 

7 Arshad Group

 

285/7/A, Road# 8/A New, 15 (Old) Dhanmondi Dhaka-1209 Imports coffee (Nescafe brand, manufacture in Indonesia) from Singapore.
8 Aqeeda International

 

A-30, Hazi Jamal Mansion,Khilkhet Bazar Dhaka. Imports coffee (Douwe Egberts brand) from England.
8 Nestle Bangladesh Ltd. Nestlé Bangladesh Ltd.
NINAKABBO Level 4,
227/A Tejgaon-Gulshan Link Road,
Tejgaon Industrial Area,
Dhaka 1208, Bangladesh
Company imports coffee from India.
9 Bhuiyan Trade Center

 

Suit # B-220, Level  # 5 , Plot # 14 , Gulshan Avenue , Gulshan , Dhaka 1212. Company imports coffee from Turkey. Coffee Band: bonjour, Annual import quantity is 10,000kg in a year.
10 PRAN Group PRAN Center, 105 Pragati Sarani, Middle Badda Company imports coffee. Brand Kofi House.
11 Omega Distribution Limited 5, Noraibag, Mirpara, Staff Quarter – Demra, Dhaka-1360.
12 Abulkhair Group

(Consumer Goods Division)

Dhaka Office (Empori Financial Center)
Level-13, Plot-6, Road-93, North Avenue, Gulshan-2 Dhaka, 1212
13 BATEEL BANGLADESH

(Concern of BEXIMCO )

Plot-121/D, Main Gulshan Avenue,

Gulshan-2, Dhaka -1212

 

——————

สคต. ณ กรุงธากา
กรกฎาคม 2566

thThai