จิ่งเต๋อเจิ้น (Jingdezhen) หรือที่มักถูกเรียกว่า “เมืองหลวงแห่งเครื่องปั้นดินเผา” มีบทบาทสำคัญทั้งในอุตสาหกรรมเซรามิกของประเทศและระดับนานาชาติ จิ่งเต๋อเจิ้นมีชื่อเสียงในด้านการผลิตเครื่องเซรามิกลายครามที่มีประวัติยาวนานกว่า 1,700 ปี ถือเป็นศูนย์กลางการผลิตเซรามิกที่สำคัญที่สุดในประเทศจีน ผลิตภัณฑ์เครื่องชามรามไหลายครามคุณภาพสูงของจิ่งเต๋อเจิ้นได้รับการยกย่องทั้งในประเทศจีนและทั่วโลก เป็นเวลาหลายร้อยปีที่เครื่องลายครามถูกขนส่งทางบกและทางทะเลผ่านเส้นทางสายไหม (Silk Road) ไปยังพื้นที่ต่าง ๆ ของโลก และทำหน้าที่เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมและการค้าระหว่างตะวันออกและตะวันตก
มณฑลเจียงซีตั้งอยู่ทางตอนกลางของประเทศจีน มีพื้นที่ทั้งหมด 166,900 ตารางกิโลเมตร ประชากร รวมกว่า 45 ล้านคน แบ่งการปกครองออกเป็น 11 เขต 100 อำเภอ มณฑลเจียงซีมีตำแหน่งทางภูมิศาสตร์ที่ได้เปรียบในด้านคมนาคม โดยตั้งอยู่ในภาคกลางของประเทศและมีระบบคมนาคมที่มีความพร้อมสูงทั้งทางบก ทางน้ำ และทางอากาศ
ในปี 2023 ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ของมณฑลทั้งหมดเกิน 3.2 ล้านล้านหยวน และ GDP ต่อหัวประชากรเกินกว่า 10,000 ดอลลาร์สหรัฐ โดยมูลค่าการส่งออกเครื่องลายครามจากจิ่งเต๋อเจิ้นมีมูลค่ารวม 1,035 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 100.7 โดยการส่งออกเครื่องเซรามิกลายครามมีมูลค่าส่งออกอยู่ที่ 730 ล้านหยวน คิดเป็นมากกว่าร้อยละ 70 ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมด และยังเป็นสินค้าที่ส่งออกไปยังประเทศและภูมิภาคต่างๆ ถึง 53 แห่ง
ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา จิ่งเต๋อเจิ้นได้ใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินทางวัฒนธรรมและข้อได้เปรียบของตน โดยจัดกิจกรรมที่มีชื่อเสียงในด้านศิลปะเซรามิก ซึ่งรวมถึงการแลกเปลี่ยนและโครงการความร่วมมือที่ส่งเสริมมรดกทางวัฒนธรรมและความหลากหลาย มีการให้ความสำคัญเป็นพิเศษกับการสร้างศักยภาพ การพัฒนา และการแลกเปลี่ยนระหว่างประเทศจีน แอฟริกา และประเทศในกลุ่มอาหรับ นอกจากนี้ เมืองนี้ยังได้จัดการประชุมสุดยอดนายกเทศมนตรีจากเมืองที่ผลิตเซรามิกทั่วโลก รวมถึงการจัดงาน Jingdezhen International Ceramic Expo เพื่อสร้างพื้นที่สำหรับความร่วมมือ ส่งเสริมความร่วมมือด้านอุตสาหกรรม และการจัดประชุมแลกเปลี่ยนความรู้ที่หลากหลาย ทำให้จิ่งเต๋อเจิ้นกลายเป็นเมืองสร้างสรรค์ด้านเซรามิกที่เต็มไปด้วยวิสัยทัศน์และศักยภาพ
นับตั้งแต่ปี 2023 เมืองจิ่งเต๋อเจิ้นมีโครงการ “Jingdezhen International Ceramic Expo City” และ “Jingdezhen Taoxichuan Cultural and Creative District” ซึ่งเป็นตลาดการค้าขายเซรามิกแห่งแรกของเมืองที่ดำเนินการผ่านตลาดจัดซื้อ โดยมีรายงานว่า International Ceramic Expo City เร่งพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกทั้งซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ เช่น ศูนย์จัดแสดงนิทรรศการ ศูนย์การค้า และศูนย์โลจิสติกส์ มีบริษัทเซรามิก 595 แห่งจาก 20 กว่าแหล่งผลิตใน 13 ประเทศเข้าร่วม ซึ่งสินค้าที่ครอบคลุมรวมถึงเซรามิกสำหรับใช้ในชีวิตประจำวัน เซรามิกสำหรับโรงแรม และเซรามิกเชิงศิลปะ นอกจากนี้ยังมีการจัดตั้งแพลตฟอร์มข้อมูลออนไลน์และศูนย์คัดเลือกสินค้าข้ามพรมแดนแบบออฟไลน์ รวมถึงก่อตั้งบริษัทให้บริการครอบคลุมการค้าข้ามพรมแดน เพื่อให้บริการแบบครบวงจรแก่ผู้ค้าต่าง ๆ เช่น การลงทะเบียน การตรวจสอบสินค้า การผ่านด่านศุลกากร และโลจิสติกส์ระหว่างประเทศ นอกจากนี้ ยังได้เปิดร้านจำหน่ายสินค้าเซรามิก Jingdezhen Ceramic Official Flagship Store ในเมืองดูไบเพื่อขยายช่องทางการขายต่างประเทศอีกด้วย
เครื่องเซรามิกของประเทศไทย
เครื่องเซรามิกไทยมีหลายหลายรูปแบบ ซึ่งเรียกต่างกันออกไปตามกระบวนการการผลิตและรูปแบบของ การลงสี คาดว่าในยุคก่อนมีการสั่งเครื่องเซรามิกพื้นขาวเข้ามาในประเทศไทยและนำมาลงสีและลวดลายโดยช่างภายในประเทศ ทำให้ได้เกิดการพัฒนาสีสันและลวดลายที่สวยงามและเป็นเอกลักษณ์ที่สืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน โดยเครื่องเซรามิกในยุคก่อน นำเข้ามาสู่ประเทศไทยเพื่อใช้ในราชสำนัก หรือเจ้านายข้าราชการชั้นสูง โดยมักผลิตจากแหล่งจิ่งเต๋อเจิ้น เนื่องจากเป็นแหล่งผลิตที่มีชื่อเสียง และมีฝีมือดี ส่วนชนิดที่รองลงมา มักสั่งทำจากแหล่งผลิตในเมืองเต๋อฮวา มณฑลฝูเจี้ยน และมณฑลกวางตุ้ง ก่อนที่จะมีการเรียนรู้และผลิตใช้เองในประเทศ
โอกาสของไทยในการส่งออกเครื่องเซรามิกไทยสู่ต่างประเทศ
ผลิตภัณฑ์เซรามิก ประกอบด้วยหลายประเภท ไม่เพียงแต่เครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร แต่ยังมี ของชำร่วย เครื่องประดับ รวมไปถึงเซรามิกที่ใช้ในอุตสหกรรม อย่างวัสดุพื้น หลังคาเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมก่อสร้าง ลูกถ้วยไฟฟ้า อุตสาหกรรมการแพทย์ อุตสาหกรรมเทคโนโลยี อวกาศต่างๆ ล้วนแต่มีการใช้ผลิตภัณฑ์เซรามิก สำหรับประเทศไทย ในปี 2567 เดือนมกราคม-สิงหาคม ประเทศไทยมีมูลค้าการส่งออกผลิตภัณฑ์หมวดเซรามิก (HS Code 69) มูลค่า 17,547.78 ล้านบาท โดยมีจีนเป็นคู่ค้าสำคัญอันดับ 3 และมีคู่ค่าสำคัญอื่นๆ อาทิ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น เมียนมาร์ และอินเดีย โดยมีการส่งออกไปสู่ตลาดสหรัฐอเมริกาเป็นอันดับ 1 มีมูลค่าการส่งออกอยู่ที่ 4,885.24 ล้านบาท มีสัดส่วนร้อยละ 27.84 และมีญี่ปุ่นเป็นตลาดส่งออกของไทยเป็นอันดับที่ 2 มีมูลค่าการส่งออกอยูที่ 1,499.76 ล้านบาท มีมูลค่าการส่งออกที่ 1,499.76 ล้านบาท สัดส่วนการส่งออกอยู่ที่ร้อยละ 8.55
ส่วนจีนเป็นตลาดส่งออกอันดับ 3 ของไทย คิดเป็นมูลค่า 1,335.54 ล้านบาท หรือ สัดส่วนร้อยละ 7.61 ของไทยส่งออกไปทั่วโลก และไทยเองยังมีตลาดส่งออกหลักอื่นๆ อาทิ เมียนมาร์และอินเดีย มีมูลค่าอยู่ที่ 964.52 ล้านบาท และ 838.34 ล้านบาท ตามลำดับ โดยในปี 2024 เดือนมกราคม-สิงหาคม การค้ารวมเซรามิกระหว่างไทย-เจียงซี มีมูลค่า 505,677 เหรียญสหรัฐ คิดเป็นร้อยละ 0.69 ที่มณฑลเจียงซีค้ากับทั่วโลก จากข้อมูลสถิติจีนเป็นประเทศคู่ค้าสำคัญอันดับต้นๆ ของไทยในหมวดสินค้าเซรามิก
ประเทศไทยมีเครื่องเซรามิกอันเป็นเอกลักษณ์ ซึ่งคุณภาพ สีสัน ลวดลายหัตถศิลป์ที่สะท้อนความเป็นไทยออกมาในผลิตภัณฑ์รูปแบบต่างๆที่มีสีสัน และลวดลายที่มีเอกลักษณ์งดงามนั้นได้รับความชื่นชม และเป็นที่ต้องการจากชาวต่างชาติอยู่เสมอ
การเลือกใช้เครื่องเซรามิก กลายเป็นภาชนะใส่อาหาร หรือการตกแต่งภายในร้าน ก็เป็นอีกหนึ่งช่องทางในการส่งเสริมการรับรู้ถึงผลิตภัณฑ์อันเป็นเอกลักษณ์ของไทย นอกจากการใส่ใจกับรสชาติและคุณภาพของอาหารแล้ว การให้ความสำคัญกับภาชนะ ก็ช่วยส่งเสริมการนำเสนอความเป็นไทยออกมาได้อย่างโดดเด่น ดังนั้นร้านอาหารไทยที่เปิดกระจายอยู่ตามประเทศต่างๆในโลกก็ถือเป็นอีกหนึ่งช่องทางในการส่งเสริมการรับรู้และการมองเห็นต่อเครื่องเซรามิกไทยในต่างแดนได้เป็นอย่างดี
หรือการสร้างความแตกต่างอย่างการสร้างความคงทน ยืดหยุ่น แตกหักได้ยากก็ถือเป็นอีกหนึ่งรูปแบบที่ สามารถช่วยเพิ่มมูลค่า และความต้องการซื้อของผู้บริโภคได้ อีกทั้งการต่อยอดเครื่องเซรามิกไปสู่ผลิตภัณฑ์รูปแบบอื่นๆ อย่างเช่น เครื่องประดับ ก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่น่าสนใจไม่น้อย อีกทั้งในตลาดจีน ณ ปัจจุบันนิยมสินค้าที่มีเอกลักษณ์ โดดเด่น ไม่ซ้ำใคร ดังนั้นการเลือกที่จะต่อยอดสินค้าเซรามิกไปสู่ผลิตภัณฑ์รูปแบบต่างๆก็ถือเป็นช่องทางที่สามารถช่วยส่งเสริมการขายได้ดี
ความเห็นสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ เมืองเซี่ยเหมิน : เครื่องเซรามิกไทย ความงามอันโดดเด่นและศิลปะอันเป็นเอกลักษณ์ ได้รับความนิยม และความต้องการต่อตลาด และชาวต่างชาติมาอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะซื้อเพื่อนำไปใช้เองหรือซื้อเพื่อนำกลับไปเป็นของฝากให้กับผู้อื่น ดังนั้นการสร้างการรับรู้ของผลิตภัณฑ์ดังกล่าว ผ่านการสร้างสรรค์สินค้าในรูปแบบต่างๆไม่ว่าเป็น ถ้วยชาม ของตกแต่งบ้าน เครื่องประดับฯลฯ ในร้านอาหารไทยเปิดอยู่ตามจุดต่างๆของโลก รวมไปถึงการเข้าร่วมงานจัดแสดงนานาชาติก็เป็นอีกหนึ่งช่องทางในการส่งเสริมการรับรู้เครื่องเซรามิกของไทย สู่สายตาของชาวต่างชาติ โดยการใช้ซอฟต์พาวเวอร์ด้านศิลปะหัตถการอันปราณีตของไทยเป็นสื่อในการขับเคลื่อนธุรกิจให้เติบโตมากขึ้น ทั้งนี้ ไทยมีจุดเด่นในด้านความคิดสร้างสรรค์ หากร่วมมือกับผู้เชี่ยวชาญของของจีนพัฒนาสินค้าโดยนำจุดเด่นของทั้งจีนในแง่การทำต้นทุนที่สู้กับตลาดโลกเทคโนโลยี ศิลปะ นวัตกรรม ตลอดจน วัตถุดิบทรัพยกรเรียนรู้ผสมผสานร่วมกันพัฒนาเพื่อสร้างสินค้าออกสู่ตลาดโลก
https://www.sohu.com/a/765053195_120439601 https://www.unesco.org/en/creative-cities/Jingdezhen
http://www.jiangxi.gov.cn/art/2024/2/16/art_393_4786954.html
%9D%20for
https://www.sentangsedtee.com
https://saranukromthai.or.th
Global Trade Atlas
https://tradereport.moc.go.th/th
https://www.customs.go.th/statistic_report.php?show_search=1&s=qIxqC0j93NHzK14l
China (Jiangxi) – ASEAN Economic and Trade Cooperation Matchmaking Conference
เรียบเรียงโดยสำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ เมืองเซี่ยเหมิน
11 ตุลาคม 2567