รายงานสถานการณ์เศรษฐกิจการค้าระหว่างประเทศของสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา ประจำเดือนกรกฎาคม 2566

 

  1. ภาพรวมเศรษฐกิจ/ สถานการณ์สำคัญ

ธนาคารกลางเมียนมาผ่อนปรนกฎบังคับการแปลงสกุลเงินต่างประเทศเป็นร้อยละ 50 จากร้อยละ 65 โดยใช้อำนาจที่ได้รับจากมาตรา 49 (B) ของกฎหมายการจัดการการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ          ตามประกาศฉบับที่ 15/2023 ลงวันที่ 13 กรกฎาคม 2566 ตามคำประกาศของธนาคารกลางเมียนมา ฉบับที่ 36/2022 ลงวันที่ 5 สิงหาคม 2566 ผู้ส่งออกต้องแปลงร้อยละ 65 ของสกุลเงินต่างประเทศที่ได้รับเป็นสกุลเงินจ๊าตตามอัตราแลกเปลี่ยนอ้างอิงของธนาคารกลางเมียนมา แต่บัดนี้ ธนาคารกลางเมียนมาผ่อนปรนกฎการแปลงสกุลเงินต่างประเทศสำหรับผู้ส่งออกให้เป็นร้อยละ 50 ตามประกาศฉบับที่ 12/2022

ธนาคารกลางเมียนมาจะออกธนบัตรใหม่ มูลค่าใบละ 20,000 จ๊าต โดยจะเริ่มนำมาใช้ในระบบตั้งแต่วันที่ 31 กรกฎาคม 2566 โดยตัวธนบัตรมูลค่า 20,000 จ๊าต มีสีเขียว ขนาดยาว 15 ซม. กว้าง 7 ซม. รูปภาพบนธนบัตรด้านหนึ่งเป็นรูปช้างเผือก อีกด้านหนึ่งเป็นรูปสะพานอิรวดี ซึ่งตั้งอยู่ที่เมืองสะกาย ทำให้ในปัจจุบันประเทศเมียนมามีธนบัตรที่ใช้หมุนเวียนในประเทศจำนวน 8 แบบ ได้แก่ ธนบัตรใบละ 50 จ๊าต 100 จ๊าต 200 จ๊าต 500 จ๊าต 1,000 จ๊าต 5,000 จ๊าต 10,000 จ๊าต และล่าสุดคือ 20,000 จ๊าต โดยการออกธนบัตรใหม่ในครั้งนี้เป็นการเฉลิมฉลองและจำนวนธนบัตรที่ออกใหม่มีจำนวนจำกัด

เครื่องชี้วัดทางเศรษฐกิจที่สำคัญ

กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) คาดการณ์ว่า ในปี 2566 ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศของเมียนมา (GDP) เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.49 อัตราเงินเฟ้อในปี 2566 ของเมียนมา มีแนวโน้มอยู่ที่ร้อยละ 6.81เพิ่มขึ้นจากปี 2565 นอกจากนี้ ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศต่อหัว (GDP per Capita) อยู่ที่ระดับ 1,228.54เหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้า ดังตาราง

ตารางที่ 1 – เครื่องชี้วัดเศรษฐกิจเมียนมา

ตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจ

ที่สำคัญ

ปี 2017 ปี 2018

 

ปี 2019

 

ปี 2020

 

ปี 2021

 

ปี 2022 ปี 2023

(คาดการณ์)

GDP Growth (%) 5.8 6.4 6.8 3.2 -17.9 -0.06 2.49
GDP (billions of US$) 61.27 66.7 68.8 81.26 66.74 63.05 66.59
GDP per Capita (US$) 1,180 1,270 1,300 1,530 1,250 1,170.09 1,228.54
Inflation (%) 4.62 5.94 8.63 5.73 3.64 6.47 6.81

ที่มา: IMF  https://www.imf.org/en/Countries/MMR#countrydata

1.2 อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ

ตารางที่ 2 เปรียบเทียบอัตราแลกเปลี่ยนเงินจ๊าตต่อสกุลเงินสำคัญ ก.ค. 65 และ ก.ค. 66

ประเทศ/สหภาพ สกุลเงิน อัตรา

สิ้นเดือน ก.ค. 65

อัตรา

สิ้นเดือน ก.ค. 66

USA 1 USD 1,850 MMK 2,100.00 MMK
Euro 1 EUR 1,886.40 MMK 2,307.30 MMK
Singapore 1 SGD 1,340.10 MMK 1,576.80 MMK
Thailand 1 THB 50.957 MMK 60.949 MMK

ข้อมูลจากธนาคารกลางเมียนมา : https://forex.cbm.gov.mm/index.php/fxrate

จากตารางที่ 2 จะเห็นได้ว่า อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศกับเงินสกุลท้องถิ่นเมียนมาจ๊าตมีความผันผวน ในช่วงเดือนกรกฎาคมของปี 2566 เงินจ๊าตอ่อนค่าลงต่อทุกสกุลเงินเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยค่าเงินจ๊าตอยู่ที่อัตรา 2,100 MMK ต่อ 1 USD เนื่องจากการควบคุมอัตราแลกเปลี่ยนของธนาคารกลางเมียนมา ทั้งนี้ ตลาดแลกเงินนอกระบบมีอัตราที่แตกต่างจากอัตราแลกเปลี่ยนของธนาคารกลาง โดยอัตราแลกเปลี่ยนอยู่ระหว่าง 3,100 – 3,300 จ๊าตต่อ 1 USD

กราฟแสดงค่าอัตราแลกเปลี่ยนเงินเมียนมาจ๊าต (MMK) ต่อ ดอลลาร์สหรัฐ (USD) ช่วงเดือนกรกฎาคม 2566

รายงานสถานการณ์เศรษฐกิจการค้าระหว่างประเทศของสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา ประจำเดือนกรกฎาคม 2566

เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2565 ธนาคารกลางเมียนมาได้ประกาศอัตราแลกเปลี่ยนใหม่ โดยมีอัตราแลกเปลี่ยนคงที่อยู่ที่ 2,100 MMK ต่อ 1 USD เพื่อให้ใกล้เคียงกับอัตราที่แท้จริงในตลาดแลกเงินท้องถิ่น และเป็นอัตราคงที่ สําหรับเงินสกุลต่างประเทศอื่นๆ จะมีอัตราแลกเปลี่ยนโดยคำนวณจากอัตราแลกเปลี่ยน 2,100 จ๊าต ต่อ 1 ดอลลาร์ ทั้งนี้ ธนาคารกลางเมียนมาจะออกประกาศเพิ่มเติม หากอัตราแลกเปลี่ยนมีการเปลี่ยนแปลง

1.3 ภาวะการลงทุน

1.3.1 มูลค่าการลงทุนตามรายประเทศนักลงทุนสำคัญ

ภาพรวมด้านการลงทุนทางตรงของต่างประเทศในเมียนมา (FDI) ในเดือนมิถุนายน 2566 คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนเมียนมา (Myanmar Investment Commission : MIC) อนุมัติโครงการไปแล้ว คิดเป็นมูลค่า 13.598 ล้านเหรียญสหรัฐ ดังตาราง

ตารางที่ 3 – ประเทศที่มีการลงทุนทางตรง FDI ในเมียนมา เดือนเมษายน – มิถุนายน 2566

อันดับ ประเทศ มูลค่าการลงทุน (ล้านเหรียญสหรัฐ)

เม.ย.-มิ.ย.66

สัดส่วน (%)
1 จีน 8.426 61.96%
2 สิงคโปร์ 1.696 12.47%
3 ไต้หวัน 1.00 7.35%
4 ซามัว 1.00 7.35%
5 อินเดีย 0.600 4.41%
6 สหรัฐอเมริกา 0.600 4.41%
7 เกาหลีใต้ 0.500 3.68%
รวม 13.598 100%

สำหรับมูลค่าการลงทุนจากต่างประเทศที่เคยได้รับอนุญาตสะสม จนถึงปีงบประมาณ 2023-2024 (ณ เดือนมิถุนายน 2566) มีมูลค่าทั้งสิ้น 94,807.420 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยประเทศที่เข้ามาลงทุนในเมียนมาสูงที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่ 1) สิงคโปร์ 2) จีน 3) ไทย 4) ฮ่องกง และ 5) สหราชอาณาจักร ตามลำดับ โดยไทยอยู่ในลำดับที่ 3 มูลค่า 11,609.573 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือร้อยละ 12.54 โดยมีโครงการที่ได้รับอนุมัติแล้ว จำนวน 154 โครงการ

