เมื่อวันที่ 22 มกราคม 2567 กระทรวงการคลังของอินเดียออกประกาศเพิ่มอัตราภาษีนำเข้าอัญมณีและเครื่องประดับสำหรับทองคำ เงิน และโลหะมีค่าประเภทเหรียญ เป็นอัตราร้อยละ 15 ซึ่งประกอบด้วยภาษีศุลกากรพื้นฐาน (Basic Customs Duty: BCD) ในอัตราร้อยละ 10 โดยเพิ่มขึ้นอีกร้อยละ 5 เพื่อให้สอดคล้องกับนโยายภาษีสินค้าเกษตรเชิงพาณิชย์ (AIDC) ซึ่งจะได้รับการยกเว้นจากอัตราภาษีเพิ่มเติมจากแผนสวัสดิการสังคม (SWS) (ก่อนหน้านี้จัดเก็บที่อัตราภาษีร้อยละ 10) โดยกระทรวงการคลังให้นิยาม ‘Gold and Silver findings’ คลอบคลุมถึงส่วนประกอบเล็กๆ เช่น ตะขอ กุญแจ ล็อค ตัวล็อค ตัวจับ ตัวหมุด ที่ใช้เป็นส่วนหนึ่งของเครื่องประดับ
ข้อมูลเพิ่มเติม
1. รัฐบาลอินเดียโดยกระทรวงการคลังได้ปรับขึ้นอัตราภาษีศุลกากรขาเข้าสำหรับเงินแท่งดิบ (Silver Dore Bar) และโลหะที่เกี่ยวข้อง โดยปรับให้สอดคล้องกับอัตราภาษีที่เคยกำหนดกับทองคำ เงิน โดยภาษีศุลกากรพื้นฐาน (BCD) สำหรับเครื่องเงินในอัตราร้อยละ 10 (จากร้อยละ 7.5) รวมอัตราภาษีสินค้าเกษตรเชิงพาณิชย์ (AIDC) ร้อยละ 5 (จากร้อยละ 2.5) ส่วนเงินแท่งดิบ ให้จัดเก็บภาษี BCD ร้อยละ 10 รวมภาษี AIDC ร้อยละ 4.35 ส่วนประกอบของเงิน ให้จัดเก็บภาษี BCD ร้อยละ 25 (จากร้อยละ 22) ในขณะที่ทองคำไม่มีการปรับเปลี่ยน
2. อินเดียเป็นผู้บริโภคสินค้าเครื่องประดับทองอันดับที่ 2 ของโลก โดยส่วนใหญ่เป็นการนำเข้าจากต่างประเทศ การประกาศการขี้นภาษีในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อกรอบการนำเข้าโลหะมีค่าให้มีประสิทธิภาพและสร้างภูมิทัศน์ทางเศรษฐกิจในประเทศ
3. ในช่วงการประชุมชี้แจงงบประมาณปี 2021-2022 นาย Nirmala Sitharaman รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้เสนอคณะรัฐมนตรีอนุมัติการจัดเก็บอัตราภาษีสินค้าเกษตรเชิงพาณิชย์ (AIDC) ในกลุ่มสินค้าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ทอง เงิน ผ้าฝ้าย ถั่ว แอปเปิ้ล น้ำมันเบนซินและน้ำมันดีเซล ทั้งนี้ การที่รัฐบาลออกมาตรการการจัดเก็บภาษีสินค้าเกษตรเชิงพาณิชย์ (AIDC) มีวัตถุประสงค์เพื่อรักษาตลาดสินค้าภายในประเทศให้ธุรกิจสามารถผลิตสินค้าได้มากขึ้น พร้อมทั้งสามารถรักษาสินค้าคงคลังและประมวลผลผลิตทางการเกษตรได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเพื่อสร้างความมั่นใจให้กับเกษตรกรว่าจะมีรายได้ที่ดีขึ้น โดยการกำหนดอัตราภาษีเชิงพาณิชย์และค่าธรรมเนียมที่เกิดขึ้นนี้ รัฐบาลจะระมัดระวังไม่ผลักปัญหาให้ไปตกอยู่ที่ผู้บริโภค
