รายงานสถานการณ์สินค้าข้าวในฟิลิปปินส์ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2567

รายงานสถานการณ์สินค้าข้าวในฟิลิปปินส์                

    1. สถานการณ์การผลิตและการบริโภค

               ฟิลิปปินส์เป็นตลาดผู้บริโภคขนาดใหญ่อันดับสองของอาเซียน ด้วยจำนวนประชากรประมาณ 113 ล้านคน ในปัจจุบันและเป็นประเทศที่บริโภคข้าวเป็นอาหารหลัก ชาวฟิลิปปินส์บริโภคข้าวจำนวนมากโดยมีอัตราการบริโภคประมาณ 133 กิโลกรัมต่อคนต่อปี เนื่องจากข้าวเป็นอาหารหลักที่ต้องรับประทานกับอาหาร ทุกประเภท ขนมหวานและขนมทานเล่นหลายชนิด ยังทำมาจากข้าวด้วยเช่นเดียวกัน อย่างไรก็ตาม แม้ว่าฟิลิปปินส์สามารถปลูกข้าวเพื่อบริโภคภายในประเทศ แต่ไม่สามารถผลิตข้าวได้เพียงพอต่อความต้องการ โดยผลิตข้าวได้เฉลี่ยปีละ 12 – 13 ล้านตัน แต่มีปริมาณการบริโภคกว่า 16 ล้านตัน ทำให้จำเป็นต้องพึ่งพาการนำเข้าข้าวประมาณกว่า 3 ล้านตันต่อปี

1.1 การผลิต

      • ข้อมูลจาก USDA ระบุว่าในปีการผลิต 2566/67 ฟิลิปปินส์มีพื้นที่เพาะปลูกข้าว 4.80 ล้านเฮกตาร์เพิ่มขึ้นจากปีการผลิต 2565/66 ที่มีพื้นที่เพาะปลูก 4.70 ล้านเฮกตาร์ สำหรับผลผลิตข้าวระบุว่า ในระหว่าง ปีการผลิต 2564/65 – 2565/66 ฟิลิปปินส์มีผลผลิตข้าวเฉลี่ยปีละ 12.58 ล้านตัน         สำหรับปีการผลิต 2566/67 คาดว่าฟิลิปปินส์จะมีผลผลิตข้าวประมาณ 12.50 ล้านตัน ลดลงจากปีการผลิต 2565/66 ที่มีผลผลิต 12.63 ล้านตัน และคาดการณ์ว่าผลผลิตต่อเฮกตาร์อยู่ที่ 4.15 ตันต่อเฮกตาร์
      • สำนักงานสถิติแห่งชาติฟิลิปปินส์ (PSA) คาดการณ์ว่าในช่วงไตรมาสที่สามของปี 2566 (เดือนกรกฎาคม – ธันวาคม 2566) จะมีปริมาณผลผลิต     ข้าวเปลือก 4.94 ล้านตัน ลดลงร้อยละ 2 จากช่วงเดียวกันของปี 2565 ที่มีปริมาณ 5.04 ล้านตัน
      • ฟิลิปปินส์มีพื้นที่เพาะปลูกข้าวคิดเป็นร้อยละ 35 ของพื้นที่เพาะปลูกพืชเกษตรทั้งหมด ทั้งนี้ ในอนาคตคาดว่าการผลิตจะเติบโตอย่างจำกัด           ด้วยพื้นที่การเกษตรมีที่ว่างไม่เพียงพอ เพราะประเทศส่วนใหญ่ เป็นภูเขาและประกอบไปด้วยเกาะเล็กๆหลายเกาะ ไม่เหมาะต่อการขยาย             การผลิตข้าว นอกจากนี้ พื้นที่ชุ่มน้ำหรือพื้นที่เพาะปลูกพืชอื่นๆ มีจำกัด ในขณะที่พื้นที่อาศัยเขตเมืองขยายเข้าไปใน
        พื้นที่เกษตรกรมากขึ้น
        1.2 การบริโภค
      • ระหว่างปี 2564/65 – 2565/66 ฟิลิปปินส์บริโภคข้าวเฉลี่ย 15.70 ล้านตันข้าวสารต่อปี สำหรับปี 2566/67 คาดว่าฟิลิปปินส์จะมีการบริโภคข้าวจำนวน 16.50 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจากปี 2565/66 ที่มีการบริโภค 16.00 ล้านตัน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.12 ทั้งนี้ ฟิลิปปินส์มีการบริโภคข้าว     โดยประมาณ 36,000 ตันต่อวัน
      • ข้อมูลจาก USDA ระบุว่า การบริโภคข้าวคิดเป็นประมาณร้อยละ 20 ของงบประมาณของครัวเรือน ชาวฟิลิปปินส์ แต่สำหรับครัวเรือนที่มีรายได้น้อย  หรือยากจนอาจคิดเป็นถึงประมาณร้อยละ 30

