สินค้าผลไม้สดในสาธารณรัฐเช็ก

  1. ภาพรวมตลาด

ตลาดสาธารณรัฐเช็กมีประชากรประมาณ 10.5 ล้านคน ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ตลาดเช็กมีการบริโภคผักและผลไม้สดเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง  โดยกลุ่มผู้บริโภคหลักคือ กลุ่มครอบครัวที่มีลูก ส่วนอีกหนึ่งกลุ่มคือกลุ่มธุรกิจบริการมการโรงแรมและการจัดเลี้ยง โดยจะนิยมบริโภคผลไม้ที่แปลกใหม่นอกเหนือไปจากกล้วย ส้ม

การบริโภคผลไม้สดในตลาดสาธารณรัฐเช็กที่มีแนวโน้มการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยตัวเลขการบริโภคที่เติบโตอย่างเห็นได้ชัดคือในปี 2564 ที่มีปริมาณการบริโภคผลไม้สดเฉลี่ย 90.6 กิโลกรัมต่อคน/ปี  โดยมีการบริโภคผลไม้เขตร้อน เฉลี่ยประมาณ 51.2 กิโลกรัมต่อคน/ปี  และประเภทผลไม้ที่มีการบริโภคมากที่สุดคือ แอปเปิ้ล เฉลี่ย 25.2 กิโลกรัม
ต่อคน/ปี

ผลไม้ภายในประเทศ

การปลูกผลไม้ในสาธารณรัฐเช็กมีมานานหลายศตวรรษ  ปัจจุบันสวนผลไม้มีพื้นที่ประมาณ 14,500 เฮกตาร์ มีการผลิตผลไม้  เฉลี่ยปีละ 150-200,000 ตัน  ผลไม้อีก 200,000 ตัน โดยในสวนขนาดใหญ่จะใช้สำหรับการบริโภคของเจ้าของเองและการแปรรูป ผลไม้หลักที่ปลูกในสาธารณรัฐเช็กคือต้นแอปเปิ้ล การปลูกแอปเปิ้ลมีเพื่อการบริโภค  แอปเปิ้ลพันธุ์หลักคือ Golden Delicious, Jonagold, Idared และ Gala และพันธุ์อื่นๆได้แก่ Braeburn หรือ Fuji และ Topaz, Rubinola หรือ Rozela ผลไม้ที่สำคัญอันดับสองในสาธารณรัฐเช็กคือต้นพลัม บนพื้นที่ 2,000 เฮกตาร์ มีการปลูกพลัมและกึ่งพลัมมากกว่า 20 สายพันธุ์ ซึ่งจะสุกตั้งแต่เดือนกรกฎาคมถึงตุลาคม การผลิตลูกพลัมอยู่ที่ประมาณ 7,000 – 8,000 ตันต่อปี นอกเหนือการเพาะปลูกส่วนใหญ่เป็นการผลิตกลุ่มผลไม้แห้ง แยม หรือการผลิตบรั่นดีบ๊วยแบบดั้งเดิมด้วยเช่นกัน ส่วนการปลูกเชอร์รี่เปรี้ยวนั้นมีเพื่อแปรรูปเป็นหลัก โดยมีผลผลิตประมาณ 5,000 ตันต่อปี โดยเป็นสินค้าส่งออกสำคัญ เช่น เชอร์รี่สีเข้มพันธุ์ Kordia ในภูมิภาค South Moravia

การเพาะปลูกลูกพีชในสาธารณรัฐเช็กเกือบจะหมดไป เนื่องจากผลผลิตที่มีราคาถูกจากประเทศในสหภาพยุโรปตอนใต้ โดยปกติแล้วลูกพีชในประเทศจะพบได้เฉพาะในตลาดท้องถิ่นเท่านั้น ผลไม้ที่มีอัตราการปลูกมากขึ้นได้แก่ กูสเบอร์รี่ บลูเบอร์รี่แคนาดา ราสเบอร์รี่ และแบล็กเบอรรี่

การบริโภคผักและผลไม้ต่อคน/ปีในสาธารณรัฐเช็ก

การบริโภคต่อคน หน่วย 2012 2013 2014 2015 2016 2017 2018 2019 2020 2021
ผลไม้สด กก. 74.6 76.8 78.1 82.4 84.0 82.0 86.1 86.5 87.8 90.6
ผลไม้เขตอบอุ่น กก. 43.4 45.6 47.0 48.9 49.0 46.9 49.7 49.0 49.3 51.2
แอปเปิ้ล กก. 19.1 20.2 21.2 22.3 23.7 22.3 23.9 23.9 24.6 25.2
แพร กก. 2.7 2.6 3.0 3.5 3.4 2.7 3.3 3.1 3.0 3.4
พลัม กก. 4.3 5.2 5.3 6.0 5.7 5.0 6.0 5.1 6.0 5.9
เชอร์รี่ กก. 1.1 1.1 1.1 0.9 1.0 0.9 0.9 0.9 0.7 0.9
เชอร์รี่เปรี้ยว กก. 0.5 0.7 0.5 0.6 0.6 0.5 0.5 0.5 0.5 0.5
แอปริคอต กก. 1.7 2.1 1.3 1.0 1.1 1.6 1.9 2.5 1.5 1.7
ลูกพีช กก. 3.9 3.8 3.7 4.2 3.6 4.1 3.6 3.7 2.8 2.7
ลูกเกด กก. 1.2 1.3 1.5 1.4 1.0 0.9 1.0 0.9 1.1 1.0
มะยม กก. 0.3 0.2 0.4 0.3 0.3 0.3 0.2 0.2 0.2 0.3
สตรอเบอร์รี่ กก. 2.4 2.7 2.7 2.5 2.5 2.4 2.5 2.5 2.6 2.5
องุ่น กก. 3.5 3.3 3.2 3.2 3.6 3.6 3.6 3.4 3.3 3.9
ผลเบอร์รี่ป่า กก. 1.8 1.7 2.1 2.2 1.9 2.0 1.8 1.8 2.6 2.6
ผลไม้เขตอบอุ่นอื่นๆ กก. 0.9 0.9 1.1 0.7 0.6 0.6 0.5 0.5 0.4 0.7
ผลไม้เขตร้อนและกึ่งเขตร้อน กก. 31.2 31.2 31.2 33.5 35.0 35.1 36.4 37.5 38.5 39.4
มะนาวและส้มโอ กก. 4.1 4.2 4.1 4.5 4.2 4.2 4.3 4.6 5.0 4.3
ส้มและส้มเขียวหวาน กก. 11.3 11.6 11.9 13.1 13.2 12.3 12.4 13.0 12.9 14.2
กล้วย กก. 10.1 9.7 9.4 9.9 10.7 11.5 12.2 12.5 13.1 13.3
ผลไม้เขตร้อนและกึ่งเขตร้อนอื่นๆ กก. 5.7 5.7 5.7 6.0 6.9 7.1 7.5 7.4 7.4 7.7
สับปะรด กก. 1.7 1.5 1.6 1.4 1.5 1.8 1.9 1.6 11.5 1.7
กีวี่ กก. 0.8 0.6 0.5 0.7 0.9 0.7 0.6 0.6 0.6 0.7

