IMF ปรับคาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจของอิหร่านในปี 2566 เป็น 2.5% จากเดิม 2% กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (The International Monetary Fund: IMF) ได้ปรับคาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจในปี 2566 ของอิหร่าน ท่ามกลางการส่งออกน้ำมันที่ดีขึ้น และแม้แรงกดดันจากมาตรการคว่ำบาตรเศรษฐกิจของสหรัฐฯ จะยังคงดำเนินต่อไปโดย IMF ค า ด ก า ร ณ์ว่ า ผ ลิ ต ภั ณ ฑ์ ม ว ล ร ว มภายในประเทศ (GDP) ของอิหร่านจะขยายตัวร้อยละ 2.5 ในปี 2566 เพิ่มขึ้นจากการคาดการณ์เดิมที่ ร้อยละ 2 ที่ IMF เคยคาดการณ์ไว้ในรายการปรับปรุงรายไตรมาสก่อนหน้านี้ นอกจากนี้ IMF ยังปรับเพิ่มประมาณการการเติบโตของ GDP ของอิหร่านในปี 2565 เป็นร้อยละ 3.5 ซึ่งเพิ่มขึ้นหนึ่งจุดจากประมาณการครั้งก่อน
ก่อนหน้านี้ช่วงต้นปี IMF ยังได้เคยกล่าวว่า การเติบโตทางเศรษฐกิจที่สูงขึ้นสำหรับเศรษฐกิจหลักของเอเชีย เช่น จีนและอินเดีย ในปี 2566 และปี 2567 จะช่วยให้อิหร่านสามารถกระตุ้นเศรษฐกิจโดยการเพิ่มการส่งออกน้ำมันดิบและผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมไปยังประเทศเหล่านั้น
IMF ยังคาดการณ์ว่าอัตราเงินเฟ้อที่สูงเป็นประวัติการณ์ในอิหร่านที่ 49% ในปี 2565 จะลดลงเหลือ 42% ในปี2566 และ 30% ในปี2567 ตัวเลขดังกล่าวยืนยันรายงานโดยหน่วยงานรัฐบาลของอิหร่านที่ชี้ว่าประเทศนี้อยู่ในแผนงานที่จะควบคุมอัตราเงินเฟ้อ และฟื้นฟูการเติบโตทางเศรษฐกิจให้กลับคืนสู่ระดับเดิม ก่อนปี 2561 ซึ่งเป็นปีที่สหรัฐฯ ถอนตัวจากข้อตกลงระหว่างประเทศเกี่ยวกับโครงการนิวเคลียร์ของอิหร่านและกำหนดมาตรการคว่ำ
บาตรต่อประเทศ โดยการคว่ำบาตรส่งผลกระทบต่อรายได้จากการส่งออกน้ำมันของอิหร่าน และนำไปสู่ช่วงเวลาที่เศรษฐกิจเติบโตติดลบในประเทศ
อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจอิหร่านเริ่มฟื้นตัวในช่วงครึ่งปีหลังของปี 2565 หลังจากดำเนิโครงการปฏิรูปเศรษฐกิจหลายโครงการเพื่อชดเชยผลกระทบจากการคว่ำบาตร ทั้งนี้ผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่าการคว่ำบาตรอิหร่านของสหรัฐฯ ทำให้ประเทศอิหร่านมีโอกาสที่จะลดการพึ่งพิงรายได้จากน้ำมัน และหันมาพึ่งพาทรัพยากรอื่นๆ ภายในประเทศ เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้เจริญเติบโตมากขึ้น
ที่มา: https://en.otaghiranonline.ir/news/44890
ความเห็นสำนักงาน
การคาดการณ์การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของอิหร่านโดย IMF สะท้อนถึงความสำเร็จของนโยบายของรัฐบาลอิหร่านในการเร่งฟื้นฟูเศรษฐกิจภายใต้การถูกมาตรคว่ำบาตรจากสหรัฐ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการควบคุมอัตราเงินเฟ้อในประเทศที่อยู่ในอัตราที่สูงมาก และกระทบต่อค่าครองชีพและความเป็นอยู่ของประชาชนโดยตรง ให้สามารถลดลงกลับมาสู่ภาวะปกติในอนาคตอันใกล้นี้ จะช่วยเพิ่มกำลังซื้อ และกระตุ้นเศรษฐกิจโดยรวมของอิหร่าน
ให้เจริญเติบโตยิ่งขึ้น รวมทั้งการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศก็จะขยายตัวตามไปด้วย