ในปี2566อุตสาหกรรมอาหารของเกาหลีใต้เกิดหลายปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อบริโภคอาทิปัจจัยด้านเศรษฐกิจที่ไม่เติบโตเท่าที่ควร ดัชนีราคาผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้นความสนใจเกี่ยวกับความปลอดภัยของอาหารและการดูแลรักษาสุขภาพการใช้เทคโนโลยีอาหาร(FoodTech)และอุปกรณ์อำนวยความสะดวกต่างๆแนวโน้มรสชาติอาหารที่แปลกใหม่การให้ความสำคัญต่อรสนิยมส่วนตัวของผู้บริโภคและสินค้าจากชุมชนรวมถึง อิทธิพลการใช้จ่ายของกลุ่มคนรุ่นใหม่หรือ MZ Generation ซึ่งก่อให้เกิดเทรนด์สินค้าและบริการที่ได้รับความสนใจ และคาดว่าเทรนด์ดังกล่าวจะต่อเนื่องถึงปี 2567 ดังนี้

 

1. เทรนด์ระมัดระวังในการใช้จ่าย


  • การปรับลดค่าใช้จ่ายสำหรับอาหารกลางวัน

    • ราคาของสินค้าโดยทั่วไปในเกาหลีใต้มีการปรับสูงขึ้น อ้างอิงจากดัชนีราคาผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 3.8 ในเดือน7 เทรนด์ในธุรกิจอาหารของเกาหลีใต้ที่น่าจับตามองในปี 2567ตุลาคม 2566 เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้าส่งผลให้เมนูอาหารกลางวันในร้านอาหารมีราคา 1 หมื่นวอนหรือประมาณ 270 บาทในปัจจุบันทำให้เกิดศัพท์ใหม่ว่า Lunchflation(Lunch+inflation) หรือค่าอาหารกลางวันสูงขึ้นเนื่องจากภาวะเงินเฟ้อ
    • เพื่อเป็นการประหยัดค่าใช้จ่าย ผู้บริโภคหลายรายได้ปรับเปลี่ยนเป็นบริโภคชุดอาหารจากร้านสะดวกซื้อหรือทำข้าวกล่องจากบ้านมารับประทานในที่ทำงานแทน
  • การใช้บริการรับอาหารด้วยตนเอง(Self-Pickup)
    • ค่าบริการส่งอาหารได้เพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก แม้จะเป็นร้านอาหารที่ระยะใกล้กับที่พักอาศัยส่งผลให้ผู้บริโภคหันมาใช้บริการ Self-Pickup หรือการรับอาหารด้วยตนเองมากขึ้นโดยการสั่งอาหารล่วงหน้าผ่านระบบออนไลน์ และเมื่อถึงเวลาก็ไปรับอาหารด้วยตนเองที่ร้านอาหาร เป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายจากบริการส่งอาหารดังกล่าว
  • การใช้ส่วนลดหรือสิทธิพิเศษจากช่องทางออนไลน์
    • จำนวนผู้บริโภคที่ต้องการสินค้าราคาประหยัดแต่คุณภาพสูงได้เพิ่มขึ้น ผู้ให้บริการด้านอาหารจึงเร่งแข่งขันผ่านการให้สิทธิประโยชน์ต่างๆ ผ่านการจำหน่ายผ่านช่องทางออนไลน์ของตนเอง
    • การจำหน่ายผ่านช่องทางออนไลน์ของตนเองทำให้ผู้ผลิตสามารถลดต้นทุนที่เกิดจากการจัดจำหน่ายผ่านตัวแทนอื่น นอกจากนี้ ยังสามารถจัดกิจกรรมมอบสิทธิประโยชน์ส่วนลดได้เอง และเป็นช่องทางการสร้างภาพลักษณ์และการรับรู้ต่อสินค้าที่ชัดเจนด้วย
    • บนช่องทางออนไลน์ของธุรกิจอาหารต่างๆ ได้มีการนำเทคโนโลยี อาทิ การออกแบบ UI/UX ให้เข้าถึงความต้องการของผู้บริโภคที่หลากหลายและสามารถใช้งานช่องทางออนไลน์ทั้งในเว็บไซต์และแอพลิเคชั่นบนมือถือได้สะดวกสบายขึ้น
  • การเพิ่มขึ้นของ Cherry Sumer(Cherry Picker+Consumer)
    • คือ กลุ่มผู้บริโภคที่แสวงหาประสิทธิภาพและประโยชน์สูงสุดจากการบริโภคและบริโภคอย่างประหยัดที่สุด อ้างจากสำนวน “Cherry Picker” แปลว่า ผู้ที่เลือกสิ่งที่ดีที่สุดให้ตนเอง ซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้เป็นผลจากภาวะเงินเฟ้อและการเพิ่มขึ้นของอัตราครอบครัวเดี่ยว
  • ความสนใจต่อสินค้าPrivate band (PB)
    • เนื่องจากมีการเสนอในราคาที่ถูกกว่าผลิตภัณฑ์ทั่วไป และบริการที่ดึงดูดลูกค้าได้ดี
    • การจำหน่ายสินค้าเกษตรชนิดผักและผลไม้ภายใต้ PB ที่แม้จะมีลักษณะภายนอกไม่สวยงามเท่ากับสินค้าคุณภาพจากฟาร์ม แต่ด้วยรสชาติที่ใกล้เคียงและราคาถูกกว่า จึงส่งผลให้เป็นที่นิยมมากขึ้นในหมู่ผู้บริโภค