ตารางที่ 4 – มูลค่าการลงทุนจากต่างประเทศที่เคยได้รับอนุญาตสะสม จนถึงปีงบประมาณ 2023-2024

รายงานสถานการณ์เศรษฐกิจการค้าระหว่างประเทศของสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา ประจำเดือนกรกฎาคม 2566

https://www.dica.gov.mm

สำหรับมูลค่าการลงทุนจากต่างประเทศของโครงการที่ยังดำเนินการอยู่ จนถึงปีงบประมาณ 2023-2024 (ณ เดือนมิถุนายน 2566) มีมูลค่าทั้งสิ้น 78,992.704 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยประเทศที่ยังคงลงทุนในเมียนมาสูงที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่ 1) สิงคโปร์ 2) จีน 3) ฮ่องกง 4) สหราชอาณาจักร และ 5) ไทย ตามลำดับ โดยไทยอยู่ในลำดับที่ 5 มูลค่า 4,429.539 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือร้อยละ 6.00 โดยมีโครงการที่ยังดำเนินการอยู่ จำนวน 104 โครงการ

 ตารางที่ 5 – มูลค่าการลงทุนจากต่างประเทศที่ยังดำเนินการอยู่ จนถึงปีงบประมาณ 2023-2024

รายงานสถานการณ์เศรษฐกิจการค้าระหว่างประเทศของสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา ประจำเดือนกรกฎาคม 2566

 

1.3.2 มูลค่าการลงทุนตามประเภทสาขาการลงทุนที่สำคัญ

ในส่วนของอุตสาหกรรมที่ต่างชาติลงทุนในเมียนมาของปีงบประมาณ 2023 – 2024 ในเดือนมิถุนายน 2566 ได้แก่ ธุรกิจการผลิต สัดส่วนร้อยละ 92.65 และธุรกิจเกษตรกรรม สัดส่วนร้อยละ 7.35 รายละเอียดดังตาราง

ตารางที่ 6 – อุตสาหกรรมที่นักลงทุนต่างชาติเข้ามาลงทุนในเมียนมา

ปีงบประมาณ 2022-2023 (เม.ย. – พ.ค. 66)

อันดับ ประเภทธุรกิจ มูลค่า

(ล้านเหรียญสหรัฐ)

เม.ย.65 – มี.ค. 66

มูลค่า

(ล้านเหรียญสหรัฐ)

เม.ย. – มิ.ย. 66

สัดส่วน (%)
1 Power 820.270
2 Services 504.123
3 Manufacturing 271.806 12.598 92.65%
4 Real Estate 29.00
5 Mining 7.00
6 Agriculture 3.50 1.00 7.35%
7 Livestock& Fisheries 2.168
8 Hotel&Tourism 2.80
  รวม 1,640.667 13.598 100%

สำหรับสาขาการลงทุนจากต่างประเทศที่ยังดำเนินการอยู่ จนถึงปีงบประมาณ 2023-2024 สามอันดับแรกได้แก่ พลังงาน ร้อยละ 27.09 น้ำมันและแก๊ส ร้อยละ 21.28 และอุตสาหกรรมการผลิต ร้อยละ 15.45

ตารางที่ 7 สาขาการลงทุนจากต่างประเทศที่ยังดำเนินการอยู่ จนถึงปีงบประมาณ 2023-2024

รายงานสถานการณ์เศรษฐกิจการค้าระหว่างประเทศของสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา ประจำเดือนกรกฎาคม 2566

 

 

ตารางที่ 8 – สาขาการลงทุนจากต่างประเทศที่ยังดำเนินการอยู่ จนถึงปีงบประมาณ 2023-2024

รายงานสถานการณ์เศรษฐกิจการค้าระหว่างประเทศของสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา ประจำเดือนกรกฎาคม 2566

2.สถานการณ์การค้า (การนำเข้า-ส่งออก) ของเมียนมา

      2.1 สถิติการค้าระหว่างประเทศของเมียนมา

ตารางที่ 9 – มูลค่าการค้าระหว่างประเทศของเมียนมา (เมษายน – กรกฎาคม 2566)

