ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง เร่งกระตุ้นให้เขตปกครองตนเองหนิงเซี่ยหุยปฏิรูปเชิงลึก

ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง เร่งกระตุ้นให้เขตปกครองตนเองหนิงเซี่ยหุยปฏิรูปเชิงลึก

เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2567 ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง (ควบตำแหน่ง เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์จีน และ ประธานคณะกรรมาธิการการทหารส่วนกลาง) ได้เดินทางไปเยี่ยมเยือนชุมชนที่อยู่อาศัยในนครหยินชวน เมืองเอกของเขตปกครองตนเองหนิงเซี่ยหุย 

(แหล่งที่มา : https://mp.weixin.qq.com/s/iZLzYt2-A7gqgy19xLEBsQ)

ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ได้เน้นย้ำถึงความสำคัญของการอนุรักษ์ระบบนิเวศและการพัฒนาคุณภาพสูงของลุ่มแม่น้ำเหลือง พร้อมเรียกร้องให้เขตปกครองตนเองหนิงเซี่ยหุย ซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่จีนตะวันตกเฉียงเหนือ ให้ดำเนินการปฏิรูปอย่างเชิงลึกมากขึ้นในอุตสาหกรรมที่สำคัญ นอกจากนี้ ประธานาธิบดีสียังสนับสนุนให้เขตฯ หนิงเซี่ยหุย ซึ่งเป็นภูมิภาคสำคัญตามเส้นทางสายไหมยุคโบราณ มีส่วนร่วมในการสร้างความร่วมมือโครงการหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง (Belt and Road Initiatives) และโครงการระเบียงการค้าเชื่อมทางบกกับทางทะเลสายใหม่ (New International Land-Sea Trade Corridor) และกระชับความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการค้ากับประเทศอาหรับให้ไกล้ชิดมากยิ่งขึ้น พร้อมทั้งยังช่วยส่งเสริมการพัฒนาพื้นที่ตอนในให้เปิดสู่โลกภายนอกมากขึ้น

 

ในการประชุมที่จัดขึ้นที่นครหยินชวนเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2567 ที่ผ่านมา ประธานาธิบดีสีได้กล่าวกับรัฐบาลท้องถิ่นว่า การปกป้องระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อมของแม่น้ำเหลือง เทือกเขา “เหอหลาน” เทือกเขา “ลิ่วผาน” และภูเขาหลัวซาน ควรเป็นพื้นฐานที่ต้องพิจารณาเมื่อรัฐบาลเขตฯ หนิงเซี่ยหุยวางแผนการปฏิรูปและพัฒนา

 

แม่น้ำเหลือง ซึ่งเป็นแม่น้ำที่ยาวเป็นอันดับที่สองของจีน หรือที่รู้จักกันในชื่อ “แหล่งกำเนิดของอารยธรรมจีน” โดยมีต้นกำเนิดในมณฑลชิงไห่ ไหลผ่าน 9 มณฑล/เขตปกครองตนเอง ก่อนที่ลงสู่ทะเลปั๋วไห่ในมณฑลซานตง เนื่องจากเขตฯ หนิงเซี่ยหุยเป็นพื้นที่ระดับมณฑลแห่งเดียวในประเทศที่ตั้งอยู่ในลุ่มแม่น้ำเหลืองทั้งหมด โดยถูกล้อมรอบด้วยทะเลทรายทั้งสามด้าน และเผชิญกับภารกิจที่เข้มงวดในการอนุรักษ์และฟื้นฟูระบบนิเวศ  ประธานาธิบดีสี ได้กล่าวว่า เขตฯ หนิงเซี่ยหุยจะต้องใช้ระบบที่เข้มงวดที่สุดเกี่ยวกับการจัดการทรัพยากรน้ำ และส่งเสริมการปกป้องและฟื้นฟูสภาพแวดล้อมทางนิเวศของป่าไม้ ทุ่งหญ้า พื้นที่ชุ่มน้ำ และทะเลทราย เพื่อทำให้เขตฯ หนิงเซี่ยหุยหรือที่รู้จักกันในชื่อ “เจียงหนาน (พื้นที่ทางตอนใต้ของแม่น้ำแยงซี ซึ่งขึ้นชื่อด้วยเรื่องความอุดมสมบูรณ์ด้านทรัพยากรและทิวทัศน์ที่สวยงาม) ทางตอนเหนือ” มีความสวยงามมากขึ้น

