Australien
- สถานการณ์เศรษฐกิจ – ยอดค้าปลีกออสเตรเลียเดือนมิถุนายนขยายตัวเล็กน้อยร้อยละ 0.5 จากการใช้จ่ายซื้อสินค้าเครื่องใช้และอุปกรณ์ไฟฟ้าในครัวเรือน เช่น สินค้าเฟอร์นิเจอร์ สินค้าอิเล็กทรอนิกส์และเสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย (เลือกซื้อสินค้าในช่วงลดราคา) ในขณะที่การใช้จ่ายในการรับประทานอาหารนอกบ้านลดลง อัตราการว่างงานเพิ่มขึ้นที่ร้อยละ 4.1 ดัชนีราคาผู้บริโภคไตรมาสเดือนมิถุนายนเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 และร้อยละ 3.8 ต่อปี อัตราดอกเบี้ยนโยบายยังคงที่ที่ร้อยละ 4.35- รัฐบาลกลางออสเตรเลียผ่านกฎหมาย The Fair Work Legislation Amendment (Closing Loopholes No. 2) Act 2024 ซึ่งประกอบด้วย Right to disconnect ซึ่งเป็นกฎระเบียบใหม่ที่บังคับใช้กับภาคธุรกิจ เริ่มมีผลบังคับใช้แล้ว ณ วันที่ 26 สิงหาคม 2567 มีผลบังคับกับภาคธุรกิจที่มีลูกจ้างมากกว่า 15 คนขึ้นไป สำหรับภาคธุรกิจขนาดเล็กที่มีแรงงาน 14 คนหรือน้อยกว่า จะเริ่มมีผลใช้บังคับ 26 สิงหาคม 2568 กฎระเบียบ Right to disconnect เป็นสิทธิ์ของลูกจ้างที่สามารถปฏิเสธการติดต่อจากนายจ้างหลังเวลาทำงานได้ (ตามเหตุผลที่สมควร) โดยไม่ถูกลงโทษหรือไล่ออกจากงาน ซึ่งกำหนดขึ้นเพื่อปกป้องลูกจ้างไม่ให้ทำงานเกินเวลาโดยไม่ได้รับค่าตอบแทนการทำงานล่วงเวลา FWO เสนอให้ลูกจ้างและนายจ้างเจรจาตกลงเพื่อหาข้อสรุปในเบื้องต้น หากไม่สามารถหาข้อสรุปได้จึงแจ้งมายัง FWO เพื่อไกล่เกลี่ยเพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาร่วมกัน
- สถานการณ์การค้าภาพรวมของออสเตรเลีย [1] ปี 2567 เดือนมกราคม–มิถุนายน สถานการณ์การส่งออกสินค้าของออสเตรเลีย มีมูลค่า 171,538 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (หดตัวร้อยละ 10.76) เป็นการส่งออกถ่านหินบิทูมินัส (ร้อยละ 33.75) สินแร่และหัวแร่เหล็ก (ร้อยละ 29.35) ทองคำยังไม่ได้ขึ้นรูป (ร้อยละ 7.11) เนื้อสัตว์สำหรับบริโภค (ร้อยละ 3.66) และข้าวสาลีและเมสลิน (ร้อยละ 2.89) ประเทศส่งออกหลัก คือ จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ สหรัฐอเมริกา และอินเดีย สำหรับประเทศไทยเป็นคู่ค้าอันดับที่ 13 (น้ำมันปิโตรเลียมดิบ ทองแดงบริสุทธิ์ อะลูมิเนียมที่ยังไม่ได้ขึ้นรูป ทองคำยังไม่ได้ขึ้นรูป และข้าวสาลีและเมสลิน)ปี 2567 เดือนมกราคม–มิถุนายน การนำเข้าสินค้าของออสเตรเลีย มีมูลค่า 139,015 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (ขยายตัวร้อยละ 2.37) โดยเป็นการนำเข้ารถยนต์สำหรับขนส่งบุคคลและขนส่งของ (ร้อยละ 15.54) เครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดพกพา (ร้อยละ 14.47) น้ำมันปิโตรเลียมดิบและน้ำมันดิบที่ได้จากแร่บิทูมินัส (ร้อยละ 14.01) เครื่องโทรศัพท์สำหรับเครือข่ายเซลลูลาร์หรือเครือข่ายไร้สายอื่นๆ (ร้อยละ 10.39) ยารักษาหรือป้องกันโรค (ร้อยละ 3.94) ประเทศคู่ค้าสำคัญ คือ จีน สหรัฐอเมริกา เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น และไทย ปี 2567 เดือนมกราคม–มิถุนายน ออสเตรเลียได้ดุลการค้า 32,523 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ไทยเป็นคู่ค้าอันดับที่ 5 มีมูลค่า 6,712 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (ขยายตัวร้อยละ 15.82) (สินค้านำเข้าหลักจากไทย 5 อันดับแรกได้แก่ รถยนต์ เครื่องปรับอากาศ เครื่องโทรศัพท์สำหรับเครือข่ายเซลลูลาร์หรือเครือข่ายไร้สายอื่นๆ ยางรถยนต์ใหม่ แชมพูและผลิตภัณฑ์ที่ไช้กับเส้นผม) และ ไทยเป็นฝ่ายได้ดุลการค้า 4,108 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (143,789 ล้านบาท)