รายงานสถานการณ์สินค้าข้าวในฟิลิปปินส์ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2567

1.3 สต็อกข้าวภายในประเทศ

                     ณ วันที่ 1 มกราคม 2566 ฟิลิปปินส์มีปริมาณสต็อกข้าวรวม 2.027 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากวันที่ 1 ธันวาคม 2566 ที่มีปริมาณสต็อก 1.869 ล้านตัน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.9 แต่เพิ่มขึ้นจากวันที่ 1 มกราคม 2565 ที่มีปริมาณสต็อก 1.850 ล้านตัน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.6 โดยแบ่งเป็นสต็อกข้าวครัวเรือน 1 ล้านตัน สต็อกข้าว  เชิงพาณิชย์ 9.780 แสนตัน และสต็อกข้าวของหน่วยงาน National Food Authority (NFA) 4.868 หมื่นตัน

รายงานสถานการณ์สินค้าข้าวในฟิลิปปินส์ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2567

ที่มา: Philippine Statistics Authority (เข้าถึงข้อมูลวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2567)

2.การส่งออก

2.1 ผลผลิตข้าวของฟิลิปปินส์ส่วนใหญ่ใช้เพื่อการบริโภคภายในประเทศ แต่จะมีการส่งออกข้าวบางส่วน โดยส่วนใหญ่จะเป็นข้าวกลุ่มคุณภาพพิเศษและส่งออกไปยังประเทศที่มีแรงงานชาวฟิลิปปินส์อาศัยอยู่โดยเฉพาะ  ภูมิภาคตะวันออกกลาง โดยระหว่างปี 2563 – 2565 ฟิลิปปินส์ส่งออกข้าวเฉลี่ยปีละ 396.53 ตัน โดยในปี 2565 ฟิลิปปินส์ส่งออก 465.86 ตัน เพิ่มขึ้นจากปี 2564 ที่มีปริมาณ 410.69 ตัน                    หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.43

2.2 สำหรับปี 2566 (เดือนมกราคม – พฤศจิกายน) ฟิลิปปินส์ส่งออกข้าวปริมาณ 377.62 ตัน ลดลงจาก ช่วงเดียวกันของปี 2565 ที่มีปริมาณส่งออก 410.42 ตัน หรือลดลงร้อยละ 7.99 ตลาดส่งออกหลัก ได้แก่ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ซาอุดิอาระเบีย และกาตาร์ ตามลำดับ

สถิติการส่งออกปี 2563 – 2566 (เดือนมกราคม –พฤศจิกายน)

รายงานสถานการณ์สินค้าข้าวในฟิลิปปินส์ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2567

ที่มา : Global Trade Atlas

3. การนำเข้า

3.1 ในระหว่างปี 2563 – 2565 ฟิลิปปินส์นำเข้าข้าวเฉลี่ยปีละ 2.97 ล้านตัน โดยในปี 2565 ฟิลิปปินส์นำเข้าข้าวปริมาณ 3,868,392 ตัน เพิ่มขึ้นจากปี 2564 ที่มีการนำเข้า 2,952,270 ตัน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 31.03

3.2 สำหรับปี 2566 (เดือนมกราคม – พฤศจิกายน)  ฟิลิปปินส์นำเข้าข้าวปริมาณ 3,128,825 ตัน ลดลงจากช่วงเดียวกันของปี 2565 ที่มีปริมาณนำเข้า 3,554,374 ตัน หรือลดลงร้อยละ 11.97 โดยแหล่งนำเข้าข้าวสำคัญ   อันดับ 1 คือเวียดนาม (ร้อยละ 87.10) รองลงมาได้แก่ ไทย (ร้อยละ 5.96) และเมียนมา (ร้อยละ 4.33) ตามลำดับ