 

ประธานาธิบดีสี ยังได้กล่าวถึงความโดดเด่นของสภาพทางภูมิศาสตร์และทรัพยากรที่เป็นเอกลักษณ์ของเขตฯ หนิงเซี่ยหุย โดยสนับสนุนให้เขตฯ หนิงเซี่ยหุย ดำเนินการพัฒนาอุตสาหกรรมตามแนวทางที่แตกต่างกัน เพื่อสร้างระบบอุตสาหกรรมทันสมัยที่มีข้อได้เปรียบของตนเองและมีความสามารถในการแข่งขันได้ เช่น อุตสาหกรรมถ่านหินสมัยใหม่ อุตสาหกรรมพลังงานสะอาด และสินค้าไวน์กับสินค้าเก๋ากี้ เป็นต้น

 

ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง เร่งกระตุ้นให้เขตปกครองตนเองหนิงเซี่ยหุยปฏิรูปเชิงลึก

ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง เร่งกระตุ้นให้เขตปกครองตนเองหนิงเซี่ยหุยปฏิรูปเชิงลึก

(แหล่งที่มา : https://www.forestry.gov.cn/c/www/dfdt/572206.jhtml

https://www.sohu.com/a/379150256_120207613)

ข้อเสนอแนะ สคต. ณ นครเฉิงตู

ในปี 2566 เขตปกครองตนเองหนิงเซี่ยหุยมีมูลค่าการส่งออกไปไทยอยู่ที่ 116.52 ล้านเหรียญสหรัฐขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 57.07 สินค้าส่งออกไปไทยที่สำคัญ 3 อันดับแรก ได้แก่ 1) เคมีภัณฑ์เบ็ดเตล็ด          2) เคมีภัณฑ์อินทรีย์ 3) เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ บอยเลอร์ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ ในขณะเดียวกัน เขตปกครองตนเองหนิงเซี่ยหุยมีมูลค่าการนำเข้าจากไทยอยู่ที่ 1.33 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.16 สินค้านำเข้าที่สำคัญจากไทย 3 อันดับแรก 1) ยางและผลิตภัณฑ์ยาง 2) เอสเซนเชียลออยส์ เครื่องหอม เครื่องสำอางค์ เครื่องประทินผิว 3) เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ บอยเลอร์ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ

 

ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา มูลค่าการค้าระหว่างเขตปกครองตนเองหนิงเซี่ยหุยและประเทศไทยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยทั้งสองฝ่ายมีความร่วมมืออย่างกว้างขวางทั้งในด้านสินค้าเกษตร ผลิตภัณฑ์เคมี ผลิตภัณฑ์เครื่องกลและไฟฟ้า และสาขาอื่นๆ ทั้งนี้ เขตฯ หนิงเซี่ยหุยและไทยมีโครงสร้างทางอุตสาหกรรมที่สามารถเสริมสร้างซึ่งกันและกันได้ อาทิ สินค้าเคมี ถ่านหิน เก๋ากี้ และไวน์ ซึ่งมีความต้องการในตลาดไทย ในขณะที่สินค้าเกษตร บริการการท่องเที่ยวของไทยก็มีศักยภาพค่อนข้างสูงในตลาดจีนเช่นกัน

 

นอกจากนี้ การดำเนินการตาม “ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (Regional Comprehensive Economic Partnership: RCEP) ” จะนำประโยชน์ในการสร้างโอกาสทางการค้าให้กับเขตฯ หนิงเซี่ยหุยและไทยได้มากขึ้น คาดว่า ในอนาคต การแลกเปลี่ยนทางด้านเศรษฐกิจและการค้าระหว่างเขตฯ หนิงเซี่ยหุยและไทยจะมีแนวโน้มการพัฒนาในวงกว้างต่อไป

 

 


 

 

สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครเฉิงตู

 มิถุนายน 2567

แหล่งข้อมูล : 

https://mp.weixin.qq.com/s/iZLzYt2-A7gqgy19xLEBsQ

 

thThai