ที่มา: สำนักงานสถิติเช็ก, มิถุนายน 2566

 

 

 

 

 

 

การเก็บเกี่ยวผลไม้ในสาธารณรัฐเช็ก

 

พรรณไม้ ไม้พุ่มและไม้ผลนานาชนิด 2015 2017 2018 2019 2020 2021
ไม้ผลและไม้พุ่ม (1,000)
ต้นแอปเปิ้ล 10,943 10,806 10,574 10,942 10,914 10,696
ต้นแพร์ 945 927 936 943 1,002 976
ต้นพีช 235 190 172 162 136 119
ต้นแอปริคอต 508 542 519 537 524 529
ต้น prunus domestica 708 828 843 949 1,006 1,028
ต้น Prunus institia 248 135 142 149 113 110
ต้นเชอร์รี่ 468 488 487 505 515 514
ต้นเชอร์รี่เปรี้ยว 720 726 725 713 723 693
พุ่มไม้ลูกเกด 3,814 3,152 3,085 3,119 3,075 2,854
พุ่มมะยม 20 19 22 24 24 21
ต้นวอลนัท 51 53 58 42 44 42
ผลไม้ที่เก็บเกี่ยวได้ (ตัน)
แอปเปิ้ล 155,361 105,280 151,528 99,496 115,585 114,958
แพร์ 8,921 3,947 7,213 6,130 7,368 7,395
พีช 1,596 485 962 546 430 435
แอปริคอต 2,238 1,019 2,255 2,872 591 1,862
พลัมของ prunus domestica 7,706 3,830 11,576 7,923 8,236 6,381
ผล Prunus institia 1,409 235 1,348 833 588 594
เชอร์รี่ 2,443 1,999 2,714 2,645 877 1,374
เชอร์รี่เปรี้ยว 5,804 4,202 6,814 5,341 5,858 4,955
ลูกเกด 2,912 1,609 1,887 980 1,563 1,267
มะยม 22 23 16 11 3 7
วอลนัท 181 71 154 112 104 178

ที่มา: หนังสือสถิติประจำปีทางของสาธารณรัฐเช็ก มิถุนายน 2023

 

สำหรับการปลูกองุ่นในสาธารณรัฐเช็กมีแหล่งผลิตหลักคือ ภูมิภาคโมราเวีย องุ่นที่ปลูกในเช็กส่วนใหญ่ใช้สำหรับการผลิตไวน์  ส่วนองุ่นสำหรับการบริโภคจะเป็นองุ่นที่นำเข้า  สาธารณรัฐเช็กผลิตไวน์หลากหลายประเภท ตั้งแต่ไวน์ทั่วไปจนถึงไวน์พิเศษคุณภาพสูง  ไร่องุ่นครอบคลุมพื้นที่ 17,500 เฮกตาร์ โดยมีการเก็บเกี่ยวเฉลี่ยประมาณ องุ่น 80,000 – 90,000 ตัน พันธุ์องุ่นขาวที่ปลูกบ่อยที่สุดคือ Veltlin Green, Mueller-Thurgau และ Italian Riesling และพันธุ์สีแดงที่ปลูกกันมากที่สุดคือ Saint Lawrence และ Frankovka

การเพาะปลูกองุ่นในสาธารณรัฐเช็ก

ตัววัด หน่วย 2015 2017 2018 2019 2020 2021
พื้นที่ไร่องุ่น เฮกเตอร์ 17,065 17,210 17,517 17,575 17,572 17,464
การเก็บเกี่ยวรวม ตัน 90,608 79,774 103,704 67,956 90,376 90,059
ผลผลิต

ต่อเฮกเตอร์

ตัน/เฮกเตอร์ 5.73 5.05 6.51 4.23 5.60 5.51

 

  1. พฤติกรรมผู้บริโภค

ผู้บริโภคชาวเช็กมีรูปแบบการใช้ชีวิตที่เปลี่ยนไป โดยมีความสนใจในการซื้อผักและผลไม้สดมากขึ้น แม้ว่าสาธารณรัฐเช็กจะเคยผลิตผักและผลไม้หลากหลายชนิดในอดีต แต่ปัจจุบันต้องพึ่งพาการนำเข้าผักและผลไม้เป็นจำนวนมาก ตัวอย่างผลไม้ยอดนิยม  ได้แก่ แอปเปิ้ล จากข้อมูลของ Union of Growers of Fruits and Vegetable พบว่ามีการนำเข้าแอปเปิ้ลเกือบร้อยละ 50 ของปริมาณที่บริโภคทั้งหมด เนื่องจากสาธารณรัฐเช็กเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป สินค้านำเข้าจากประเทศสมาชิกฯ จึงไม่มีภาษีนำเข้า และทำให้สินค้าที่นำเข้ามีราคาถูกกว่าสินค้าที่ปลูกในประเทศ ทำให้มีการนำเข้าผลไม้มากขึ้น  โดยเกือบครึ่งหนึ่งของปริมาณแอปเปิ้ลในตลาดสหภาพยุโรปมาจากโปแลนด์ ซึ่งแต่เดิมผลผลิตส่วนใหญ่ของโปแลนด์เคยส่งไปยังรัสเซีย แต่ตอนนี้ไม่สามารถทำได้เนื่องจากมีการใช้มาตรการ sanction อันเนื่องมาจากสถานการณ์ความขัดแย้งรัสเซีย-ยูเครน  ดังนั้น แอปเปิลของโปแลนด์จึงส่งไปยังตลาดยุโรป  นอกจากนี้ แม้ว่าผลไม้และผักสดจะได้รับความสนใจมากขึ้น
แต่สินค้าผลไม้บรรจุกระป๋องและบรรจุขวดก็ยังคงมีอยู่ ซึ่งเป็นทางเลือกสำหรับผลผลิตที่อยู่นอกฤดูกาลที่มีราคาแพงกว่า