สถิติการนำเข้าปี 2563 – 2566 (เดือนมกราคม – พฤศจิกายน)

รายงานสถานการณ์สินค้าข้าวในฟิลิปปินส์ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2567

ที่มา : Global Trade Atlas

3.3 ฟิลิปปินส์ออกกฎหมายเปิดเสรีนำเข้าข้าว (Rice Tariffication Bill หรือ Republic Act No.11203) มาบังคับใช้แทนนโยบาย          การจำกัดการนำเข้าข้าวเชิงปริมาณ (Quantitative Restrictions – QR) โดยคาดหวังว่าจะช่วยลดภาวะเงินเฟ้อ ทำให้สินค้าข้าว          มีราคาต่ำลง โดยกฎหมายดังกล่าวมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 5 มีนาคม 2562 สรุปรายละเอียดของกฎหมายดังกล่าว ดังนี้

(1) ข้าวที่นำเข้าจากประเทศสมาชิกอาเซียนเสียภาษีนำเข้าในอัตราร้อยละ 35 และนอกประเทศอาเซียนเสียภาษีร้อยละ 40 ภายในปริมาณนำเข้า (Minimum Access Volume: MAV) 350,000 ตัน และร้อยละ 180 สำหรับปริมาณนอก MAV (ซึ่งเป็นอัตราเพดานสูงสุด แต่ปัจจุบันฟิลิปปินส์เรียกเก็บที่ร้อยละ 50)

(2) ผู้นำเข้าจะต้องขอใบอนุญาตนำเข้า รวมทั้งใบอนุญาตสุขอนามัยและใบอนุญาตสุขอนามัยพืช จากหน่วยงาน Bureau of Plant Industry (BPI) ภายใต้กระทรวงเกษตร (Department of Agriculture: DA) ก่อนการนำเข้า เพื่อป้องกันแมลงหรือศัตรูพืชเข้ามาในประเทศฟิลิปปินส์

(3) จัดตั้งกองทุนเพื่อพัฒนาความสามารถทางการแข่งขันของอุตสาหกรรมข้าว (RCEF) โดยจะนำรายได้จากการเก็บภาษีนำเข้าข้าวจำนวน 10 พันล้านเปโซต่อปี มาจัดตั้งเป็นเวลา 6 ปี ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อสนับสนุนชาวนาฟิลิปปินส์ให้สามารถแข่งขันกับข้าวที่นำเข้ามาได้

               ทั้งนี้ การออกกฎหมาย Rice Tariffication Bill ของฟิลิปปินส์ ทำให้ช่องทางการซื้อขายในแบบรัฐต่อรัฐ (G to G)              โดยหน่วยงาน National Food Authority (NFA) ถูกยกเลิกตามกฎหมายดังกล่าวไปด้วยและได้ยกเลิกอำนาจหน้าที่ของ NFA               ในการออกใบอนุญาต การจดทะเบียนสำหรับผู้นำเข้า ผู้ค้า ผู้ดำเนินการคลังสินค้า ผู้ค้าส่งและผู้ค้าปลีกและอื่นๆ โดย NFA จะยังคงมีบทบาทสำคัญเฉพาะด้านการควบคุมและรักษาเสถียรภาพราคาในประเทศ รวมทั้งการรักษาปริมาณสต็อกข้าวภายในประเทศเพื่อให้เกิดความมั่นคงทางอาหาร

3.4 เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2562 กระทรวงเกษตรฟิลิปปินส์ออกคำสั่ง Memorandum Order No. 28 on Supplementary provision to DA Department Circular No.4, series of 2016 เกี่ยวกับ Guidelines on the importation of plants, planting materials and plant products for commercial purposes กำหนดกฎระเบียบเกี่ยวกับมาตรการสุขอนามัยการนำเข้าข้าวที่เข้มงวดมากขึ้น ในขั้นตอนการออกใบ Sanitary and phytosanitary import clearance (SPSIC) เพื่อครอบคลุมการตรวจสอบสารโลหะหนักระดับสารตกค้างกำจัดศัตรูพืช สารปนเปื้อน/สิ่งสกปรกภายนอกรวมทั้ง microbiological parameters เพื่อควบคุมความปลอดภัยของอาหารในสินค้าข้าว ทั้งนี้ ได้กำหนดให้สินค้าข้าวจะต้องถูกจัดส่งจากประเทศต้นทางภายในวันที่กำหนด ตามที่ได้รับอนุมัติและสินค้าต้องเดินทางมาถึงไม่ช้ากว่า 60 วันจากวันที่ต้องจัดส่ง

