หลาย ๆ คนตื่นเต้นเมื่อนาย Robert Richter ในวัย 76 ปี ได้แชร์เรื่องงานของเขาให้ฟัง นั่นเป็นเพราะว่านาย Richter เป็นเจ้าของบริษัท Ritex ผู้ผลิตถุงยางอนามัยรายใหญ่ของเยอรมนี โดยในปีที่ผ่านมาบริษัทฯ (บริหารโดยครอบครัว Ritex) ซึ่งตั้งอยู่ในเมือง Bielerfeld ได้จำหน่ายถุงยางไปแล้วกว่า 100 ล้านชิ้น และเจลหล่อลื่นกว่า 8 หมื่นลิตร ซึ่งคิดเป็นเงินสูงถึง 14.5 ล้านยูโร (สูงสุดในประวัติศาสตร์ของบริษัทฯ) ที่ผ่านมาธุรกิจของบริษัทฯ จะเติบโตกว่า 3 – 5% ต่อปี แต่เฉพาะในปีล่าสุดผลประกอบการเติบโตขึ้นถึง 20% ซึ่งเป็นผลมากยอดจำหน่ายที่เพิ่มขึ้น นาย Richter กล่าวว่า “นั่นทำให้เราประหลาดใจนิดหน่อย” เพราะบริษัทของเขากำลังได้รับประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลงเทรนด์ทางสังคม “ความเบื่อที่จะกินยาคุม” ปีที่ผ่านมาถุงยางอนามัยได้เข้ามาแทนที่ยาเม็ดคุมกำเนิด เป็นสิ่งที่ถูกนำมาใช้คุมกำเนิดกันมากที่สุด โดยชาวเยอรมันกว่า 53% ใช้ถุงยางอนามัยในการคุมกำเนิด ในระหว่างที่ปี 2007 มีการใช้เพียง 36% เท่านั้น ซึ่งในอนาคตมีแนวโน้มที่ชาวเยอรมันจะลดการใช้ยาคุมกำเนิดลงต่อเนื่อง นี้เป็นข้อมูลจากสุขศึกษาของรัฐบาลเยอรมัน (Bundeszentrale für gesundheitliche Aufklärung)

 

ด้วยการเปิดตัวยาเม็ดคุมกำเนิดในทศวรรษ 1960 ความต้องการถุงยางอนามัยในช่วงแรกได้ลดลงอย่างรวดเร็ว แต่นับตั้งแต่ยุค 80 สถานการณ์ได้เปลี่ยนแปลงไป สาเหตุหลักมาจากการป้องกันการติดเชื้อเอดส์ และจากข้อมูลของบริษัทวิจัยตลาด NielsenIQ ปรากฏว่า บริษัทฯ ครองส่วนแบ่งตลาดเป็นอันดับ 2 ของตลาดถุงยางในเยอรมนี (ประมาณ 20%) หรือมีความใหญ่พอ ๆ กับสินค้ายี่ห้อ Billy Boy ของบริษัท Mapa ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มบริษัท Newell Brands จากสหรัฐอเมริกา มีเพียงบริษัท Durex ผู้นำตลาดโลกซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของบริษัท Reckitt Benckiser ผู้ผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคตั้งแต่ปี 2010 เท่านั้นที่มีขนาดใหญ่กว่า โดยเมื่อรวมกันแล้ว ทั้ง 3 ยี่ห้อก็จะมีส่วนแบ่งตลาดถึง 85 ถึง 90% ในตลาดถุงยางอนามัย เทรนด์ของสินค้าจะแตกต่างจากสินค้าบริโภคอื่น ที่จะมีสินค้า Private Label ราคาถูกกำลังเฟื่องฟูอย่างหนัก เมื่อพูดถึงถุงยางอนามัยผู้บริโภคจำนวนมากไว้วางใจผลิตภัณฑ์สินค้ามียี่ห้อมากกว่ายี่ห้อ Private Label จากการประมาณการมีการจำหน่ายถุงยางอนามัยในเยอรมนี 200 ถึง 250 ล้านชิ้นต่อปี (โดยประมาณ) ซึ่งสอดคล้องกับมูลค่าการซื้อขายที่อยู่ที่ 50 ล้านยูโรโดยประมาณ

