ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา รัฐบาลจีนได้ให้ความสำคัญในการพัฒนาอุตสาหกรรมการแพทย์แผนจีน โดยมีนโยบายและมาตราการต่างๆ เพื่อเร่งพัฒนาการแพทย์แผนจีน เช่น การนำเสนอ <แผนพัฒนาการแพทย์แผนจีนภายใต้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ระยะ 5 ปี ฉบับที่ 14 (2564-2568)> การปรับปรุงคุณภาพของสมุนไพรจีนให้มีแนวโน้มที่ดีขึ้น การวิจัยสมุนไพรจีนเพื่อปรับเปลี่ยนสายพันธุ์ได้บรรลุเป้าหมายด้านความก้าวหน้าในการเพาะปลูกทางนิเวศวิทยา โดยภาครัฐได้เพิ่มการลงทุนในอุตสาหกรรมการแพทย์แผนจีนเพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนในการแพทย์แผนจีนที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยตั้งแต่ปี 2560-2565 ตลาดยาสมุนไพรจีน ได้มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นจาก 661 ล้านหยวน เป็น 885 ล้านหยวน โดยมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปีร้อยละ 6.78

          สมุนไพรจีนมีบทบาทสำคัญต่อการแพทย์แผนจีนและประวัติศาสตร์อันยาวนานเกี่ยวกับสมุนไพรจีน    มีสมุนไพรหลากหลายชนิดและมีสรรพคุณที่แตกต่างกันไป เช่น เพื่อการบำรุง การรักษา และการปรับสมดุลในร่างกาย เป็นต้น ในปัจจุบันสมุนไพรเป็นนิยมในกลุ่มวัยกลางคนและผู้สูงอายุ ซึ่งเป็นกลุ่มผู้บริโภคหลักของอุตสาหกรรมยาจีน เนื่องจากกลุ่มวัยกลางคนและผู้สูงอายุมีแนวโน้มที่จะมีปัญหาด้านการย่อยและด้านสุขภาพอื่นๆ

ช่องทางจัดจำหน่ายหลักของสมุนไพรยาจีนมี 3 ช่องทาง ได้แก่

1) โรงพยาบาลถือเป็นช่องทางการจัดจำหน่ายหลักของอุตสาหกรรมสมุนไพรยาจีน เนื่องจากโรงพยาบาลมีความเป็นมืออาชีพและน่าเชื่อถือ รวมไปถึงสามารถให้คำแนะนำและอธิบายสรรพคุณสมุนไพรยาจีนที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภค

2) ร้านขายยาเป็นช่องทางจัดจำหน่ายที่สำคัญของอุตสาหกรรมการแพทย์จีน ข้อดีของร้านค้ายาคือความสะดวกสบาย ความหลากหลาย และสามารถให้คำแนะนำที่เหมาะสมด้านสุขภาพได้

3) ช่องทางอีคอมเมิร์ซเป็นช่องทางการจัดจำหน่ายที่เกิดขึ้นใหม่ในอุตสาหกรรมยาจีน ซึ่งข้อได้เปรียบด้านความรวดเร็วและด้านราคา

 ตารางแสดงช่องทางการจัดจำหน่ายหลักของสมุนไพรยาจีน

สถานการณ์ตลาดสมุนไพรของจีน Sichuan Provincial People’s Hospital

โรงพยาบาลถือเป็นที่จัดจำหน่ายสมุนไพรยาจีนเป็นหลัก อาทิ โรงพยาบาลประชาชนมณฑลเสฉวนตั้งอยู่ติดกับพระราชวังชิงหยางในเฉิงตู ได้รับการจัดอันดับให้เป็นโรงพยาบาลระดับตติยภูมิ (ในประเทศจีน โรงพยาบาลจะแบ่งเป็น 3 ระดับ ได้แก่ ระดับปฐมภูมิ ระดับทุตติยภูมิ และระดับตติยภูมิ ซึ่งโรงพยาบาลระดับตติยภูมินับเป็นโรงพยาบาลที่มีความเชี่ยวชาญและการบริการระดับสูง) แห่งชาติชุดแรกในปี 2545

สถานการณ์ตลาดสมุนไพรของจีน         Yifeng Pharmacy

ดำเนินธุรกิจหลักในการวิจัยและพัฒนา การผลิต การขาย และบริการส่งเสริมยาของผลิตภัณฑ์ยา

    สถานการณ์ตลาดสมุนไพรของจีน Yonghui Supermarket Co., Ltd.

