สถานการณ์การค้าระหว่างประเทศของสิงคโปร์ในเดือนพฤศจิกายน 2567

เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2567 หน่วยงาน Enterprise Singapore (ESG) ได้ประกาศข้อมูลสถานการณ์การค้าระหว่างประเทศของสิงคโปร์เดือนพฤศจิกายน 2567
โดยมีรายละเอียด ดังนี้

การค้าระหว่างประเทศโดยรวมของสิงคโปร[1],[2]

ในเดือนพฤศจิกายน 2567 การค้าระหว่างประเทศโดยรวมของสิงคโปร์เพิ่มขึ้น +5% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า (หลังจากลดลง -2.2% ในเดือนก่อนหน้า) โดยเป็นผลมาจากการส่งออกโดยรวมเพิ่มขึ้นที่ +5.1% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า (หลังจากลดลง -3.3% ในเดือนก่อนหน้า) และการนำเข้าโดยรวมเพิ่มขึ้นที่ +4.9% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า (หลังจากลดลงที่ -0.9% ในเดือนก่อนหน้า)

การส่งออก Non-oil Domestic Export (NODX)

ในเดือนพฤศจิกายน 2567 NODX เพิ่มขึ้นที่ +3.4% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า หลังจากลดลงที่ -4.7% ในเดือนก่อนหน้า โดยเป็นผลมาจากการเพิ่มขึ้นของการส่งออกสินค้า Electronic NODX แต่สินค้า Non-Electronic NODX ลดลง

การส่งออกสินค้า Electronic NODX

ในเดือนพฤศจิกายน 2567 การส่งออกสินค้า Electronic NODX ขยายตัวที่ +23.2% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า (หลังจากเพิ่มขึ้นที่ +2.6% ในเดือนก่อนหน้า) โดยสินค้าที่มีการส่งออกเพิ่มขึ้นมากที่สุด ได้แก่ ICs,Disk Media Products และ PCs ขยายตัวที่ +28.9% +114.7% และ +75.3% ตามลำดับ

การส่งออกสินค้า Non-Electronic NODX

ในเดือนพฤศจิกายน 2567 การส่งออกสินค้า Non-Electronic NODX ลดลงที่ -1.6% เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนหน้า (หลังจากลดลงที่ -6.8% ในเดือนก่อนหน้า) โดยสินค้าที่มีการส่งออกลดลงมากที่สุด ได้แก่ Pharmaceuticals,Petrochemicals และ Paper & Paperboard  ลดลง -63.8% -5.3% และ-89.9% ตามลำดับ

ตลาดการส่งออก NODX

ในเดือนพฤศจิกายน 2567 ตลาดส่งออก NODX ภาพรวมทั้งหมดเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะ ไต้หวัน ฮ่องกง และมาเลเซีย โดยตลาดที่มีการเพิ่มขึ้นมากที่สุด ได้แก่ ไต้หวัน (+42.7%)  ฮ่องกง(+35.3%)  มาเลเซีย (+24.4%)

สถานการณ์การค้าระหว่างประเทศของสิงคโปร์ในเดือนพฤศจิกายน 2567

การส่งออก Oil Domestic Exports

ในเดือนพฤศจิกายน 2567 การส่งออกน้ำมันในเชิงมูลค่าลดลง -18.2% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า หลังจากลดลง -29.9% ในเดือนก่อนหน้า

  • ประเทศคู่ค้าที่มีการส่งออกลดลง ได้แก่ มาเลเซีย (-25.9%) อินโดนีเซีย (-36.1%) และ สหรัฐฯ (-84.2%) เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า
  • การส่งออกน้ำมันในเชิงปริมาณลดลงที่ -6.8% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า หลังจากลดลงที่ -13.9% ในเดือนก่อนหน้า

การส่งออก Non-oil Re-Exports (NORX)

ในเดือนพฤศจิกายน 2567 การส่งออก Non-oil Re-Exports (NORX) ขยายตัวที่ +14.2% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า (หลังจากขยายตัวที่ +7.1% ในเดือนก่อนหน้า) โดยเป็นผลมาจากการเพิ่มขึ้นของสินค้า Electronic NORX และสินค้า Non-Electronic NORX

สถานการณ์การค้าระหว่างประเทศของสิงคโปร์ในเดือนพฤศจิกายน 2567

การส่งออกสินค้า Electronic NORX

ในเดือนพฤศจิกายน 2567 การส่งออกสินค้า Electronic NORX เพิ่มขึ้นที่ +12.7% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า (หลังจากเพิ่มขึ้นที่ +6.9% ในเดือนก่อนหน้า) โดยสินค้าที่ส่งออกเพิ่มขึ้นมากที่สุด ได้แก่ PCs (+128.5%) Parts of PCs (+45.4%) และ ICs (+15.3%)

การส่งออกสินค้า Non-Electronic NORX

ในเดือนพฤศจิกายน 2567 การส่งออกสินค้า Non-Electronic NORX ขยายตัวที่ +15.8% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า (หลังจากเพิ่มขึ้นที่ +7.4% ในเดือนก่อนหน้า) โดยสินค้าที่มีการส่งออกเพิ่มขึ้น ได้แก่ Electrical Machinery (+39.7%) Non-Monetary Gold (+429.6%) และ Measuring Instruments (+11.4%)

ตลาดการส่งออก NORX

ในเดือนพฤศจิกายน 2567 ตลาดส่งออก NORX ทั้งหมดเพิ่มขึ้น โดยตลาดที่เพิ่มขึ้นมากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ ฮ่องกง (+21.2%) จีน (+13.6%) และสหรัฐฯ (+23.8%)

ข้อมูลเพิ่มเติม/ความคิดเห็นของ สคต.

