1. ดัชนีชี้วัดทางเศรษฐกิจสำคัญ

1.1 ดัชนีราคาผู้บริโภค (Consumer price index: CPI) ในเดือนมกราคม 2568 ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.98 เมื่อเทียบกับเดือนธันวาคม 2567 และขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.63 เมื่อเทียบกับเดือนมกราคม 2567

1.2 ดัชนีภาวะเงินเฟ้อ ในเดือนมกราคม 2568 ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.42 เมื่อเทียบกับเดือนธันวาคม 2567 และขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.07 เมื่อเทียบกับเดือนมกราคม 2567

1.3 ดัชนีราคาทองคำ ในเดือนมกราคม 2568 ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.03 เมื่อเทียบกับเดือนธันวาคม 2567 และขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 29.13 เมื่อเทียบกับเดือนมกราคม 2567

1.4 ดัชนีมูลค่าเงินเหรียญสหรัฐ ในเดือนมกราคม 2568 ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.21 เมื่อเทียบกับเดือนธันวาคม 2567 และขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.98 เมื่อเทียบกับเดือนมกราคม 2567

  1. ภาคการเกษตร การป่าไม้ และประมง

ในเดือนมกราคม 2568 การผลิตในภาคเกษตรกรรม ป่าไม้ และประมงมุ่งเน้นการเพาะปลูกและดูแลข้าวในช่วงฤดูหนาว – ฤดูใบไม้ผลิ และการเพาะปลูกพืชผลทั่วประเทศ การเลี้ยงสุกรและสัตว์ปีกมีการพัฒนามา เกษตรกรเตรียมดินก่อนเพาะปลูกและคัดเลือกแม่ไม้ที่มีคุณภาพเพื่อปลูกป่า ผลผลิตสินค้าประมงเพิ่มขึ้น และตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคในช่วงเทศกาลเต็ตของเวียดนาม

2.1 ภาคการเกษตร

1.ข้าว พื้นที่เพาะปลูกข้าวของเวียดนามในช่วงฤดูหนาว 2567 – ฤดูใบไม้ผลิ 2568 มีจำนวนรวม 2.02 ล้านเฮกตาร์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.9 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2566-2567 โดยเป็นพื่นที่เพาะปลูกข้าว ในภาคเหนือจำนวน 217,700 เฮกตาร์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 4 ซึ่งเพิ่มขึ้นอย่างมากเนื่องจากเกษตรกรเร่งการเพาะปลูกก่อนเทศกาลตรุษเวียดนาม ขณะที่ภาคใต้มีพื่นที่เพาะปลูกข้าวจำนวน 1.8 ล้านเฮกตาร์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.7 โดยเฉพาะในพื่นที่สามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขง ซึ่งมีการปลูกข้าวถึง 1.46 ล้านเฮกตาร์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.5 เนื่องมาจากพื้นที่หลายแห่งในภูมิภาค เช่น จังหวัดลองอาน (Long An) จังหวัดเบ๊นแจ (Ben Tre) และจังหวัดบากเลียว (Bac Lieu) ได้เปลี่ยนพื้นที่ปลูกข้าวในช่วงฤดูใบไม้ร่วง-ฤดูหนาวในปี 2567 เป็นพื้นที่ปลูกข้าวในช่วงฤดูหนาว 2567 – ฤดูใบไม้ผลิ 2568

2. พืชผลประจำปี ในเดือนมกราคม 2568 มีพื้นที่เพาะปลูกข้าวโพดจำนวน 143,600 เฮกตาร์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.0 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2567 พื้นที่เพาะปลูกมันเทศจำนวน 27,300 เฮกตาร์ ลดลงร้อยละ 8.0 เฮกตาร์ พื้นที่เพาะปลูกถั่วเหลืองจำนวน 2,700 เฮกตาร์ ลดลงร้อยละ 0 พื้นที่เพาะปลูกถั่วลิสงจำนวน 31,600 เฮกตาร์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.5 และพื้นที่เพาะปลูกผักและถั่วต่าง ๆ จำนวน 0.35 ล้านเฮกตาร์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.0 ทั้งนี้ พื่นที่ปลูกมันเทศและถั่วเหลืองลดลงเมื่อเทียบกับปี 2567 เนื่องจากเกษตรกรหันไปปลูกพืชที่ให้ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจสูงกว่า เช่น ข้าวโพด ถั่วลิสง และพืชชนิดต่าง ๆ