    1. รูปแบบการค้าข้าวในฟิลิปปินส์

4.1 การค้าปลีกแบบสมัยใหม่ (Supermarket) ในปัจจุบัน มีรูปแบบการจัดจำหน่าย ข้าวใน 2 ลักษณะ ดังนี้

         (1) การตักจำหน่ายเป็นกรัม/กิโลกรัม มีการจำหน่ายข้าวหลากหลายชนิด อาทิ Melagkit Premium, Jasmine, Milagrosa, Passion, Brown Healthy, California, Commodore, Platinum, Denurado และ GS Supreme

 (2) ข้าวบรรจุถุง เป็นข้าวที่บรรจุถุงในหลากหลายขนาดขึ้นอยู่กับจำนวนกิโลกรัมที่บรรจุต่อถุงมีตั้งแต่บรรจุถุง 2 กิโลกรัม 5 กิโลกรัม 10 กิโลกรัม 20 กิโลกรัม และ 25 กิโลกรัม ซึ่งข้าว Thai Jasmine ที่ระบุว่า นำเข้าจากไทย เป็นข้าวที่มีราคาสูงที่สุดในขนาดบรรจุถุง 5 กิโลกรัม นอกจากนี้ยังมีข้าวออร์แกนิคอยู่ด้วย เช่น Red rice, Brown rice และ Black rice มีหลากหลายขนาดบรรจุเช่นเดียวกัน

4.2 การค้าในตลาดแบบดั้งเดิม ส่วนใหญ่จะเป็นข้าวแบบตักจำหน่ายที่ มีข้าวหลากหลายประเภท อาทิ Sinandomeng, Well milled rice, Denorado, Ganador, Thai rice, Blue Bird, Sung Song, Thai Jasmine, Fancy rice, Malangkit เป็นต้น และยังมีข้าวออร์แกนิค อาทิRed rice, Brown rice, Black rice, Perurutong และ Ifugao นอกจากนี้ ใน ตลาดนี้ยังพบร้านค้าที่ได้รับการรับรองจากองค์การอาหารแห่งประเทศฟิลิปปินส์ (NFA) ให้จำหน่ายข้าว NFA ที่มีราคา ถูกกว่าราคาข้าวทั่วไป ซึ่งพบว่า Sinandomeng เป็นข้าวที่มีผู้บริโภคเลือกซื้อมากที่สุด

5. สถานการณ์ราคาข้าว ณ วันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2567

5.1 ราคาข้าวท้องถิ่น (Local Rice) ดังนี้

    • ข้าวคุณภาพพิเศษ ราคา 57.00 – 65.00 เปโซต่อ กก. (ประมาณ 36.48 – 41.60 บาทต่อ ก.)
    • ข้าวพรีเมี่ยม ราคา 50.00 – 60.00 เปโซต่อ กก. (ประมาณ 32.00 – 39.04 บาทต่อ กก.)
    • ข้าวขัดสีคุณภาพดี ราคา 48.00 – 55.00 เปโซต่อ กก. (ประมาณ 30.72 – 35.20 บาทต่อ กก.)
    • ข้าวทั่วไป ราคา 50.00 เปโซต่อ กก. (ประมาณ 32.00 บาทต่อ กก.)

5.2 ราคาข้าวนำเข้า (Imported Rice) ดังนี้

    • ข้าวคุณภาพพิเศษ ราคา 57.00 – 65.00 เปโซต่อ กก. (ประมาณ 36.48 – 41.60 บาทต่อ ก
    • ข้าวพรีเมี่ยม ราคา 50.00 – 65.00 เปโซต่อ กก. (ประมาณ 32.00 – 41.60 บาทต่อ กก.)
    • ข้าวขัดสีคุณภาพดี ราคา 50.00 – 55.00 เปโซต่อ กก. (ประมาณ 32.00 – 32.64 บาทต่อ กก.)
    • ข้าวทั่วไป ราคา 50.00 – 51.00 เปโซต่อ กก. (ประมาณ 32.00 – 32.64 บาท
      ที่มา: กระทรวงเกษตรฟิลิปปินส์ / อัตราแลกเปลี่ยนประมาณ 1 เปโซ เท่ากับ 0.64 บาท