 

ความถี่ของการบริโภคผลไม้และผักสด  :

 

รายการ

 

ทุกวัน

 

1 ครั้ง/สัปดาห์

 

2-3 ครั้ง/สัปดาห์

 

ผลไม้สด

 

38.4%

 

 

15.2

 

32.5%

 

ผักสด

 

 

13.5%

 

246

 

34.3%

ข้อมูลจากหน่วยงาน MEDIAN และ IBRS

 

ผลไม้และผักที่ได้รับความนิยม เรียงตามลำดับ ดังนี้:

 

ผลไม้ ความนิยม ผัก

 

ความนิยม
แอปเปิ้ล

ส้ม

กล้วย

พีช

แพร์

สตรอเบอร์รี่

ส้มเขียวหวาน

18 %

11 %

9 %

7 %

7 %

6 %

5 %

มะเขือเทศ

พริกหยวก

แครอท

แตงกวา

กะหล่ำดอก

12 %

12 %

10 %

9 %

7 %

 ผลไม้ดั้งเดิมกับผลไม้แปลกใหม่

 ผลไม้พื้นบ้านเป็นผลไม้ที่ปลูกในประเทศ ได้แก่ แอปเปิ้ล ลูกแพร์ ลูกพีช แอปริคอต องุ่น เชอร์รี่ พลัม สตรอเบอร์รี่ อัตราการบริโภคสูงสุดจะอยู๋ในช่วงฤดูร้อนเนื่องจากมีราคาที่ถูกกว่าช่วงอื่นๆ อย่างไรก็ตามผลไม้ทุกชนิดยังสามารถซื้อได้ตลอดทั้งปีเนื่องจากมีการนำเข้าจากต่างประเทศ แต่ผลไม้นำเข้ามักจะมีราคาแพงกว่ามาก แอปเปิ้ลเป็นผลไม้ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในสาธารณรัฐเช็ก สำหรับผลไม้ “แปลกใหม่” ซึ่งกลายเป็น “สินค้าพื้นเมือง” ในตลาดเช็ก โดยผู้บริโภคส่วนใหญ่ซื้อผลไม้ดังกล่าวตลอดทั้งปี (ปริมาณมากที่สุดในช่วงฤดูหนาว) ได้แก่ กล้วย ส้ม ส้มเขียวหวาน เกรปฟรุต มะนาว ผลไม้กีวี  ทั้งนี้  ส้มและกล้วยเป็นผลไม้ที่ผู้บริโภคชาวเช็กชื่นชอบมากที่สุดเป็นอันดับสองและสาม ส่วนผลไม้แปลกใหม่อื่น ๆ เช่น สับปะรด มะพร้าวสด มะม่วง มีให้บริโภคเป็นครั้งคราว เพราะข้อจำกัดด้านราคา  ซึ่งครัวเรือนส่วนใหญ่ในเช็กจะซื้อสินค้ากลุ่มนี้ในช่วงคริสต์มาสและเทศกาลพิเศษเท่านั้น  ผลไม้เมืองร้อนชนิดอื่น ๆ เช่น มะเฟือง เงาะ มังคุด แก้วมังกร มะละกอ ลิ้นจี่ ขนุน ทุเรียน ฯลฯ แทบไม่เป็นที่รู้จักในหมู่ผู้บริโภคชาวเช็ก

 

  1. การนำเข้า

การนำเข้าผลไม้ (HS 08 รวมถั่ว)

  ที่มา: สำนักงานสถิติเช็ก  มิถุนายน 2566

 

การแข่งขันในตลาด

 การนำเข้าผลไม้และถั่วมายังสาธารณรัฐเช็ก มีปริมาณ 682,000 ตัน ด้วยมูลค่าถึง 960 ล้านเหรียญสหรัฐในปี 2565 การนำเข้าผลไม้ทั้งหมดไปยังสาธารณรัฐเช็กในปี 2565 มีปริมาณลดลง ร้อยละ 7 และมูลค่าลดลง ร้อยละ 2.8  ในช่วงเดือนมกราคมถึงมีนาคม 2566 มีการนำเข้าโดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 และด้านมูลค่าเพิ่มขึ้น ร้อยละ 2.4 โดยในช่วงที่เกิดภาวะเงินเฟ้อสูง ในปี 2565 ได้ส่งผลให้ผู้บริโภคชาวเช็กต้องการประหยัดและพยายามจำกัดการซื้อมากขึ้น

 การนำเข้าจากประเทศไทยลดลงร้อยละ 21.7  ในปี 2565 และต่อเนื่องไปจนถึงเดือนมกราคม มีนาคม 2566 การนำเข้ามะพร้าวอ่อน และมะละกอ ในปี 2565 ลดลงร้อยละ 50  การนำเข้ามะขาม ลิ้นจี่ เงาะ ฯลฯ ลดลงร้อยละ 75 การนำเข้ามะม่วง และมังคุดเพิ่มขึ้น
ร้อยละ 26

