ตั้งแต่ปี 2562 เป็นต้นมา เนื้อสัตว์ที่ทำจากพืชในประเทศจีนได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้น ข้อมูลจาก เลขาธิการคณะกรรมการ ผู้อำนวยการและรองเลขาธิการด้านการเกษตรสีเขียวและโภชนาการของ  China Green Food Association ร่วมกับศาสตราจารย์ School of Food and Health,Beijing Technology and Business University และ ผู้อำนวยการของศูนย์วิจัยนโยบายอาหารและโภชนาการพืชของสถาบันพัฒนาอาหารและโภชนาการ กระทรวงเกษตร ระบุว่า บริษัทสตาร์ทอัพเกี่ยวกับเนื้อสัตว์เทียมโตขึ้นเป็นจำนวนมาก อาทิ บริษัท STARFIELD  เป็นบริษัทที่เน้นผลิตเนื้อสัตว์ที่ทำจากพืช ได้แก่ เนื้อจากพืช ลูกชิ้นชีสพริกไทยดำที่ทำจากพืช ซอสเนื้อเบอร์เกอร์จากพืช ทั้งนี้ ในปี 2562 บริษัทร่วมมือกับ Naixue Tea ร่วมมือพัฒนาผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์จากพืช 3 รายการ ได้แก่ Future Burger, Green Star Burger และ Mexican Meat Roll ยังมีผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ที่ทำจากพืช 2.0 โดยใช้เทคโนโลยระดับโมเลกุลแต่งกลิ่นและเนื้อสัมผัสเลียนแบบเนื้อสัตว์ รวมถึงผลิตภัณฑ์อื่นๆมากมายที่บริษัท ร่วมมือกับ บริษัทชั้นนำรายอื่นของจีน อาทิ Heytea, Dicos, CP Group และ Tim Hortons ครอบคลุมร้านค้ามากกว่า 5,500 แห่งทั่วประเทศ

Zhenrou บริษัทเนื้อสัตว์ที่ผลิตจากพืชแห่งแรกของจีน ร่วมมือกับ  Beijing Technology and Business University ผลิตขนมไหว้พระจันทร์ที่ทำจากพืช นอกจากนี้ร่วมมือกับ Beiping Machinery ผลิตผลิตภัณฑ์จากพืช 3 รายการใหม่ ได้แก่ โครเกต์ปักกิ่งพืช แพนเค้กสเต็กเนื้อจากพืช และแฮมเบอร์เกอร์เนื้อตุ๋นจากพืช รวมถึงร่วมมือกับ FOODBOWL Healthy Light Food ผลิต แกงลูกชิ้นเนื้อจากพืช และร่วมมือกับ Wobbit Wobiancao ผลิต ข้าวหน้าเนื้อซูชิ และ ลูกชิ้นเนื้อจากพืชสไตล์สวีดิช

บริษัท Hey Maet นำเทคโนโลยีใช้โปรตีนจากพืชมาใช้ เช่น โปรตีนจาก ถั่ว ถั่วเหลือง ข้าว มาใช้ผลิต เบอร์เกอร์ หมูกรอบ เกี๊ยว และ New Vegan เป็นบริษัทเนื้อสัตว์จากพืชที่เชี่ยวชาญเรื่องหมูสามชั้น           ซึ่งผลิตภัณฑ์สามารถนำมาประกอบอาหารได้หลากหลายชนิด เช่น หม้อไฟ บาร์บีคิว และของว่างต่างๆ       ซึ่งผลิตภัณฑ์มีคุณภาพดีและมีต้นทุนที่ต่ำกว่า เนื้อสัตว์ รวมถึงผลิตขนมไหว้พระจันทร์ที่ทำจากพืชก็เป็นที่น่าสนใจของตลาด

 

ตลาดเนื้อสัตว์จากพืชทั่วโลกเติบโตและมีขนาดตลาดขนาดใหญ่

ในปี 2562 ตลาดเนื้อสัตว์เทียมทั่วโลกมีมูลค่าประมาณ 12,100 ล้านเหรียญสหรัฐ คาดว่าจะเติบโต    ร้อยละ 15 ต่อปี และคาดว่าจะมีมูลค่าถึง 27,900 ล้านเหรียญสหรัฐในปี 2568 ในปี 2562 ขนาดของตลาดเนื้อสัตว์จากพืชในสหรัฐฯ อยู่ที่ประมาณ 940 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 38 เมื่อเทียบกับปี 2560     คิดเป็นประมาณร้อยละ 20 ของตลาดโลก ปัจจุบันเป็นตลาดผู้บริโภคเนื้อสัตว์จากพืชที่ใหญ่ที่สุดทั่วโลก          ในปี 2561 ขนาดตลาดของอุตสาหกรรมเนื้อสัตว์จากพืชของจีนอยู่ที่ประมาณ 910 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น ร้อยละ 14.2 เมื่อเทียบเป็นรายปี ข้อมูลนี้แสดงให้เห็นว่าแนวโน้มของตลาดจีนมีแนวโน้มที่ดี

