การพัฒนาโลจิสติกส์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมการส่งออกยาและสินค้าเกษตรไปยังออสเตรเลีย

ในงานสัมมนา “การพัฒนาโลจิสติกส์สีเขียวสู่ห่วงโซ่อุปทานที่ยั่งยืนสำหรับสินค้าเกษตรและเภสัชกรรมนำเข้าและส่งออก – เชื่อมโยงความร่วมมือระหว่างออสเตรเลียและเวียดนาม” นางสาว โฮ่ ถิ ทู ฮวา (Ho Thi Thu Hoa) ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาโลจิสติกส์เวียดนาม (VLI) กล่าวว่า ผู้ประกอบการต่างๆ เผชิญกับความยากลำบากอีกครั้งในการส่งออกไปยังออสเตรเลีย เนื่องด้วย ต้นทุน ค่าธรรมเนียมที่สูงและนโยบายการจัดส่งที่เข้มงวด

ตั้งแต่เดือนสิงหาคม – ตุลาคม 2566 พบว่าในด้านโลจิสติกส์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมสำหรับสินค้าเกษตรมีความมุ่งมั่นเพิ่มขึ้นร้อยละ 44.2 และมีผู้ประกอบการการเกษตรและผู้ให้บริการโลจิสติกส์ร้อยละ 25 พร้อมที่จะดำเนินนโยบายและกระบวนการ  สีเขียวในเชิงรุก

นาง Cherie Anne Russell ที่ปรึกษาการพาณิชย์ภายใต้สถานทูตออสเตรเลียในเวียดนามกล่าวว่า อุตสาหกรรมการเกษตรและเภสัชกรรมเป็นสาขาที่ออสเตรเลียสนใจที่จะส่งเสริมการพัฒนาในความสัมพันธ์ความร่วมมือกับเวียดนาม โดยเฉพาะ       โลจิสติกส์มีความสำคัญในการสร้างห่วงโซ่อุปทานการนำเข้าและส่งออก เพื่อส่งเสริมการค้าทวิภาคีระหว่างเวียดนามและออสเตรเลีย โลจิสติกส์สีเขียวถือเป็นแนวโน้มที่สดใสในอนาคต ซึ่งสะท้อนถึงความรับผิดชอบเชิงบวกของธุรกิจและการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขัน

นาง Ho Thi Thu Hoa ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการส่งออกสินค้าเกษตรของเวียดนามไปยังออสเตรเลียว่า ผลไม้บางชนิด เช่น มะม่วง แก้วมังกร และลำไย ได้มีการครองตลาดออสเตรเลีย ในปี 2565 สินค้าเกษตรจำนวนมาก เช่น ข้าว พริกไทย กาแฟ และเม็ดมะม่วงหิมพานต์ ได้มีการส่งออกไปยังออสเตรเลีย โดยมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยของมูลค่าการส่งออกสูงถึงร้อยละ 6.8 ในส่วนของต้นทุนด้านลอจิสติกส์ การส่งออกสินค้าเกษตรของเวียดนามมีข้อดีหลายประการ แต่การส่งออกสินค้าเกษตรยังต้องพึ่งพาสายการบินต่างประเทศ ซึ่งค่าธรรมเนียมการขนส่งขึ้นอยู่กับผู้ให้บริการขนส่ง อีกทั้งการขนส่งทางรถไฟ ทางบก ทางเรือผลไม้จะเสียหายง่ายทำให้ความสามารถในการแข่งขันลดลง เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ ในภูมิภาค เช่น ไทย สินค้าเกษตรของเวียดนามเผชิญกับความท้าทาย เนื่องจากประเทศไทยมีเที่ยวบินจำนวนมากไปยังสหรัฐอเมริกา ยุโรป ออสเตรเลีย ตะวันออกกลางในทุกวัน ส่วนสายการเดินเรือมีจุดหมายปลายทาง 70 แห่งในเอเชีย อินเดีย และตะวันออกกลาง

ผู้เชี่ยวชาญด้านการส่งออกสินค้าเกษตรระบุว่า รัฐบาลจำเป็นต้องสร้างถนนหลายสายเชื่อมต่อกับพื้นที่วัตถุดิบมากขึ้น เช่น Son La, An Giang, Khanh Hoa เป็นต้น ซึ่งจะช่วยลดระยะเวลาการขนส่งได้มาก นอกจากนี้ รัฐบาลจำเป็นต้องส่งเสริม