คู่แข่งของผักและผลไม้เมืองร้อนคือประเทศในเอเชีย ได้แก่ มาเลเซีย อินโดนีเซีย เวียดนาม ศรีลังกา ฟิลิปปินส์และรวมถึงบราซิล เปรู แอฟริกาใต้ อิสราเอล ประเทศแถบยุโรปใต้ และอื่นๆ ขึ้นอยู่กับฤดูกาล แม้ว่าจะเน้นความสดใหม่ คุณภาพ และจุดขายมากขึ้น แต่ราคายังคงเป็นปัจจัยสำคัญสำหรับผู้บริโภคชาวเช็ก โดยผู้บริโภคได้รับประโยชน์จากการแข่งขันด้านราคา

 ผลไม้นำเข้าสำคัญของสาธารณรัฐเช็ก (จัดอันดับตามมูลค่าในปี 2565)

 

รายการ มูลค่าการนำเข้า

(พันเหรียญสหรัฐ)

ปริมาณ

(ตันสุทธิ)

แหล่งนำเข้าสำคัญ
1.    ผลไม้รสเปรี้ยว

(มะนาว, ส้ม, ส้มเขียวหวาน)

 

142 537

 

139 201

1.      สเปน

2.      แอฟริกาใต้

3.      ตุรกี

 

2. กล้วย

 

137 209

 

167 219

1.      โคลอมเบีย

2.      เอกวาดอร์

3.      คอสตาริกา

 

3.ไวน์องุ่น

 

91 212

 

46 051

1.      อิตาลี

2.      แอฟริกาใต้

3.      อินเดีย

 

4. แตงโม

 

 

42 101

 

71 731

1.      สเปน

2.      อิตาลี

3.      กรีก

 

5. สตอเบอรร่

 

 

39 596

 

13 505

1.     สเปน

2.     เนเธอร์แลนด์

3.     โปแลนด์ / กรีซ

 

6. แอปเปิ้ล

 

34 685

 

55 991

1.     โปแลนด์

2.     อิตาลี

3.     สโลวาเกีย

 

7. บลูเบอร์รี่

 

 

33 478

 

5 703

1.      สเปน

2.      เปรู

3.      โปแลนด์

 

8. ลูกพีช

 

28    268

 

20    098

1.    อิตาลี

2.    สเปน

3.    กรีซ

 

9. อโวคาโด

 

23 860

 

8 516

1.    เปรู

2.    เนเธอร์แลนด์

3.    สเปน

 

10. แอปริคอต

 

13 254

 

7 986

1.      อิตาลี

2.      สเปน

3.      กรีซ

ที่มา: การคำนวณของตัวเอง จากข้อมูลของกระทรวงการค้าและอุตสาหกรรมเช็ก เดือนมิถุนายน 2566

สินค้าผลไม้สดในสาธารณรัฐเช็ก

 ผลไม้นำเข้าที่สำคัญที่สุดของสาธารณรัฐเช็ก คือผลไม้ตระกูลส้ม ได้แก่ มะนาว ผู้นำตลาดสินค้ามะนาวคือสเปน  ซึ่งมีส่วนแบ่งการตลาดถึงร้อยละ 51 ตามด้วยแอฟริกาใต้ ร้อยละ 12 และตุรกีร้อยละ 10.2

ผลไม้ตระกูลส้มรองลงมาจากมะนาว คือ ส้ม ส้มแมนดารินและส้มเขียวหวาน  โดยมีสเปนเป็นผู้นำตลาด ที่มีส่วนแบ่งการตลาดถึงร้อยละ 49.6  กรีซครองตำแหน่งที่สอง ส่วนแบ่งการตลาดร้อยละ 21  ตามด้วยอียิปต์
ร้อยละ 9  สำหรับส้มแมนดารินและส้มเขียวหวาน สเปนเป็นซัพพลายเออร์หลักที่ครองส่วนแบ่งการตลาด
เกือบครึ่ง คือร้อยละ 46.8 โครเอเชียมีร้อยละ 10.2 และตุรกีร้อยละ 9.3

ผลไม้สดนำเข้าอันดับ 2 ของสาธารณรัฐเช็ก ได้แก่ กล้วย โดยมีซัพพลายเออร์หลักคือโคลอมเบีย ส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 20 รองลงมาคือเอกวาดอร์ร้อยละ 19.7 และคอสตาริการ้อยละ 18.6

 ผลไม้สดนำเข้าอันดับ 3 ของสาธารณรัฐเช็ก ได้แก่ องุ่นไวน์ โดยอิตาลีเป็นผู้นำตลาด ร้อยละ 30.8 ของตลาดตามมาด้วยแอฟริกาใต้ ส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 17.7 ซัพพลายเออร์รายใหญ่อันดับสามคืออินเดีย ร้อยละ 13.5

 ผลไม้เมืองร้อนที่สำคัญที่สุดในแง่ของมูลค่า นอกเหนือจากกล้วย ส้ม ฯลฯ คือ มะม่วงและมังคุดมีการนำเข้ามูลค่าเกือบ 13 ล้านเหรียญสหรัฐในปี 2565 หรือปริมาณ 5,900 ตัน แหล่งการนำเข้าสำคัญคือตลาดคือเปรู ร้อยละ 25.7 ของ ตามด้วยบราซิล ร้อยละ 20.9 เนเธอร์แลนด์ ร้อยละ 8.7 สเปน ร้อยละ 6.8 กัมพูชา ร้อยละ 6.1 โดยประเทศไทยจัดอยู่ในอันดับที่ 9 โดยมีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 3 ผลไม้ที่สำคัญรองลงมาได้แก่ สับปะรดได้มีการนำเข้าสับปะรดมูลค่า 10 ล้านเหรียญสหรัฐในปี 2565 หรือปริมาณ 10,175 ตัน ซัพพลายเออร์อันดับต้น ๆ ของสับปะรดในตลาดเช็ก ได้แก่ คอสตาริกา ร้อยละ 50 ไอวอรี่โคสต์ ร้อยละ 8.3 และ เอควาดอร์
ร้อยละ 3 สำหรับประเทศไทยมีส่วนแบ่งตลาดสินค้าสับปะรดสูงถึงร้อยละ 0.5 ในปี 2565