2. เทรนด์รสชาติใหม่ที่น่าสนใจและการสร้างประสบการณ์และเผยแพร่บนช่องทางออนไลน์

  • การแชร์ประสบการณ์รับประทานอาหารผ่านช่องทางออนไลน์
    • ปัจจุบัน การเผยแพร่ประสบการณ์ต่างๆ ผ่านสื่อออนไลน์ได้ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตของผู้คนเป็นอย่างมาก รวมถึงความชอบทางการบริโภคซึ่งเปลี่ยนไปตามกระแสต่างๆ ได้เช่นกัน
      • ในเกาหลีใต้ มีการนำแนวทางการตลาดบนช่องทางออนไลน์ในรูปแบบนี้มาใช้อย่างแพร่หลาย โดยมักจะเริ่มจากการแบ่งปันประสบการณ์ทั่วไป การชี้พิกัดร้านค้า การเผยแพร่รูปแบบการรับประทานที่แปลกใหม่ จนไปถึงการท้าทาย เช่น การรับประทานอาหารชนิดเผ็ดที่หากสามารถเอาชนะรสชาติเผ็ดได้ ก็มักจะมองหารสชาติเผ็ดมากขึ้นอีก
      • ซึ่งกลุ่มผู้บริโภคที่มีตอบสนองต่อการกระแสใหม่ๆ นี้ มักเริ่มจากกลุ่มคนรุ่นใหม่หรือกลุ่ม MZ เนื่องจากการใช้เวลาบนช่องทางออนไลน์เป็นส่วนใหญ่ จึงทำให้สามารถติดตามกระแสได้ทัน
      • ตัวอย่างเทรนด์ที่กำลังดำเนินและได้รับความสนใจบนโลกออนไลน์ในตอนนี้ ได้แก่ อาหารทานเล่น อย่างเช่น ผลไม้เคลือบน้ำตาลและคุกกี้เกาหลียักกวารวมไปถึง อาหารรสเผ็ดชนิดต่างๆ
    • อาหารทานเล่น เช่น ผลไม้เคลือบน้ำตาล (Tanghulu) และคุกกี้เกาหลียักกวา (Yakgwa)
      • ความนิยมต่อของหวานโดยเฉพาะทั้ง 2 ชนิด ได้เผยแพร่ไปอย่างรวดเร็วจากการบอกเล่าประสบการณ์หรือความรู้สึกหลังรับประทานบนช่องทางออนไลน์ ส่งผลให้ผู้อ่านและผู้ชมต้องการที่จะรับประทานด้วยเช่นกัน

