อิหร่านพร้อมเจรจากับรัฐบาลทรัมป์ เพื่อผลประโยชน์แห่งชาติ

Miss. Mohajerani โฆษกรัฐบาลอิหร่านได้กล่าวว่า สำหรับอิหร่านทุกอย่างที่นำพามาเพื่อผลประโยชน์ของชาติและการปฏิวัติอิสลามจะเป็นนโยบายหลัก ดังนั้น อิหร่านพร้อมเจรจากับรัฐบาลทรัมป์ เพื่อผลประโยชน์ของประเทศ นอกจากนี้โฆษกได้กล่าวเน้นย้ำว่า ประธานาธิบดี ทรัมป์ ควรหลีกเลี่ยงการคว่ำบาตรอย่างเต็มรูปแบบเหมือนเมื่อสมัยแรก และนำนโยบายความพ่ายแพ้ดังกล่าวมาเป็นบทเรียน เนื่องจากนโยบายต่างๆ ถึงแม้จะดำเนินการในช่วงวิกฤตโควิด 19 ก็ตาม แต่ก็ยังไม่ประสบความสำเร็จประการใด อีกทั้งได้เตือนผู้นำสหรัฐให้หลีกเลี่ยงทุกนโยบายที่อาจบ่อนทําลายสิทธิของประชาชนอิหร่าน

ในปี 2558 อิหร่านได้ทำความตกลงนิวเคลียร์ (JCPOA) กับประเทศ จีน ฝรั่งเศส รัสเซีย สหราชอาณาจักร สหรัฐฯ และเยอรมนี ต่อมาในปี 2561 นายโดนัลด์ ทรัมป์ได้นำสหรัฐออกจากข้อตกลงในสัญญาดังกล่าว การถอนตัวฝ่ายเดียวของสหรัฐฯ ออกจากสนธิสัญญานิวเคลียร์ควบคู่ไปกับการคว่ำบาตรต่อต้านอิหร่าน ที่ถือว่าผิดกฎหมายภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศ และมาตรการคว่ำบาตรมีจุดมุ่งหมายหลักเพื่อทําลายเศรษฐกิจอิหร่านและสร้างความยากลําบากอย่างมากต่อประชาชนชาวอิหร่าน

นาย Ebrahim Rezaei โฆษกคณะกรรมการความมั่นคงแห่งชาติและนโยบายต่างประเทศของรัฐสภาอิหร่านได้ชี้แจงว่าทรัมป์ควรหาวิธีการใหม่ในการกดดันอิหร่าน เนื่องจากการคว่ำบาตร และ กลยุทธ์บีบอิหร่านได้หมดลงในช่วงวาระแรกที่ดํารงตําแหน่ง โฆษกกล่าวเพิมเติมว่า ไม่ว่าจะเป็นพรรค Democratic หรือ Republican ขึ้นมามีอำนาจ ไม่มีผลกับนโยบายการต่างประเทศอิหร่าน

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศอิหร่านเคยกล่าวไว้ก่อนหน้านี้ว่าอิหร่านอาจเปลี่ยนกลยุทธ์เมื่อพูดถึงนโยบายต่างประเทศ แต่หลักการสําคัญของอิหร่านจะไม่มีวันเปลี่ยนแปลง

โดยสรุปภาพรวม คือ นโยบายของ โดนัลด์ ทรัมป์ ไม่ได้ขึ้นอยู่อุดมการณ์ แต่ขึ้นอยู่กับผลประโยชน์ที่สหรัฐต้องได้ ดังนั้นถ้าโดนัลด์ ทรัมป์ยังดำเนินการโยบายการคว่ำบาตรอิหร่านแบบสมัยแรก จะไม่ได้ผลอย่างที่สหรัฐต้องการ ถึงแม้อาจจะทำข้อตกลงเบื่องต้นสำหรับโครงการ Abraham ระหว่างประเทศอาหรับกับอิสราเอลเพื่อกดดันอิหร่าน แต่ก็ยังคงไม่ได้ผลอย่างที่สหรัฐฯ ปรารถนา

ข้อคิดเห็น สคต. ในชั้นนี้ เห็นควรติดตามทิศทางนโยบายของสหรัฐฯ ต่ออิหร่านว่าจะไปในทิศทางใด อย่างไรก็ดี สามารถประเมินผลกระทบได้ 2 ทิศทาง

  1. ผลลบต่อการค้าไทย: หากสหรัฐฯ ใช้มาตรการคว่ำบาตรแบบกดดันสูงสุด โดยเฉพาะการมุ่งกำจัดรายได้การส่งออกน้ำมันไปจีนของอิหร่าน ซึ่งจะส่งผลให้อิหร่านมีรายได้ และเงินตราต่างประเทศน้อยลง จนไม่สามารถทำธุรกรรมการค้าระหว่างประเทศได้ การนำเข้าของอิหร่านจากทั่วโลก รวมทั้งไทยจะลดตามไปด้วย
  2. ผลดีต่อการค้าไทย: หากสหรัฐและอิหร่านสามารถเจรจาหาข้อยุติ และยกเลิกมาตรการคว่ำบาตร ซึ่งจะส่งผลให้ระบบการเงิน การค้าระหว่างประเทศของอิหร่านเข้าสู่ภาวะปกติ อิหร่านจะมีรายได้จาการส่งออกน้ำมัน และจะมีการนำเข้าจากทั่วโลกมากขึ้นรวมทั้งไทย ทั้งนี้ ก่อนที่อิหร่านโดนมาตรการคว่ำบาตร การค้าไทย-อิหร่าน (ปี 2561) มีมูลค่าการค้ารวม 972.82 ล้านเหรียญสหรัฐ สำหรับหลังคว่ำบาตร ปี 2566 มีมูลค่าการค้ารวม 142.80 ล้านเหรียญสหรัฐ และปี 2567 (ม.ค.-ก.ย.) รวม 123.93 ล้านเหรียญสหรัฐ
en_USEnglish