ภาพรวมเศรษฐกิจประเทศสวิตเซอร์แลนด์
เศรษฐกิจของสวิตเซอร์แลนด์ในปัจจุบันมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ในไตรมาสที่สี่ของปี 2024 ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ขยายตัวร้อยละ 0.5 ซึ่งสูงกว่าการคาดการณ์เดิมที่ร้อยละ 0.2 การเติบโตนี้ส่วนใหญ่มาจากภาคอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์และเภสัชกรรมที่ขยายตัวร้อยละ 2.7 อย่างไรก็ตาม การเติบโตทางเศรษฐกิจตลอดปี 2024 อยู่ที่ร้อยละ 0.9 ลดลงจากร้อยละ 1.2 ในปี 2023 และต่ำกว่าค่าเฉลี่ยระยะยาวของสวิตเซอร์แลนด์ที่ร้อยละ 1.8 ปัจจัยที่ส่งผลต่อการชะลอตัวนี้รวมถึงความต้องการที่ลดลงจากตลาดหลัก เช่น เยอรมนีและจีน
เศรษฐกิจสวิตเซอร์แลนด์ยังคงเผชิญกับความท้าทายจากความไม่แน่นอนในเศรษฐกิจโลกและการชะลอตัวของตลาดส่งออกหลัก ในปี 2025 รัฐบาลสวิตเซอร์แลนด์ (State Secretariat for Economic Affairs: SECO) ได้ปรับลดการคาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจลงเหลือร้อยละ 1.4 จากเดิมที่ร้อยละ 1.5 เนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับความไม่แน่นอนในสถานการณ์การค้าระหว่างประเทศ นอกจากนี้ การคาดการณ์การเติบโตสำหรับปี 2026 ก็ถูกปรับลดลงเช่นกันเป็นร้อยละ 1.6 จากเดิมที่ร้อยละ 1.7 แม้จะมีการเติบโตในภาคเภสัชกรรม แต่ภาคอุตสาหกรรมอื่น ๆ ส่วนใหญ่ยังคงอยู่ในภาวะซบเซา นอกจากนี้ Swissmechanic สมาคมผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมผลิตเครื่องจักรกล อิเล็กโทรนิกส์ และโลหะ ซึ่งเป็นตัวแทนของผู้ผลิตขนาดกลางและย่อม รายงานว่าประมาณร้อยละ 60 ของบริษัทประสบปัญหายอดสั่งซื้อใหม่ลดลง
ภาพรวมการค้าระหว่างประเทศสวิตเซอร์แลนด์
การส่งออกของสวิตเซอร์แลนด์ในเดือนกุมภาพันธ์ 2025 เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.6 คิดเป็นมูลค่า 24,370 ล้านฟรังก์สวิสเมื่อเทียบกับเดือนมกราคม 2025 ที่มีการส่งออกลดลงอย่างมีนัยสำคัญในเดือนก่อนหน้า นอกจากนี้ การนำเข้าก็เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนมกราคม 2025 ร้อยละ 7.0 คิดเป็นมูลค่า 20,092 ล้านฟรังก์สวิส เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า ทำให้สวิตเซอร์แลนด์ยังคงเกินดุลการค้าคิดเป็นมูลค่า 4,227 ล้านฟรังก์สวิส
ส่งออก
การเพิ่มขึ้นโดยรวมของการส่งออกในเดือนกุมภาพันธ์ 2025 ได้รับผลส่วนใหญ่มาจากการเพิ่มการส่งออกในกลุ่มอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์เคมีภัณฑ์และเภสัชกรรม (+1.5 พันล้านฟรังก์สวิส, ร้อยละ12) นอกจากนี้ กลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องจักรและอิเล็กทรอนิกส์ รวมถึงเครื่องมือวัดความแม่นยำ ก็มียอดส่งออกที่เพิ่มขึ้นเช่นกัน อย่างไรก็ตาม มูลค่าการส่งออกของกลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องประดับแฟชั่นและอัญมณี (–388 ล้านฟรังก์สวิส) และนาฬิกา (–137 ล้านฟรังก์สวิส) ลดลงสู่ระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนกันยายน 2024
นำเข้า
การเพิ่มขึ้นของมูลค่าการนำเข้าในเดือนกุมภาพันธ์ 2025 ส่วนใหญ่มาจากมูลค่าการนำเข้าในกลุ่มอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์เคมีและยา (+1.2 พันล้านฟรังก์สวิส) และอุตสาหกรรมเครื่องประดับแฟชั่นและเครื่องประดับอื่นๆ (+194 ล้านฟรังก์สวิส)
นอกจากนี้ การนำเข้าแหล่งพลังงานก็ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.9 ขณะเดียวกันการนำเข้าโลหะและยานพาหนะ ตลอดจนเครื่องจักรและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ลดลงรวม 125 ล้านฟรังก์สวิส