เป็นบริษัทห้างสรรพสินค้าค้าปลีก และยังเป็นแบรนด์อาหารสดชั้นนําในประเทศจีน โดยบริษัทมีห่วงโซ่อุปทานทั่วโลกและระบบโลจิสติกส์ของตัวเอง

สถานการณ์ตลาดสมุนไพรของจีน JD.com

เป็นบริษัทที่ดําเนินธุรกิจหลักในการขายออนไลน์ และการจัดส่งสินค้า ซึ่งมีสินค้าหลากหลายและรวมไปถึงสินค้าสมุนไพรจีนและผลิตภัณฑ์สมุนไพร

สถานการณ์ตลาดสมุนไพรของจีน Taobao (taobao.com)

เป็นแพลตฟอร์มการช็อปปิ้งและค้าปลีกออนไลน์ที่ได้รับความนิยมในประเทศจีน ด้วยจํานวนผู้ใช้ที่เพิ่มขึ้น Taobao ได้เปลี่ยนจากตลาดค้าปลีกออนไลน์แบบ C2C อย่างเดียว เป็นตลาดค้าปลีกที่ครอบคลุมรูปแบบธุรกิจหลายอย่าง เช่น การซื้อแบบกลุ่ม (แพลตฟอร์ม Juhuasuan ภายใต้ Taobao ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มการซื้อแบบกลุ่มที่มีราคาคุ้มค่าให้กับผู้ซื้อ)  การประมูล (Alibaba Auction เป็นแพลตฟอร์มการประมูลออนไลน์ที่มีชื่อเสียงของจีน) ปัจจุบัน Taobao ได้กลายเป็นหนึ่งในแพลตฟอร์มการซื้อขายอีคอมเมิร์ซของโลก และรวมไปถึงการขายสินค้าประเภทสมุนไพรและผลิตภัตภัณฑ์สมุนไพรจีน อีกด้วย

 

          ทั้งนี้ แรงจูงใจของการบริโภคสมุนไพรยาจีน ได้แก่ แรงจูงใจในด้านการรักษา ด้านการป้องกันโรค และด้านความงาม ความต้องการของผู้บริโภคที่มีต่อสมุนไพรยาจีน ได้แก่ ความต้องการด้านความปลอดภัยของสมุนไพรยาจีน ด้านประสิทธิภาพ และด้านความสะดวกสบายของการบริโภคสมุนพรยาจีน ซึ่งเป็นความต้องการที่เพิ่มเติมของอุตสาหกรรมการแพทย์แผนจีนที่มีความต้องสูงของผู้บริโภคที่มีต่อสมุนไพรยาจีน

ข้อมูลการนำเข้าสมุนไพรของจีน (ขมิ้น/ขิง/ผงกระชายดำ และผงฟ้าทะลายโจร)

          ในปี 2565 การนำเข้าสมุนไพรของจีนค่อยๆ ฟื้นตัวกลับมาจากไตรมาสที่ 4 ของปี 2564 เนื่องจากสถานการณ์โควิดสายพันธุ์ใหม่ได้คลี่คลายลง และทำให้การค้าระหว่างประเทศกลับมามีประสิทธิภาพอีกครั้ง รวมไปถึงการนำเข้าของตลาดสมุนไพรที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องเช่นกัน โดยในปี 2565 ปริมาณการนำเข้าสมุนไพรยาจีนของจีนสูงขึ้นถึง 132,300 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 95.42 เมื่อเทียบกับปี 2564

ตารางแสดงมูลค่าการนำเข้าขมิ้นของจีน

China Import Statistics: 2566                                         

Products: 09103000 (Turmeric Or Curcuma)

                                                                                                                  หน่วย : เหรียญสหรัฐฯ

2563 2564 2565 2566 เปลี่ยนแปลง
โลก 3,418,613 5,962,283 16,186,254 11,384,388 -29.67
พม่า 3,301,895 4,083,538 11,997,674 6,939,657 -42.16
อินเดีย 97,489 1,820,176 3,970,679 4,364,747 9.92
เวียดนาม 2,698 4,880 160,085 69,323 -56.70
แคนาดา 2,430 6,421 164.24
เบลเยียม 7,789 4,240 -45.56