ในปัจจุบัน ตลาดเนื้อสัตว์จากพืชของจีนไม่ได้เป็นตลาดแข่งขันโดยตรงกับเนื้อสัตว์ แต่แค่เป็นการตอบโจทย์ความต้องการของกลุ่มผู้บริโภคมังสวิรัติและผู้เคร่งศาสนาเพื่อเพิ่มทางเลือกในการบริโภคอาหาร       ตามนิสัยการบริโภคแบบดั้งเดิมของชาวจีน เนื้อเลียนแบบเป็นเรื่องปกติ เช่น ไก่มังสวิรัติ ไส้กรอกหมูย่างมังสวิรัติ ไตทอดมังสวิรัติ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม เนื้อเลียนแบบไม่ใช่เนื้อสัตว์จากพืช และผู้บริโภคส่วนใหญ่ยังคงนึกถึงอาหารเหล่านี้มีสารปรุงแต่งที่เป็นอันตรายและรสชาติไม่ดีเท่าเนื้อสัตว์ รวมถึงความประทับใจที่ไม่ดีอื่นๆมีอีกมาก ในบรรดาผู้บริโภคที่ซื้อเนื้อสัตว์จากพืชไปแล้ว สุขภาพคือเหตุผลหลักที่ทำให้ผู้บริโภคกลับมาซื้ออีกครั้ง โดยคิดเป็นร้อยละ 50 ของแรงจูงใจในการซื้อเนื้อสัตว์จากพืช ตามมาด้วยการรักษาสิ่งแวดล้อม รสชาติ และความทันสมัย ผลการสำรวจพบว่าเนื้อสัตว์จากพืชได้รับความนิยมมากขึ้นในหมู่ผู้บริโภครุ่นใหม่โดยรุ่นหลังยุค 90 เป็นกลุ่มผู้บริโภคหลักของเนื้อสัตว์จากพืชและสัดส่วนการบริโภคจะลดลงตามอายุ ต่างจากสหรัฐอเมริกาตรงที่ร้อยละ 63 ของผู้บริโภคเนื้อสัตว์ที่ทำจากพืชในจีนเป็นผู้หญิง และมีเพียงร้อยละ 37 เท่านั้นที่เป็นผู้ชาย ข้อมูลนี้ยังแสดงให้เห็นว่าผู้ชายที่ชอบเนื้อสัตว์มักยอมรับเนื้อสัตว์จากพืชได้น้อยกว่า

ความเห็นสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ เมืองเซี่ยเหมิน อาหารที่ทำจากพืชเป็นเทรนด์ที่ผู้บริโภคทั่วโลกหันมาให้ความใส่ใจมากขึ้นและมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นในทุกๆปี ปัจจัยเรื่องสุขภาพและการรักษาสิ่งแวดล้อมเป็นปัจจัยที่ทำให้ผู้บริโภคหันมานิยมมากขึ้น ไม่เว้นแต่ผู้บริโภคชาวจีน ที่เริ่มหันมาใส่ใจ แต่อย่างไรก็ดี ผู้บริโภคชาวจีนรู้จักกับอาหารทดแทนเนื้อสัตว์ที่ทำจากพืชมาก่อนหน้านี้ และผู้บริโภคในปัจจุบันยังเห็นว่าการบริโภคเนื้อสัตว์ที่ทำจากพืชเป็นเรื่องสำหรับผู้อยู่ในศาสนา โดยกลุ่มที่สนใจอาหารแห่งอนาคตเหล่านี้ ค่อยๆ ปรับตัว เพิ่มขึ้นในจีน แต่ก็ยังไม่แพร่หลายมากนัก อย่างไรก็ดี Future Food ดังกล่าว เริ่มมีผู้สนใจมากขึ้นในกลุ่มผู้รักสุขภาพ จึงเป็นอีกกลุ่มตลาดหนึ่ง ที่ยังคงต้องจับตามองต่อไปในอนาคต

ที่มา

https://finance.sina.com.cn/jjxw/2024-03-20/doc-inanxnpz6372137.shtml

เรียบเรียงโดยสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ เมืองเซี่ยเหมิน

11 เมษายน 2567

 

 

 

 

 

 

de_DEGerman