7 เทรนด์ในธุรกิจอาหารของเกาหลีใต้ที่น่าจับตามองในปี 2567

  • Hot & spicy challenge ที่ยังคงได้รับความนิยม
    • จากความนิยมต่ออาหารที่มีรสเผ็ดยังคงดำเนินอย่างต่อเนื่อง ในปัจจุบันจึงได้มีการปล่อยสินค้าออกมาในหลายรูปแบบขึ้น อาทิ บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปที่มีรสชาติเผ็ดมากยิ่งขึ้น
    • นอกจากบะหมี่สำเร็จรูปรสเผ็ดแล้ว ก็ยังมีผลิตภัณฑ์อื่นๆ อาทิ ขนมขบเคี้ยว ชุดอาหารพร้อมปรุง และร้านอาหารแฮมเบอร์เกอร์ชนิดแฟรนไชส์ ในรสชาติเผ็ดด้วย

7 เทรนด์ในธุรกิจอาหารของเกาหลีใต้ที่น่าจับตามองในปี 2567

 

3. เทรนด์อาหารทานเล่นในอดีตนำถูกมาปรับให้เข้ากับยุคสมัยใหม่ (Retro for MZ Generation)

    • ภายใต้แนวคิด Retro for MZ Generation ความนิยมต่ออาหารทานเล่นในอดีตกำลังเป็นที่นิยมในหมู่ผู้บริโภครุ่นใหม่
    • นอกจากจะเจาะกลุ่มคนรุ่นใหม่แล้ว การปรับขนมทานเล่นดังกล่าวในปัจจุบัน ยังต้องการดึงดูดความสนใจจากผู้ใหญ่ที่เคยมีโอกาสรับประทานและด้วยอัตราการเกิดที่ลดลง ส่งผลให้มีการพัฒนาขนมเปลี่ยนมามุ่งเน้นที่ความเหมาะสมกับผู้ใหญ่มากขึ้น ซึ่งหลังจากการเปิดตัวสินค้าที่พัฒนาแล้ว ก็ได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก

7 เทรนด์ในธุรกิจอาหารของเกาหลีใต้ที่น่าจับตามองในปี 2567

 

4. เทรนด์ Loconomyการสนับสนุนเศรษฐกิจในท้องถิ่น

    • ปัจจุบัน การให้ความสำคัญต่อผลิตภัณฑ์ที่มีลักษณะเฉพาะจากแต่ละภูมิภาคอาทิ ผลิตภัณฑ์เกษตร มีแนวโน้มที่สูงขึ้นในหมู่ผู้บริโภค เนื่องจากต้องการมีส่วนร่วมในการกระตุ้นเศรษฐกิจของภูมิภาคและผลิตภัณฑ์ในท้องถิ่นมีลักษณะที่โดดเด่นจึงทำให้เป็นที่น่าสนใจ
    • กระแส Loconomy ได้รับการส่งเสริมจากความร่วมมือระหว่างองค์กรรัฐบาลในท้องถิ่นและอุตสาหกรรมการกระจายสินค้า เพื่อให้ผู้บริโภคจากหลากหลายพื้นที่สามารถเข้าถึงได้ โดยมูลค่าการบริโภคสินค้าจากท้องถิ่นนี้ คาดว่าจะเติบโตขึ้นไปอีกในอนาคต เนื่องจากผู้บริโภคได้เปิดใจและให้คุณค่ากับกรอบแนวคิดเช่นการอยู่ร่วมกันในระดับภูมิภาคการปกป้องสิ่งแวดล้อมและESG มากขึ้น
    • การนำผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรในท้องถิ่นมาเป็นส่วนประกอบการปรุงอาหาร โดยมีผู้ผลิตอาหารรายใหญ่หลายรายร่วมมือกับผู้ผลิตในระดับท้องถิ่น เพื่อนำสินค้าจากท้องถิ่นต่างๆ มาพัฒนาและยกระดับคุณภาพทั้งทางด้านรสชาติและบรรจุภัณฑ์ ซึ่งได้รับการตอบรับที่ดีจากผู้บริโภค อาทิ
      • อาหารทานเล่น “ต็อก” หรือขนมเค้กข้าวจากเมืองอิกซานเป็นการร่วมมือระหว่างชุมชนและIksanNonghyubเพื่อพัฒนารสชาติและสร้างความน่าสนใจให้กับสินค้าดังกล่าวโดยมีการจัดจำหน่ายตามร้านค้าชั้นนำ เช่น GS25และ Hanaro Mart ซึ่งความต้องการต่อสินค้านี้เพิ่มขึ้นอย่างล้นหลามจนนำไปสู่กระแสการการจองสินค้าหรือ Tteok-ticketing
      • McDonald’s Korea ก็ได้เปิดตัวสินค้าเบอร์เกอร์และเครื่องดื่มภายใต้แนวคิด “Taste of Korea” ซึ่งเป็นการนำวัตถุดิบที่มีชื่อเสียงจากแต่ละท้องถิ่นมาประกอบการปรุงอาหาร โดยสินค้าที่เปิดตัว ได้แก่ น้ำส้มจากส้มฮัลลาบงของเกาะเจจู และเบอร์เกอร์ไก่กระเทียม ซึ่งนำกระเทียมมาจากเมืองชางนยอง (Changnyeong) เป็นต้น