3.ปศุสัตว์ ในเดือนมกราคม 2568 การเลี้ยงกระบือและโคยังคงมีแนวโน้มลดลงโรคระบาดได้รับการควบคุม โดยจํานวนกระบือลดลงร้อยละ 4.4 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2567 จํานวนโคลดลงร้อยละ 0.3 ส่วนการเลี้ยงสุกรและสัตว์ปีกมีอัตราการเติบโตที่ดี เนื่องจากราคาสุกรและสัตว์ปีกยังคงทรงตัว ประกอบด้วยความต้องการบริโภคที่สม่ำเสมอ ส่งผลให้เกษตรกรขยายฟาร์ม เพื่อรองรับความต้องการในช่วงเทศกาลตรุษเวียดนาม และงานประเพณีช่วงต้นปี โดยจํานวนสุกรเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.7 และจํานวนสัตว์ปีกเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.7

2.2 ภาคการป่าไม้

ในเดือนมกราคม 2568 มีพื้นที่ป่าที่เพิ่งปลูกใหม่ทั่วประเทศประมาณ 8,200 เฮกตาร์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.6 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2567 โดยผลผลิตไม้ที่ได้รับการแปรรูปมีจํานวน 1.16 ล้านลูกบาศก์เมตร เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.1 ซึ่งเป็นผลมาจากสภาพอากาศแห้งแล้งและความต้องการในตลาดที่สูงขึ้น และราคาวัตถุดิบไม้ที่ยังคงอยู่ในระดับสูง ทำให้เกษตรกรเร่งการตัดไม้เพื่อจำหน่าย จังหวัดที่มีการเพิ่มขึ้นของอัตราการแปรรูปไม้มากที่สุดเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2567 ได้แก่ จังหวัดบั๊กกั่น (Bac Kan) เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.1 จังหวัดเตวียนกวาง (Tuyen Quang) เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.3 จังหวัดเหงะอาน (Nghe An) เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.0 จังหวัดเอียนบ๊าย (Yen Bai) เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.3 และ จังหวัดกว๋างนาม (Quang Nam) เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.2 อย่างไรก็ตาม พื้นที่ป่าที่ได้รับความเสียหายมีจำนวน 38.7 เฮกตาร์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 90.6 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2567 โดยในจำนวนนี้เป็นพื้นที่ที่เกิดไฟป่าจำนวน 2.3 เฮกตาร์ เพิ่มขึ้น 8 เท่า และพื้นที่ป่าที่ถูกตัดและทำลายจำนวน 36.4 เฮกตาร์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 81.8

2.3 ภาคการประมง

ในเดือนมกราคม 2568 ผลผลิตสินค้าประมงโดยรวมอยู่ที่ประมาณ จะสูงถึง 594,100 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.7 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2567 ประกอบด้วยปลาจำนวน 443,400 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.7 กุ้งจำนวน 56,300 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.1 และสัตว์น้ำอื่น ๆ จำนวน 94,400 ตัน ลดลงร้อยละ 0.9 สำหรับผลผลิตจากการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำอยู่ที่ประมาณ 329,200 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.1 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2567 ประกอบด้วยปลาจำนวน 241,100 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.5 และกุ้งจำนวน 46,800 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.9 ขณะที่ผลผลิตจากการทำประมงอยู่ที่ประมาณ 264,900 ตัน ลดลงร้อยละ 4.3 ประกอบด้วยปลาจำนวน 202,300 ตัน ลดลงร้อยละ 4.4 กุ้งจำนวน 9,500 ตัน ลดลงร้อยละ 5 และสัตว์น้ำอื่น ๆ จำนวน 53,100 ตัน ลดลงร้อยละ 5.8