(ที่มา: Global Trade Atlas)

* ทั้งนี้ ตามข้อมูลล่าสุด ณ เดือนกันยายน 2566 จีนยังไม่อนุญาตให้นำเข้าขมิ้นจากประเทศไทย

 

ตารางแสดงมูลค่าการนำเข้าขิงของจีน

China Import Statistics: 2566                                 

Products: 09101200 (Ginger, Crushed Or Ground)

หน่วย : เหรียญสหรัฐฯ

2563 2564 2565 2566 เปลี่ยนแปลง
โลก 188,702 86,320 13,360 184,270 1,279.27
อินเดีย 2,959 11,460 97,710 752.62
เวียดนาม 2,038 2,053 50,400 N/A
ไทย 1 172 35,400 N/A
มาเลเซีย 4,493 1,134 760 -32.98
สหรัฐอเมริกา 106,934 839 N/A

                            (ที่มา: Global Trade Atlas)

 

ตารางแสดงการนำเข้าสินค้าพันธ์ไม้ที่มีสรรพคุณทางยา วัตถุดิบสมุนไพร

เช่น ผงกระชายดำ และผงฟ้าทะลายโจรของจีน

China Import Statistics: 2566          

Products: 12119017 (Bulbs of Fritillariae Thunbergii, Primarily for Pharmacy)

หน่วย : เหรียญสหรัฐฯ

2563 2564 2565 2566 เปลี่ยนแปลง
โลก 24,018   26,688 208,449 681.06
คาสัคสถาน 24,018 26,688 202,707 659.541
คีร์กีซสถาน 5,742

                                                                    (ที่มา: Global Trade Atlas)

 

กฎหมายและกฎระเบียบที่ข้องกับการนำเข้าสมุนไพรของจีน

  1. กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสมุนไพรและผลิตภัณฑ์สมุนไพร
  • กฎหมายควบคุมสมุนไพร (药品管理法)
  • รายชื่อสมุนไพรรวมของสาธารณรัฐจีน (中华人民共和国药典)
  1. กฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการนำเข้าสมุนไพรและผลิตภัณฑ์สมุนไพร

          ผู้ประกอบการไทยควรศึกษาและทำความเข้าใจเกี่ยวกับขั้นตอนและกฎระเบียบในการนำเข้าสมุนไพรและผลิตภัณฑ์ และดำเนินการให้สอดคล้องกับกฎหมายของจีน เพื่อเพิ่มโอกาสในการส่งออกมายังตลาดจีนให้มีความสะดวกมากยิ่งขึ้น ดังนี้

1) ผู้ประกอบการผลิตสมุนไพรในต่างประเทศจะต้องดำเนินการจดทะเบียนในศุลกากรกลางจีน

2) ศุลกากรจีนดำเนินการอนุมัติการกักกันสำหรับสมุนไพรที่นำเข้า (วัสดุสมุนไพรที่มาจากสัตว์และวัสดุสมุนไพรที่มาจากพืช) สมุนไพรที่ต้องการส่งออกมายังประเทศจีน จะต้องได้รับ “ใบอนุญาตกักกันสำหรับสัตว์และพืชที่เข้าประเทศ” ก่อน ทั้งผู้ส่งออกและผู้นำเข้าลงนามในสัญญา

3) เมื่อสมุนไพรเข้าสู่ประเทศจีน ผู้ประกอบการควรประกาศและรายงานวัตถุประสงค์การใช้งานของสมุนไพรให้ศุลกากร โดยระบุว่าเป็น “ยา” หรือ “อาหาร” เมื่อสมุนไพรที่รายงานว่าเป็น “ยา” จะควรเป็นสมุนไพรที่ถูกระบุไว้อยู่ในรายชื่อสมุนไพรรวมของสาธารณรัฐจีน และศุลกากรจีนจะดำเนินการกักกันและควบคุมตาม “มาตรการสำหรับการกำกับและการบริหารยาจีนที่เข้าและออก” สำหรับสมุนไพรที่รายงานว่าเป็น “อาหาร” ควรเป็นสมุนไพรที่สามารถนำมาใช้เป็นอาหารได้ที่ต้องตามข้อกำหนดของกฎหมาย ระเบียบของประเทศจีน ศุลกากรจีนจะดำเนินการกักกันและควบคุมตามระเบียบเกี่ยวกับอาหารการนำเข้าและส่งออก

