“บรอกโคลี Broccoli” ได้รับการส่งเสริมเป็น “ผักที่กำหนด” ครั้งแรกในรอบประมาณครึ่งศตวรรษของญี่ปุ่น

“บรอกโคลี” Broccoli ถูกเพิ่มเข้าไปในรายการ “ผักที่กำหนด” ซึ่งหมายถึงได้รับแต่งตั้งหรือคัดเลือกให้เป็นผักที่มีการบริโภคในปริมาณมากและมีความสำคัญต่อชีวิตประจำวันของผู้คน การกำหนดใหม่นี้ถือเป็นครั้งแรกในรอบประมาณครึ่งศตวรรษ โดยจะให้มีผลเริ่มตั้งแต่ปี 2569
กระทรวงเกษตร ป่าไม้ และประมง ของประเทศญี่ปุ่น ได้กำหนดให้ผักที่มีการบริโภคในปริมาณมากเป็นพิเศษ เรียกว่า “ผักที่กำหนด” ซึ่งปัจจุบันมีอยู่ 14 รายการ ระบบนี้มีขึ้นเมื่อปี 2517 หรือเมื่อ 50 ปีที่แล้ว เพื่อป้องกันการผันผวนของราคาผักเหล่านี้และกำกับดูแลปริมาณให้เพียงพอต่อความต้องการอย่างมีเสถียรภาพ รวมถึงให้มีแหล่งพื้นที่การผลิตที่แน่นอน พร้อมทั้งหากราคาผันผวนอย่างมากรัฐบาลจะสนับสนุนเงินอุดหนุนแก่เกษตรกรเมื่อราคาตกต่ำเพื่อรักษาปริมาณการผลิตและเสถียรภาพทางการตลาด

"บรอกโคลี Broccoli" ได้รับการส่งเสริมเป็น “ผักที่กำหนด” ครั้งแรกในรอบประมาณครึ่งศตวรรษของญี่ปุ่นจากข้อมูลของกระทรวงเกษตรฯ ของญี่ปุ่น ระบุว่าการผลิตผักอื่นๆ ยังคงทรงตัวหรือลดลงในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา เนื่องจากปัจจัยต่างๆ เช่น การลดลงของประชากร แต่การผลิตบรอกโคลีในประเทศญี่ปุ่นกลับเพิ่มขึ้น พบว่าในปี 2564 มีปริมาณการขนส่งบรอกโคลี155,500 ตัน เพิ่มขึ้นมากกว่า 30% เมื่อเทียบกับปี 2555 ที่มีปริมาณ 115,300 ตัน และเพิ่มขึ้นสองเท่า เมื่อเทียบกับปี 2544 ที่มีปริมาณ 75,500 ตัน สำหรับพื้นที่เพาะปลูกและการผลิตหลัก ได้แก่ จังหวัดฮอกไกโด ไซตามะ ไอจิ โทคุชิมะ คากาวะ และนางาซากิ
เมื่อวันที่ 23 มกราคม 2567 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร ประมง และการประมง นายเท็ตสึชิ ซากาโมโตะ กล่าวภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรีของรัฐบาลญี่ปุ่นว่าการประกาศเลื่อนชั้นความสำคัญของผักบรอกโคลี คือ ตัวบ่งชี้ว่าเป็นผักที่มีความสำคัญต่อชีวิตการบริโภคของประชาชน ซึ่งมีความต้องการบริโภคบรอกโคลีเพิ่มขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับผักชนิดอื่นๆ อีก จำนวน 35 รายการ ซึ่งประโยชน์ของบรอกโคลี ได้แก่ ช่วยบำรุงผิวพรรณให้สดใส ชะลอผิวพรรณไม่ให้เหี่ยวย่น วิตามินเอ วิตามินซี และสารซัลเฟอร์ราเฟน12 ช่วยบำรุงและรักษาสายตา ป้องกันการเกิดต้อกระจก สารลูทีน ซีแซนทีน และวิตามินเอ12 ช่วยบำรุงกระดูกและฟันให้แข็งแรง ป้องกันโรคกระดูกพรุน ช่วยป้องกันโรคมะเร็งต่าง ๆ ช่วยลดคอเลสเตอรอลในร่างกาย ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด และป้องกันโรคเบาหวาน เป็นต้น
สำหรับรายการผักที่กำหนด 14 รายการ ได้แก่ กะหล่ำปลี แตงกวา เผือก หัวไชเท้า หัวหอม มะเขือเทศ มะเขือยาว แครอท ต้นหอม ผักกาดขาว มันฝรั่ง พริกหยวก ผักโขม และผักกาดหอม
ข้อมูลจากศุลกากรญี่ปุ่น พบว่าในปี 2565 ญี่ปุ่นนำเข้าบรอกโคลี พิกัดศุลกากร HS 0710.80-090 จากทั่วโลกปริมาณ 19,728 ตัน โดยนำเข้าจากไทยปริมาณ 2,071 ตัน ทั้งนี้ ข้อมูลจากกรมศุลกากรไทยพบว่าในปี 2566 ไทยส่งออกผักแช่เย็นแช่แข็งทั้งหมดปริมาณ 67,779 ตัน โดยส่งออกไปญี่ปุ่นมีปริมาณ 40,017 ตัน

บทวิเคราะห์ (ผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย)
การที่ผู้บริโภคญี่ปุ่นต้องการบริโภคสินค้าผักบรอกโคลีเพิ่มขึ้นอาจทำให้ ผู้นำเข้าสนใจนำเข้าบรอกโคลี่แช่เย็นแช่แข็งหรือแปรรูปเพื่อสะดวกการบริโภคเพิ่มขึ้น และเป็นโอกาสของไทยที่จะเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางการค้าในตลาดญี่ปุ่นได้มากขึ้น

ข่าวเด่นประจำสัปดาห์ฉบับที่ 18 วันที่ 27 มกราคม – 2 กุมภาพันธ์ 2567 จากกรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น
สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น

อ้างอิงจาก https://news.yahoo.co.jp/expert/articles/c3474d2e396db5a8dc7c59ee040e5286e5a8cde3
เมื่อ 22 มกราคม 2567
https://www.asahi.com/articles/ASS1Q6QX3S1QULFA021.html
เมื่อ 23 มกราคม 2567
https://www.tokyo-np.co.jp/article/304882
24 มกราคม 2567 19:22 น.
ที่มา : ข้อมูลการนำเข้าส่งออก
https://www.customs.go.jp/
ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือจากกรมศุลกากร
นาโฮะ ซูกิตะ
ภาพถ่าย/ภาพประกอบ

en_USEnglish