เปรียบเทียบระหว่าง ปีงบประมาณ 2022-23 และ ปีงบประมาณ 2023-24

 

หน่วย : ล้านเหรียญสหรัฐฯ

 

Export Import Trade Volume
2023-2024 2022-2023 % 2023-2024 2022-2023 % 2023-2024 2022-2023 %
(21-7-2023) (21-7-2022) change (21-7-2023) (21-7-2022) change (21-7-2023) (21-7-2022) change
4,757.672 5,224.458 -8.93% 5,603.714 5,185.093 8.07% 10,361.386 10,409.551 -0.04%

ในช่วงเดือนเมษายน – กรกฎาคม 2566 ของปีงบประมาณ 2023-24 มูลค่าการค้าระหว่างประเทศโดยรวมของเมียนมามีมูลค่า 10,361.386 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 0.04% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว โดยในด้านของการส่งออกมีมูลค่า 4,757.672 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 8.93 การนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศของเมียนมามีมูลค่า 5,603.714 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.07 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว ทั้งนี้ ในเดือนกรกฎาคม 2566 เมียนมาเสียดุลการค้าเป็นมูลค่า 846.04 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

2.2 สินค้าส่งออกสำคัญของเมียนมา

      ตารางที่ 10 – มูลค่าการส่งออกสินค้าที่สำคัญของเมียนมา (กรกฎาคม 2566) ที่มา : กระทรวงพาณิชย์เมียนมา

ลำดับ สินค้า มูลค่า (ล้านเหรียญสหรัฐฯ) สัดส่วน (%)
1 MANUFACTURING GOODS 2,837.092 59.63%
2 AGRICULTURAL PRODUCTS 1,022.330 21.49%
3 MARINE PRODUCTS 157.695 3.31%
4 MINERALS 112.411 2.36%
5 FOREST PRODUCTS 22.752 0.48%
6 ANIMAL PRODUCTS 2.201 0.05%
7 OTHER PRODUCTS 603.191 12.68%
รวม 4,757.672 100.0%

2.3 สินค้านำเข้าสำคัญของเมียนมา

ตารางที่ 11 – มูลค่าการนำเข้าสินค้าที่สำคัญของเมียนมา (กรกฎาคม 2566)

ลำดับ สินค้า มูลค่า (ล้านเหรียญสหรัฐฯ) สัดส่วน (%)
1 สินค้า Commercial Raw material 2,714.879 48.45%
2 สินค้า Investment Goods 1,202.741 21.46%
3 สินค้าอุปโภคบริโภค (Consumer Goods) 877.292 15.66%
4 อื่นๆ (CMP: Cutting, Making, Packing) 808.802 14.43%
รวม 5,603.714 100%

2.4 สถานการณ์การค้าระหว่างไทย – เมียนมา

ตารางที่ 12 สรุปมูลค่าการค้าระหว่างไทย – เมียนมา

สถิติการค้าระหว่างไทย-เมียนมา

รายการ มูลค่า: ล้านเหรียญสหรัฐฯ อัตราขยายตัว (%) สัดส่วน (%)
2565 2565

(ม.ค.-มิ.ย.)

2566

(ม.ค.-มิ.ย.)

2565 2565

(ม.ค.-มิ.ย.)

2566

(ม.ค.-มิ.ย.)

2565 2565

(ม.ค.-มิ.ย.)

2566

(ม.ค.-มิ.ย.)

มูลค่าการค้า 8,227.45 4,364.73 4,084.59 15.18 22.34 -6.42 1.39 1.45 1.42
การส่งออก 4,696.58 2,526.57 2,403.62 8.72 20.19 -4.87 1.64 1.69 1.70
การนำเข้า 3,530.87 1,838.15 1,680.97 25.06 25.42 -8.55 1.16 1.20 1.14
ดุลการค้า 1,165.71 688.42 722.65 -22.10 8.15 4.97