กฎระเบียบสําหรับเอกสารการนำเข้าสมุนไพรยาจีน

          ผู้นำเข้าหรือตัวแทนจะต้องแจ้งต่อศุลกากร ก่อนหรือในขณะที่นําเข้ายาสมุนไพรจีน และจะต้องจัดเตรียมสัญญาการค้า / Bill of Lading / Packing List / INVOICE ฯลฯ และแนบเอกสารดังต่อไปนี้ 1) ใบรับรองการตรวจสอบและกักกันอย่างเป็นทางการ ที่ออกโดยประเทศผู้ส่งออก 2) หนังสือรับรองแหล่งกําเนิดสินค้า และ 3) เอกสารอื่นๆ ที่ศุลกากรต้องการ

ตลาดค้าขายยาสมุนไพร 10 อันดับแรกที่มีอิทธิพลในประเทศจีน

สถานการณ์ตลาดสมุนไพรของจีน
 1. ตลาดสมุนไพรยาจีนในเมืองโป๋โจว (Bozhou) มณฑลอานฮุย2. ตลาดสมุนไพรยาจีนในเมืองอันกั๋ว (Anguo) มณฑลเหอเป่ย์

3. ตลาดสมุนไพรยาจีนในนครเฉิงตู (Chengdu) มณฑลเสฉวน

4. ตลาดสมุนไพรยาจีนในเมืองจางซู่ (Zhangshu) มณฑลเจียงซี

5. ตลาดสมุนไพรยาจีนในนครกว่างโจว (Guangzhou) มณฑลกวางตุ้ง

6. ตลาดสมุนไพรยาจีนในเมืองหยุ้หลิน (Yulin) เขตปกครองตนเองกวางซีจ้วง

7.ตลาดสมุนไพรยาจีนในเมืองหยู่โจว (Yuzhou) มณฑลเหอหนาน

8.ตลาดสมุนไพรยาจีนในนครหลานโจว (Lanzhou) มณฑลกานซู

9.ตลาดสมุนไพรยาจีนในตำบลเลียนเฉียว (Lianqiao) มณฑลหูหนาน

10. ตลาดสมุนไพรยาจีนในนครคุนหมิง (Kunming) มณฑลยูนหนาน

 