 

การนำเข้าผลไม้จากประเทศไทย (หน่วยเป็น USD)

 

H.S. รายการ 2021 2022 01-03/ 01-03/
2022 2023
0801 19 มะพร้าวอ่อน 708 361 50 64
0804 50 มะม่วงมังคุด 310 391 66 43

 

0807 20 มะละกอ 187 92 21 47
0804 30 สัปปะรด 69 53 14 5
0810 90 มะขาม ลิ้นจี่ เงาะ ขนุน แก้วมังกร เป็นต้น 231 54 11 12
0803 00 กล้วย 9 6 4 0
0810 60 ทุเรียน 114 69 3 7
ผลไม้และถั่วอื่นๆ 535 668 167 97
รวม 2 163 1 694 336 275

ที่มา: กระทรวงการคลังสาธารณรัฐเช็ก มิถุนายน 2566

 

 การนำเข้าผลไม้สดจากประเทศไทยมายังตลาดสาธารณรัฐเช็ก โดยปกติเป็นการนำเข้าจากซัพพลายเออร์ในเนเธอร์แลนด์หรือเยอรมนี  การนำเข้าโดยตรงจากไทยยังมีค่อนข้างน้อย  การนำเข้าผลไม้สดจากไทยในช่วง 10 ปีที่ผ่านมายังมีการนำเข้าในปริมาณไม่คงที่ โดยต้องเผชิญกับอุปสรรคในการนำเข้าทั้งในช่วงสถานการณ์แพร่ระบาดของ COVID-19 และในช่วงปี พ.ศ.2565 และ 2566 อันเนื่องมาจากภาวะเงินเฟ้อในทำให้กำลังซื้อของประชากรลดลง

 

ตลาดหลักสำหรับผลไม้แปลกใหม่จากประเทศไทย ได้แก่ ซูเปอร์มาร์เก็ตระดับไฮเอนด์ เช่น Delmart เครือข่ายไฮเปอร์มาร์เก็ต ร้านค้าเฉพาะ และร้านค้าออนไลน์ โรงแรม ภัตตาคาร และบริษัทจัดเลี้ยง ฤดูกาลที่ขายดีที่สุดคือช่วงคริสต์มาส ซึ่งเป็นช่วงที่ผู้บริโภคพร้อมที่จะจ่ายเงินมากขึ้นเพื่อซื้อผลไม้แปลกใหม่  อุปสรรคสำคัญประการหนึ่งคือราคาสินค้า เนื่องจากค่าขนส่งสินค้าทางอากาศค่อนข้างสูงทำให้สินค้ามีราคาแพง

 

สินค้าผลไม้สดที่นำเข้าจากไทยเป็นอันดับหนึ่ง ได้แก่ มะพร้าวอ่อน ผู้นำเข้ารายใหญ่ที่สุดคือ CEROZFRUCHT นำเข้ามะพร้าวอ่อนแบรนด์ GENUINE COCONUT จากซัพพลายเออร์ในประเทศสเปน ลูกค้าหลักคือกลุ่มไฮเปอร์มาร์เก็ต ได้แก่ KAUFLAND ตามมาด้วย GLOBUS ผู้นำเข้ารายใหญ่รองลงมาคือ LIDL CEROZFRUCHT จัดจำหน่ายให้ KAUFLAND ประมาณ 2,000 – 3,000 ลูกต่อสัปดาห์

 

  1. ช่องทางการจัดจำหน่าย

 

ในสาธารณรัฐเช็ก ผู้นำเข้าผลไม้สดรายใหญ่ ได้แก่ CEROZFRUCHT, HORTIM, EFEZ, E-SANDERA, ABASTO, GASTROFRESH, TIDBIT และ VVIS

 

ผู้นำเข้าผลไม้สดรายใหญ่

 

ชื่อบริษัท เว็บไซต์ หมายเหตุ
CEROZFRUCHT PRAHA www.ceroz.com – ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2534

– ผู้นำเข้า ผู้ค้าส่ง และผู้จัดจำหน่ายรายใหญ่ที่สุด

 

HORTIM INTERNATIONAL, BRNO www.hortim.cz – ก่อตั้งในปี 1993 จัดจำหน่ายไฮเปอร์มาร์เก็ตและซูเปอร์มาร์เก็ตเป็นหลัก

 

EFES www.efes.cz – ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2534 ผู้นำเข้าและผู้จัดจำหน่าย จัดหาเครือข่ายค้าปลีกและค้าส่งเป็นหลัก

 

VVISS PRAHA www.vviss.cz – นำเข้าและจัดจำหน่าย 160,000 ผักและผลไม้สดเป็นตันต่อปี

 

SANDERA www.e-sandera.cz -ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2539 เป็นผู้นำเข้าและจัดจำหน่าย โดยเน้นที่ โรงแรม ร้านอาหารและจัดเลี้ยง

 

ABASTO www.abasto.cz – ผู้นำเข้า จำหน่าย และจำหน่ายสมุนไพร ผลไม้

ต่าง ๆ ผักและผลไม้สำหรับทารกในบรรจุภัณฑ์พร้อมรับประทาน

– มุ่งเน้นที่กลุ่มธุรกิจ HORECA

 

 

TIDBIT www.titbit.cz – ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2543 เป็นผู้นำเข้า ผู้ค้าส่ง และซัพพลายเออร์ให้กับผู้ค้าปลีกและภาค HORECA ซึ่งเชี่ยวชาญด้านผักและผลไม้แปลกใหม่ สมุนไพร เครื่องเทศสด และรายการอาหารพร้อมรับประทาน

 

GASTROFRESH www.gastrofresh.cz -ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2536 นำเข้าและค้าส่งผักและผลไม้สด รวมทั้งผลไม้ สมุนไพร และเห็ดสด

– ผลไม้จากต่างประเทศมาจากบราซิล แอฟริกา โคลัมเบีย ไทย อิสราเอล และนำเข้าจากซัพพลายเออร์ในเนเธอร์แลนด์ เนเธอร์แลนด์

– เน้นกลุ่มธุรกิจ HORECA

 

