บริษัท Independent Commodity Intelligence Services (ICIS)
ที่มีฐานในเมือง Houston, Texas ทำธุรกิจให้คำปรึกษาและวิจัยตลาดโลกสินค้าเคมีภัณฑ์และพลังงาน ได้รายงานว่า ความต้องการเศษพลาสติกของสหรัฐฯในปี 2024 จะสูงกว่าในปี 2023 และจะนำไปสู่การเพิ่มขึ้นของการนำเข้า และจะทำให้สหรัฐฯ กลายเป็นประเทศนำเข้าสินค้าเศษพลาสติกอย่างแท้จริง (net importer) เป็นครั้งแรก
รายงานของบริษัทฯได้อ้างอิงข้อมูลการค้าจัดทำโดย U.S. Census Bureau ที่แสดงประมาณนำเข้าเศษพลาสติก รหัสศุลกากรสหรัฐฯ HS3915 ในปี 2023 เพิ่มขึ้นเป็น 446,778 ตัน เป็นอัตราการเติบโตของการนำเข้าร้อยละ 5 ต่อปี และในปีเดียวกันนั้น สหรัฐฯ นำเข้า Polyethylene terephthalate (PET) ทำสถิติที่ 204,278 ตัน เพิ่มขึ้นจากปี 2022 ร้อยละ 33 สินค้าเศษพลาสติกเหล่านี้รวมถึง bottles, purge, leftover pairings และ flake มีการคาดการณ์ว่า ในระยะยาวแล้ว สหรัฐฯอาจจะต้องนำเข้าเศษพลาสติดที่เป็นก้อนหรือเป็นเกล็ด (bales หรือ flakes) เพื่อมาเป็นวัตถุดิบ (feedstock) ใช้ในภาค อุตสาหกรรมเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากคนอเมริกันนำพลาสติกไป recycle ลดน้อยลง และเศษพลาสติกนำเข้ามีราคาถูกกว่าการจัดการกับเศษพลาสติกในประเทศ
ในปี 2023 แหล่งอุปทานนำเข้าเศษพลาสติก PET ที่สำคัญของสหรัฐฯคือ แคนาดา ปริมาณนำเข้าสหรัฐฯ 59,247 ตัน รองลงมาคือประเทศไทย 23,346 ตัน หรือร้อยละ 11 ของปริมาณนำเข้าเศษพลาสติก PET รวมทั้งสิ้น
ที่มา: Recycling Today: “ US PET scrap imports rise”, April 2024
ข้อมูลเพิ่มเติมจาก สคต.ลอสแอนเจลิส
มีรายงานว่าการ recycle พลาสติกในสหรัฐฯ อยู่ในระดับต่ำมาก เพียงประมาณร้อยละ 5 ถึง 9 ของพลาสติกในสหรัฐฯ ถูกนำเข้าสู่กระบวนการ recycle ทำให้สหรัฐฯ จำเป็นต้องนำเข้าเศษพลาสติกเพื่อนำไปใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆ ประเทศไทยเป็นหนึ่งในแหล่งอุปทานสำคัญของสหรัฐฯ การนำเข้าในระยะ 5 ปีที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันแสดงแนวโน้มเติบโต
การนำเข้าสหรัฐฯ เศษพลาสติกทั้งหมด (HS3915 – Waste, parings and scrap, of plastics include of polymers of ethylene, of polymers of styrene, of polymers of vinyl chloride, of other plastics, of polyethylene terephthalate (PET) plastic และ others )
นอกเหนือจากเศษพลาสติก polyethylene terephthalate (PET) แล้ว ประเทศไทยยังเศษพลาสติก Polymers of Vinyl chloride (HS3915.30.00.00 – Waste, parings and scrap, of plastics: of polymers of vinyl chloride) ไปยังสหรัฐฯด้วย แต่ในปริมาณและมูลค่านำเข้าที่ไม่สูงมากนัก
หมายเหตุ: ข่าวข้างบนนี้เป็นข้อมูลที่ได้มาจากแหล่งข้อมูลหลายแห่งที่จัดทำและนำเสนอข้อมูลเปิดเผยต่อสาธารณชนทั่วไป และบางส่วนเป็นความเห็นส่วนบุคคล สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครลอสแอนเจลิส นำมารวบรวมเผยแพร่เพื่อแก่ผู้สนใจ เนื่องจากเป็นข้อมูลและความเห็นจากบุคคลที่สาม การนำข้อมูลเหล่านี้ไปใช้ ไม่ว่าในกรณีใดๆ ขึ้นอยู่กับวิจารณญาณเฉพาะบุคคล สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครลอสแอนเจลิส ไม่ขอรับผิดชอบต่อความเสียหายใดๆที่อาจเกิดขึ้นจากการนำข้อมูลเหล่านี้ไปใช้
สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครลอสแอนเจลิส
ข่าวประจำสัปดาห์ 1 – 5 กรกฏาคม 2567