  1. ภาคอุตสาหกรรม

3.1 ดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรมในเดือนมกราคม 2568 ลดลงร้อยละ 9.2 เมื่อเทียบกับเดือนธันวาคม 2567 และเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2567 โดยอุตสาหกรรมน้ำประปาและการบำบัดของเสียขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.2 อุตสาหกรรมแปรรูปและการผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.6 อุตสาหกรรมการผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 ในขณะที่อุตสาหกรรมเหมืองแร่ลดลงร้อยละ 10.4 สำหรับอุตสาหกรรมสำคัญที่ขยายตัว เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2567 ได้แก่ การผลิตยายยนต์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 33.8 การผลิตเฟอร์นิเจอร์เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.6 และเครื่องหนังและผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.3 ขณที่กลุ่มอุตสาหกรรมที่หดตัว ได้แก่ การผลิตยา เคมีภัณฑ์ และเวชภัณฑ์ ลดลงร้อยละ 29.1 การทำเหมืองถ่านหินและลิกไนต์ ลดลงร้อยละ 20.1 และอุปกรณ์ไฟฟ้า ลดลงร้อยละ 11.5

3.2 จำนวนแรงงานในสถานประกอบการอุตสาหกรรม ณ วันที่ 1 มกราคม 2568 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 เมื่อเทียบกับเดือนธันวาคม 2567 และเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.5 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2567 โดยแรงงานในอุตสาหกรรมการผลิตและแปรรูป เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 เมื่อเทียบกับเดือนธันวาคม 2567 และเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.9 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2567 อุตสาหกรรมการผลิตและจำหน่ายไฟฟ้า ก๊าซ ไอน้ำ และเครื่องปรับอากาศ เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 เมื่อเทียบกับเดือนธันวาคม 2567 และเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2567 และอุตสาหกรรมเหมืองแร่ เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 เมื่อเทียบกับเดือนธันวาคม 2567 และคงที่เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2567

ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเวียดนามในเดือนมกราคม 2568

หน่วย: %

  ม.ค. 2568 เทียบกับ ธ.ค. 2567 ม.ค. 2568 เทียบกับ ม.ค. 2567
รวม 90.8 100.6
การทำเหมืองแร่และเหมือง  91.0  89.6
ถ่านหินและลิกไนต์ 95.8 79.9
น้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติ 93.1 93.5
แร่โลหะ 100.0 91.7
การทำเหมืองแร่อื่นๆ 86.3 91.0
กิจกรรมบริการที่สนับสนุนการทำเหมืองแร่ 68.6 93.3
การผลิตสินค้า 90.0 101.6
สินค้าอาหาร 92.9 102.1
เครื่องดื่ม 89.1 99.9
ยาสูบ 89.2 94.3
สิ่งทอ 91.7 104.2
เสื้อผ้า 86.0 106.1
หนังและสินค้าที่เกี่ยวข้อง 87.9 110.3
การแปรรูปไม้และผลิตภัณฑ์จากไม้ ยกเว้นเฟอร์นิเจอร์ และการผลิตผลิตภัณฑ์หัตถกรรม 84.9 99.4
กระดาษและผลิตภัณฑ์จากกระดาษ 87.3 97.1
การพิมพ์และการทำสำเนาสื่อบันทึก 85.8 92.1
ผลิตภัณฑ์ถ่านโค้กและผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม 104.6 94.2
เคมีภัณฑ์และผลิตภัณฑ์เคมี 89.8 91.6
ยาและผลิตภัณฑ์ทางพฤกษศาสตร์ 98.9 71.0
ผลิตภัณฑ์จากยางพาราและพลาสติก 86.8 97.8
ผลิตภัณฑ์แร่โลหะอื่นๆ 80.8 103.5
โลหะพื้นฐาน 88.6 97.9
ผลิตผลิตภัณฑ์โลหะประดิษฐ์ (ยกเว้นเครื่องจักรและอุปกรณ์) 85.8 99.0
คอมพิวเตอร์และผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ 90.2 103.8
อุปกรณ์ไฟฟ้า 78.3 88.5
เครื่องจักรและอุปกรณ์อื่นๆ 73.4 90.1
ยานยนต์ 85.0 133.8
ยานพาหนะการขนส่ง ชิ้นส่วน อุปกรณ์และส่วนประกอบ 140.6 96.6
เฟอร์นิเจอร์ 96.9 110.6
การผลิตสินค้าอื่นๆ 86.6 94.7
ซ่อม บำรุง รักษา และติดตั้งเครื่องจักรและอุปกรณ์ 57.6 88.4
การผลิตและจำหน่ายพลังงานไฟฟ้า 96.9 100.4
การผลิตน้ำประปาและการกำจัดของเสีย 94.9 109.2

