โพรไบโอติก คือ จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ช่วยในเรื่องการปรับสมดุลของระบบทางเดินอาหาร การดูดซึมสารอาหาร ป้องกันโรคและการรักษาภาวะที่ผิดปกติต่างๆ ของร่างกาย ทำให้ร่างกายมีสุขภาพแข็งแรง

โพรไบโอติกเข้ามาในตลาดสหรัฐฯ ในช่วงปี 2533 ในฐานะอาหารเสริม (supplement) และต่อมาได้รับความนิยมจากผู้บริโภคสหรัฐฯ เนื่องจากเป็นสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อภูมิคุ้มกันและระบบย่อยอาหาร ส่งผลทำให้โพรไบโอติกกลายมาเป็นสินค้ายอดนิยมในสหรัฐฯ และเป็นส่วนผสมในสินค้าหลายๆ ประเภท เช่น อาหารเสริม อาหาร ของทานเล่น เครื่องดื่มและสินค้าด้านความงาม

สินค้าโพรไบโอติกเทรนด์นิยมของชาวอเมริกัน

ทั้งนี้ จากข้อมูลของ The American Gastroenterological Association (AGA) ปี 2563 ระบุว่า ชาวอเมริกันมากกว่า 3.9 ล้านคน นิยมบริโภคโพรไบโอติก

สินค้าโพรไบโอติกเทรนด์นิยมของชาวอเมริกัน

ยอดจำหน่ายสินค้าโพรไบโอติกในตลาดสหรัฐฯ ปี 2565 มีมูลค่า 539 ล้านเหรียญสหรัฐ และคาดว่าน่าจะมีการขยายตัวเฉลี่ย 8.10% ในช่วงระหว่างปี 2566-2571 โดยอาศัยแรงหนุนจากการที่ผู้บริโภคหันมาใส่ใจสุขภาพเพิ่มมากขึ้น ผู้บริโภคมีการรับรู้ถึงประโยชน์ของโพรไบโอติกต่อสุขภาพมากขึ้นและผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพให้การรับรองประโยชน์ของโพรไบโอติในการรักษาแบบธรรมชาติที่แพร่หลายมากขึ้น  นอกจากนี้ ยังมีการใช้โพรไบโอติกเป็นส่วนผสมกับสินค้าหลายประเภท เช่น โยเกิร์ต อาหารเสริม เครื่องดื่ม ของขบเคี้ยว ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวและอาหารสัตว์เลี้ยง เหล่านี้เป็นปัจจัยเชิงบวกต่อการเติบโตของอุปสงค์ของสินค้าโพรไบโอติกในตลาดสหรัฐฯ อย่างมาก

สินค้าโพรไบโอติกเทรนด์นิยมของชาวอเมริกัน

จากการสำรวจข้อมูลผู้บริโภคสหรัฐฯ จำนวน 1,000 ราย ของ Food Insight พบว่า

54% ของผู้บริโภคนิยมโพรไบโอติก

38% ของผู้บริโภคนิยมบริโภคพรีไบโอติก

24% หรือประมาณ 1 ใน 4 ระบุว่าสุขภาพทางเดินอาหารเป็นสิ่งสำคัญที่สุดของสุขภาพในภาพรวม

32% หรือประมาณ 1 ใน 3 ระบุว่าพวกเขาพยายามบริโภคโพรไบโอติกอย่างจริงจัง

51% นิยมบริโภคโพรไบโอติกเพื่อบำรุงสุขภาพลำไส้เป็นเหตุผลอันดับหนึ่ง

38% นิยมบริโภคโพรไบโอติกเพื่อสุขภาพโดยรวม

33% นิยมบริโภคโพรไบโอติกเพื่อสร้างภูมิคุ้มกัน

13% นิยมบริโภคโพรไบโอติกเพื่อสุขภาพจิตหรืออารมณ์ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้บริโภคที่มีอายุต่ำกว่า 45 ปี

อิทธิพลของกลุ่มผู้ซื้อ Gen Z และ Millennials ที่เปิดกว้างมากขึ้นและมีแนวโน้มที่จะซื้อบริโภคสินค้าในกลุ่มนี้เพิ่มมากขึ้น ประกอบกับเทคโนโลยีที่ทันสมัย คาดว่าจะมีส่วนช่วยในผลักดันการเติบโตของตลาดให้มีการขยายตัวอย่างแข็งแกร่งในอนาคต จากข้อมูลของ Insider Intelligence ปี 2566 พบว่า ในจำนวนผู้บริโภคในสหรัฐฯ ทั้งหมด ผู้บริโภคกลุ่ม Gen Z มีสัดส่วน 20% และ Millennials มีสัดส่วน 22%