 

สำหรับการนำเข้าผักและผลไม้สดของไทย ผู้นำเข้า/ผู้ค้าส่งรายใหญ่ ซื้อสินค้าจากซัพพลายเออร์ในเนเธอร์แลนด์หรือบางครั้งในเยอรมนี เช่น เงาะ มะละกอ มะเฟือง สับปะรด การขนส่งส่วนใหญ่เป็นการขนส่งทางอากาศ  การซื้อในปริมาณที่น้อยและค่าขนส่งสูงเป็นปัจจัยที่ทำให้สินค้าผักและผลไม้มีราคาค่อนข้างสูง
ในตลาดเช็ก  ผลไม้บางชนิดสามารถขนส่งทางทะเลได้ โดยใช้ภาชนะพิเศษที่จะช่วยชะลอหรือระงับกระบวนการสุก  ผลไม้เมืองร้อนส่วนใหญ่ อาทิ มะละกอ มะม่วง นำเข้ามาจาก ไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย
ศรีลังกา ฟิลิปปินส์ บราซิล  สำหรับ เงาะ มะม่วง นำเข้าจากเปรู แอฟริกาใต้

 

การขายปลีกผักและผลไม้จะเน้นความสดและคุณภาพของผักและผลไม้เป็นหลัก ผู้บริโภคราวสองในสาม จะซื้อผักและผลไม้สดในไฮเปอร์มาร์เก็ตและซูเปอร์มาร์เก็ต หนึ่งในสี่ของผู้บริโภคซื้อผักผลไม้ในร้านค้าเฉพาะ และผู้บริโภคที่เหลือซื้อในตลาดกลางแจ้งและร้านค้าออนไลน์  ปัจจุบันร้านค้าปลีกผักและผลไม้เฉพาะมักขายโดยชุมชนชาวเวียดนามที่อาศัยอยู่ในสาธารณรัฐเช็ก

 

สำหรับช่องทางการจัดจำหน่าย เครือข่ายค้าปลีกรายใหญ่ในสาธารณรัฐเช็กไม่ได้นำเข้าผลไม้จากประเทศไทยโดยตรงและซื้อสินค้าจากผู้นำเข้าและผู้ค้าส่งในประเทศ  สำหรับ e-commerce ผู้นำเข้ารายใหญ่ที่สุดในธุรกิจอาหาร ได้แก่ ROHLIK.CZ, KOSIK.CZ, I-TESCO.CZ ไม่ได้นำเข้าสินค้าจากเอเชียโดยตรงเช่นกัน โดยร้านค้าปลีกต้องการร่วมมือกับผู้นำเข้าของเช็ก เพื่อหลีกเลี่ยงความจำเป็นที่ต้องมีพื้นที่จัดเก็บสินค้าขนาดใหญ่ การขนส่ง และต้นทุนการทำธุรกรรมอื่น ๆ  การส่งออกสินค้าจากไทยจึงควรติดต่อผู้นำเข้า ผู้ค้าส่ง และบริษัทการค้าในท้องถิ่น โดยผู้นำเข้าจะดำเนินการจัดจำหน่ายให้กับผู้ค้าส่ง เครือข่ายร้านค้าปลีก บริการด้านอาหาร ร้านค้าออนไลน์ขนาดใหญ่ หรือลูกค้ารายบุคคล

 

ตัวอย่างราคาขายปลีกผักและผลไม้สด (จากการวิจัยตลาดในปี 2563)

สินค้า หน่วย ราคา (เช็กคราวน์)
กล้วย 1 kg 35,00 – 45,00
ส้มเขียวหวาน 1 kg 80,00
ส้ม 1 kg 50,00
เลมอน 1 kg 60,00
มะนาวเขียว 1 piece 10,00
องุ่นไวน์ 1 kg 100,00 – 140,00
แอปเปิ้ล 1 kg 40,00
แพร์ 1 kg 70,00 – 80,00
บลูเบอร์รี่ 1 kg 400,00
สตรอเบอร์รี่ 1 kg 150,00 – 250,00
ลูกพีช 1 kg 120,00 – 160,00
แอปริคอต 1 kg 120,00 – 190,00
ผลไม้กีวี 1 piece 10,00
สับปะรด – เล็ก 1 piece 60,00
สับปะรด – ใหญ่ 1 piece 90,00
เงาะ 1 kg n.a.
มังคุด (จากมาเลเซีย อินโดนีเซีย) 1 kg 550,00
มะม่วง (จากเปรู) 1 piece 35,00 – 50,00
เสาวรส (จากโคลัมเบีย) 1 kg 260,00
แก้วมังกร

(จากโคลัมเบีย เอกวาดอร์)

1 piece 130,00
มะพร้าวอ่อน (จากประเทศไทย) 1 piece 80,00 – 100,00

                   หมายเหตุ: อัตราแลกเปลี่ยนในเดือนมิถุนายน 2023: 1 USD = 22.50 CZK

 

  1. อุปสรรคและข้อจำกัดในตลาด

 อัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยต่อปีในปี 2565 สูงถึง ร้อยละ 15.1 ทำให้กำลังซื้อและการบริโภคของครัวเรือนลดลง คาดว่าจะลดลงต่อเนื่องในปี 2566  เนื่องจากการลดลงของรายได้ที่แท้จริงของครัวเรือน ทำให้ความต้องการใช้จ่ายของผู้บริโภคลดลง  ภายใต้สถานการณ์ทางเศรษฐกิจดังกล่าว ประเภทของผักและผลไม้นำเข้าจึงมีอย่างจำกัด

 จากการวิจัยของหน่วยงาน SC&C ในเดือนมีนาคม 2566 ร้อยละ 57 ของผู้ตอบแบบสอบถาม ระบุว่าการซื้อผักและผลไม้ลดลงในปี 2565  2 ใน 5 ปลูกผักและผลไม้เอง และประมาณ 1 ใน 4 ได้รับมาจากญาติ