ทั้งนี้ สวิตเซอร์แลนด์มีการนำเข้าจากอเมริกาเหนือลดลงร้อยละ 5.3 แต่มีการนำเข้าจากยุโรปและเอเชียเพิ่มขึ้น
โดยการนำเข้าจากยุโรปเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.8 โดยเฉพาะจากสโลวีเนีย (ผลิตภัณฑ์ยา) และการนำเข้าจากเอเชียเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.2 ซึ่งมูลค่าการนำเข้าที่เพิ่มขึ้นส่วนใหญ่มากจากประเทศเกาหลีใต้ จีน และอินเดีย รวมเป็นมูลค่า 132 ล้านฟรังก์สวิส
การค้าระหว่างประเทศของไทยและสวิตเซอร์แลนด์[1]
มูลค่าการค้า (ล้านดอลลาร์สหรัฐ) |
มูลค่าการส่งออก
(ล้านดอลลาร์สหรัฐ) |
มูลค่าการนำเข้า
(ล้านดอลลาร์สหรัฐ) |
||||||
2567 | 2568 | 2567 | 2568 | 2567 | 2568 | |||
ม.ค.-ก.พ. | +/- (%) | ม.ค.-ก.พ. | +/- (%) |
ม.ค.-ก.พ. | +/- (%) |
|||
10,857.61 | 1,840.67 | -6.26 | 3,907.54 | 1,428.88 | +108.06 | 6,950.07 | 411.80 | -75.29 |
ประเทศไทยเกินดุลการค้า 1,017.08 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (+174.24 %) |
สินค้าส่งออก 10 อันดับแรกของไทย | ||||
ชื่อสินค้า | มูลค่า: ล้านดอลลาร์สหรัฐ | อัตราขยายตัว (%) |
||
2567 | 2567
(ม.ค.-ก.พ.) |
2568
(ม.ค.-ก.พ.) |
||
1. อัญมณีและเครื่องประดับ | 3,312.54 | 194.11 | 1,334.21 | 587.33 |
2. นาฬิกาและส่วนประกอบ | 213.44 | 42.47 | 32.64 | -23.15 |
3. เครื่องยนต์สันดาปภายในแบบลูกสูบและส่วนประกอบ | 0.18 | 0.07 | 11.45 | 16,304.58 |
4. อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป | 38.07 | 6.18 | 6.07 | -1.76 |
5. เครื่องใช้สำหรับเดินทาง | 42.04 | 9.56 | 5.08 | -46.86 |
6. แผงสวิทซ์และแผงควบคุมกระแสไฟฟ้า | 34.21 | 3.89 | 4.39 | 12.96 |
7. เครื่องจักรกลและส่วนประกอบของเครื่องจักรกล | 31.70 | 4.01 | 3.83 | -4.59 |
8. ข้าว | 15.47 | 2.10 | 2.62 | 25.02 |
9. สินค้าอุตสาหกรรมอื่น ๆ | 14.46 | 1.95 | 2.31 | 18.86 |
10. ผลิตภัณฑ์พลาสติก | 16.26 | 3.23 | 2.28 | -29.47 |
สินค้านำเข้า 10 อันดับแรกของไทย | ||||
ชื่อสินค้า | มูลค่า: ล้านดอลลาร์สหรัฐ | อัตราขยายตัว
(%) |
||
2567 | 2567
(ม.ค.-ก.พ.) |
2568
(ม.ค.-ก.พ.) |
||
1. เครื่องเพชรพลอย อัญมณี เงินแท่งและทองคำ | 5,499.22 | 1,432.36 | 190.92 | -86.67 |
2. นาฬิกาและส่วนประกอบ | 590.03 | 99.60 | 93.44 | -6.18 |
3. ผลิตภัณฑ์เวชกรรมและเภสัชกรรม | 183.80 | 35.42 | 29.02 | -18.07 |
4. เครื่องประดับอัญมณี | 64.60 | 11.23 | 15.51 | 38.14 |
5. เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ | 123.11 | 22.89 | 14.86 | -35.09 |
6. เครื่องมือเครื่องใช้เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ การแพทย์ | 77.74 | 12.84 | 12.39 | -3.49 |
7. เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ | 97.17 | 7.85 | 10.11 | 28.74 |
8. เคมีภัณฑ์ | 42.29 | 5.06 | 7.02 | 38.94 |
9. แผงวงจรไฟฟ้า | 29.32 | 6.23 | 5.27 | -15.45 |
10. เหล็ก เหล็กกล้า และผลิตภัณฑ์ | 14.95 | 2.42 | 2.71 | 11.85 |
[1] ที่มา: ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือจากกรมศุลกากร (ข้อมูล ณ วันที่ 31 มี.ค. 2568)
State Secretariat for Economic Affairs: SECO
www.bazg.admin.ch
Photo by Alain ROUILLER on Unsplash
#สวิตเซอร์แลนด์ #การค้าระหว่างประเทศ #สคต.แฟรงก์เฟิร์ต #เศรษฐกิจ