สินค้าโพรไบโอติกในตลาดสหรัฐฯ ได้แก่ โยเกริ์ต กิมจิ ผักดอง ขนมปังซาวโดว์ นมหมักคล้ายโยเกริ์ต ชาหมักคอมบูชา ซุปเต้าหู้ น้ำส้มสายชูหมักจากแอปเปิ้ล ชีส นมบัตเตอร์ เครื่องดื่มผลไม้ผสมโพรไบโอติก เป็นต้น

สินค้าโพรไบโอติกเทรนด์นิยมของชาวอเมริกัน สินค้าโพรไบโอติกเทรนด์นิยมของชาวอเมริกัน สินค้าโพรไบโอติกเทรนด์นิยมของชาวอเมริกัน สินค้าโพรไบโอติกเทรนด์นิยมของชาวอเมริกัน

เทรนด์สินค้าโพรไบโอติกแนวใหม่ในตลาดสหรัฐฯ ที่กำลังมาแรง ได้แก่  โยเกริ์ตพร้อมดื่ม เครื่องดื่มอัดลมที่มีส่วนผสมของโพรไบโอติก (probiotic carbonated drink) โปรตีนบาร์ เครื่องดื่มสำหรับนักกีฬา ของว่างพร้อมรับประทาน ครีมชีสและนม เป็นต้น

สินค้าโพรไบโอติกเทรนด์นิยมของชาวอเมริกัน

นอกจากนี้เทรนด์ใหม่ที่น่าจับตาและคาดว่าน่าจะมีบทบาทสำคัญในตลาดสหรัฐฯ ต่อไปในอนาคต ได้แก่ สินค้ากลุ่มของทานเล่นที่มีโพรไบโอติกและปราศจากกลูเต้น สินค้าบำรุงสุขภาพที่มีโพรไบโอติกเฉพาะสำหรับเพศชาย เครื่อมดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ผสมโพรไบโอติกที่ดีต่อสุขภาพ สินค้าอาหารจากพืชที่มีโพรไบโอติก สินค้าอาหารและของทานเล่นโพรไบโอติกสำหรับสัตว์เลี้ยง และสินค้าความงามที่มีส่วนผสมของโพรไบโอติก

สินค้าโพรไบโอติกเทรนด์นิยมของชาวอเมริกัน    สินค้าโพรไบโอติกเทรนด์นิยมของชาวอเมริกัน สินค้าโพรไบโอติกเทรนด์นิยมของชาวอเมริกัน

 

สินค้าความงามที่มีส่วนผสมของโพรไบโอติกมีแนวโน้มที่จะเติบโตเพิ่มขึ้นในอนาคต เนื่องจาก โพรไบโอติกมีประสิทธิภาพในการแก้ปัญหาปัญหาผิวต่างๆ เช่น สิว ริ้วรอย และรอยตำหนิ นอกจากนี้ อุปสงค์ความต้องการเครื่องสำอางจากธรรมชาติและการรับรู้เกี่ยวกับคุณประโยชน์ของโพรไบโอติกผ่านทางผู้เชี่ยวชาญที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้ผู้บริโภคเกิดความต้องการสินค้าดังกล่าวเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะ กลุ่ม Millennials

จากข้อมูลจาก Global Newswire คาดการณ์ว่าตลาดผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางโพรไบโอติกของสหรัฐฯ ปี 2566 น่าจะอยู่ที่ 15,530 ล้านเหรียญสหรัฐและปี 2571 น่าจะมีมูลค่าถึง 20,500 ล้านเหรียญสหรัฐ

โอกาสของสินค้าไทยในตลาดโพรไบโอติก

  1. การเติบโตของความต้องการสินค้านวัตกรรมใหม่ๆ ในตลาดสหรัฐฯ ทั้งอาหาร เครื่องดื่ม ของทานเล่น ตลอดจนสินค้ากลุ่มความงาม และผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพที่ได้จากจุลินทรีย์โพรไบโอติกและพรีไบโอติก น่าจะช่วยสร้างโอกาสให้สินค้าไทยได้เป็นอย่างดี
  2. การออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่สวยงาม มีข้อมูลคุณประโยชน์ของสินค้าอย่างชัดเจนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมน่าจะเป็นอีกกลยุทธ์หนึ่งที่จะช่วยดึงดูดผู้บริโภค
  3. การประชาสัมพันธ์และให้ความรู้เกี่ยวกับสินค้าผ่านช่องทางโซเชียลน่าจะช่วยเจาะกลุ่มผู้บริโภครุ่นใหม่ให้เกิดความสนใจที่จะทดลองและสร้างกระแสให้ผู้นำเข้าหันมาทดลองนำเข้าสินค้าไทยเพิ่มมากขึ้น

แหล่งที่มาของข้อมูล: The American Gastroenterological Association/Statista/Impactful Insights/food insight/ food business news/ food beverage insider/exploding topics/cnet/ Global Newswire และสคต. นิวยอร์ก

thThai