      การสำรวจราคาขายปลีกข้าวในซุปเปอร์มาร์เก็ต/ห้างสรรพสินค้าในเขตเมโทรมะนิลา

รายงานสถานการณ์สินค้าข้าวในฟิลิปปินส์ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2567

ที่มา: การสำรวจห้างซุปเปอร์มาร์เก็ตในเมืองมากาติ เขตเมโทรมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ เดือนสิงหาคม 2566

 7. โอกาส อุปสรรคและความท้าทาย

รายงานสถานการณ์สินค้าข้าวในฟิลิปปินส์ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2567

    1. ประเด็นสำคัญ/สถานการณ์ COVID-19

          8.1 หลังจากฟิลิปปินส์เปิดเสรีนำเข้าเมื่อเดือนมีนาคม 2562 พบว่า ปริมาณนำเข้าข้าวของฟิลิปปินส์ เพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก ซึ่งส่วนใหญ่เป็นข้าวราคาถูก (ข้าวเวียดนาม) ทำให้ผู้ค้า (Traders) กดราคารับซื้อข้าวภายในประเทศ ส่งผลให้ราคาข้าวเปลือกภายในประเทศลดลงอย่างต่อเนื่องและเกษตรกรชาวนาได้รับความเดือดร้อน โดยเรียกร้องให้รัฐบาลเร่งแก้ไขปัญหาดังกล่าว

       8.2 เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2562 กระทรวงเกษตร (Department of Agriculture) ประกาศเปิดการไต่สวนขั้นต้น (Preliminary Investigation) เพื่อใช้มาตรการปกป้องการนำเข้าสินค้าที่เพิ่มขึ้น (Safeguard Measure) สำหรับสินค้าข้าว ภายใต้พิกัดศุลกากร 1006.30.30 1006.30.40 1006.30.91 และ 1006.30.99 โดยอ้างว่าอุตสาหกรรมข้าวภายในประเทศได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรงจากปริมาณนำเข้าข้าวที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างมากแต่ต่อมาเมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2562 กระทรวงเกษตรได้ประกาศยุติการไต่สวนดังกล่าวและรัฐบาลได้ให้เงินช่วยเหลือแก่เกษตรกรชาวนาเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนจากราคาข้าวเปลือกตกต่ำแทน

       8.3 การบังคับใช้กฎระเบียบเกี่ยวกับมาตรการสุขอนามัยการนำเข้าข้าวที่เข้มงวดมากขึ้นของรัฐบาลฟิลิปปินส์ตามข้อ 3.3 ทำให้เป็นอุปสรรคในการนำเข้าข้าว โดยการกำหนดกฎระเบียบดังกล่าวเป็นกลยุทธ์ในการชะลอการนำเข้าข้าวในช่วงฤดูกาลเก็บเกี่ยวและลดแรงกดดันจากกลุ่มเกษตรกรชาวนาท้องถิ่น ซึ่งก่อนหน้านี้ได้เรียกร้องให้รัฐบาลบังคับใช้มาตรการ Safeguard เพื่อแก้ไขปัญหาการไหลทะลักของปริมาณข้าวนำเข้าที่มีราคาถูกส่งผลให้ราคาข้าวเปลือกตกต่ำ

            8.4 สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด -19 ทำให้รัฐบาลฟิลิปปินส์ต้องใช้มาตรการปิดเมือง (Lockdown) และมาตรการกักกันชุมชนขั้นสูง (Enhanced Community Quarantine) พื้นที่เกาะลูซอน รวมถึงเมโทรมะนิลา    เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดฯ ทั้งนี้ กระทรวงเกษตรฟิลิปปินส์ยืนยันว่าข้าวซึ่งเป็นอาหารหลักจะมีเพียงพอสำหรับการบริโภคของประชาชนในช่วงของการปิดเมืองจากปริมาณข้าวในสต็อกของ NFA และผลผลิตข้าวที่กำลัง เก็บเกี่ยว รวมถึงปริมาณข้าวที่นำเข้าโดยเอกชนมาก่อนหน้านี้อย่างต่อเนื่อง

