ตลาดรถยนต์ของเวียดนามลดลงอยู่ในอันดับที่ 5 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ความต้องการรถยนต์ในประเทศที่ลดลงและ ตลาดรถยนต์ของเวียดนามลดลงมาอยู่อันดับที่ 5 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เนื่องจากปัจจัยหลายประการ สมาคมผู้ผลิตรถยนต์แห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Asian Automobile Manufacturers Association: AAF) ระบุว่า ในปี 2566 อินโดนีเซียเป็นผู้นำด้านยอดขายรถยนต์มีปริมาณมากกว่า 1 ล้านคัน ลดลงร้อยละ 4 มาเลเซียตามมาเป็นอันดับ 2 ด้วยจำนวน 799,731 คัน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 10.9 ในขณะที่ไทยมาเป็นอันดับ 3 ด้วยจำนวน 775,780 คัน ลดลงร้อยละ 8.7 ฟิลิปปินส์อยู่อันดับ 4 ด้วยจำนวน 429,807 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.9 เวียดนามตกลงมาอยู่ที่ 5 ด้วยจำนวน 301,989 คัน ลดลงร้อยละ 25.4 ตามมาด้วยสิงคโปร์ด้วยจำนวน 38,670 คัน และเมียนมาร์จำนวน 3,357 คัน เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2565

สมาคมผู้ผลิตรถยนต์เวียดนาม (Vietnam Automobile Manufacturers Association: VAMA) ในปี 2566 รถยนต์ทั้ง 3 กลุ่มลดลงอย่างรวดเร็ว รถยนต์นั่งส่วนบุคคลลดลงร้อยละ 27 รถยนต์เพื่อการพาณิชย์ลดลงร้อยละ 16 และรถยนต์อเนกประสงค์ลดลงร้อยละ 56 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2565 โดยรถยนต์ประกอบในประเทศมีจำนวน 181,380 คัน ลดลงร้อยละ 20 และรถยนต์นำเข้า (CBU) มีจำนวน 120,600 คัน ลดลงร้อยละ 32 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2565 ซึ่งตัวเลขดังกล่าวยังไม่รวมยอดขายจากแบรนด์ที่ไม่ใช่สมาชิกของสมาคม อาทิ เช่น VinFast, Audi, Jaguar, Land Rover, Nissan, Subaru และ Volkswagen เนื่องจากยังไม่ได้เผยแพร่ข้อมูลยอดขาย

อุตสาหกรรมยานยนต์กำลังเผชิญกับความต้องการลดลง เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยของธนาคารที่สูง ปัจจัยดังกล่าวส่งผลต่อกำลังซื้อของประชาชน ทำให้ยอดขายรถยนต์ลดลง เพื่อแก้ไขสถานการณ์ดังกล่าวและกระตุ้นการตลาด รัฐบาลได้ดำเนินมาตรการต่างๆ เพื่อส่งเสริมตลาดรถยนต์ หนึ่งในมาตรการเหล่านี้คือการลดค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนรถยนต์ที่ผลิตและประกอบในประเทศลงร้อยละ 50 ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2566 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2566 อย่างไรก็ตาม แม้จะมีการส่งเสริมดังกล่าว แต่ตลาดรถยนต์ยังไม่ประสบความสำเร็จในด้านยอดขายได้     คาดว่าการณ์กำลังซื้อรถยนต์ในปี 2567 จะเติบโตไม่มากหนัก เนื่องจากกำลังซื้อในอนาคตยังคงมีความไม่แน่นอน เนื่องจากผู้ผลิตรถยนต์อาจปรับการส่งเสริมและนโยบายการดำเนินธุรกิจ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อยอดขาย

(จาก https://en.vietnamplus.vn/)

 

 

ข้อคิดเห็น สคต

แม้ว่าผู้ประกอบการรถยนต์ในประเทศได้คาดการณ์ถึงความยากลำบากที่เกิดจากความต้องการรถยนต์ในประเทศที่ลดลง และอัตราดอกเบี้ยสูงในประเทศ รวมถึงมีความพยายามกระตุ้นยอดขายโดยจัดกิจกรรมส่งเสริมการขาย สนับสนุนค่าจดทะเบียน แต่ยังคงไม่สามารถกระตุ้นยอดขายได้มากนัก ทั้งนี้ ส่วนหนึ่งสืบเนื่องมาจากการที่อัตราดอกเบี้ยเพิ่มสูงขึ้น และธนาคารส่วนใหญ่ไม่ให้ความสำคัญกับการให้สินเชื่อรถยนต์มากนัก ในช่วงที่ผ่านมาการซื้อรถยนต์ส่วนใหญ่ซื้อในรูปแบบของเงินกู้ธนาคาร แต่ปัจจุบันอัตราดอกเบี้ยที่สูงทำให้ผู้บริโภคชะลอการใช้จ่าย ปัจจัยดังกล่าวส่งผลกระทบอย่างมากต่อตลาดรถยนต์และรถยนต์มือสอง รวมทั้งส่งผลกระทบต่อยอดขายรถยนต์ในประเทศอย่างมาก คาดการณ์ว่า ตลาดรถยนต์เวียดนามในปี 2567 จะไม่มีการเปลี่ยนแปลงมากนัก สาเหตุเป็นเพราะปัญหาทางเศรษฐกิจ อัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้น กระแสเงินสดที่จำกัดทำให้ประชาชนมีรายได้ลดลง และถูกบังคับให้ต้องควบคุมค่าใช้จ่าย

thThai