ที่มา: สำนักงานสถิติแห่งชาติเวียดนาม (General Statistics Office of Vietnam: GSO)

  1. การดำเนินธุรกิจ

สถานการณ์การจดทะเบียนธุรกิจในเดือนมกราคม 2568 มีการจดทะเบียนจัดตั้งธุรกิจใหม่ จำนวน 10,653 แห่ง  เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.6 เมื่อเทียบกับเดือนธันวาคม 2567 และลดลงร้อยละ 30.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2567 โดยมีทุนจดทะเบียนมูลค่า 94.1 ล้านล้านเวียดนามด่ง หรือประมาณ 3,762 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 2.4 เมื่อเทียบกับเดือนธันวาคม 2567 และลดลงร้อยละ 39.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2567 ทั้งนี้ มีธุรกิจที่กลับมาดำเนินกิจการใหม่ จำนวน 22,794 แห่ง เพิ่มขึ้นเกือบ 2.6 เท่าจากเดือนธันวาคม 2567 และเพิ่มขึ้นร้อยละ 65.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2567 ธุรกิจที่จดทะเบียนขอหยุดดำเนินการชั่วคราว จำนวน 52,807 แห่ง เพิ่มขึ้น 12.6 เท่า จากเดือนธันวาคม 2567 และเพิ่มขึ้นร้อยละ 20.2 เมื่อเทียบกับปีก่อน ธุรกิจที่หยุดดำเนินการรอการชำระบัญชี จำนวน 3,493 แห่ง ลดลงร้อยละ 82.4 จากเดือนธันวาคม 2567 และลดลงร้อยละ 55.2 เมื่อเทียบกับปีก่อน และธุรกิจที่ปิดกิจการอย่างสมบูรณ์ จำนวน 2,021 แห่ง ลดลงร้อยละ 13.8 จากเดือนธันวาคม 2567 และลดลงร้อยละ 8.3 เมื่อเทียบกับปีก่อน

  1. ภาคการลงทุน

5.1 การลงทุนของภาครัฐ ในเดือนมกราคม 2568 มีการลงทุนจากภาครัฐ มูลค่า 35.4 ล้านล้านเวียดนามด่ง หรือประมาณ 1,416 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2567 แบ่งเป็นการลงทุนที่อยู่ภายใต้การบริหารของรัฐบาลกลางจำนวน 4.9 ล้านล้านเวียดนามด่ง หรือประมาณ 9 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.3 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2567 และการลงทุนที่อยู่ภายใต้การบริการของท้องถิ่นจำนวน 30.5 ล้านล้านเวียดนามด่ง หรือประมาณ 1,194 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.0

5.2 ต่างประเทศเข้ามาลงทุนในเวียดนาม

การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ที่ดำเนินการในเวียดนามในเดือนมกราคม 2568 มีมูลค่า 1,510 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.0 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2567 โดยอุตสาหกรรมที่ใช้เงินลงทุนมากที่สุดได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตและแปรรูป จำนวน 1,260 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นร้อยละ 83.2 ของมูลค่าการลงทุนทั้งหมด การผลิตและการจำหน่ายไฟฟ้า ก๊าซ ไอน้ำ และเครื่องปรับอากาศจำนวน 72.6 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นร้อยละ 4.8 ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์จำนวน 72.5 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นร้อยละ 4.7

FDI ในเวียดนามจนถึงวันที่ 31 มกราคม 2568 มีมูลค่า 4,330 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 48.6 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2567 โดย FDI ที่ลงทะเบียนใหม่จำนวน 282 โครงการ ลดลงร้อยละ 6.6 มีมูลค่าการลงทุนรวม 1,290 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 43.6 ขณะที่ประเทศที่ลงทุนมากที่สุด ได้แก่ จีนจำนวน 380.3 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นร้อยละ 29.5 ของมูลค่า FDI ที่ลงทะเบียนใหม่ รองลงมาคือ สิงคโปร์ 372.3 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นร้อยละ 28.9 ฮ่องกง 103.6 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นร้อยละ 8.1 และสหรัฐอเมริกา 98.4 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นร้อยละ 7.6 นอกจากนี้ FDI ที่ได้รับอนุมัติให้ปรับเพิ่มเงินลงทุน มีจำนวน 137 โครงการ รวมมูลค่า 2,730 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งสูงกว่าปี 2567 ถึง 6.1 เท่า และ FDI ที่ซื้อหุ้นและเพิ่มทุนในบริษัทของเวียดนาม มีจำนวน 260 โครงการ มีมูลค่าการลงทุนรวม 322.9 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 70.4