         8.5 รัฐบาลฟิลิปปินส์วางแผนจะจัดซื้อข้าวปริมาณ 300,000 ตันในรูปแบบรัฐบาลต่อรัฐบาล (G to G) จากประเทศผู้ผลิตข้าวสมาชิกอาเซียน เช่น ไทย เวียดนาม เมียนมา และนอกอาเซียน เช่น อินเดีย และปากีสถาน เพื่อเพิ่มปริมาณข้าวในสต็อกในช่วงวิกฤติ COVID-19 โดยมอบหมายให้หน่วยงาน Philippine International Trading Corporation (PITC) ภายใต้กระทรวงการค้าและอุตสาหกรรมฟิลิปปินส์เป็นผู้ดำเนินการ ต่อมาเมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2563 หน่วยงาน PITC ได้จัดประมูลการนำเข้าข้าวแบบ G to G ปริมาณ 300,000 ตันดังกลาว ผ่านระบบ Teleconference (zoom) โดยมีประเทศเข้าร่วมเสนอขาย 4 ประเทศ ได้แก่ เมียนมา เวียดนาม ไทย และอินเดีย โดยกรมการค้าต่างประเทศในฐานะผู้แทนรัฐบาลไทยได้เข้าร่วมการประมูลดังกล่าว และเมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2563 หน่วยงาน PITC ได้แจ้งผลการประเมินการเสนอราคาขายต่อประเทศผู้เข้าร่วมการประมูล (Bid Ranking of Qualified Bids)

      8.6 เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2563 กระทรวงการค้าและอุตสาหกรรมฟิลิปปินส์ ออกมาระบุว่าหน่วยงาน PITC จะยุติการดำเนินการนำเข้าข้าวแบบ G to G เนื่องจากขณะนี้ไม่มีความจำเป็นต้องนำเข้าข้าว G to G ดังกล่าวหลังจากรัฐบาลเวียดนามได้ยกเลิกการห้ามส่งออกข้าวตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2563 เป็นต้นมา ทำให้สามารถคาดการณ์สถานการณ์ปริมาณสต็อกข้าวในประเทศได้ นอกจากนี้ เห็นว่าการนำเข้าข้าวโดยภาคเอกชนตามปกติ จะทำให้รัฐบาลมีรายได้จากการจัดเก็บภาษีนำเข้าเพิ่มมากขึ้น                  ซึ่งเงินภาษีนำเข้าข้าวจะถูกจัดเก็บเข้ากองทุน RCEF เพื่อส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมข้าวในประเทศ อย่างไรก็ตาม ตามรายงานข่าวก่อนหน้านี้ระบุว่าหน่วยงาน PITC ประสบปัญหาในการขอรับเงินงบประมาณในการจัดซื้อข้าวดังกล่าวจากกระทรวงงบประมาณและการจัดการ (Department of Budget and Management: DBM)

       8.7 เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2564 ประธานาธิบดี Rodrigo R. Duterte ได้ลงนามคำสั่ง Executive Order (EO) No.135         ปรับลดอัตราภาษีนำเข้าทั่วไป (MFN Tariff Rates) สำหรับสินค้าข้าวเป็นการชั่วคราว 1 ปี ดังนี้

รายงานสถานการณ์สินค้าข้าวในฟิลิปปินส์ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2567

            ทั้งนี้ การออกคำสั่งดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการขยายแหล่งนำเข้าข้าวเพิ่มเติมนอกเหนือจากการนำเข้าจากประเทศสมาชิกอาเซียนเพื่อเพิ่มอุปทานข้าวในประเทศและเป็นการสร้างหลักประกันความมั่นคง ด้านอาหารท่ามกลางสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 รวมทั้งเพื่อรักษาเสถียรภาพราคาให้อยู่ในระดับ ที่เหมาะสมและลดแรงกดดันต่ออัตราเงินเฟ้อ

8.8 เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2565 ประธานาธิบดี Rodrigo R. Duterte ได้ลงนามคำสั่ง Executive Order (EO) No.171 ขยายระยะเวลาการปรับลดอัตราภาษีนำเข้าทั่วไป (MFN Tariff Rates) เป็นการชั่วคราวสำหรับสินค้าข้าวออกไปจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2565 จากเดิมที่มีกำหนดครบอายุการบังคับใช้ในวันที่ 1 มิถุนายน 2565 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรองรับผลกระทบของสถานการณ์                ความขัดแย้งระหว่างยูเครนและรัสเซีย และ เพื่อเพิ่มอุปทานข้าวในประเทศ รวมทั้งเพื่อสร้างหลักประกันความมั่นคงทางอาหาร    ของประเทศ

