ข้อมูลสถานการณ์การค้าประเทศนิวซีแลนด์เดือนกันยายน 2567

(1) สถานการณ์เศรษฐกิจนิวซีแลนด์

– ปี 2567 การเติบโตทางเศรษฐกิจนิวซีแลนด์ยังทรงตัว การเติบโตของ GDP ไตรมาสเดือนมิถุนายนหดตัวร้อยละ 0.2 และหดตัวลงร้อยละ 0.2 ต่อปี เป็นการหดตัวของการส่งออกสินค้าผลิตภัณฑ์เนยนม สินค้าเกษตร ป่าไม้และประมงซึ่งเป็นสินค้าส่งออกหลักของนิวซีแลนด์ รวมถึงการค้าในภาคธุรกิจค้าส่ง/ค้าปลีกและธุรกิจที่พักอาศัยให้เช่าที่ซบเซาลง ภาคครัวเรือนประสบปัญหาค่าครองชีพที่สูงจากภาวะเงินเฟ้อ (การซื้อสินค้ารถยนต์ใหม่และเครื่องอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกลดลง) รายได้ประชาชาติสุทธิลดลงร้อยละ 1.1 การเติบโตของ GDP ต่อหัวไตรมาสเดือนมิถุนายนลดลงร้อยละ 2.7 ต่อปี

– เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2567 ชาวพื้นเมืองนิวซีแลนด์และกลุ่มผู้ร่วมสนับสนุน ประมาณ 42,000 คนรวมตัวกันเดินขบวนประท้วงคัดค้านร่างกฎหมาย The treaty principles bill (เสนอโดยพรรค ACT ซึ่งเป็นหนึ่งในรัฐบาลผสม)ที่เปลี่ยนแปลงการตีความในสนธิสัญญาไวทังกี (Treaty of Waitangi) หน้ารัฐสภานิวซีแลนด์เพื่อให้รัฐบาลเคารพและให้เกียรติแก่สนธิสัญญาต้นฉบับ ยกเลิกร่างกฎหมาย รวมถึงนโยบายอื่นๆที่มีผลกระทบต่อชาวเมารี แต่การเดินขบวนเป็นไปอย่างสงบและไม่มีรายงานเหตุการณ์วุ่นวายคาดว่าจะใช้เวลาหกเดือน ก่อนที่จะนำกลับมาพิจารณาอีกครั้งในรัฐสภา

– ธนาคารนิวซีแลนด์ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงที่ร้อยละ 4.75 (ลดลง 50 จุด) (เป็นครั้งที่ 2) เนื่องจากภาวะเงินเฟ้อนิวซีแลนด์ลดลงที่ร้อยละ 2.2 ต่อปี อัตราการว่างงานเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.8 ความเชื่อมั่นผู้บริโภคและภาคธุรกิจหดตัวลงจากแรงกดดันด้านค่าครองชีพและต้นทุนธุรกิจ

(2) สถานการณ์การค้าภาพรวมของนิวซีแลนด์ [1]

การส่งออกสินค้าของนิวซีแลนด์  เดือนมกราคมกันยายนปี 2567

สถานการณ์การส่งออกสินค้าของนิวซีแลนด์ มีมูลค่า 31,439 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (ขยายตัวร้อยละ 0.66) เป็นการส่งออกนมและผลิตภัณฑ์นม เนย ไขมัน (ร้อยละ 27.25) เนื้อสัตว์สำหรับการบริโภค (ร้อยละ 12.41) กีวี (ร้อยละ 8.65) ไม้ที่ยังไม่แปรรูป (ร้อยละ 6.76) อาหารปรุงแต่งสำหรับใช้เลี้ยงทารก (ร้อยละ 3.72) ประเทศส่งออกหลัก คือ จีน สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย ญี่ปุ่นและเกาหลีใต้  สำหรับประเทศไทยเป็นคู่ค้าอันดับที่ 12 (นมและครีมที่ทำให้เข้มข้น แอปเปิ้ล เยื่อไม้เคมีที่เป็นเยื่อไม้โซดาหรือเยื่อไม้ซัลเฟต เนื้อสัตว์สำหรับการบริโภค และเคซิอิน)

การนำเข้าสินค้าของนิวซีแลนด์เดือนมกราคมกันยายน ปี 2567

การนำเข้าสินค้าของนิวซีแลนด์ มีมูลค่า 34,823 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (หดตัวร้อยละ 7.78) โดยเป็นการนำเข้าน้ำมันปิโตรเลียมดิบและน้ำมันดิบที่ได้จากแร่บิทูมินัส (ร้อยละ 14.35) เครื่องกังหันไอพ่น (ร้อยละ 13.87) รถยนต์สำหรับขนส่งบุคคลและขนส่งของ (ร้อยละ 11.37) เครื่องโทรศัพท์สำหรับเครือข่ายเซลลูลาร์หรือเครือข่ายไร้สายอื่นๆ (ร้อยละ 9.01) อุปกรณ์และเครื่องใช้ในทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ (ร้อยละ 3.61) ประเทศคู่ค้าสำคัญ คือ จีน ออสเตรเลีย สหรัฐอเมริกา เกาหลีใต้และญี่ปุ่น นิวซีแลนด์ขาดดุลการค้า 3,384 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ไทยเป็นคู่ค้าอันดับที่ 8 มีมูลค่า 1,390 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (หดตัวร้อยละ 6.87) (รถยนต์ เครื่องปรับอากาศ โพลิเมอร์ของเอทิลีนในลักษณะขั้นปฐม เครื่องโทรศัพท์สำหรับเครือข่ายเซลลูลาร์หรือเครือข่ายไร้สายอื่นๆ แชมพูและสิ่งปรุงแต่งที่ใช้กับเส้นผม)  โดยไทยเป็นฝ่ายได้ดุลการค้า 830 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (28,220 ล้านบาท)