การค้าระหว่างประเทศโดยรวมของสิงคโปร์ในเดือนพฤศจิกายน 2567 ขยายตัวที่ +5% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า (yoy) โดยเป็นผลมาจากการส่งออกเพิ่มขึ้น +5.1% และการนำเข้าเพิ่มขึ้นที่ +4.9% (yoy)  ทั้งนี้ หากพิจารณาเฉพาะการส่งออกสินค้าที่ไม่ใช่น้ำมัน (Non-oil Domestic Export: NODX) ของสิงคโปร์เพิ่มขึ้นที่ +3.4% (yoy) จากเดือนก่อนหน้าลดลงที่ -4.7% (yoy) ซึ่งเป็นผลมาจากการเพิ่มขึ้นของการส่งออกสินค้า Electronic NODX แต่สินค้า Non-Electronic NODX ลดลง นักเศรษฐศาสตร์จากธนาคาร DBS ให้ความเห็นต่อมาตรการของสหรัฐฯ ที่มีต่อสินค้ากลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ว่า ความตึงเครียดด้านภูมิรัฐศาสตร์และสงครามการค้าที่ทวีความรุนแรงขึ้นจะก่อให้เกิดความท้าทายในระยะกลาง และเพิ่มความเสี่ยงด้านลบต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจในประเทศที่พึ่งพาการค้าสูง เช่น สิงคโปร์ ในขณะที่ นักเศรษฐศาสตร์จากธนาคาร Maybank ระบุว่า ความเสี่ยงสำคัญที่อาจเกิดขึ้นคือ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ อาจกำหนดเป้าหมายการจัดเก็บภาษีศุลกากรกับบางประเทศในอาเซียน หรือเสนอการจัดเก็บภาษีศุลกากรแบบเหมารวมสำหรับส่วนอื่น ๆ ของโลก มาตรการดังกล่าวอาจขัดขวางกระแสการค้าโลก และชะลอการปรับโครงสร้างห่วงโซ่อุปทานไปยังภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งรวมถึงสิงคโปร์ นอกจากนี้ ประเทศอื่น ๆ อาจตอบโต้ด้วยมาตรการตอบโต้ทางการค้า ซึ่งอาจทำให้สงครามการค้าทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น และส่งผลกระทบต่อการค้าโลกและอุปสงค์ภายนอกอย่างมีนัยสำคัญ

สำหรับภาวะการค้าระหว่างประเทศของไทยในเดือนพฤศจิกายน 2567 ข้อมูลจากสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า[1] ระบุว่า การส่งออกของไทยในเดือนพฤศจิกายน 2567 มีมูลค่า 25,608.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (849,069 ล้านบาท) ขยายตัวร้อยละ 8.2 ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ห้า โดยมีปัจจัยขับเคลื่อนสำคัญจากการส่งออกสินค้ากลุ่มเทคโนโลยี โดยเฉพาะเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบที่เติบโตในระดับสูงสอดรับกับกระแสการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลของโลก ขณะที่การส่งออกสินค้าที่เกี่ยวข้องกับภาคการผลิตยังคงขยายตัวได้ดีอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นผลจากการปรับตัวเชิงรุกของประเทศต่างๆ เพื่อรับมือกับพลวัตทางการค้ารูปแบบใหม่และความท้าทายด้านภูมิรัฐศาสตร์ที่อาจเกิดขึ้น อีกทั้งความต้องการสินค้าเกษตรและอาหารในตลาดโลกยังเป็นแรงหนุนสำคัญที่ผลักดันให้การส่งออกของไทยเติบโตได้อย่างมีศักยภาพ

ที่มา/ข้อมูลภาพ (Credit Photo) :

Enterprise Singaporehttps://www.enterprisesg.gov.sg/-/media/esg/files/media-centre/media-releases/2024/december/mr05724_monthly-trade-report—nov-2024.pdf

StraitsTimes  –  https://www.straitstimes.com/business/economy/singapore-key-exports-rebound-in-november-up-3-4-on-shipments-of-electronics

[1] https://uploads.tpso.go.th/1.1%20Press%20Release%20%E0%B8%9E.%E0%B8%A2.%2067%20%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%A1%20rev2.pdf

[1] ตั้งแต่เดือนกันยายน 2563 ข้อมูลการค้าที่เกี่ยวข้องกับสหภาพยุโรป (European Union: EU) จะรายงานเป็น EU27 แทนที่ EU28 เนื่องจากการถอนตัวออกจาก EU ของสหราชอาณาจักร (United Kingdom: UK) หรือ Brexit (Britain Exit)

[2] การจำแนกสินค้าทั้งหมดที่ซื้อขายในและนอกอาเซียนในรายงานการค้าระหว่างประเทศโดยรวมของสิงคโปร์ ใช้รหัสภาษีชุดใหม่ ASEAN Harmonised Tariff Nomenclature (AHTN) 2017 version

Enterprise Singapore (ESG) ระบุว่า ข้อมูลสารสนเทศที่ปรากฏในช่องทางการเผยแพร่ข้อมูลนี้จัดทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ความรู้และเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารเบื้องต้นเท่านั้น และไม่รับประกันผลใดๆ และไม่รับผิดชอบในความสูญหายหรือความเสียหายใดๆ ที่เกิดจากใช้ข้อมูลจากสารสนเทศนี้ในทุกกรณี

de_DEGerman