FDI โครงการใหม่ที่ได้รับอนุญาตในเวียดนามตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 31 มกราคม 2568

  โครงการใหม่

(จำนวน)

มูลค่าของโครงการใหม่

(ล้านเหรียญสหรัฐ)

มูลค่าของโครงการที่ปรับขึ้นมูลค่าลงทุน

(ล้านเหรียญสหรัฐ)

รวม 282 1,286.8 2,725.1
จังหวัดที่ได้รับการลงทุน      
Dong Nai 13 270.2 628.5
Bac Ninh 29 175.0 1,215.8
Hai Phong 15 117.1 10.0
Ba Ria – Vung Tau 4 115.0
Thai Binh 8 112.7
Tay Ninh 3 101.2 19.8
Hung Yen 8 50.0 3.0
Binh Duong 27 41.8 23.5
Ho Chi Minh City 100 37.6 -40.7
Binh Thuan 1 35.0
Quang Binh 1 30.3
Long An 10 21.0 69.1
Binh Phuoc 4 20.9 11.0
Nam Dinh 5 20.3 -9.0
Tuyen Quang 1 19.1
Ninh Binh 2 18.5 -2.0
Hai Duong 2 16.0 28.4
Thai Nguyen 2 15.8 46.8
Bac Giang 3 13.0 32.8
Ha Noi 20 10.8 702.1
จังหวัดอื่นๆ  24  45.6  -14.0
ประเทศที่เข้าลงทุน      
China 85 380.3 84.0
Singapore 39 372.3 821.1
Special Administration Hong Kong 32 103.6 40.9
The United States 5 98.4 -160.5
Japan 21 52.1 529.7
Samoa 3 42.2 34.0
Taiwan 18 41.0 65.5
Cayman Islands 1 39.9
South Korea 30 32.1 1208.3
Laos 1 30.3
Thailand 1 28.0 -8.7
Denmark 1 19.0
Virgin Islands (UK) 4 13.6 5.9
Seychelles 2 12.6 4.6
Australia 6 4.9
Brunei 1 4.7
ประเทศอื่นๆ 32 12.0 100.4

ที่มา: สำนักงานสถิติแห่งชาติเวียดนาม

5.3 เวียดนามลงทุนในต่างประเทศ ในเดือนมกราคม 2568 เวียดนามมีโครงการใหม่ที่ได้รับใบรับรองการลงทุนจำนวน 10 โครงการ มูลค่าการลงทุนรวม 0 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 5.1 เท่า เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2567 โดยการลงทุนส่วนใหญ่อยู่ใน อุตสาหกรรมการผลิตและแปรรูปจำนวน 61.6 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นร้อยละ 74.2 ของมูลค่าการลงทุนทั้งหมด อุตสาหกรรมขุดเจาะจำนวน 18.7 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นร้อยละ 22.5 และอุตสาหกรรมการก่อสร้างจำนวน 2.4 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นร้อยละ 2.9

ทั้งนี้ ในเดือนมกราคม 2568 มี 8 ประเทศที่ได้รับการลงทุนจากเวียดนาม โดยฟิลิปปินส์เป็นประเทศที่ได้รับการลงทุนสูงสุด มูลค่า 32.7 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นร้อยละ 39.4 ของมูลค่าการลงทุนทั้งหมด รองลงมาคืออินโดนีเซีย 31.1 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นร้อยละ 37.4 และสปป.ลาว 18.6 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นร้อยละ 22.3

  1. การค้า และการนำเข้า-ส่งออก

6.1 การขายปลีกสินค้าและบริการ

ในเดือนมกราคม 2568 การขายปลีกของสินค้าและบริการมีมูลค่า 573.3 ล้านล้านเวียดนามด่ง หรือประมาณ 22,932 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.5 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2567 โดยการขายปลีกของสินค้ามีมูลค่า 441.4 ล้านล้านเวียดนามด่งหรือประมาณ 17,656 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.6 ธุรกิจบริการที่พักและร้านอาหารมีมูลค่า 67.3 ล้านล้านเวียดนามด่งหรือประมาณ 2,692 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.8
การท่องเที่ยวมีมูลค่า 5.1 ล้านล้านเวียดนามด่งหรือประมาณ 203.5 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.3 และการบริการอื่น ๆ มีมูลค่า 59.5 ล้านล้านเวียดนามด่งหรือประมาณ 2,379 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.8