7 เทรนด์ในธุรกิจอาหารของเกาหลีใต้ที่น่าจับตามองในปี 2567

 

5. เทรนด์สูตรอาหารและเครื่องดื่มเฉพาะบุคคล (Customizing Recipe)

    • ในสังคมสมัยใหม่ที่มีการให้คุณค่าของรสนิยมส่วนตัวก็ได้ส่งผลมาถึงธุรกิจอาหาร โดยแนวโน้มของอาหารเฉพาะบุคคลหรือการปรับสูตรอาหารเฉพาะบุคคล เป็นการนำเสนอแนวทางให้ผู้บริโภคสามารถเลือกสูตรอาหารหรือวัตถุดิบในการรับประทานอาหารของตนเองได้ ถือเป็นการตลาดที่กำลังมีการใช้เพิ่มขึ้นในเกาหลี
      • ปัจจุบัน มีการใช้แนวทางดังกล่าวในหลายเมนูอาหารที่นิยม เช่น แซนด์วิช ชาบูหม่าล่า และคิมบับ ที่ผู้บริโภคเลือกวัตถุดิบตามความชอบส่วนตัวได้
    • ตลาดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ก็ได้รับอิทธิพลจากแนวโน้มดังกล่าวเช่นกัน โดยเฉพาะในกลุ่มผู้บริโภค MZ ได้ให้ความสำคัญกับแนวโน้มนี้มาก เนื่องจากต้องการได้รับประสบการณ์จากการบริโภคใหม่ๆ
      • เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่นิยมผสมตามความชอบส่วนตัว ได้แก่ วิสกี้ไฮบอลและโทนิควอเตอร์

7 เทรนด์ในธุรกิจอาหารของเกาหลีใต้ที่น่าจับตามองในปี 2567

 

6. เทรนด์ Healthy Pleasure

    • Healthy Pleasureเป็นการเลือกรับประทานอาหารที่มีแคลลอรี่ต่ำ แต่ยังคงความอร่อยเหมือนเดิม เนื่องจากแนวโน้มนี้ยังคงได้รับความสนใจเป็นอย่างมากจากผู้บริโภคที่ต้องการดูแลสุขภาพอุตสาหกรรมอาหารจึงมุ่งเน้นไปที่ผลิตอาหารที่มีแคลอรี่เป็นศูนย์
      • เริ่มจากเครื่องดื่มไร้น้ำตาลและขยายการผลิตสินค้าชนิดนี้ออกมาในหลายรูปแบบในปัจจุบัน เช่น ชุดอาหาร ขนมทานเล่น และเครื่องดื่มถือได้ว่าเป็นอีกกระแสที่มาแรงมาในอุตสาหกรรมอาหารของเกาหลี
    • อาหารที่เน้นโปรตีนก็เป็นอีกหนึ่งสินค้าจากเทรนด์ Healthy Pleasure ที่ได้รับความนิยมเช่นกัน โดยขณะนี้มีการพัฒนาอาหารเน้นไปยังรูปแบบชุดอาหารพร้อมปรุงและพร้อมรับประทาน (HMR) เพื่ออำนวยความสะดวกในการปรุงอาหารให้กับผู้บริโภค จึงถือว่าเป็นผลิตภัณฑ์ที่รวมรสชาติความสะดวกสบายและสุขภาพเข้าด้วยกัน

