⧫ การยกเลิกทําธุรกรรมการค้ากับประเทศจีนเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้
สำนักข่าว Tasnim เปิดเผยว่า จากการประมวลผลทางสติถิการยกเลิกการทำธุรกรรมการค้ากับประเทศจีนเป็นเรื่องที่เป็นไปได้ยากมาก เนื่องจากประเทศจีนเป็นประเทศผู้มีอำนาจด้านเศรษฐกิจและการค้า โดยจากการประมวลผลครั้งนี้ พบว่า 3,000 บริษัทใน จีน ฝรั่งเศส เยอรมนี อิตาลี โปแลนด์ สเปน อังกฤษ และสหรัฐอเมริกา ที่เก็บข้อมูลสำหรับทำวิจัยเกี่ยวกับแนวโน้มการค้าโลกในปี 2024 ผลที่ได้คือ ประเทศฝรั่งเศส อังกฤษ และสหรัฐอเมริกา เป็นประเทศที่มีความสำพันธ์ทางการค้ากับจีนเป็นจำนวนที่สูงมาก อีกทั้งมากกว่า 50% ของการนำเข้าสินค้าสหรัฐจากจีนนั้นเป็นสินค้าหลัก ส่งผลให้การยกเลิกการค้ากับประเทศจีนเป็นเรื่องที่ยากและอาจจะเป็นไปไม่ได้
ที่มา: https://www.tasnimnews.com/fa/news/1403/02/30/3088289

⧫ การหยุดงานวันเสาร์ส่งผลให้มีความความสัมพันธ์กับประเทศมุสลิมมากยิ่งขึ้น
Mr. Alireza Kolahi Samadi ประธานคณะกรรมาธิการอุตสาหกรรมของหอการค้าอิหร่านได้รายงานว่า การที่อิหร่านเปลี่ยนวันหยุดจากเดิมวันพฤหัสบดี-วันศุกร์ มาเป็นวันศุกร์-วันเสาร์ ไม่ใช่แค่เพียงขยายความสำพันธ์กับประเทศที่ไม่ใช่อิสลามแล้ว อีกทั้งยังส่งผลให้ขยายความสำพันธ์กับประเทศอิสลามกับประเทศเพื่อนบ้านเช่นกัน นาย Kolahi Samadi ได้กล่าวเพิ่มเติมอีกว่าอิหร่านต้องปรับเปลี่ยนวันหยุดให้ตรงกับระบบสากล เพื่อผลประโยช์ในภาพรวมของประเทศโดยเฉพาะการค้าและความสำพันธ์ระหว่างประเทศ และไม่เห็นด้วยกับผู้ที่คัดค้านกับการหยุดวัสเสาร์ ด้วยเหตุผลที่ว่าหยุดตรงกับวันหยุดของศาสนายูดาห์
ที่มา: https://www.tasnimnews.com/fa/news/1403/02/30/3088447/

⧫ อัตราความยากจนในอิหร่าน
ธนาคารโลกได้เปิดเผยการประมาณการล่าสุดเกี่ยวกับความยากจนในหลายประเทศทั่วโลก รวมถึงอิหร่านเกี่ยวกับเกณฑ์ความยากจนของทุกประเทศทั่วโลกเกณฑ์ความยากจนระหว่างประเทศมีตัวบ่งชี้สาม
ประการของเส้นความยากจน: เส้นความยากจนขั้นรุนแรงที่มีรายได้ 2.15 ดอลลาร์ต่อคน เส้นความยากจนที่ 3.65 ดอลลาร์ต่อวัน และเส้นความยากจนที่ 6.85 ดอลลาร์ต่อวัน จากการสำรวจสถิติธนาคารโลกเกี่ยวกับสถานการณ์ความยากจนในอิหร่าน แสดงให้เห็นว่าอิหร่านในช่วงปี 2564 และ 2565 สถานการณ์ความยากจนในอิหร่านดีขึ้น ตามเส้นความยากจนทั้งสามที่กําหนดโดยธนาคาร
ดังนั้นจํานวนผู้ที่มีความยากจนในอิหร่านซึ่งกําหนดโดยรายได้รายวัน 2.15 ดอลลาร์ต่อคน (ตามดัชนีความเท่าเทียมกันของกําลังซื้อ ณ ราคาคงที่ในปี 2017) เทียบเท่ากับ 0.8% ของประชากรทั้งหมดอิหร่านในปี 2020 ซึ่งตัวเลขนี้ลดลงเหลือ 0.7% ในปี 2021 และ 0.5% ในปี 2022 ดังนั้นความยากจนในอิหร่านจึงลดลงเป็นเวลาสองปีติดต่อกันและอัตราส่วนของประชากรที่มีความยากจนต่อประชากรทั้งหมดในช่วงเวลานี้ได้ลดลงสู่ตัวเลขที่ตำที่สุดในช่วงห้าปีที่ผ่านมา
ที่มา: https://www.tasnimnews.com/fa/news/1403/02/30/3088321/

thThai