การลงทุนในการสร้างโครงสร้างพื้นฐานการขนส่งทางบกที่เชื่อมโยงจากพื้นที่วัตถุดิบในภูมิภาคสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขง เพื่อให้เกษตรกรและสหกรณ์มีโอกาสนำผลิตภัณฑ์ของตนออกสู่ตลาดสินค้าเกษตรสู่ตลาดส่งออกที่ดีที่สุดและคุณภาพ ในขณะเดียวกัน จำเป็นต้องวางแผนและสร้างศูนย์โลจิสติกส์ทางการเกษตร รวมถึงคลังสินค้าเย็นสำหรับการจำแนกประเภท การเก็บรักษา และการประมวลผลเบื้องต้น เพื่อปรับปรุงคุณภาพและราคา เพิ่มการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานด้านลอจิสติกส์สำหรับสินค้าเกษตร โดยเฉพาะในพื้นที่การผลิตทางการเกษตรที่สำคัญ นอกจากนี้ พัฒนาการเชื่อมต่อการขนส่งทางเรือ      ทางบก และทางรถไฟ ส่งเสริมความแข็งแกร่งของโลจิสติกส์ในประเทศ

(จาก e.vnexpress.net)

ข้อคิดเห็น

ปัจจุบันออสเตรเลียเป็นคู่ค้ารายใหญ่อันดับที่ 10 ของเวียดนาม และเวียดนามเป็นคู่ค้ารายใหญ่อันดับที่ 7 ของออสเตรเลีย ออสเตรเลียนำเข้าสินค้าจากเวียดนาม ได้แก่ ลิ้นจี่ มะม่วง แก้วมังกร ลำไย และกุ้งแช่แข็ง โดยเวียดนามกำลังผลักดันให้ออสเตรเลียนำเข้าผลิตภัณฑ์ผลไม้บางชนิดเพิ่มชึ้น นอกจากนั้น ออสเตรเลียยังส่งเสริมเวียดนามให้เปิดรับผลิตภัณฑ์ของออสเตรเลีย เช่น เนื้อกวาง เนื้อจิงโจ้ น้ำผึ้ง ลูกพีช และน้ำหวาน เข้าสู่เวียดนาม มูลค่าการค้าทวิภาคีในปี 2565 มีมูลค่า 15,700 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (เพิ่มขึ้นร้อยละ 26.7) ซึ่งมูลค่าการส่งออกจะสูงถึง 5,600 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (เพิ่มขึ้นร้อยละ 26.2) และมูลค่าการนำเข้าสูงถึง 10,100 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (เพิ่มขึ้นร้อยละ 27.3) การขาดดุลการค้าของเวียดนามจากออสเตรเลียอยู่ที่ 4,600 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (เพิ่มขึ้นร้อยละ 28.7) เวียดนามเป็นตลาดที่มีศักยภาพในการพัฒนาธุรกิจ โลจิสติกส์  ผู้ประกอบการด้านโลจิสติกส์ของเวียดนามมีประสบการณ์มากขึ้นหลังจากผ่านปีที่ยากที่สุดของการระบาดโควิด 19 ดังนั้นช่วงเวลาต่อไปจะเป็นช่วงเวลาที่โลจิสติกส์จะพัฒนาขึ้นอย่างแข็งแกร่ง การพัฒนาที่แข็งแกร่งของอุตสาหกรรมเป็นแรงสนับสนุนและกิจกรรมอีคอมเมิร์ซที่เพิ่มขึ้นจะเป็นปัจจัยที่ผลักดันให้ภาคการขนส่งและอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ของเวียดนามขยายตัวเพิ่มขึ้นในอนาคต แม้จะมีการพัฒนาอย่างรวดเร็วและการเติบโตเฉลี่ยต่อปีที่ดี แต่อุตสาหกรรมโลจิสติกส์เวียดนามยังมีข้อจำกัดมากมาย เช่น ต้นทุนบริการด้านโลจิสติกส์ในเวียดนามยังค่อนข้างสูง นอกจากนั้น บริษัทโลจิสติกส์ภายในประเทศ ส่วนใหญ่มีขนาดเล็กด้วยคลังสินค้าแบบดั้งเดิมขาดโครงสร้างพื้นฐาน เทคโนโลยี และเงินทุน ดังนั้นผู้ประกอบการด้าน  โลจิสติกส์ในเวียดนามจึงยังเผชิญกับการแข่งขันที่รุนแรงกับบริษัทต่างชาติ ซึ่งเป็นโอกาสการลงทุนธุรกิจโลจิสติกส์ในเวียดนามของนักลงทุนไทย เพื่อรองรับการขยายตัวของความต้องการคลังสินค้าและการขนส่งที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

de_DEGerman