การส่งออกสินค้าของนิวซีแลนด์ในเดือนกันยายน 2567

สถานการณ์การส่งออกสินค้าของนิวซีแลนด์ในเดือนกันยายน 2567 มีมูลค่า 3,101 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (ขยายตัวร้อยละ 11.28)  เป็นการส่งออกนมและผลิตภัณฑ์นม เนย ไขมัน (ร้อยละ 23.0) เนื้อสัตว์สำหรับการบริโภค (ร้อยละ 9.51) กีวี (ร้อยละ 9.11) ไม้ที่ยังไม่แปรรูป (ร้อยละ 9.05) และเครื่องยนต์ที่ใช้กับอากาศยาน (ร้อยละ 4.91) โดยประเทศส่งออกหลัก คือ จีน ออสเตรเลีย สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และสิงคโปร์  สำหรับประเทศไทยเป็นคู่ค้าอันดับที่ 17  (นมและครีมที่ทำให้เข้มข้น เยื่อไม้เคมีที่เป็นเยื่อไม้โซดาหรือเยื่อไม้ซัลเฟต แอบเปิ้ล ไม้ที่ยังไม่แปรรูปและเนื้อสัตว์สำหรับการบริโภค)

การนำเข้าสินค้าของนิวซีแลนด์ในเดือนกันยายน 2567

การนำเข้าสินค้าของนิวซีแลนด์ในเดือนกันยายน 2567 มีมูลค่า 4,356 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (ขยายตัวร้อยละ 3.28)  โดยเป็นการนำเข้าเครื่องกังหันไอพ่น (ร้อยละ 14.53) ปิโตรเลียมดิบและน้ำมันดิบที่ได้จากแร่บิทูมินัส (ร้อยละ 11.78) เครื่องโทรศัพท์สำหรับเครือข่ายเซลลูลาร์หรือเครือข่ายไร้สายอื่นๆ (ร้อยละ 9.57) รถยนต์สำหรับขนส่งบุคคลและขนส่งของ (ร้อยละ 9.05) เครื่องบิน (ร้อยละ 6.08) ประเทศคู่ค้าสำคัญ คือ จีน สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย เกาหลีใต้ และสิงคโปร์ ซึ่งในเดือนกันยายน 2567 นิวซีแลนด์ได้ขาดดุลการค้า 1,255 ล้านเหรียญสหรัฐฯ  ไทย เป็นคู่ค้าอันดับ 9 (รถยนต์ เครื่องปรับอากาศ เครื่องโทรศัพท์สำหรับเครือข่ายเซลลูลาร์หรือเครือข่ายไร้สายอื่นๆ โพลิเมอร์ของเอทิลีนในลักษณะขั้นปฐม และยางรถยนต์ใหม่)

(3) สรุปสถานการณ์การค้าไทย-นิวซีแลนด์ [2]

เป้าหมายส่งออก มูลค่าการค้ารวม (ล้าน US$) มูลค่าการส่งออก (ล้าน US$) มูลค่าการนำเข้า (ล้าน US$)
ปี 2023

(%)

ปี 2024

(%)

ปี 2023 ปี 2024 ปี 2023 ปี 2024 ปี 2023 ปี 2024
ม.ค.– ธ.ค. ม.ค.-ก.ย. +/- (%) ม.ค. – ธ.ค. ม.ค.-ก.ย. +/- (%) ม.ค. – ธ.ค. ม.ค.-ก.ย. +/- (%)
2.0

(-24.94)

1.0 2,245.09

(-21.10)

1,919.69 10.72 1,406.89

-24.79

1,233.70 13.53 838.21

(-14.00)

686.00 6.00

[1] Source: Global Trade Atlas

[2] Source: ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือจากกรมศุลกากร

การส่งออกและนำเข้าสินค้าไทยเดือนกันยายน ปี 2567

  • การส่งออกสินค้าไทยไปนิวซีแลนด์เดือนกันยายน ปี 2567 มีมูลค่า 181 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (6,317.5 ล้านบาท) เพิ่มขึ้นร้อยละ 137.03 เป็นการเพิ่มขึ้นของสินค้ารถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ สินค้าอุตสาหกรรมอื่นๆ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบของเครื่องจักร เม็ดพลาสติก อาหารสัตว์เลี้ยง อาหารทะเลกระป๋อง ผลิตภัณฑ์อลูมิเนียมและผลิตภัณฑ์พลาสติก แต่การส่งออกเครื่องปรับอากาศ และผลิตภัณฑ์ยางลดลง
  • การนำเข้าสินค้าของไทยจากนิวซีแลนด์เดือนกันยายน ปี 2567 มีมูลค่า 54.97 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (1,868.98 ล้านบาท) เพิ่มขึ้นร้อยละ 31.32 เป็นการเพิ่มขึ้นของสินค้านมและผลิตภัณฑ์นม ผัก ผลไม้ เคมีภัณฑ์ ไม้ซุงและไม้แปรรูป อาหารปรุงแต่งสำหรับใช้เลี้ยงทารก เนื้อสัตว์สำหรับการบริโภค สินแร่โลหะอื่นๆและพืชสำหรับทำพันธุ์ แต่การนำเข้าเยื่อกระดาษและเศษกระดาษและสัตว์น้ำสด แช่เย็นแช่แข็งลดลง
thThai