4. รัฐบาลเห็นว่าการปรับขึ้นภาษีนำเข้าสำหรับทองคำ เงิน และโลหะมีค่าประเภทเหรียญ ในครั้งนี้ จะมีส่วนช่วยเพิ่มรายได้ให้แก่ประเทศ เสริมสร้างความมั่นคงให้แก่เศรษฐกิจของประเทศ ตลอดจนส่งเสริมโปรแกรมสวัสดิการของรัฐ
ข้อคิดเห็น
1. การออกนโยบายปรับขึ้นภาษีสินค้าอัญมณีทั้งทองคำ เงิน และโลหะมีค่าประเภทเหรียญ ในครั้งนี้ จะส่งผลให้ภาคธุรกิจและผู้บริโภคเกิดความตระหนักและเตรียมความพร้อมในการรับมือของผลกระทบที่จะเกิดขึ้น รวมไปถึงให้ผู้บริโภคได้รับทราบการเปลี่ยนแปลงของมาตรการการค้าระหว่างประเทศและนโยบายที่ส่งเสริมภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมภายในประเทศ ซึ่งภาคอุตสาหกรรมที่จะได้รับผลกระทบโดยตรงในครั้งนี้คือ ภาคธุรกิจอัญมณีและเครื่องประดับที่เน้นการนำเข้าอัญมณีและเครื่องประดับที่ทำจากทอง เงิน และส่วนอื่นๆ ของเงินที่ใช้เป็นส่วนประกอบของสินค้า นอกจากนี้ ภาคอุตสาหกรรมด้านโลหะมีค่าของอินเดีย จะได้รับอานิสงค์ของการปรับขึ้นในครั้งนี้ทั้ง กระบวนการผลิตและกำลังการผลิตของโรงงาน ซึ่งยังส่งผลกระทบในเชิงบวกทำให้ภาคธุรกิจภายในประเทศยกระดับขีดความสามารถทางการแข่งขัน ในการพัฒนาสินค้า นำเสนอทางเลือกเพื่อตอบสนองผู้บริโภค
2. สคต.เห็นว่า มาตรการการปรับภาษีในกลุ่มสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับจำพวกทอง เงินและโลหะมีค่า เป็นเพียงการแก้ไขปัญหาการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดที่เกิดขึ้นในประเทศ เนื่องจากที่สคต. ได้ติดตามสถานการณ์มาโดยตลอดพบว่ามาตรการดังกล่าวนอกจากจะไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างรวดเร็วแล้ว ยังนำมาซึ่งผลข้างเคียงส่งผลด้านลบต่ออุตสาหกรรมเครื่องประดับภายในประเทศ เนื่องจากภาคอุตสาหกรรมต้องรับภาระต้นทุนที่เกิดขึ้นจากการปรับขึ้นภาษี และขาดวัตถุดิบทางการผลิต ทั้งนี้ ผู้ประกอบการไทยควรทำความเข้าใจ คอยติดตามมาตรการของรัฐบาลอินเดีย และเตรียมความพร้อมต่อการตั้งรับในเชิงธุรกิจ ที่รัฐบาลอินเดียมักจะมีแนวโน้มออกประกาศใช้มาตรการกีดกันทางการค้าเพื่อปกป้องอุตสาหกรรมภายในประเทศอยู่เสมอ
ที่มา: 1. https://timesofindia.indiatimes.com/city/delhi/government-raises-duty-on-gold-and-silver-findings-and-coins-to-15/articleshow/107097014.cms
2.https://www.moneycontrol.com/news/business/commodities/government-raises-import-duties-for-gold-silver-findings-spent-catalysts-containing-precious-metals-to-15-12105881.html