โดยสรุปข้อจำกัดของตลาด ดังนี้ 

(1) ประชากรในสาธารณรัฐเช็กมีจำนวน 10.5 ล้านคน แต่ตลาดผักและผลไม้แปลกใหม่ในสาธารณรัฐเช็กมีอย่างจำกัด โดยสินค้าส่วนใหญ่มีเฉพาะในโรงแรม ร้านอาหาร บริษัทรับจัดเลี้ยง ไฮเปอร์มาร์เก็ต ซูเปอร์มาร์เก็ตในเครือในเมืองหลวงและเมืองใหญ่เท่านั้น

(2) กำลังซื้อของชาวเช็กลดลงในปี 2565 – 2566 เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อสูง ความแตกต่างระหว่างระดับรายได้และกำลังซื้อในเมืองใหญ่และชนบท ในชนบทผู้คนมักจะปลูกผักและผลไม้ไว้กินเอง

(3) ยังไม่รู้จักผลไม้แปลกใหม่ เช่น เงาะ มังคุด ลำไย เป็นต้น และค่อนข้างลังเลที่จะทดลองรับประทานสิ่งใหม่ที่ไม่คุ้นเคย

(4) ไม่มีเที่ยวบินตรงจากกรุงเทพไปปราก

(5) ต้นทุนการขนส่งผักและผลไม้ทางอากาศสูง ทำให้ราคาผลไม้ที่นำเข้าทางอากาศราคาสูง เช่น กล้วย 1 กิโลกรัมที่ขนส่งทางทะเลจะมีราคา 40 เช็กคราวน์ ในขณะที่เงาะหรือมังคุด 1 กิโลกรัมที่ขนส่งทางอากาศจะมีราคา 550 เช็กคราวน์ 

 

  1. กฏระเบียบการนำเข้า

สำหรับข้อมูลเกี่ยวกับอัตราภาษีศุลกากร สามารถดูได้ที่เว็บไซต์:http://ec.europa.eu/taxation_customs/dds/en/tarhome.htm

H.S. คำอธิบาย ภาษีศุลกากรสำหรับประเทศไทย
0801 19 Young Coconuts 0 %
0803 1010

0803 9010

Fresh bananas 16.0 %

114 ยูโร/1000 กก.

0804 300090 สับปะรด

 

5.8 %

(Minimum import price 94.36 ยูโร/100 กก.)

0805 102810 ส้มหวาน

 

3.2 %

(Minimum import price 61.06 ยูโร/100 กก.)

0805 2190 ส้มแมนดาริน / ส้มเขียวหวาน

 

16.0 %

 

0805 501010 เลมอน

 

6.40 %

+1.10 -25.60 ยูโร/100กก.

0806 101090 องุ่นสด

 

11.5 %

(Minimum import price 218.49 EUR/100 KG)

0807 11 แตงโม

 

8.8 %

(Minimum import price 55.65 EUR/100 KG)

0807 20 มะละกอ

 

0 %
0808 10 แอปเปิ้ล

 

3.0 %

+1,1-23,80 EUR/100KG

0810 50 ผลไม้กีวี

 

8.0 % (Minimum import price 266.76 ยูโร

/100 กก.)

08109020 มะขาม ลิ้นจี่ ขนุน แก้วมังกร

 

0 %
0804 50 ฝรั่ง,มะม่วง,มังคุด

 

0 %
0810 60 ทุเรียน 8.8 %

ที่มา: EU TARIC มิถุนายน 2566

 

สาธารณรัฐเช็กเป็นสมาชิกของสหภาพยุโรป จึงมีกฎระเบียบการนำเข้าเช่นเดียวกับสมาชิกสหภาพยุโรป

การนำเข้าผลไม้สดมายังตลาดสาธารณรัฐเช็กจะต้องมีใบรับรองสุขอนามัยพืช ภายใต้กฎระเบียบการตรวจสอบสุขอนามัยพืชตามข้อกำหนดของสหภาพยุโรป

 

ข้อเสนอแนะ/โอกาส/แนวทางการเข้าสู่ตลาด

ผลไม้ที่ปลูกในประเทศสาธารณรัฐเช็ก หรือผลไม้พื้นเมือง ส่วนใหญ่เป็นแอปเปิ้ล ลูกแพร์ ลูกพีช แอปริคอต องุ่น เชอร์รี่ พลัม สตรอเบอร์รี่ ซึ่งมีจำหน่ายในฤดูร้อนเท่านั้น ช่วงเวลาที่มีการบริโภคสูงสุดคือในช่วงฤดูร้อนเนื่องจากมีสินค้ามีราคาถูกกว่าช่วงอื่น  และผลไม้นำเข้ามีราคาสูงกว่ามาก ดังนั้น ผลไม้ท้องถิ่น อาทิ แอปเปิ้ลจึงเป็นผลไม้ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในสาธารณรัฐเช็ก

สำหรับผลไม้ “แปลกใหม่” ซึ่งกลายเป็น “ผลไม้พื้นเมือง” ในตลาดเช็กที่ผู้บริโภคส่วนใหญ่ซื้อบ่อยครั้งตลอดทั้งปี และมีปริมาณมากที่สุดในฤดูหนาว ได้แก่ กล้วย ส้ม มะนาว ส้มเขียวหวาน เกรปฟรุตและกีวีฟรุต ส้มและกล้วยเป็นผลไม้ที่ผู้บริโภคชาวเช็กชื่นชอบมากที่สุดเป็นอันดับสองและสาม ผลไม้แปลกใหม่ ชนิดอื่น ๆ เช่น สับปะรด มะพร้าวสด มะม่วง มะเฟือง เสาวรส มีให้บริโภคเป็นครั้งคราว  ครัวเรือนส่วนใหญ่ในเช็กนิยมซื้อผลไม้กลุ่มนี้ในช่วงคริสต์มาสและเทศกาลพิเศษ  ข้อจำกัดคือ ราคาสินค้าผลไม้กลุ่มนี้ค่อนข้างสูง และผู้บริโภคยังไม่ค่อยรู้จักและผู้บริโภคเช็กไม่ค่อยกล้าทดลองสิ่งใหม่ที่ไม่รู้จักหรือไม่คุ้นเคย

