ในเช้าวันที่ 23 มกราคม 2567 การประชุมครั้งที่สองของสภาประชาชนเทศบาลนครเซี่ยงไฮ้ครั้งที่ 16 ได้เริ่มต้นขึ้น ได้มีรายงานว่าในปีที่ผ่านมา การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของเมืองมีความก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง สังเกตได้จากเศรษฐกิจที่กำลังฟื้นตัว อ้างอิงจาก GDP ของเมืองที่อยู่ประมาณ 4.72 ล้านล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 5 รวมทั้งรายได้งบประมาณสาธารณะทั่วไปในท้องถิ่นเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.3 กำลังการบริโภคเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 และอัตราการว่างงานที่สำรวจจากในเมือง ซึ่งเฉลี่ยเหลืออยู่เพียงร้อยละ 4.5
เนื่องจากเซี่ยงไฮ้เพิ่มแรงกระตุ้นให้กับการพัฒนาอุตสาหกรรมสมัยใหม่ ทำให้ปรากฏอุตสาหกรรมเกิดใหม่ซึ่งมีมูลค่าผลผลิตรวม คิดเป็นร้อยละ 43.9 ขององค์กรอุตสาหกรรมที่พัฒนาอุตสาหกรรมของตัวเองได้เกินเป้าหมาย และมีอุตสาหกรรมชั้นนำอยู่ 3 แห่ง ได้แก่ อุตสาหกรรมวงจรรวม ชีวเวชศาสตร์ และปัญญาประดิษฐ์ ซึ่งมีมูลค่าสูงถึง 1.6 ล้านล้านหยวน โดยปริมาณการนำเข้าและส่งออกการค้าต่างประเทศรวมอยู่ที่ 4.2 ล้านล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.7 อีกทั้งการใช้เงินลงทุนจริงจากต่างประเทศก็ยังสูงเป็นประวัติการณ์ ถึง 24 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และมีปริมาณธุรกรรมรวมของตลาดการเงินอยู่ที่ 3,373.6 ล้านล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 15 จำนวน หากคำนึงถึงปัจจัยต่างๆ เป้าหมายที่เซี่ยงไฮ้กำหนดในปีนี้ GDP ของเมืองเติบโตขึ้นประมาณร้อยละ 5
เซี่ยงไฮ้มีจำนวนรถยนต์พลังงานใหม่ครองอันดับหนึ่งของโลก นักข่าวจาก 21st Century Business Herald รายงานว่าเซี่ยงไฮ้ประสบความสำเร็จ “เป็นอันดับแรก” ในปีที่ผ่านมา ปริมาณงานตู้คอนเทนเนอร์ของท่าเรือเซี่ยงไฮ้สูงถึง 49.158 ล้าน TEU ซึ่งครองอันดับหนึ่งของโลกเป็นเวลา 14 ปีติดต่อกัน รวมทั้งมีการโปรโมตรถยนต์พลังงานใหม่มากกว่า 354,000 คัน และพบจำนวนยานพาหนะในสต็อกถึง 1.288 ล้านคน ซึ่งครองอันดับหนึ่งในบรรดาเมืองต่าง ๆ ทั่วโลก อีกทั้งยังมีการจัดตั้งบริษัทใหม่โดยเฉลี่ย 1,904 แห่ง เพิ่มขึ้นร้อยละ 28.1
ในปีที่ผ่านมา จุดแข็งของ Shanghai International Economic Center เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเร่งก่อสร้างระบบอุตสาหกรรมสมัยใหม่ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากการขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจ ผ่านการกำหนดนโยบายและมาตรการเพื่อส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพในการผลิตให้สูงขึ้น เช่นเดียวกับการพัฒนาอุตสาหกรรมด้าน R&D และการพัฒนาคุณภาพในส่วนอุตสาหกรรมที่มีลักษณะเฉพาะ รวมถึงประกาศใช้และการดำเนินการตามนโยบายสนับสนุนรถยนต์สำหรับนวัตกรรมและการพัฒนาอุตสาหกรรมในสาขาอื่น ๆ เช่น ชิป ชีววิทยาสังเคราะห์ ปัญญาประดิษฐ์ในโครงสร้างที่ใหญ่ขึ้น หุ่นยนต์อัจฉริยะ เรือหรืออุปกรณ์วิศวกรรมมหาสมุทร การบินเชิงพาณิชย์ และเศรษฐกิจใหม่บนแฟลตฟอร์มออนไลน์ ดังนั้น ในปัจจุบันบริษัทจึงมีโครงการอุตสาหกรรมสำคัญๆ มากถึง 58 โครงการซึ่งมีมูลค่าเกินกว่า 1 พันล้านหยวน โดยอุตสาหกรรมที่เริ่มก่อสร้างแล้ว คือ อุตสาหกรรมการบิน อ้างอิงการสร้างเครื่องบินโดยสารขนาดใหญ่รุ่น C919 เป็นยานพาหนะทางอากาศขนาดใหญ่ที่ผลิตและเปิดในเชิงพาณิชย์เป็นลำแรกในประเทศ
ข้อคิดเห็น สคต.เซี่ยงไฮ้
ในปัจจุบันนี้ ประเทศจีนมีนโยบาลและมาตรการที่ส่งเสริมการพัฒนานวัตกรรมสมัยใหม่ในหลากหลายด้าน โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมด้านยานพาหนะ เช่น รถยนต์พลังงานไฟฟ้า ซึ่งอุตสาหกรรมรถยนต์พลังงานไฟฟ้าในนครเซี่ยงไฮ้ ถือว่าเฟื่องฟูเป็นอันดับต้น ๆ ของโลก และยังมีแนวโน้มว่าจะเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องจากผู้บริโภครุ่นใหม่คำนึงถึงความสำคัญของสุขภาพและสิ่งแวดล้อมมากขึ้น พฤติการณ์นี้จึงเป็นโอกาสสำหรับผู้ประกอบการชิ้นส่วนและอะไหล่รถยนต์ไทยที่วางแผนจะนำสินค้าเข้าสู่ตลาดจีน โดยผู้ประกอบการไทยจะต้องปรับตัวให้เข้ากับความนิยมของรถยนต์ไฟฟ้า หรือกระแสอื่น ๆ ที่อาจส่งผลกระทบต่อธุรกิจของผู้ประกอบการได้ และการเติบโตของอุตสาหกรรมรถยนต์พลังงานใหม่ก็ยังสอดคล้องกับเป้าหมายของภาครัฐ ที่ต้องการผลักดันให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตยานยนต์สมัยใหม่ในอาเซียนอีกด้วย
จัดทำโดย สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครเซี่ยงไฮ้
แหล่งที่มา
https://finance.eastmoney.com/a/202401232969817937.html
https://finance.sina.com.cn/tech/roll/2024-01-23/doc-inaenzye3289160.shtml