ยอดขายปลีกสินค้าและบริการเวียดนามในเดือนมกราคม 2568

                                                                  หน่วย: พันล้านเวียดนามด่ง

   ธ.ค. 2567 ม.ค. 2568 ม.ค. 2568 เทียบกับ
ม.ค. 2567 (%)
มูลค่ารวม โครงสร้าง (%)
รวม 558,421 573,316 100.0 109.5
ยอดขายปลีกสินค้า 424,216 441,421 77.0 108.6
ธุรกิจบริการที่พักและอาหาร 65,356 67,310 11.7 114.8
การท่องเที่ยว 5,369 5,087 0.9 117.3
บริการอื่นๆ 63,480 59,498 10.4 109.8

ที่มา: สำนักงานสถิติแห่งชาติเวียดนาม

6.2 การนำเข้าสินค้า

ในเดือนมกราคม 2568 เวียดนามนำเข้าสินค้ามูลค่า 30,060 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 14.1 เมื่อเทียบกับเดือนธันวาคม 2567 และลดลงร้อยละ 2.6 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2567 โดยการนำเข้าของบริษัทเวียดนาม มีมูลค่า 10,890 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 22.2 และเป็นการนำเข้าของบริษัทต่างชาติในเวียดนาม มีมูลค่า 19,170 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 8.7 ทั้งนี้ จีนเป็นแหล่งนำเข้าสินค้าที่ใหญ่ที่สุดของเวียดนาม มูลค่า 11,600 ล้านเหรียญสหรัฐ

กลุ่มสินค้านำเข้าสำคัญ ได้แก่ กลุ่มวัตถุดิบเพื่อใช้ในการผลิตสินค้า มูลค่า 28,260 ล้านเหรียญสหรัฐคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 94.0 และกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภค มูลค่า 1,800 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 6.0

6.3 การส่งออกสินค้า

ในเดือนมกราคม 2568 เวียดนามส่งออกสินค้ามูลค่า 33,090 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 6.9 เมื่อเทียบกับเดือนธันวาคม 2567 และลดลงร้อยละ 4.3 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2567 โดยเป็นการส่งออกจากภาคการผลิตเพื่อส่งออกของเวียดนามมูลค่า 9,490 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 11.2 ภาคการผลิตเพื่อส่งออกของบริษัทต่างชาติในเวียดนาม มูลค่า 23,600 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 5.0 ทั้งนี้ สหรัฐอเมริกาเป็นตลาดส่งออกที่ใหญ่ที่สุดของเวียดนาม มูลค่า 9,800 ล้านเหรียญสหรัฐ

กลุ่มสินค้าส่งออกสำคัญ ได้แก่ กลุ่มสินค้าอุตสาหกรรมแปรรูป มูลค่า 29,430 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 89.0 กลุ่มสินค้าเกษตรและป่าไม้ มูลค่า 2,650 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 8.0 กลุ่มผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ มูลค่า 770 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 2.3 และกลุ่มสินค้าเชื้อเพลิงและแร่ธาตุ  มูลค่า 220 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 0.7

  1. ดุลการค้า

ในเดือนมกราคม 2568 เวียดนามเกินดุลการค้า มูลค่า 3,030 ล้านเหรียญสหรัฐ  โดยเกินดุลการค้ากับสหรัฐอเมริกามูลค่า 8,500 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 3.5 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2567 เกินดุลการค้ากับสหภาพยุโรปมูลค่า 2,700 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 17.9 เกินดุลการค้ากับญี่ปุ่นมูลค่า 300 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.4 ในขณะเดียวกัน เวียดนามขาดดุลการค้ากับจีนมูลค่า 5,800 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 19.6 ขาดดุลการค้ากับเกาหลีใต้มูลค่า 1,900 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.8 และขาดดุลการค้ากับประเทศในภูมิภาคอาเซียนมูลค่า 1,200 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 241.3

thThai