  1. ตลาดสมุนไพรยาจีนในเมืองโป๋โจว (Bozhou) มณฑลอานฮุย: เป็นศูนย์การค้ายาจีนที่ใหญ่ที่สุดในจีนและทั่วโลก โดยตลาดครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมด 1,000 หมู่ (หรือประมาณ 416.6 ไร่) มีพื้นที่การค้า 1.2 ล้านตารางเมตร มีแผงขายยากว่า 8,000 แผง มีร้านค้ามากกว่า 2,000 ร้าน มีผู้ค้าขายสมุนไพรยาจีนกว่า 35,000 ราย มียาจีนกว่า 2,800 ชนิดและมีผู้เข้ามาเยี่ยมชมมากกว่า 60,000 คนต่อวัน โดยในปี 2565 ขนาดของอุตสาหกรรมการแพทย์ยาจีนของเมืองโป๋โจวมีมูลค่าสูงถึง 166.41 พันล้านหยวน
  2. ตลาดสมุนไพรยาจีนในเมืองอันกั๋ว (Anguo) มณฑลเหอเป่ย์: ตลาดยาจีนอันกั๋วได้เปิดอย่างเป็นทางการใน ปี 2564 เป็นตลาดการค้าขายยาจีนขนาดใหญ่ มีการแบ่งพื้นที่แสดงสินค้าเป็น 4 ส่วน โดยมีพื้นที่ทั้งหมด 3.7 หมื่นตารางเมตร มีร้านค้าประมาณ 850 ร้าน
  3. ตลาดสมุนไพรยาจีนในนครเฉิงตู (Chengdu) มณฑลเสฉวน: เป็นศูนย์การค้ายาจีนที่ใหญ่ที่สุดในภาคตะวันตกของจีน มีพื้นที่ทั้งหมด 2,090 หมู่ (หรือประมาณ 870.8 ไร่) และมีพื้นที่สิ่งก่อสร้าง 245,000 ตารางเมตร คาดว่าเมื่อสร้างเสร็จสมบูรณ์จะมีร้านค้าประมาณ 56,000 ร้านและเป็นตลาดยาจีนที่มีระบบ จัดจำหน่ายที่ได้มาตรฐานระดับชาติ
  4. ตลาดสมุนไพรยาจีนในเมืองจางซู่ (Zhangshu) มณฑลเจียงซี: ตลาดยามีพื้นที่การค้า 235 หมู่ (หรือประมาณ 97.9 ไร่) มีผู้ค้าขายสมุนไพรยาจีนกว่า 360 ราย มีสมุนไพรยาจีนมากกว่า 2,600 ชนิด
  5. ตลาดสมุนไพรยาจีนในนครกว่างโจว (Guangzhou) มณฑลกวางตุ้ง: เป็นตลาดยาจีนที่ได้รับการอนุมัติจากรัฐบาลในระดับชาติ ตั้งอยู่ในศูนย์การค้าแห่งการค้าตะวันตกของกรุงกว่างโจว มีพื้นที่สิ่งก่อสร้าง 55,000 ตารางเมตร มีร้านค้าสมุนไพรยาจีนกว่า 1,800 ร้าน ซึ่งขายสมุนไพรยาจีนและผลไม้มากกว่า 500 ชนิด
  6. ตลาดสมุนไพรยาจีนในเมืองหยุ้หลิน (Yulin) เขตปกครองตนเองกวางซี: มีพื้นที่การค้า 175 หมู่ (หรือประมาณ 72.9 ไร่) และมีการลงทุนทั้งหมด 6.5 พันล้านหยวนมีพื้นที่สิ่งก่อสร้าง 230,000 ตารางเมตร และ มีร้านค้าสมุนไพรยาจีนกว่า 3,000 ร้าน มีผู้ประกอบการสมุนไพรยาจีนประมาณ 2,000 ราย และมีสมุนไพรยาจีนกว่า 4,000 ชนิด
  7. ตลาดสมุนไพรยาจีนในเมืองหยู่โจว (Yuzhou) มณฑลเหอหนาน: เป็นตลาดยาที่สำคัญในประเทศจีน มีร้านสมุนไพรยาจีนมากกว่า 600 ร้าน มีสมุนไพรยาจีนกว่า 1,000 ชนิด โดยมีการค้าขายทั้งการขายส่งและการขายปลีก
  8. ตลาดสมุนไพรยาจีนในนครหลานโจว (Lanzhou) มณฑลกานซู: ตลาดสมุนไพรยาจีนในลานโจวเป็นศูนย์จำหน่ายสมุนไพรยาจีนทางออนไลน์ที่สำคัญ มีการค้าขายสมุนไพรยาจีนประมาณ 800 ชนิดที่มี ต้นกำเนิดจากทั่วประเทศ และมีมูลค่าการขายประมาณ 200 ล้านหยวนต่อปี
  9. ตลาดสมุนไพรยาจีนในนครคุนหมิง (Kunming) มณฑลยูนหนาน: ตลาดมีผู้ประกอบการมากกว่า 300 ร้าน มีการค้าขายยาทั้งหมดกว่า 4,000 ชนิด เป็นตลาดยาที่สำคัญที่มีบทบาทสำคัญในการจัดจำหน่ายยาจีนในภาคตะวันออก
  10.  ตลาดสมุนไพรยาจีนในตำบลเลียนเฉียว (Lianqiao) มณฑลหูหนาน: มีร้านค้าสมุนไพรยาจีนมากกว่า 1,488 ร้าน มีการค้าขายสมุนไพรยาจีนมากกว่า 2,000 ชนิด และมีบทบาทที่สำคัญในการจัดจำหน่ายยาในประเทศจีน

 

————————————————–

 

แหล่งข้อมูล :

ระบบ Global Trade Atlas

https://baijiahao.baidu.com/s?id=1761029604440340727&wfr=spider&for=pc

https://zhuanlan.zhihu.com/p/609031606

https://www.zyctd.com/zixun/204/1047229.html

https://baijiahao.baidu.com/s?id=1736395722238118816&wfr=spider&for=pc

https://m.baidu.com/bh/m/detail/ar_9321323370228343384

http://www.cnpharm.com/c/2021-03-02/779265.shtml

https://www.zhihu.com/org/tian-di-yun-tu-zhong-yao-chan-ye-da-shu-ju/posts?utm_id=0

แปลและเรียบเรียงโดย สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครเฉิงตู

thThai