ผลไม้ยอดนิยมจากประเทศไทยที่มีจำหน่ายตลอดทั้งปีในตลาดเช็กคือมะพร้าวอ่อน  ผลไม้เมืองร้อนชนิดอื่นๆ เช่น เงาะ แก้วมังกร มะละกอ ลิ้นจี่ ขนุน มังคุด ยังไม่ค่อยเป็นที่รู้จักในหมู่ผู้บริโภคชาวเช็ก ยกเว้นผู้บริโภคชาวเอเชียและชาวต่างชาติอื่น ๆ ที่อาศัยอยู่ในสาธารณรัฐเช็ก

 สำหรับผลไม้สดอื่น ๆ ของไทยในตลาดเช็ก ผู้นำเข้ารายใหญ่ได้เลือกนำเข้าผลไม้ไทยบางชนิด อาทิ เงาะ มะละกอ มังคุด ลิ้นจี่ โดยปกติแล้วผู้นำเข้าจะไม่ได้นำเข้าผลไม้ดังกล่าวโดยตรง แต่จะซื้อจากซัพพลายเออร์ในเนเธอร์แลนด์และเยอรมนี สาเหตุที่ผลไม้สดมีราคาค่อนข้างสูงในตลาดเช็ก สืบเนื่องจากการซื้อในปริมาณน้อยและค่าขนส่งสูง  โดยกลุ่มลูกค้าหลักคือ โรงแรม ร้านอาหาร และกลุ่มธุรกิจจัดเลี้ยง/บริการด้านอาหาร  สำหรับผักและผลไม้ดังกล่าวจะจัดส่งไปยังไฮเปอร์มาร์เก็ต ซูเปอร์มาร์เก็ตในเครือ ในเมืองหลวง เมืองใหญ่ และร้านค้าออนไลน์

สำหรับช่องทางการจัดจำหน่าย  เครือข่ายค้าปลีกรายใหญ่ในสาธารณรัฐเช็กไม่ได้นำเข้าผลไม้จากประเทศไทยโดยตรง เช่นเดียวกับใน e-commerce อาทิ rohlik.cz, kosik.cz และ i-tesco.cz ที่ไม่มีการนำเข้าสินค้าจากเอเชียโดยตรงเช่นกัน โดยร้านค้าปลึกต้องการร่วมมือกับผู้นำเข้าของเช็ก เพื่อหลีกเลี่ยงความจำเป็นที่ต้องมีพื้นที่จัดเก็บขนาดใหญ่ การบริหารจัดการการขนส่ง และต้นทุนการทำธุรกรรมอื่นๆ

 ดังนั้น การส่งออกสินค้าจากไทยโดยตรงไปยังสาธารณรัฐเช็ก ควรใช้ช่องทางการติดต่อกับผู้นำเข้า ผู้ค้าส่ง และผู้ค้าในท้องถิ่น  โดยผู้นำเข้า/ผู้ค้าท้องถิ่น จะดำเนินการจัดจำหน่ายให้กับผู้ค้าส่ง เครือข่ายร้านค้าปลีก ธุรกิจบริการด้านอาหาร ร้านค้าออนไลน์ขนาดใหญ่ และ/หรือลูกค้ารายบุคคล

 ตลาดผักและผลไม้เมืองร้อนในสาธารณรัฐเช็กถือว่ายังเป็นตลาดขนาดเล็ก โดยมีข้อจำกัดหลักคือ เรื่องราคาที่ค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับผลไม้ชนิดอื่น ๆ  นอกจากนี้ ปัจจัยอื่น ๆ ทั้งในด้านภาวะเศรษฐกิจ อัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้นมากในปี 2565 ทำให้กำลังซื้อของครัวเรือนและการบริโภคลดลง  การบริโภคภาคครัวเรือนคาดว่าจะลดลงต่อเนื่องในช่วงปี 2566 ด้วยรายได้ที่แท้จริงของครัวเรือนที่ลดลง  ทำให้ผู้บริโภคลดการใช้จ่าย  ดังนั้น การนำเข้าผักและผลไม้จึงมีอย่างจำกัดในปี 2565 และ 2566 ทำให้ไม่มีสินค้าในตลาดหลากหลายชนิด

 อย่างไรก็ดี เมื่อสถานการณ์ทางเศรษฐกิจดีขึ้น สินค้ากลุ่มนี้ถือว่ายังมีโอกาสในการขยายตลาดในอนาคต  เนื่องจากวิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไป โดยผู้บริโภคให้ความสำคัญกับเรื่องสุขภาพ และสนใจบริโภคอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพมากขึ้น  การเดินทางมาประเทศไทยของนักท่องเที่ยว ประมาณ 45,000 คนต่อปี และการเริ่มรู้จักสินค้าอาหารไทยรวมทั้งผลไม้ไทยมากขึ้น  ผ่านกิจกรรมส่งเสริมและประชาสัมพันธ์
ต่าง ๆ อาทิ กิจกรรมจับคู่ธุรกิจสินค้าผลไม้ กิจกรรมประชาสัมพันธ์ผลไม้ไทย ของกรมฯ และ สคต. ณ กรุงปราก ทั้งทางออนไลน์และออฟไลน์  กิจกรรมส่งเสริมการขายของห้างค้าปลีกที่วางจำหน่ายสินค้าผลไม้ไทย และกิจกรรมที่สคต. ณ กรุงปรากจัดร่วมกันกับหน่วยงานอื่นภายในงานต่าง ๆ เช่น งาน Thai Market งาน Festival of Embassies เป็นการให้ข้อมูลแก่ผู้บริโภคโดยตรง ซึ่งจะช่วยกระตุ้นความสนใจ และการรับรู้และรู้จักสินค้าผลไม้ไทยที่หลากหลายชนิดมากขึ้น เป็นการช่วยสร้างโอกาสในการขยายตลาดผลไม้ไทยในสาธารณรัฐเช็กได้อย่างต่อเนื่อง

 

************************************

สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงปราก

กรกฎาคม 2566

 

 

thThai