(1) สถานการณ์เศรษฐกิจออสเตรเลีย
– นาย โดนัลด์ ทรัมป์ ได้รับการเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีสหรัฐฯคนที่ 47 โดยมีนโยบายสำคัญ อาทิ การกำหนดกำแพงภาษีสินค้านำเข้ากับประเทศคู่ค้า โดยเฉพาะสินค้าจากจีน นโยบายต่างประเทศที่อาจส่งผลต่อความร่วมมือด้านความมั่นคงทางการทหาร (AUKUS) และนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมของสหรัฐอเมริกา ที่คาดว่า จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ การค้าและการลงทุนเป็นวงกว้างในตลาดโลก โดยเฉพาะจีนที่เป็นคู่ค้าหลักของออสเตรเลีย ซึ่งอาจส่งผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อทิศทางเศรษฐกิจออสเตรเลียปี 2568
– สำนักงานสถิติแห่งชาติออสเตรเลีย ระบุว่า อัตราเงินเฟ้อไตรมาสเดือนกันยายน 2567 ขยายตัวในอัตราชะลอตัวลงที่ร้อยละ 0.2 ลดลงจากร้อยละ 1 ในไตรมาสก่อนหน้า และมีการขยายตัวตลอดทั้งปีจนถึงไตรมาสเดือนกันยายน 2567 ที่ร้อยละ 2.8 (ต่ำสุดในรอบ 3 ปีครึ่ง) ต่ำกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ เป็นผลจากการลดลงของราคาค่าพลังงานที่ลดลงร้อยละ 1.4 ได้แก่ ค่าไฟฟ้าและค่าน้ำมันเชื้อเพลิง เนื่องจากราคาน้ำมันโลกที่ลดลงและมาตรการช่วยเหลือของภาครัฐ ธนาคารกลางออสเตรเลียยังคงรักษาอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 4.35 ต่อไปจนถึงสิ้นปี 2567 เนื่องจากปัญหาค่าเช่าที่พักอาศัย และค่าบริการต่างๆ ยังเป็นปัญหาเรื้อรังที่กระทบต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจในประเทศ อัตราการว่างงานเดือนตุลาคมอยู่ที่ร้อยละ 4.1 ค่าเงินเหรียญออสเตรเลียอ่อนค่าลงร้อยละ 1.5 การเติบโตของค่าจ้างแรงงานชะลอตัวลงที่ร้อยละ 3.5
(2) สถานการณ์การค้าภาพรวมของออสเตรเลีย [1]
การส่งออกเดือนมกราคม-กันยายน ปี 2567
สถานการณ์การส่งออกสินค้าของออสเตรเลีย มีมูลค่า 255,187 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (หดตัวร้อยละ 8.71) เป็นการส่งออกถ่านหินบิทูมินัส (ร้อยละ 33.36) สินแร่และหัวแร่เหล็ก (ร้อยละ 28.55) ทองคำยังไม่ได้ขึ้นรูป (ร้อยละ 7.25) เนื้อสัตว์สำหรับบริโภค (ร้อยละ 3.94) และข้าวสาลีและเมสลิน (ร้อยละ 2.59) ประเทศส่งออกหลัก คือ จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ อินเดียและสหรัฐอเมริกา สำหรับประเทศไทยเป็นคู่ค้าอันดับที่ 15 (น้ำมันปิโตรเลียมดิบ อะลูมิเนียมที่ยังไม่ได้ขึ้นรูป ทองแดงบริสุทธิ์ ทองคำยังไม่ได้ขึ้นรูป และเนื้อสัตว์สำหรับบริโภค)
การนำเข้า เดือนมกราคม–กันยายน ปี 2567
การนำเข้าสินค้าของออสเตรเลีย มีมูลค่า 211,371 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (ขยายตัวร้อยละ 2.63) โดยเป็นการนำเข้ารถยนต์สำหรับขนส่งบุคคลและขนส่งของ (ร้อยละ 15.39) เครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดพกพา (ร้อยละ 14.45) น้ำมันปิโตรเลียมดิบและน้ำมันดิบที่ได้จากแร่บิทูมินัส (ร้อยละ 13.53) เครื่องโทรศัพท์สำหรับเครือข่ายเซลลูลาร์หรือเครือข่ายไร้สายอื่นๆ (ร้อยละ 10.73) ยารักษาหรือป้องกันโรค (ร้อยละ 3.88) ประเทศคู่ค้าสำคัญ คือ จีน สหรัฐอเมริกา เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น และไทย ปี 2567 เดือนมกราคม–กันยายน ออสเตรเลียได้ดุลการค้า 43,816 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ไทยเป็นคู่ค้าอันดับที่ 5 มีมูลค่า 10,069 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (ขยายตัวร้อยละ 8.68) (สินค้านำเข้าหลักจากไทย 5 อันดับแรกได้แก่ รถยนต์ เครื่องปรับอากาศ เครื่องโทรศัพท์สำหรับเครือข่ายเซลลูลาร์หรือเครือข่ายไร้สายอื่นๆ ยางรถยนต์ใหม่ และทูน่ากระป๋อง) และ ไทยเป็นฝ่ายได้ดุลการค้า 6,522 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (221,748 ล้านบาท)