 

บริษัทจำนวนมากไม่ลงทุนในธุรกิจนี้เพราะมีขนาดเล็กเกินไป หนึ่งในปัญหาก็คือ ถุงยางอนามัยจัดว่าเป็นผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ ดังนั้น เงื่อนไข/อุปสรรคในการเข้าสู่ตลาดจึงสูงเป็นพิเศษ โดยผู้ผลิตจะต้องได้รับอนุมัติจำหน่ายผลิตภัณฑ์จากเจ้าหน้าที่เป็นพิเศษ นาย Richter จึงค่อนข้างนิ่งเฉยกับคู่แข่งรายใหม่ อย่างเช่น บริษัท Einhorn บริษัท Start Up จากกรุงเบอร์ลิน นอกจากนี้พวกเขาเองก็ไม่ได้ผลิตสินค้าขึ้นเองอีกด้วย โดยตลาดถุงยางอนามัยซบเซามานานหลายปีจึงมีการต่อสู้ด้านการกระจายสินค้าระหว่างผู้ผลิตดั้งเดิมกับรายใหม่ สิ่งนี้ทำให้ผลิตภัณฑ์มีความคล้ายคลึงกันมากสามารถแข่งขันได้ยาก ชายหนุ่มเจ้าของ Einhorn จากกรุงเบอร์ลินในวัย 43 ปีกล่าวว่า “ปัจจุบันมีนวัตกรรมใหม่ ๆ อยู่เป็นจำนวนมาก แต่บ่อยครั้งที่ผู้บริโภคปลายทางไม่สามารถแยกแยะได้” เขากล่าวว่า ถุงยางอนามัยของเขา มีความเหนียว ยืดหยุ่น และทนทานต่อการฉีกขาดมากขึ้นกว่าสินค้าดั้งเดิมในตลาด ด้วยเอกลักษณ์ของสินค้ายี่ห้อ Ritex พวกเขาต้องการดึงดูดลูกค้าที่มีอายุเกิน 25 ปี และมีความสัมพันธ์กับคู่รักในระยะยาว โดยบริษัท Ritex พยายามสร้างความแตกต่างจากคู่แข่งด้วยความพิเศษ 2 เรื่อง ได้แก่ (1) การผลิตที่ยั่งยืน และ (2) ตราสัญลักษณ์ “ผลิตในเยอรมนี (Made in Germany)” บริษัท Ritex ซื้อยางธรรมชาติจากบริษัทที่ได้รับการรับรองเพื่อนำมาผลิตผลิตภัณฑ์รุ่น “Pro Nature (เพื่อธรรมชาติ)” ขณะเดียวกันบริษัทฯ ให้ความสำคัญกับการอนุรักษ์และปกป้องแมลงอีกด้วย โดยเป็นสโลแกนโฆษณาว่า “ช่วยกันจ้ำจี้ ช่วยกันรักษาผึ้ง (Fummeln für die Hummeln เป็นการเล่นคำ Fummeln แปลว่า จ้ำจี่ ซึ่งพร้องเสียงกับคำว่า Hummeln ที่แปลว่าผึ่ง)” นาย Richter ออกมายอมรับว่า “เมื่อคุณซื้อถุงยางอนามัย คุณน่าจะให้ความสำคัญกว่าการผลิตที่ยั่งยืน แต่เนื่องจากการที่ถุงยางยี่ห้อนี้เติบโตเป็นอย่างดี ทำให้เราคิดว่า เราเดินมาในทิศทางที่ถูกต้องแล้ว”

 

จาก Handelsblatt 4 มีนาคม 2567

thThai