“ยอดขายเนื้อถั่วเหลืองในญี่ปุ่นลดลงเป็นปีที่สอง”

  • ยอดขายเนื้อที่ทำจากถั่วเหลืองลดลงเป็นปีที่สองติดต่อกัน: ยอดขายในประเทศลดลง 27% ตั้งแต่เดือนมกราคมถึงสิงหาคม ปี 2567
    ความนิยมของเนื้อทดแทน “เนื้อถั่วเหลือง” เริ่มลดลง ยอดขายในประเทศระหว่างเดือนมกราคมถึงสิงหาคมลดลง 27.5% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน อยู่ที่ 1,663.8 ล้านเยน การที่ราคาสินค้าสูงขึ้นทำให้ผู้บริโภคไม่พอใจเนื่องจากเนื้อถั่วเหลืองมีราคาสูงกว่าเนื้อสัตว์ทั่วไป ขนาดของตลาดพุ่งสูงสุดในปี 2566 และมีแนวโน้มว่าจะติดลบต่อเนื่องเป็นปีที่สองในปี 2567
    ผลิตภัณฑ์อาหาร 10 ประเภท มียอดขาย 8 ประเภทที่ลดลง
    “ยอดขายเนื้อถั่วเหลืองในญี่ปุ่นลดลงเป็นปีที่สอง”ตามลำดับมูลค่า “บะหมี่” ลดลง 22.7% เหลือ 358.4 ล้านเยน “อาหารทอด” เช่น คาราอาเกะ ลดลง 38.2% เหลือ 172.01 ล้านเยน “แกงกะหรี่” ที่ใช้เนื้อถั่วเหลืองแทนเนื้อบด ลดลง 38.2% เหลือ 124.49 ล้านเยน และ “แฮมเบอร์เกอร์” ลดลง 48.4% เหลือ 75.56 ล้านเยน
    นักวิเคราะห์การตลาดกล่าวว่า “ผลกระทบจากราคาที่สูงขึ้นมาก ทำให้ผู้บริโภคไม่สนใจเนื้อถั่วเหลืองที่มีราคาสูงกว่าเนื้อสัตว์ทั่วไป และลดปริมาณการซื้อ”
    “ยอดขายเนื้อถั่วเหลืองในญี่ปุ่นลดลงเป็นปีที่สอง”สามหมวดหมู่ที่มียอดขายเติบโต ได้แก่ “ซุป” และ “เครื่องปรุงสำหรับอาหารเฉพาะเมนู” โดยยอดขายซุปเพิ่มขึ้นถึง 3.1 เท่าเป็น 141.66 ล้านเยน ขณะที่เครื่องปรุงสำหรับอาหารเฉพาะเมนูเติบโต 6.8% อยู่ที่ 111.49 ล้านเยน สิ่งที่สองหมวดหมู่นี้มีร่วมกันคือมีส่วนผสมของเนื้อถั่วเหลืองในสัดส่วนที่มีปริมาณน้อย
    ยอดขายเนื้อถั่วเหลืองเพิ่มขึ้นตั้งแต่ปี 2564 และขยายตัวถึง 4,236.65 ล้านเยนในปี 2565 เนื่องจากการระบาดของไวรัสโควิด-19 ทำให้ผู้คนลดการออกนอกบ้าน และผู้ที่กังวลเรื่องน้ำหนักเกินในช่วงโควิดหันมาเลือกซื้อเนื้อถั่วเหลืองเพราะมีคอเลสเตอรอลต่ำและมีโปรตีนสูง เหมาะสำหรับการลดน้ำหนัก ผลิตภัณฑ์เช่น “ผงปรุงรสกะเพรา” ที่ใช้เนื้อถั่วเหลืองได้รับความนิยม โดยผู้บริโภคหันมาใช้ผลิตภัณฑ์เหล่านี้เพื่อสร้างความหลากหลายให้กับเมนูอาหาร เนื่องจากการรับประทานอาหารนอกบ้านลดลง
    ยอดสินค้าจากเนื้อถั่วเหลืองพุ่งสูงสุดในปี 2564 และ 2565 ที่ 126 รายการ แม้ว่าบริษัทผู้ผลิตจะพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ เช่น บะหมี่ แต่ในปี 2566 ยอดสินค้าลดลงเหลือเพียง 93 รายการ
    เมื่อเปรียบเทียบกับเนื้อสัตว์ทั่วไป ความเห็นเชิงลบเกี่ยวกับรสชาติของเนื้อถั่วเหลืองยังคงมีอยู่ การดึงดูดความสนใจของผู้บริโภคจึงไม่ใช่เพียงแค่จุดแข็งด้านความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม แต่ยังต้องพัฒนาเรื่องรสชาติ เนื้อสัมผัส และความคุ้มค่ากับราคาให้ใกล้เคียงกับเนื้อสัตว์ทั่วไปมากขึ้นบทวิเคราะห์ (ผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย)
    ในญี่ปุ่น จำนวนผู้บริโภคอาหารมังสวิรัติค่อนข้างจำกัด ทำให้ตลาด plant-based มีการเติบโตอย่างช้า ๆ แต่ด้วยราคาที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2566 ยอดขายลดลงจากจุดสูงสุดในปี 2565 รายงานในเดือนกันยายน 2567ระบุว่าการลงทุนใน food tech ลดลง และบทความนี้ก็แสดงถึงการหดตัวของตลาด plant-based เช่นกัน

สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น
แปลและเรียบเรียงจาก
หนังสือพิมพ์ Nikkei MJ ฉบับวันที่ 9 ตุลาคม 2567
ภาพประกอบบทความจากเว็บไซต์

de_DEGerman