การส่งออกสินค้าของออสเตรเลียในเดือนกันยายน 2567
สถานการณ์การส่งออกสินค้าของออสเตรเลียในเดือนกันยายน 2567 มีมูลค่า 27,457 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (หดตัวร้อยละ 2.85) โดยเป็นผลมาจากการส่งออกถ่านหินบิทูมินัส (ร้อยละ 31.78) สินแร่และหัวแร่เหล็ก (ร้อยละ 27.19) ทองคำยังไม่ได้ขึ้นรูป (ร้อยละ 6.70) เนื้อสัตว์สำหรับบริโภค (ร้อยละ 4.73) และคอรันดัมประดิษฐ์ (ร้อยละ 2.16) ประเทศส่งออกหลัก คือ จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ อินเดียและสหรัฐอเมริกา สำหรับประเทศไทยเป็นคู่ค้าอันดับที่ 15 (อะลูมิเนียมที่ยังไม่ได้ขึ้นรูป เครื่องบำบัดโรคด้วยโอโซนหรือออกซิเจน ทองแดงบริสุทธิ์ ข้าวสาลีและเมสลิน และน้ำมันปิโตรเลียมดิบ)
การนำเข้าสินค้าของออสเตรเลียในเดือนกันยายน 2567
การนำเข้าสินค้าของออสเตรเลียในเดือนกันยายน 2567 มีมูลค่า 23,505 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (หดตัวร้อยละ 0.44) โดยเป็นการนำเข้ารถยนต์สำหรับขนส่งบุคคลและขนส่งของ (ร้อยละ 14.29) เครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดพกพา (ร้อยละ 14.06) เครื่องโทรศัพท์สำหรับเครือข่ายเซลลูลาร์หรือสำหรับเครือข่ายไร้สายอื่นๆ (ร้อยละ 13.38) น้ำมันปิโตรเลียมที่ได้จากแร่ บิทูมินัส (ดีเซล) (ร้อยละ 11.94) ยารักษาหรือป้องกันโรค (ร้อยละ 3.61) ประเทศคู่ค้าสำคัญ คือ จีน สหรัฐอเมริกา เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น และมาเลเซีย ซึ่งในกันยายน 2567 ออสเตรเลียได้ดุลการค้าที่ 3,970 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ไทยเป็นคู่ค้าอันดับที่ 6 (รถยนต์ เครื่องปรับอากาศ เครื่องจักรสำหรับการรับการเปลี่ยนและการส่ง หรือการสร้างเสียง ภาพหรือข้อมูลอื่นๆ ยางรถยนต์ใหม่และแชมพูและสิ่งปรุงแต่งที่ใช้กับเส้นผม)
(3) สรุปสถานการณ์การค้าไทย-ออสเตรเลีย [2]
เป้าหมายส่งออก | มูลค่าการค้ารวม (ล้าน US$) | มูลค่าการส่งออก (ล้าน US$) | มูลค่าการนำเข้า (ล้าน US$) | |||||||
ปี 2023
(%) |
ปี 2024
(%) |
ปี 2023 | ปี 2024 | ปี 2023 | ปี 2024 | ปี 2023 | ปี 2024 | |||
ม.ค.-ก.ย. | +/- (%) | ม.ค.- ก.ย. | +/- (%) | ม.ค.- ก.ย. | +/- (%) | |||||
2.0
(8.21) |
1.0 | 19,054.43
(4.03) |
13,654.94 | -7.40 | 12,214.62 (8.21) | 9,307.25 | 5.74 | 6,839.82
(-4.05) |
4,347.69 | -26.86 |
[1] Source: Global Trade Atlas
[2] Source: ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือจากกรมศุลกากร
การส่งออกและนำเข้าสินค้าของไทยในเดือนกันยายน 2567
- การส่งออกสินค้าไทยไปออสเตรเลียเดือนกันยายน ปี 2567 มีมูลค่า 980.02 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (33,321 ล้านบาท) เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.67 เป็นการเพิ่มขึ้นของสินค้าเครื่องปรับอากาศ เม็ดพลาสติก ผลิตภัณฑ์ยาง เครื่องสำอาง สบู่และผลิตภัณฑ์รักษาผิว อาหารทะเลกระป๋องและอาหารสัตว์เลี้ยง แต่การส่งออกรถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ อัญมณีและเครื่องประดับลดลง
- การนำเข้าสินค้าของไทยจากออสเตรเลียเดือนกันยายน ปี 2567 มีมูลค่า 359.30 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (12,216.2 ล้านบาท) ลดลงร้อยละ33 เป็นการลดลงของการนำเข้าสินค้าก๊าซธรรมชาติ ถ่านหิน พืชและผลิตภัณฑ์จากพืช ด้ายและเส้นใยและนมและผลิตภัณฑ์นม แต่การนำเข้าสินแร่โลหะอื่นๆ น้ำมันดิบ เครื่องเพชรพลอย อัญมณี เนื้อสัตว์สำหรับการบริโภค ผัก ผลไม้และของปรุงแต่งที่ทำจากผัก ผลไม้เพิ่มขึ้น