ด้วยการก่อสร้างโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่หลายแห่งต้องหยุดชะงักหรือชะลอตัว และการพึ่งพาการนําเข้าพลังงานที่เพิ่มขึ้น ฝ่ายนิติบัญญัติจึงมีข้อกังวลว่า อาจทำให้เกิดปัญหาการขาดแคลนไฟฟ้าไปจนถึงปี 2593
ตามรายงานเกี่ยวกับการพัฒนาพลังงานในช่วงปี 2559-2564 ซึ่งจัดทำโดยทีมกํากับดูแลจากคณะกรรมาธิการประจำสมัชชาแห่งชาติ ทรัพยากรพลังงานหลักของเวียดนามกําลังหมดลงเรื่อยๆ เนื่องจากไฟฟ้าพลังน้ำถูกใช้อย่างเต็มประสิทธิภาพแล้ว และผลผลิตน้ำมันและก๊าซในบางแหล่งพลังงานหลักลดลงอย่างรวดเร็ว
การก่อสร้างโรงไฟฟ้าจะแตกต่างกันไปในแต่ละภูมิภาค โดยบางโครงการ เช่น โครงการ Na Duong 2, โครงการ Quynh Lap 1, โครงการ Cam Pha 3, โครงการ Ca Voi Xanh, โครงการ LNG Thi Vai และโครงการ LNG Son My ดำเนินการอย่างช้าๆ และโครงการอื่น ๆ บางส่วนก็หยุดชะงักลง ซึ่งความล่าช้าดังกล่าวนําไปสู่การขาดแคลนไฟฟ้าในภาคเหนือในเดือนพฤษภาคม และมิถุนายน 2566
รายงานของธนาคารโลกที่เผยแพร่ในเดือนสิงหาคม 2566 ได้ประเมินความสูญเสียของเวียดนามเนื่องจากการขาดแคลนไฟฟ้าที่ 1.4
พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือร้อยละ 0.3 ของ GDP
ผู้เชี่ยวชาญเตือนเกี่ยวกับการขาดแคลนอย่างต่อเนื่องในภาคเหนือ เนื่องจากไม่มีโรงงานใหม่เกิดขึ้นในอีกสองปีข้างหน้า ความเสี่ยงของ
การขาดแคลนพลังงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปี 2567-2568 อ้างอิงรายงานโดยการไฟฟ้าเวียดนาม (EVN) ที่ส่งถึงกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าเวียดนาม โดยคาดว่า ในปี 2567 จะมีไฟฟ้าเพียงพอ แต่ในปี 2568 ภาคเหนืออาจเผชิญกับการขาดแคลนไฟฟ้า 6.8
พันล้านกิโลวัตต์ชั่วโมงในช่วงฤดูแล้งสูงสุด ในช่วงเดือนพฤษภาคม-กรกฎาคม โดยโรงงานไฟฟ้าใหม่มีกําหนดจะเริ่มดำเนินการในปลายปี 2568 นอกจากการอํานวยความสะดวกในการก่อสร้างโรงไฟฟ้า และงานโครงข่ายไฟฟ้าเพื่อส่งกระแสไฟฟ้าไปยังภาคเหนือแล้ว EVN
ยังวางแผนที่จะเพิ่มการซื้อไฟฟ้าจากลาวอีกด้วย นอกจากนี้ ตามรายงานยังระบุด้วยว่า การลงทุนในโรงไฟฟ้าและระบบโครงข่ายไฟฟ้า
ในช่วงปี 2559-2564 ยังไม่เพียงพอ ส่งผลต่อความสามารถในการเชื่อมต่อโครงข่าย และการส่งไฟฟ้าไม่สามารถตอบสนองความต้องการของโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนในภาคกลางได้ ในขณะที่ภาคเหนือของเวียดนาม การผลิตไฟฟ้าไม่เพียงพอ และยังไม่มีการเชื่อมโยง
เครือข่ายพลังงานที่มีประสิทธิภาพภายในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ตามรายงานดังกล่าว ผลผลิตและการนําเข้าไฟฟ้าต่อปี เพิ่มขึ้นร้อยละ 50.8 ระหว่างช่วงปี 2558-2563 เป็น 247 พันล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง การใช้พลังงานยังเพิ่มขึ้นร้อยละ 50 เป็นเกือบ 217 พันล้านกิโลวัตต์-ชั่วโมง
(แหล่งที่มา https://e.vnexpress.net/ ฉบับวันที่ 16 ตุลาคม 2566)
วิเคราะห์ผลกระทบ
เวียดนามเป็นหนึ่งในประเทศที่มีเศรษฐกิจเติบโตอย่างรวดเร็วของเอเชีย แต่กำลังเผชิญวิกฤตพลังงานไฟฟ้าขาดแคลนอย่างหนักมาตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคม และส่อแววยืดเยื้อไปจนถึงฤดูร้อนในช่วงเดือนมิถุนายนทุกปี ถึงขั้นต้องประกาศเวียนดับไฟฟ้าทั่วประเทศเพื่อรับมือกับความต้องการใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากอุปทานภายในประเทศไม่เพียงพอต่อความต้องการ และผลผลิตน้ำมันและก๊าซในบางแหล่งหลักลดลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งส่งผลให้มีการนำเข้าพลังงานจำนวนมาก ในอนาคตอันใกล้เวียดนามจำเป็นจะต้องซื้อไฟฟ้าจากประเทศเพื่อนบ้านมากขึ้น
นำเสนอโอกาส/แนวทาง
เวียดนามเป็นหนึ่งในประเทศน่าลงทุนและมีศักยภาพการพัฒนาอันดับต้นๆ ในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่ในอีกด้าน เวียดนามเองต้องต่อสู้กับปัญหาการขาดแคลนพลังงานมาตั้งแต่ปี 2564 เนื่องจากความต้องการพลังงานนั้นมีสูงกว่าการก่อสร้างโรงไฟฟ้าแห่งใหม่ ประเด็นการผลิตไฟฟ้าไม่เพียงพอต่อความต้องการของเวียดนาม เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่นักลงทุนต้องนำมาพิจารณาในการตัดสินใจย้ายฐานมาลงทุนตั้งโรงงานในเวียดนามเช่นกัน
ข่าวเด่นประจำสัปดาห์จากสคต. ณ นครโฮจิมินห์ ระหว่างวันที่ 23 – 27 ตุลาคม 2566