8.9 เมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2565 ประธานาธิบดี Ferdinand R. Marcos, Jr. ได้ลงนามคำสั่ง Executive Order (EO) No.10 ขยายระยะเวลาการปรับลดอัตราภาษีนำเข้าทั่วไป (MFN Tariff Rates) เป็นการชั่วคราว สำหรับสินค้าข้าว รวมถึงสินค้าเนื้อสุกร ข้าวโพด และถ่านหินที่มีกำหนดครบอายุการบังคับใช้ในวันที่ 31 ธันวาคม 2565 ออกไปจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2566 ทั้งนี้ การออกคำสั่งดังกล่าวระบุถึงความจำเป็นในการรักษาเสถียรภาพราคา และสร้างหลักประกันความมั่นคงทางอาหารของประเทศ รวมทั้งเพื่อช่วยเพิ่มอุปทานสินค้าเกษตรพื้นฐานในประเทศ และกระจายแหล่งอุปทาน

8.10 เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2566 ประธานาธิบดี Ferdinand R. Marcos, Jr. ได้ลงนามคำสั่ง Executive Order (EO) No.50 ขยายระยะเวลาการปรับลดอัตราภาษี MFN Tariff Rates สินค้าข้าวที่ครบอายุการบังคับใช้ในวันที่ 31 ธันวาคม 2566 ออกไปจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2567 เพื่อรักษาเสถียรภาพราคาอาหารพื้นฐานให้คงที่ เนื่องจากคาดว่าจะเกิดผลกระทบด้านลบจากปรากฎการณ์         เอลนีโญ

  1. สถานการณ์ความเคลื่อนไหวล่าสุดในตลาดข้าวฟิลิปปินส์ (เดือนกุมภาพันธ์ 2567)

9.1 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรออกมายืนยันและให้คำมั่นว่าจะมีอุปทานข้าวเพียงพอจนถึงครึ่งปีแรกของปี 2567 จากการนำเข้าและการเก็บเกี่ยวข้าวที่กำลังจะมาถึงในช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน และจะรักษาเสถียรภาพราคาข้าวจนถึงเดือนมิถุนายน 2567 แม้ว่าจะเกิดปรากฎการณ์เอลนีโญก็ตาม นอกจากนี้ ฟิลิปปินส์ยังได้  ลงนามบันทึกข้อตกลงการจัดหาข้าวระยะเวลา 5 ปีกับเวียดนามซึ่งรับประกันในการจัดหาข้าว 1.5 – 2 ล้านตันต่อปี

9.2 ประธานาธิบดีเฟอร์ดินานด์ มาร์กอส จูเนียร์ และนายกรัฐมนตรีฮุน มาเน็ต ของกัมพูชา ตกลงที่จะส่งเสริมการค้าข้าวระหว่างสองประเทศในระหว่างการประชุมทวิภาคีนอกรอบการประชุมสุดยอดพิเศษอาเซียน-ออสเตรเลีย ทั้งนี้ ประธานาธิบดีเฟอร์ดินนานด์        มาร์กอส จูเนียร์ ระบุว่าฟิลิปปินส์ยังคงจำเป็นต้องนำเข้าข้าวเพื่อรักษาปริมาณสต็อกข้าว โดยหนึ่งในวิธีการที่จะช่วยเสริมสร้างอุปทาน คือ การปรับปรุงความสัมพันธ์กับประเทศผู้ผลิตข้าวอื่นๆ เช่น กัมพูชา เป็นต้น

9.3 สำนักอุตสาหกรรมพืช (BPI) กระทรวงเกษตรฟิลิปปินส์ เปิดเผยตัวเลขการนำเข้าข้าว ณ วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2567 มีปริมาณ 569,286 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 44.28 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีปริมาณนำเข้า 394,553 ตัน โดยนำเข้าจากเวียดนามมากเป็นอันดับ 1 ปริมาณ 327,418.09 ตัน รองลงมาได้แก่ ไทย ปริมาณ 154,234.38 ตัน และปากีสถาน ปริมาณ 60,638.30 ตัน

———————————————–

สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงมะนิลา

กุมภาพันธ์ 2567

thThai