ห้าง MUJIRUSHI RYOHIN “มุจิรุชิ เรียวฮิน” หรือเรียกสั้นๆ ว่า “MUJI” (มูจิ) เป็นยี่ห้อที่มีผลิตภัณฑ์หลากหลายประเภท เริ่มต้นจากประเทศญี่ปุ่น แต่ได้กลายเป็นยี่ห้อที่รู้จักทั่วโลกด้วยความเน้นการออกแบบที่เรียบง่าย และการใช้วัสดุที่คุ้มค่าและทนทาน ซึ่งได้รับความนิยมจากผู้บริโภคที่ต้องการสินค้าที่มีคุณภาพและดีไซน์ที่เรียบง่าย โดยเฉพาะในส่วนของของใช้ในบ้าน อุปกรณ์สำหรับการเดินทาง และเสื้อผ้า ในประเทศญี่ปุ่นห้าง MUJI ถูกพิจารณาว่าเป็นสินค้าที่ใครๆ ก็ซื้อได้ ราคาย่อมเยา และมีคุณภาพ ซึ่งเป็นสินค้าที่คนญี่ปุ่นนิยม โดยมีการวางจำหน่ายในร้านของ MUJI เอง และร้านสะดวกซื้อชื่อดังในสาขาหลายแห่งทั่วประเทศ และมีการดำเนินธุรกิจที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งมีการเพิ่มสินค้าและบริการ เช่น อาหารสำเร็จรูป, ร้านค้าเฟ่, และการให้บริการที่ทำให้ผู้บริโภคสามารถมีประสบการณ์ที่สมบูรณ์แบบกับแบรนด์ MUJI
ในตลาดต่างประเทศ MUJI คือแบรนด์สินค้าที่มีความเป็นเอกลักษณ์ ก็ได้ขยายการตลาดไปยังหลายประเทศทั่วโลก เป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์ในการเติบโตและเพิ่มยอดขายของบริษัท โดยมีการเปิดสาขาใหม่ในเมืองหลายแห่งในหลายทวีป เช่น อเมริกา, ยุโรป, และเอเชีย เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าในพื้นที่นั้น และกลายเป็นอีกทางเลือกสำหรับการช้อปปิ้งที่คนรุ่นใหม่ที่มองหาไลฟ์สไตล์ที่แตกต่าง มีเอกลักษณ์ และตอบโจทย์คนทุกเพศทุกวัย สินค้าในสไตล์ MUJI ที่มีความคุ้มค่าและคุณภาพสูง แต่ก็มีความแตกต่างด้านราคา เช่น ไทย ราคาสินค้าที่มีราคาสูงกว่าที่จำหน่ายในญี่ปุ่น เนื่องจากมีต้นทุนค่าขนส่ง และภาษีที่ต้องจ่ายให้กับทางรัฐบาล
"MUJI ปรับกลยุทธ์ทางการตลาดให้เข้าถึงมากขึ้น”                 ในปี 2019 ร้านสะดวกซื้อ Family Mart (17,000สาขา) สิ้นสุดสัญญากับ MUJI และ MUJI เริ่มจำหน่ายผ่าน LAWSON ปี 2022 (14,000 สาขา) ต่อมาในปลายปี 2021 ช่วงสถานการณ์โควิด ทำให้มีการวางแผนปฏิรูปการตลาดครั้งใหญ่ และต่อมาในปี 2023 จำนวนลูกค้าก็ยังคงซบเซาต่อเนื่องมาเป็นเวลา 10 เดือนติดต่อกัน จึงได้ทำแบบสอบถามจากผู้บริโภคในประเทศญี่ปุ่น จำนวน 1,000 คน พิจารณาจาก 2 ข้อ คือ 1. ความถี่ในการเยี่ยมชมและซื้อสินค้าของลูกค้าในห้าง MUJI ร้อยละ 8.9 มากกว่า 1 ครั้งต่อสัปดาห์ ร้อยละ 25.3 มากกว่า 1 ครั้งต่อเดือน ร้อยละ 32.5 สอง ถึง สามเดือน ต่อครั้ง และ 25.3 ครึ่งปี เพียง 1 ครั้ง
และ 2. สาเหตุที่คนไม่ซื้อสินค้า MUJI แบ่งได้ 4 เหตุผล คือ มากกว่า ร้อยละ 40 ไม่มีร้านอยู่ใกล้บ้าน, ร้อยละ 30 ไม่มีสินค้าที่ต้องการ, สามารถซื้อสินค้าเนื่องจากแบรนด์อื่นๆ ใกล้เคียงกันได้ (ไม่จำเป็นต้องของ MUJI) และร้อยละ 28 สินค้าราคาแพง ดังนั้น MUJI จึงพิจารณาว่าควรจะกระจายสินค้าแหล่งจำหน่ายเพื่อให้ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค โดยเฉพาะผลิตสินค้าที่ดีต่อสภาพสิ่งแวดล้อม และมีต้นทุนลดลง
จากผลการสำรวจ ผลของแบบสอบถามดังกล่าว MUJI จึงจำเป็นต้องสรรหา Supplier และวางแผนการตอบสนองเข้าสู่ผู้บริโภคที่ประกอบด้วยสังคมผู้สูงอายุ และ วัยทำงาน ทั้งในเมืองหลักและเมืองรอง ด้วยเช่นกัน

บทวิเคราะห์ (ผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย)
บริษัทห้างร้านในญี่ปุ่นมีความเป็นเอกลักษณ์ของตน มีการแข่งขันในเชิงการตลาดสูง จำเป็นต้องพัฒนาสินค้าออกแบบบรรจุภัณฑ์ของตัวเอง ออกวางมาวางจำหน่ายจำนวนมากเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคที่มีความต้องการหลากหลาย และรูปลักษณ์สินค้า อาจมีหลากหลายแบรนด์ให้เลือก หรือมีบรรจุภัณฑ์หลายแบบหลายขนาด ซึ่งสินค้าเหล่านี้พัฒนาขึ้นตามความต้องการของผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมาย เป็นการปรับตัวตามเศรษฐกิจและแข่งขันทางการค้า ประเทศไทยซึ่งเป็นประเทศที่ส่งออกสินค้ามาประเทศญี่ปุ่นย่อมได้รับผลกระทบเช่นกัน ทำให้ผู้ผลิตและผู้นำเข้าต้องพิจารณาราคาต้นทุนสินค้ามากขึ้น
———————————————————————————-

ฉบับที่ 20 ประจำวันที่ 10 – 16 กุมภาพันธ์ 2567

สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น
อ้างอิงจาก : หนังสือพิมพ์ Nikkei MJ ฉบับวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2567

thThai