ที่มา : OPS กระทรวงพาณิชย์ ประเทศไทย ณ วันที่ 27 ก.ค. 66

ปี 2566 มูลค่าการค้ารวมระหว่างไทยและเมียนมาตั้งแต่เดือนมกราคม –  มิถุนายน 2566       มีมูลค่ารวมทั้งสิ้น 4,084.59 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 6.42 จากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว โดยไทยมีการส่งออกไปยังเมียนมาเป็นมูลค่า 2,403.62 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 4.87 จากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา เนื่องจากการชะลอของเศรษฐกิจโลก สำหรับการนำเข้าสินค้าจากเมียนมามายังประเทศไทยมีมูลค่า 1,680.97 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 8.55 จากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ทั้งนี้ไทยได้ดุลการค้าเป็นมูลค่า 722.65 ล้านเหรียญสหรัฐ

สินค้าที่ไทยส่งออกไปเมียนมา ที่สำคัญ ได้แก่ น้ำมันสำเร็จรูป เครื่องดื่ม เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ เครื่องเทศและสมุนไพร เคมีภัณฑ์ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ปูนซิเมนต์ ผลิตภัณฑ์ข้าวสาลีและอาหารสำเร็จรูปอื่นๆ เครื่องสำอาง สบู่ และผลิตภัณฑ์รักษาผิว และเครื่องจักรกลและส่วนประกอบของเครื่องจักรกล เป็นต้น

สินค้าที่ไทยนำเข้าจากเมียนมา ที่สำคัญ  ได้แก่ ก๊าซธรรมชาติ พืชและผลิตภัณฑ์จากพืช สินแร่โลหะอื่นๆ เศษโลหะและผลิตภัณฑ์ เนื้อสัตว์สำหรับการบริโภค ผัก ผลไม้และของปรุงแต่งที่ทำจากผัก ผลไม้ สัตว์น้ำสด แช่เย็น แช่แข็ง แปรรูปและกึ่งสำเร็จรูป สัตว์และผลิตภัณฑ์จากสัตว์ เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ กาแฟ ชา เครื่องเทศ และเครื่องเพชรพลอย อัญมณี เงินแท่งและทองคำ เป็นต้น

3.สถานการณ์สำคัญ

3.1 เมียนมาให้ความสำคัญกับทรัพยากรมนุษย์ในการส่งเสริมเศรษฐกิจของประเทศ

เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2566 พลเอกอาวุโส มินอ่องหล่าย ประธานสภาบริหารแห่งรัฐ และนายกรัฐมนตรีเมียนมา กล่าวในที่ประชุมการส่งเสริมเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งจัดขึ้นโดยสำนักงานประธานสภาบริหารแห่งรัฐ ในกรุงเนปยีดอว่า โรงงานในประเทศต้องดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพ เศรษฐกิจของประเทศเมียนมาเติบโตร้อยละ 3.2 ในปีงบประมาณ 2565-2566 ซึ่งการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจของประเทศขึ้นอยู่กับการค้าและรายได้ตลอดจนทรัพยากรมนุษย์ด้วย GDP ของเมียนมาอยู่ในอันดับที่ 7-8 ในกลุ่มประเทศอาเซียน ระดับการส่งออกด้านการเกษตรและปศุสัตว์ของประเทศในอาเซียนมีความแตกต่างจากเมียนมามาก

ประเทศ GDP (พันล้านเหรียญสหรัฐฯ)
ไทย 536.16
มาเลเซีย 407.923
เวียดนาม 406.452
เมียนมา 60

ภาคการเกษตรของเมียนมามีสัดส่วนไม่มากใน GDP ของประเทศ เมียนมาเพาะปลูกข้าวเปลือกมรสุม 14.9 ล้านเอเคอร์ในปี 2566 และมีพื้นที่เพาะปลูกมากกว่า 13 ล้านเอเคอร์ ซึ่งในจำนวนนี้ พื้นที่การเกษตร 6.6 ล้านเอเคอร์เป็นการปลูกพืชแบบทวิกสิกรรม (Double Crops) และ 7.3 ล้านเอเคอร์เป็นการปลูกถั่ว ทานตะวัน มันสำปะหลัง หรือพืชอื่น ๆ หากพื้นที่เพาะปลูก 1 เอเคอร์สร้างผลผลิตมูลค่า 1 ล้านจ๊าต ประเทศจะได้รับผลิตภัณฑ์มูลค่า 7,300 พันล้านจ๊าต ซึ่งจะทำให้สัดส่วนของภาคเกษตรใน GDP เพิ่มขึ้น