สถานการณ์การส่งออกสินค้าของออสเตรเลียในเดือนมิถุนายน 2567 มีมูลค่า 29,681 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (หดตัวร้อยละ 6.40) โดยเป็นผลมาจากการส่งออกถ่านหินบิทูมินัส (ร้อยละ 31.88) สินแร่และหัวแร่เหล็ก (ร้อยละ 29.94) ทองคำยังไม่ได้ขึ้นรูป (ร้อยละ 7.15) เนื้อสัตว์สำหรับบริโภค (ร้อยละ 4.08) และข้าวสาลีและเมสลิน (ร้อยละ 2.14) ประเทศส่งออกหลัก คือ จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ สิงคโปร์และอินเดีย สำหรับประเทศไทยเป็นคู่ค้าอันดับที่ 15 (น้ำมันปิโตรเลียมดิบ ทองแดงบริสุทธิ์ อะลูมิเนียมที่ยังไม่ได้ขึ้นรูป เนื้อสัตว์สำหรับบริโภค นมและครีมเข้มข้น)
สำหรับการนำเข้าสินค้าของออสเตรเลียในเดือนมิถุนายน 2567 มีมูลค่า 22,584 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (ขยายตัวร้อยละ 1.71) โดยเป็นการนำเข้ารถยนต์สำหรับขนส่งบุคคลและขนส่งของ (ร้อยละ 15.42) หน่วยประมวลผลสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ (ร้อยละ 14.97) น้ำมันปิโตรเลียมที่ได้จากแร่ บิทูมินัส (ดีเซล) (ร้อยละ 13.68) เครื่องโทรศัพท์สำหรับเครือข่ายเซลลูลาร์หรือสำหรับเครือข่ายไร้สายอื่นๆ (ร้อยละ 10.47) ยารักษาหรือป้องกันโรค (ร้อยละ 4.06) ประเทศคู่ค้าสำคัญ คือ จีน สหรัฐอเมริกา เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น และเยอรมนี ซึ่งในเดือนมิถุนายน 2567 ออสเตรเลียได้ดุลการค้าที่ 7,097 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ไทยเป็นคู่ค้าอันดับที่ 7 (รถยนต์ เครื่องปรับอากาศ เครื่องจักรสำหรับการรับการเปลี่ยนและการส่ง หรือการสร้างเสียง ภาพหรือข้อมูลอื่นๆ ยางรถยนต์ใหม่และทูน่ากระป๋อง)
- สรุปสถานการณ์การค้าไทย-ออสเตรเลีย [2]
เป้าหมายส่งออก มูลค่าการค้ารวม (ล้าน US$) มูลค่าการส่งออก (ล้าน US$) มูลค่าการนำเข้า (ล้าน US$) ปี 2023 (%)
ปี 2024 (%)
ปี 2023 ปี 2024 ปี 2023 ปี 2024 ปี 2023 ปี 2024 ม.ค.-มิ.ย. +/- (%) ม.ค.- มิ.ย. +/- (%) ม.ค.- มิ.ย. +/- (%) 2.0 (8.21)
1.0 19,054.43 (4.03)
9,314.47 -6.16 12,214.62 (8.21) 6,230.62 11.80 6,839.82 (-4.05)
3,083.86 -29.14 [1] Source: Global Trade Atlas
[2]Source: ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือจากกรมศุลกากร
- การค้าของไทยเดือนมิถุนายน ปี 2567
- การส่งออกสินค้าไทยไปออสเตรเลียเดือนมิถุนายน ปี 2567 มีมูลค่า 1,073.0ล้านเหรียญสหรัฐฯ (37,555 ล้านบาท) ลดลงร้อยละ 7.58 เป็นการลดลงของสินค้ารถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เม็ดพลาสติก เครื่องจักรกลและส่วนประกอบของเครื่องจักร แต่การส่งออกเครื่องปรับอากาศ ผลิตภัณฑ์ยาง อาหารทะเลกระป๋อง เครื่องสำอาง สบู่และผลิตภัณฑ์รักษาผิว เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ และอาหารสัตว์เลี้ยงเพิ่มขึ้น
- การนำเข้าสินค้าของไทยจากออสเตรเลียเดือนมิถุนายน ปี 2567 มีมูลค่า 522.68 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (18,293 ล้านบาท) ลดลงร้อยละ6 เป็นการลดลงของการนำเข้าสินค้าน้ำมันดิบ ก๊าซธรรมชาติ พืชและผลิตภัณฑ์จากพืช นมและผลิตภัณฑ์นม ด้ายและเส้นใยและผัก ผลไม้และของปรุงแต่งที่ทำจากผัก ผลไม้ แต่การนำเข้าเครื่องเพชรพลอย อัญมณี สินแร่โลหะอื่นๆ ถ่านหิน และเนื้อสัตว์สำหรับการบริโภคเพิ่มขึ้น