7 เทรนด์ในธุรกิจอาหารของเกาหลีใต้ที่น่าจับตามองในปี 2567

 

7. เทรนด์การบริการแบบไร้พนักงาน

    • ร้านอาหารและร้านค้าต่างๆ ได้นำระบบการบริการแบบไร้พนักงาน โดยใช้หุ่นยนต์หรือเครื่องให้บริการอัตโนมัติแทนมากขึ้น เนื่องจากเงินเดือนขั้นต่ำของแรงงงานได้เพิ่มขึ้นและสถานการณ์ขาดแคลนแรงงาน
      • อุตสาหกรรมอาหารและการจัดจำหน่ายต้องนำเครื่องมือเหล่านี้มาใช้แทน และเป็นการประหยัดต้นทุนอีกด้วย

7 เทรนด์ในธุรกิจอาหารของเกาหลีใต้ที่น่าจับตามองในปี 2567

      • สำหรับหุ่นยนต์ ก็ได้มีการพัฒนาเทคโนโลยีอย่างก้าวกระโดดเพื่อทดแทนหน้าที่ต่างๆ ของแรงงานคน ก็เริ่มปรากฏมากขึ้น โดยพัฒนาจากเพียงหุ่นยนต์บริกรในร้านอาหาร เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการขนส่งพัสดุ รวมถึงหุ่นยนต์ที่สามารถปรุงอาหารได้

7 เทรนด์ในธุรกิจอาหารของเกาหลีใต้ที่น่าจับตามองในปี 2567

 

ความเห็นสำนักงานฯ อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม รวมถึงธุรกิจบริการร้านอาหารของเกาหลีใต้มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่อง จนได้พัฒนาเป็นกระแสK-Food เป็นอีกหนึ่งซอฟพาวเวอร์ที่ได้รับความนิยมอย่างมาก ซึ่งยังคงมีการพัฒนาและแข่งขันอย่างต่อเนื่องและเข้มข้น

 

สำหรับผู้ประกอบการที่สนใจจะบุกตลาดเกาหลีใต้ จำเป็นที่จะต้องติดตามแนวโน้มของสังคม ลักษณะประชากรและความชอบของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เพื่อจะได้สามารถรองรับและผลิตสินค้าที่อยู่ในความสนใจของผู้บริโภคได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งการขยายความหลากหลายของสินค้าให้เข้าถึงผู้บริโภคในทุกกลุ่ม ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มผู้ใหญ่จนถึงรุ่น MZ ก็เป็นปัจจัยสำคัญสู่ความสำเร็จ

 

ในปัจจุบัน มีปัจจัยที่รบกวนกระบวนการผลิตและการใช้จ่ายบริโภคของอุตสาหกรรมนี้ อาทิสถานการณ์ทางเศรษฐกิจที่อยู่ในช่วงภาวะเงินเฟ้อและการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของพฤติกรรมผู้บริโภคซึ่งผู้ผลิตก็ยังคงจำเป็นที่จะต้องปรับตัวให้ทันกับรูปแบบการใช้จ่ายของผู้บริโภค ซึ่งการปรับตัวตั้งแต่ปีก่อนหน้าจนถึงปี 2566 นี้ ถือว่าดำเนินพร้อมกับความต้องการของผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้น จึงเป็นการรองรับความต้องการในตลาดได้อย่างดี และคาดว่าจากปี 2567 เป็นต้นไป จะมีสถานการณ์ต่างๆ ที่ขับเคลื่อนอุตสาหกรรมอาหารของเกาหลีให้เติบโตขี้นไปอีก

 

******************************

สำนักงานผู้แทนการค้า ณ เมืองปูซาน

สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงโซล

28 ธันวาคม 2566

 

ที่มาข้อมูล:

(1)2023 Consumer Behavior Survey for Food, Korea Rural Economic Institute, www.krei.re.kr

thThai