การปลูกพืชน้ำมันมีพื้นที่ 800,000 เอเคอร์ ซึ่งไม่รวมน้ำมันปาล์มในปีงบประมาณ 2565-2566 คาดว่าจะสามารถผลิตน้ำมันได้ 690,000 ตัน ในขณะที่การเพาะปลูกฝ้าย พืชสวนครัว กาแฟ ชา และงานเพาะพันธุ์ปศุสัตว์

ทั้งนี้ เมียนมาเผชิญกับการขาดดุลการค้ามากกว่า 1.2 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ระหว่างปี 2554 ถึง 2559 และ 12.61 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ระหว่างปี 2559-2564 รัฐบาลได้แก้ไขการใช้จ่ายเงินตราต่างประเทศโดยความช่วยเหลือและเงินกู้ระหว่างประเทศ โดยรัฐบาลเมียนมาพยายามให้ประชาชนประหยัดการใช้จ่าย และใช้ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตในประเทศแทนการนำเข้า โดยช่วยภาคการเกษตรโดยรัฐบาลจะนำเข้าปุ๋ยในปริมาณที่จำเป็นรวมถึงการส่งเสริมการใช้ปุ๋ยธรรมชาติและปุ๋ยชีวภาพในฟาร์มเกษตร

ในด้านไฟฟ้า โครงการผลิตไฟฟ้าถูกระงับและยกเลิกตามเงื่อนไขของรัฐบาลชุดที่แล้ว ทำให้ประเทศมีไฟฟ้าใช้ไม่เพียงพอ จึงมีความจำเป็นต้องผลิตไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าพลังน้ำขนาดเล็กและโครงการไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ปัญหาหนึ่งที่มีความสำคัญคือ ต้องจัดการกับการค้าที่ผิดกฎหมายซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อรายได้ของประเทศ รวมถึงสินค้าที่นำเข้าอย่างผิดกฎหมายผ่านทางชายแดน

ที่มา: Global New Light Of Myanmar (www.gnlm.com.mm)

3.2 เมียนมาส่งเสริมการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าและจดทะเบียนรถยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรี่

กรมทรัพย์สินทางปัญญาของเมียนมา ระบุว่ากฎหมายเครื่องหมายการค้าของประเทศเมียนมา มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 26 เมษายน 2566 โดยมีผู้ถือลิขสิทธิ์กว่า 50,000 รายได้ยื่นขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามรายงานของกรมทรัพย์สินทางปัญญา โดยกรมทรัพย์สินทางปัญญารับคำขอจดทะเบียนทั้งทางออนไลน์และเดินทางมาจดทะเบียนที่กรมฯ และสามารถขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าผ่านหน่วยงานเครื่องหมายการค้าได้

กฎหมายเครื่องหมายการค้าฉบับนี้ประกาศใช้เพื่อปกป้องสิทธิ์ในทรัพย์สินทางปัญญาและปกป้องเครื่องหมายทางความคิด นวัตกรรม ผลประโยชน์ และสิทธิ์ทางกฎหมายของนักลงทุนในประเทศและนอกประเทศ และมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมการลงทุนและการพาณิชย์ เทคโนโลยี และความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์ ซึ่งจะเพิ่มโอกาสการลงทุนและการค้ามากขึ้น โดยผู้ถือลิขสิทธิ์และเจ้าของเครื่องหมายมีสิทธิ์เพียงแค่ผู้เดียวในการใช้เครื่องหมายการค้าตามกฎหมาย นอกจากนี้ยังสามารถช่วยยกระดับมูลค่าของแบรนด์และเจาะตลาดโลกได้อีกด้วย

ประเทศเมียนมายังส่งเสริมการใช้รถยนต์ไฟฟ้า ซึ่งรัฐบาลเมียนมาได้จัดตั้งคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการพัฒนายานยนต์ไฟฟ้าและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องเพื่อพัฒนาภาคส่วนรถยนต์ไฟฟ้า โดยกรมการขนส่งทางบกของเมียนมาได้รับการขอจดทะเบียนรถยนต์ไฟฟ้า (EVs) มากกว่า 3,200 คัน ที่มาจดทะเบียนที่กรมการขนส่งทางบกของเมียนมา ประกอบด้วยรถยนต์บรรทุกสินค้าขนาดเล็ก 2 คัน รถสองล้อ 2,474 คัน และรถสามล้อ 263 คัน นอกจากนี้ในเดือนมิถุนายน 2566 มีการจดทะเบียนรถยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรี่ (BEVs) จำนวน 467 คัน

