ตลาดการเงินของบราซิลยังคงคาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจในปี 2024 แทบไม่เปลี่ยนแปลง แม้ว่าคณะกรรมการนโยบายการเงินของธนาคารกลางบราซิลจะหยุดนโยบายผ่อนคลายทางการเงิน การปรับเพิ่ม ประมาณการการเติบโตของ GDP ในปี 2567 ปรับเล็กน้อยจาก 2.08 เป็น 2.09% ในขณะที่จะทรงตัวที่ 2% สําหรับปี 2568
อัตราดอกเบี้ยพื้นฐานของเศรษฐกิจอยู่ที่ร้อยละ 10.50 ต่อปี คาดว่าอัตราดอกเบี้ยจะทรงตัว ในช่วงที่เหลือของปี และจะค่อยๆ ลดลงเหลือ 9.50% ในปี 2568 คาดการณ์อัตราเงินเฟ้อจาก 3.96 เป็น 3.98% สําหรับปี 2567 และจาก 3.80 เป็น 3.85% สําหรับปี 2568 ซึ่งยังคงอยู่ในเป้าหมายที่ 3%
สำหรับตลาดแลกเปลี่ยนสําหรับสกุลเงินของบราซิลซึ่งปัจจุบันซื้อขายที่ 5.40 เรียลต่อดอลลาร์สหรัฐ คาดว่าสกุลเงินจะซื้อขายที่ 5.15 เรียลต่อดอลลาร์ภายในสิ้นปีและปี 2568 คาดการณ์ว่าจะเกินดุล 81.78 พันล้านดอลลาร์ในปี 2567 และ 76 พันล้านดอลลาร์ในปี 2568
ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของบราซิลขยายตัว 0.8% การเติบโตทางเศรษฐกิจสอดคล้องกับ การคาดการณ์เฉลี่ย 0.8% ซึ่งได้รับแรงหนุนจากตลาดแรงงานที่แข็งแกร่งช่วยกระตุ้นการบริโภคภาคครัวเรือนสูงขึ้น 1.5% ในด้านอุปทานกิจกรรมภาคบริการของบราซิลเพิ่มขึ้น 1.4% เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า ผลผลิตทางการเกษตรสร้างความประหลาดใจในเชิงบวกด้วยการเพิ่มขึ้น 11.3% หลังจากหดตัวอย่างมาก ในช่วงครึ่งหลังของปี 2566 ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมลดลง 0.1% เนื่องจากการเติบโตที่แข็งแกร่งนั้น กระจายไปในวงกว้างมากขึ้นในทุกภาคส่วน
การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศในบราซิลคาดว่าจะสูงถึง 70 พันล้านดอลลาร์ในปี 2567 และ 73 พันล้านดอลลาร์ในปี 2568
ความเห็นและข้อเสนอแนะ
เศรษฐกิจของบราซิลขยายตัวขึ้นจากที่ซบเซาจากการลงทุน แนวโน้มเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดของละตินอเมริกา แต่ยังคงมีความกังวลเกี่ยวกับผลกระทบของน้ำท่วมครั้งใหญ่ทางตอนใต้ของบราซิลเมื่อเดือนที่แล้ว จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจในปีนี้ ท่ามกลางการผ่อนคลายทางการเงินที่ลดอัตราดอกเบี้ยมาตรฐานลง อุปสงค์ภายในประเทศที่แข็งแกร่งขึ้นสอดคล้องกับการปรับลดอัตราดอกเบี้ย ภาคการผลิตของบราซิลลดลง อย่างรวดเร็วในเดือนพฤษภาคม 2567 และตัวบ่งชี้ความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่สําคัญได้ลดลงในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา
การเติบโตคาดว่าจะชะลอตัวในช่วงนี้ ซึ่งสะท้อนจากน้ำท่วมในภาคใต้ยังคงมีความไม่แน่นอนเกี่ยวกับประมาณการ
การเติบโตสําหรับปี 2567 อย่างไรก็ดี รัฐบาลบราซิลเพิ่มประมาณการการเติบโตของ GDP เป็น 2.5% ในปีนี้
หวังผลประกอบการทางการเกษตรเป็นประวัติการณ์ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ ดังนั้น จะส่งผลถึงความต้องการบริโภคสินค้าและความสามารถทางการซื้อของผู้บริโภค การนำเข้าสินค้าจากไทยที่มีโอกาส ได้แก่ ข้าวขาว เนื่องจากผลกระทบของน้ำท่วมครั้งใหญ่ทางตอนใต้ของบราซิล แต่อย่างไรก็ตาม ราคาเป็นตัวแปรในการแข่งขันในตลาดบราซิล
ทั้งนี้ ในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2567 การค้าไทย-บราซิล ขยายตัวร้อยละ 2 การส่งออกขยายตัวร้อยละ 23.34 การนำเข้าลดลงร้อยละ 5.59 ทำให้ไทยได้เปรียบดุลการค้าร้อยละ 23.5 สินค้าส่งออกไทยมาบราซิลที่ขยายตัวและเป็นสินค้าศักยภาพ ได้แก่ รถยนต์และอุปกรณ์และส่วนประกอบ ผลิตภัณฑ์ยาง ยางพารา และสินค้าอุตสาหกรรมอื่นๆ จึงยังคงเป็นโอกาสทางการค้าของไทยอย่างต่อเนื่อง
สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครเซาเปาโล