รายงานสถานการณ์เศรษฐกิจการค้าออสเตรเลีย ประจำเดือนตุลาคม 2567

(1) สถานการณ์เศรษฐกิจ

– เศรษฐกิจออสเตรเลียขยายตัวต่อเนื่อง 12 ไตรมาสแต่เป็นการขยายตัวในอัตราชะลอตัวลง โดยการเติบโตของ GDP ไตรมาสเดือนกันยายนอยู่ที่ร้อยละ 0.3 และขยายตัวตลอดทั้งปีที่ร้อยละ 0.8 โดยมีการใช้จ่ายภาครัฐเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.4 ด้านสวัสดิการสังคมและพลังงาน (Energy Bill Relief) และการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานและการป้องกันประเทศเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.3 การใช้จ่ายภาคครัวเรือนลดลงร้อยละ 0.3 ส่วนใหญ่เป็นการใช้จ่ายสินค้าที่จำเป็น การบริโภคในประเทศได้รับแรงกระตุ้นจากการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวจากต่างชาติในภาคธุรกิจบริการ Hospitality ต่างๆ เช่น ร้านอาหาร โรงแรม ผับและคาเฟ่ ภาคการค้าการส่งออกขยายตัวร้อยละ 0.2 (เป็นการส่งออกถ่านหินเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.9) แต่การนำเข้าสินค้าลดลงร้อยละ 0.3 โดยเฉพาะการนำเข้ารถยนต์ลดลง การเติบโตของ GDP ต่อหัวอยู่ที่ร้อยละ 0.3 การออมเงินภาคครัวเรือนเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.2 เนื่องจากรายได้ภาคครัวเรือนที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.5 จากการลดหย่อนภาษี (Stage 3 Tax cuts)

– การเติบโตของอัตราเงินเฟ้อไตรมาสเดือนกันยายน 2567 อยู่ที่ร้อยละ 0.2 และขยายตัวร้อยละ 2.8 ต่อปี (ต่ำสุดในรอบ 3 ปีครึ่ง) ธนาคารกลางออสเตรเลียยังคงรักษาอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 4.35 อัตราการว่างงานเดือนตุลาคมอยู่ที่ร้อยละ 4.1 (ตลาดการเงินถดถอยและค่าเงินเหรียญออสเตรเลียอ่อนค่าลง)

(2) สถานการณ์การค้าภาพรวมของออสเตรเลีย [1]  

ปี 2567 เดือนมกราคมตุลาคม สถานการณ์การส่งออกสินค้าของออสเตรเลีย มีมูลค่า 283,107 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (หดตัวร้อยละ 8.33) เป็นการส่งออกถ่านหินบิทูมินัส (ร้อยละ 33.32) สินแร่และหัวแร่เหล็ก (ร้อยละ 28.27) ทองคำยังไม่ได้ขึ้นรูป (ร้อยละ 7.42) เนื้อสัตว์สำหรับบริโภค (ร้อยละ 4.02) และข้าวสาลีและเมสลิน (ร้อยละ 2.48) ประเทศส่งออกหลัก คือ จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ อินเดียและสหรัฐอเมริกา สำหรับประเทศไทยเป็นคู่ค้าอันดับที่ 15 (น้ำมันปิโตรเลียมดิบ อะลูมิเนียมที่ยังไม่ได้ขึ้นรูป ทองแดงบริสุทธิ์ เนื้อสัตว์สำหรับบริโภคและข้าวสาลีและเมสลิน)

ปี 2567 เดือนมกราคมตุลาคม การนำเข้าสินค้าของออสเตรเลีย มีมูลค่า 236,737 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (ขยายตัวร้อยละ 2.89) โดยเป็นการนำเข้ารถยนต์สำหรับขนส่งบุคคลและขนส่งของ (ร้อยละ 15.32) เครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดพกพา (ร้อยละ 14.47) น้ำมันปิโตรเลียมดิบและน้ำมันดิบที่ได้จากแร่บิทูมินัส (ร้อยละ 13.22) เครื่องโทรศัพท์สำหรับเครือข่ายเซลลูลาร์หรือเครือข่ายไร้สายอื่นๆ (ร้อยละ 10.99) ยารักษาหรือป้องกันโรค (ร้อยละ 3.91) ประเทศคู่ค้าสำคัญ คือ จีน สหรัฐอเมริกา เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น และไทย ปี 2567 เดือนมกราคมตุลาคม ออสเตรเลียได้ดุลการค้า 46,370 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ไทยเป็นคู่ค้าอันดับที่ 5 มีมูลค่า 11,217 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (ขยายตัวร้อยละ 6.86)  (สินค้านำเข้าหลักจากไทย 5 อันดับแรกได้แก่ รถยนต์ เครื่องปรับอากาศ เครื่องโทรศัพท์สำหรับเครือข่ายเซลลูลาร์หรือเครือข่ายไร้สายอื่นๆ ยางรถยนต์ใหม่ และทูน่ากระป๋อง) และ ไทยเป็นฝ่ายได้ดุลการค้า 7,312 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (248,608 ล้านบาท)

สถานการณ์การส่งออกสินค้าของออสเตรเลียในเดือนตุลาคม 2567 มีมูลค่า 28,339 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (หดตัวร้อยละ 3.27) โดยเป็นผลมาจากการส่งออกถ่านหินบิทูมินัส (ร้อยละ 32.80) สินแร่และหัวแร่เหล็ก (ร้อยละ 25.36) ทองคำยังไม่ได้ขึ้นรูป (ร้อยละ 8.82) เนื้อสัตว์สำหรับบริโภค (ร้อยละ 4.85) และคอรันดัมประดิษฐ์ (ร้อยละ 2.66) ประเทศส่งออกหลัก คือ จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ อินเดียและสหรัฐอเมริกา สำหรับประเทศไทยเป็นคู่ค้าอันดับที่ 14 (น้ำมันปิโตรเลียมดิบ อะลูมิเนียมที่ยังไม่ได้ขึ้นรูป เนื้อสัตว์สำหรับบริโภค ทองแดงบริสุทธิ์ นมและครีม)

สำหรับการนำเข้าสินค้าของออสเตรเลียในเดือนตุลาคม 2567 มีมูลค่า 25,417 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (ขยายตัวร้อยละ 5.27) โดยเป็นการนำเข้ารถยนต์สำหรับขนส่งบุคคลและขนส่งของ (ร้อยละ 14.74) เครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดพกพา (ร้อยละ 14.59) เครื่องโทรศัพท์สำหรับเครือข่ายเซลลูลาร์หรือสำหรับเครือข่ายไร้สายอื่นๆ (ร้อยละ 13.20) น้ำมันปิโตรเลียมที่ได้จากแร่ บิทูมินัส (ดีเซล) (ร้อยละ 10.81) ยารักษาหรือป้องกันโรค (ร้อยละ 4.17) ประเทศคู่ค้าสำคัญ คือ จีน สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และไทย ซึ่งในตุลาคม 2567 ออสเตรเลียได้ดุลการค้าที่ 2,922 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ไทยเป็นคู่ค้าอันดับที่ 5 (รถยนต์ เครื่องปรับอากาศ เครื่องจักรสำหรับการรับการเปลี่ยนและการส่ง หรือการสร้างเสียง ภาพหรือข้อมูลอื่นๆ ยางรถยนต์ใหม่และเครื่องเพชรพลอยรูปพรรณทำด้วยเงิน)

(3) สรุปสถานการณ์การค้าไทย-ออสเตรเลีย [2]

รายงานสถานการณ์เศรษฐกิจการค้าออสเตรเลีย ประจำเดือนตุลาคม 2567

 

[1] Source: Global Trade Atlas

[2] Source: ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือจากกรมศุลกากร

(4) การค้าไทยกับออสเตรเลีย

  • การส่งออกสินค้าไทยไปออสเตรเลียเดือนตุลาคม ปี 2567 มีมูลค่า 1,029.94 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (35,017 ล้านบาท) ลดลงร้อยละ 14.67 เป็นการลดลงของการส่งออกรถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เม็ดพลาสติก อัญมณีและเครื่องประดับ แต่การส่งออกเครื่องปรับอากาศ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ผลิตภัณฑ์ยาง เครื่องสำอาง สบู่และผลิตภัณฑ์รักษาผิว อาหารทะเลกระป๋อง เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ เพิ่มขึ้น
  • การนำเข้าสินค้าของไทยจากออสเตรเลียเดือนตุลาคม ปี 2567 มีมูลค่า 453.41 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (15,415 ล้านบาท) เพิ่มขึ้นร้อยละ81 เป็นการเพิ่มขึ้นของการนำเข้าสินค้าเครื่องเพชรพลอย อัญมณี น้ำมันดิบ สินแร่โลหะอื่นๆ พืชและผลิตภัณฑ์จากพืช เนื้อสัตว์สำหรับการบริโภคและนมและผลิตภัณฑ์นม แต่การนำเข้าก๊าซธรรมชาติ ถ่านหิน ผัก ผลไม้และของปรุงแต่งที่ทำจากผัก ผลไม้ ด้ายและเส้นใยลดลง

(5) สถิติการส่งออกหลักของไทยไปตลาดออสเตรเลีย (รายเดือน)

รายงานสถานการณ์เศรษฐกิจการค้าออสเตรเลีย ประจำเดือนตุลาคม 2567

  (6)  สถิติการนำเข้าหลักของไทยจากตลาดออสเตรเลีย (รายเดือน)[1]

รายงานสถานการณ์เศรษฐกิจการค้าออสเตรเลีย ประจำเดือนตุลาคม 2567

[1] Source: ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือจากกรมศุลกากร

de_DEGerman