ระหว่างปี 2565 ถึงเดือนมิถุนายน 2566 สำนักงานเขตของกรมการขนส่งทางบกของเมียนมา ที่ตั้งอยู่ทั่วประเทศ ได้จดทะเบียนกลุ่มรถโดยสารไฟฟ้า ได้แก่ รถเก๋ง รถสเตชั่นแวกอน รถไมโครบัสที่จุผู้โดยสารได้มากกว่า 15 คน และรถตู้ขนาดเล็ก รถจี๊ป และรถดับเบิ้ลแค็บ รถปิกอัพจัดอยู่ในประเภทยานพาหนะบรรทุกสินค้าขนาดเล็ก รวมถึงรถตู้เดี่ยวแบบสแตนด์อัพที่สามารถบรรทุกได้ไม่เกินสามตัน และรถบรรทุก ทั้งนี้ เครื่องชาร์จ EV รวมถึงรถยนต์ไฟฟ้าประเภทต่าง ๆ ที่นำเข้ามาในประเทศได้รับการยกเว้นภาษีศุลกากร

ที่มา: Global New Light Of Myanmar (www.gnlm.com.mm)

3.3 ธนาคารกลางเมียนมาผ่อนปรนกฎการแปลงสกุลเงินต่างประเทศสำหรับผู้ส่งออก

ธนาคารกลางเมียนมาผ่อนปรนกฎบังคับการแปลงสกุลเงินต่างประเทศเป็นร้อยละ 50 จากร้อยละ 65 โดยใช้อำนาจที่ได้รับจากมาตรา 49 (B) ของกฎหมายการจัดการการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ตามประกาศฉบับที่ 15/2023 ลงวันที่ 13 กรกฎาคม 2566 ตามคำประกาศของธนาคารกลางเมียนมา ฉบับที่ 36/2022 ลงวันที่ 5 สิงหาคม 2566 ผู้ส่งออกต้องแปลงร้อยละ 65 ของสกุลเงินต่างประเทศที่ได้รับเป็นสกุลเงินจ๊าตตามอัตราแลกเปลี่ยนอ้างอิงของธนาคารกลางเมียนมา แต่บัดนี้ ธนาคารกลางเมียนมาผ่อนปรนกฎการแปลงสกุลเงินต่างประเทศสำหรับผู้ส่งออกให้เป็นร้อยละ 50 ตามประกาศฉบับที่ 12/2022

ธนาคารกลางเมียนมา ระบุว่า ข้อกำหนดนี้จะมีผลบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 13 กรกฎาคม 2566 หากผู้ส่งออกไม่ปฏิบัติตามประกาศนี้ จะถูกดำเนินคดีภายใต้กฎหมายการจัดการการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ

ถึงแม้ธนาคารกลางเมียนมาได้กำหนดอัตราแลกเปลี่ยนอ้างอิงไว้ที่ 2,100 จ๊าตต่อ 1 เหรียญสหรัฐฯ แต่เงินเหรียญสหรัฐมีราคา 3,100 จ๊าตต่อ 1 เหรียญสหรัฐฯ ในตลาดนอกระบบ นอกจากนี้ ธนาคารกลางเมียนมา แจ้งว่า อัตราแลกเปลี่ยนที่ทำธุรกรรมบนแพลตฟอร์มการซื้อขายออนไลน์มีอัตราแลกเปลี่ยนอยู่ที่ 2,900      จ๊าตต่อ 1 เหรียญสหรัฐฯ ในวันที่ 22 มิถุนายน 2566 ตั้งแต่แพลตฟอร์มการซื้อขายออนไลน์เริ่มต้นขึ้น

ในปี 2556 ธนาคารกลางเมียนมา ได้นำตลาดแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ (forex market) มาใช้สำหรับการทำธุรกรรมระหว่างธนาคารกับตัวแทนจำหน่ายที่ได้รับอนุญาต และธุรกรรมระหว่างธนาคารกับลูกค้า เพื่อพัฒนาตลาดแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ

แพลตฟอร์มการซื้อขายตลาดแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ (Refinitiv) ช่วยให้ตัวแทนจำหน่ายที่ได้รับอนุญาตดำเนินการสำหรับธุรกรรมระหว่างธนาคาร โดยธนาคารกลางเมียนมาได้ช่วยเข้ามาจัดการการซื้อขายออนไลน์สำหรับการทำธุรกรรมระหว่างธนาคารกับลูกค้า

ตั้งแต่วันที่ 22 มิถุนายน 2566 ธนาคารกลางเมียนมาเป็นผู้นำแพลตฟอร์มการซื้อขายออนไลน์สำหรับการทำธุรกรรมระหว่างธนาคารกับลูกค้าและการทำธุรกรรมระหว่างลูกค้า ซึ่งมูลค่าการซื้อขายรวมสำหรับการซื้อขายของธนาคารที่ได้รับอนุญาตทั้งหกแห่งอยู่ที่ 6.89 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยมีอัตราแลกเปลี่ยนอยู่ระหว่าง 2,920 จ๊าตและ 2,922 จ๊าต นอกจากนี้ ธนาคารกลางเมียนมา ยังให้บริการ USD SWAP Financing และขายเงินจำนวน 1.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

ธนาคารกลางเมียนมา เตือนว่า อัตราแลกเปลี่ยนที่ทำธุรกรรมบนแพลตฟอร์มการซื้อขายออนไลน์เป็นการกำหนดอัตราตลาดที่แท้จริง อัตราแลกเปลี่ยนที่โพสต์บนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียเป็นเพียงอัตราในตลาดสีเทา และตามประกาศที่ออกเมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2566 ธนาคารกลางเมียนมา จะเป็นผู้ให้บริการ SWAP Financing สำหรับสินค้าจำเป็นที่ต้องเข้าแทรกแซงตลาดอัตราแลกเปลี่ยน

ที่มา: Global New Light Of Myanmar (www.gnlm.com.mm)

3.4 ร้านค้าออนไลน์ต้องจดทะเบียนธุรกิจภายใน 6 เดือน

ตามประกาศของกระทรวงพาณิชย์เมียนมา เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2566 จะมีการบังคับจดทะเบียนธุรกิจสำหรับเจ้าของร้านค้าออนไลน์แบบอีคอมเมิร์ซ (e-Commerce) และจะถูกดำเนินคดีหากไม่ดำเนินการจดทะเบียนภายใน 6 เดือน

การช้อปปิ้งออนไลน์แบบอีคอมเมิร์ซคือการขายบริการหรือสินค้าผ่านแพลตฟอร์มดิจิทัล ตามมาตรา 4 (C) ของกฎหมายการจัดหาและบริการที่จำเป็น โดยกำหนดธุรกิจออนไลน์ว่าเป็นบริการที่จำเป็น โดยในประกาศ ระบุว่า การลงทะเบียนธุรกิจเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับเจ้าของธุรกิจออนไลน์ และต้องจดทะเบียนธุรกิจภายใน 6 เดือน หากไม่ทำเช่นนั้น จะเผชิญกับการดำเนินการตามมาตรา 5 ของกฎหมายการจัดหาและบริการที่จำเป็น

กระทรวงพาณิชย์เมียนมา ระบุว่า การกระทำครั้งนี้เป็นการคุ้มครองสิทธิ์ของผู้บริโภค สำหรับการจดทะเบียนร้านค้าออนไลน์ เจ้าของร้านจะต้องจดทะเบียนธุรกิจออนไลน์และมีอายุสองปี และจำเป็นต้องต่ออายุการจดทะเบียนล่วงหน้า 60 วัน เนื่องจากมีการระบุไว้ว่า ธุรกิจออนไลน์เป็นบริการที่จำเป็น และมอบอำนาจดังกล่าวไว้ที่กระทรวงพาณิชย์เมียนมา ตามประกาศ 5/2023 ลงวันที่ 4 กรกฎาคม 2566 ที่ออกโดยรัฐบาลเมียนมา

ที่มา: Global New Light Of Myanmar (www.gnlm.com.mm)

สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงย่างกุ้ง

 กรกฎาคม 2566

thThai