อุตสาหกรรมโลจิสติกส์อัจฉริยะหมายถึง ความชานฉลาดของกระบวนการโลจิสติกส์ ซึ่งมีการใช้ข้มูลหรือระบบที่เชื่อมกับการปฏิสัมพันธ์กับเทคโนโลยี หรือ Internet of Things ขั้นสูง อาทิ การใช้ บาร์โค้ด การระบุความถี่วิทยุ ระบบเซนเซอร์ GPS เทคโนโลยี AI ระบบอัตโนมัติและระบบข้อมูลสารสนเทศแบบบูรณาการ เทคโนโลยี AI เป็นต้น ที่จะเป็นส่วนช่วยในการเพิ่มประสิทธิภาพของการบวนการโลจิสติกส์ ไม่ว่าจะเป็น การขนส่ง คลังสินค้า การจัดเก็บ การจ่ายสินค้า การให้บริการลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว สะดวก และแม่นยำ ในขณะเดียวกัน ก็ยังเป็นการลดต้นทุนการหมุนเวียน ปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงาน เพิ่มกำไรให้แก่องค์กร และลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติและทรัพยากรทางสังคม
อุตสาหกรรมระบบโลจิสติกส์อัจฉริยะในประเทศจีนค่อยๆ เติบโตไปพร้อมกับการพัฒนาของอุตสาหกรรมการผลิต ถึงแม้ว่าปัจจุบัน ตลาดภายในประเทศมีใช้ระบบโลจิสติกส์อัจฉริยะแล้วในระดับหนึ่ง แต่เมื่อเทียบกับตลาดต่างประเทศที่พัฒนาแล้ว จีนถือว่ายังมีช่องว่างทางด้านประสบการณ์ ความสามารถในการบูรณาการ ระบบซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ ที่ยังคงต้องได้รับการพัฒนาอีกมาก
ตั้งแต่ปี 2557 การพัฒนาของอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ในประเทศเริ่มเติบโตขึ้น และยังคงมีแนวโน้มเติบโตอย่างมั่นคง โดยในปี 2564 ขนาดอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ทางสังคมของจีนอยู่ที่ 33,520 ล้านหยวน และในปี 2565 ปริมาณขนส่งทางสังคมในประเทศอยู่ที่ 34,760 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.4 YoY ขนาดความต้องการด้านโลจิสติกส์ได้ก้าวเข้าสู่ระดับใหม่และบรรลุการเติบโตที่มั่นคง ภายใต้การเติบโตอย่างรวดเร็วของอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ องค์กรต่าง ๆ ต้องการลดต้นทุนและปรับปรุงประสิทธิภาพการขนส่ง จึงทำใหความต้องการระบบโลจิสติกส์อัจฉริยะในประเทศเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ปี 2561-2565 ขนาดของอุตสาหกรรมระบบโลจิสติกส์อัจฉริยะของจีนเพิ่มขึ้นจาก 37,299 ล้านหยวน เป็น 68,844 ล้านหยวน โดยมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปีที่ร้อยละ 24.14 และคาดว่าในปี 2655 ขนาดของอุตสาหกรรมระบบโลจิสติกส์อัจฉริยะในประเทศจะสูงถึง 72,152 ล้านหยวน
ในปัจจุบัน การใช้งานของผลิตภัณฑ์ระบบโลจิสติกส์อัจฉริยะหลัก คือ อุตสาหกรรมโลจิสติกส์ด่วน ซึ่งอุตสาหกรรมมีความต้องการระบบคัดแยกและระบบขนส่งอัจฉริยะ และด้วยการพัฒนาอย่างยั่งยืนของอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ จะส่งผลให้ความต้องการของตลาดระบบโลจิสติกส์อัจฉริยะในอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ด่วนปลายน้ำจำยังคงอยู่ในระดับสูงในอนาคต บวกกับรายได้เฉลี่ยต่อหัวของผู้คนในประเทศที่เพิ่มสูงขึ้น รับการบริโภคของผู้คนจึงยังคงดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลถึงความต้องการซื้อออนไลน์ที่เพิ่มสูงขึ้นเช่นกัน อุตสาหกรรมจัดส่งด่วนจึงเรียกได้ว่าเป็น “สะพานเชื่อม” ที่เชื่อมโยมด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรม สินค้า ข้อมูล รวมไปถึงเศรษฐกิจของประเทศ ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา อุตสาหกรรมจัดส่งด่วนในประเทศเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยในปี 2565 ขนาดของอุตสาหกรรมจัดส่งด่วนของจีนอยู่ที่ 110,581 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.11 YoY และคาดว่าในเดือนสิงหาคม 2566 ปริมาณการจัดส่งสินค้าด่วนในประเทศจะสูงถึง 81,460 ล้านชิ้น
ความเห็นสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ เมืองเซี่ยเหมิน : การใช้ระบบโลจิสติกส์อัจฉริยะเป็นการช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการธุรกิจและการผลิต และยังสามารถลดต้นทุนและเพิ่มผลผลิต ซึ่งเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจ เชื่อมโยงด้านการขนส่งต่อภูมิภาคในท้องถิ่นและระหว่างประเทศ นอกจากนี้ การเติบโตของระบบโลจิสติกส์อัจฉริยะจะช่วยส่งเสริมให้มีการพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง อาทิ การใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง (IoT) หรือการใช้ปัญญาประดิษฐ์ในกระบวนการโลจิสติกส์ สามารถสร้างโอกาสในการเปิดตลาดใหม่ ๆ และการส่งออกสินค้าไปยังประเทศต่าง ๆ ได้มากขึ้น ซึ่งไทยสามารถเรียนรู้และนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมจากจีนมาปรับใช้ในระบบโลจิสติกส์ของไทย ที่จะสามารถสนับสนุน พัฒนาความรู้และทักษะทางด้านเทคโนโลยี สร้างการเชื่อมโยง ในอตุสาหกรรมโลจิสติกส์ของไทย
ที่มา:
https://www.chinabaogao.com/market/202310/671067.html
เรียบเรียงโดยสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ เมืองเซี่ยเหมิน
3 พฤศจิกายน 2566