- ภาพรวมอุตสาหกรรมละครในจีน
ในปี 2565 มูลค่าตลาดของอุตสาหกรรมละครในจีนรวมทั้งสิ้น 1,241,934 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.10 โดยข้อมูลจาก “รายงานสถิติอุตสาหกรรมละครในประเทศจีน ประจำปี 2565” เผยว่า ประเทศจีนมีละครที่ฉายในปี 2565 อยู่ที่ 208,200 เรื่อง ระยะเวลาการฉาย 8,789,500 ชั่วโมง ลดลง ร้อยละ 0.61
2.ผู้บริโภคละครในประเทศจีน
- พฤติกรรมผู้บริโภค
- ชาวจีนให้ความสนใจแนวละครต่าง ๆ ได้แก่ แนวสืบสวน ประวัติศาสตร์ ย้อนยุค และตลกคอมเมดี้ เป็นต้น โดยแนวประวัติศาสตร์/ ย้อนยุค และสืบสวน ได้รับความนิยมจากผู้บริโภคเพศหญิงมากกว่าเพศชาย ในขณะเดียวกันละครแนวสืบสวน แฟนตาซี แอคชัน ผจญภัยและสงครามได้รับความนิยมจากผู้บริโภคเพศชายมากกว่าเพศหญิง
- ทั้งนี้ ละครที่ได้รับความนิยม เช่น Youthwith you 3 (青春有你3) Mountain and
River Order (山河令) Me and my
Hometown (我和我的家乡) Ruyi’s Royal
Love in the Palace (如懿传) Game of
Thrones (权力的游戏) Our Boyhood \
(我们的少年时代) เป็นต้น
- ชาวจีนนิยมรับชมละครไทย โดยส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงที่มีอายุระหว่าง 21 – 30 ปี มี การรับชม 1 – 2 ครั้ง/สัปดาห์ โดยปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการเลือกรับชมคือ นักแสดงไทยที่หน้าตาดี ซึ่งชาวจีนให้ความสำคัญกับเรื่องรูปลักษณ์ของดารา/ นักแสดงอย่างมาก มี ความชื่นชอบดารา/ นักแสดงที่มีบุคคลิกร่าเริง สดใส เข้าถึงง่าย
- ชาวจีนมองว่าละครไทยช่วยในด้านการผ่อนคลายความตึงเครียดได้ดี เนื่องจากละครไทยที่เข้าไปฉายที่ประเทศจีนส่วนใหญ่เป็นแนวตลกเบาสมอง หรือแนวความรัก ซึ่งแตกต่างจากละครของประเทศจีนที่มุ่งมั่นสร้างสรรค์ผลงานด้านประวัติศาสตร์ สารคดีและเส้นทางชีวิต เป็นต้น
- ละครรีเมคของไทยได้รับกระแสตอบรับที่ดีในตลาดจีน โดยเฉพาะเป็นละครที่มีการซื้อลิขสิทธิ์จากจีน ไต้หวันและเกาหลีและนำมารีเมคเป็นของไทย และนำไปฉายต่อที่ประเทศจีน จะได้รับเสียงตอบรับที่ดีจากชาววจีน เนื่องจากละครไทยที่มีการรีเมคสามารถถ่ายทอดเรื่องราวต้นฉบับได้ดีและผู้ชมชาวจีนก็มีความคุ้นเคยกับเนื้อเรื่อง ผสมผสานกับเนื้อหาเวอร์ชันไทยที่มีความแปลกใหม่ จึงดึงดูดความสนใจของผู้บริโภคชาวจีนได้มากขึ้น
- ชาวจีนจำนวนไม่น้อยเรียนภาษาไทย และต้องการเรียนรู้วัฒนธรรมไทยผ่านละครไทย ที่มีการสะท้อนถึงวัฒนธรรม ทำให้ผู้ชมสามารถรับรู้และเข้าใจง่ายขึ้น นอกจากนี้ กลุ่มคนเหล่านี้ยังมองว่าการรับชมละครไทยเป็นการช่วยเพิ่มทักษะภาษาพูด การออกเสียงตามมาตรฐานอีกด้วย
- 2.2 กลุ่มผู้บริโภค
- ผู้รับชมละครส่วนใหญ่ในประเทศจีนจะเป็นเพศหญิง คิดเป็นสัดส่วนอยู่ที่ร้อยละ 60.10 โดยเป็นผู้ที่อยู่ในวัยทำงานหรือมีอายุระหว่าง 31 – 40 ปี รองลงมาได้แก่ กลุ่มผู้บริโภคที่มีอายุ 22 – 30 ปี ซี่งเป็นกลุ่มผู้บริโภคที่มีรายได้ระดับปานกลาง – สูง ประมาณ 5,001 – 10,000 หยวนจะให้ความสนใจรับชมละครมากกว่าผู้ที่มีรายได้ระดับปานกลาง – ต่ำ หรือน้อยกว่า 5,000 หยวน อีกทั้งเป็นผู้ที่มีสถานภาพแต่งงานและมีบุตรแล้วมักจะรับชมละครเป็นครอบครัวในช่วงเย็น นอกจากนี้ ผู้บริโภคชาวจีนที่มี การรับชมละครส่วนใหญ่จะกระจุกตัวอยู่ในเมืองระดับ 1 และระดับ 2
- 3.วิวัฒนาการของละครไทยในตลาดจีนช่วงปี 2543-2545
ละครไทยได้เข้าสู่ตลาดจีนพร้อม ๆ กับละครเกาหลี ในช่วงปี 2543 ละครเกาหลีที่กำลังโด่งดังคือ เรื่อง Endless Love ทำให้บริษัท Han Media Culture Co., Ltd. ซึ่งเป็นบริษัทตัวแทนนำเข้าและส่งออกละครโทรทัศน์ของไทย มองเห็นโอกาสในการนำละครไทยเข้าไปฉายยังตลาดจีน แต่ในช่วงนั้นก็ยังไม่ประสบความสำเร็จตามเป้าหมาย เนื่องจากกระแสความดังของละครเกาหลีที่กำลังเป็นที่นิยมในขณะนั้น อีกทั้งละครเกาหลีที่เข้าสู่ตลาดจีนล้วนเป็นละครที่คนทั่วโลกรู้จัก
ช่วงปี 2545-2549
บริษัท Han Media Culture Co., Ltd. มีความมุ่งมั่นในการนำละครไทยเข้าสู่ตลาดจีน และได้เข้าร่วมงานเทศกาลภาพยนตร์และโทรทัศน์ที่จัดขึ้นในนครเซี่ยงไฮ้ในช่วงเดือนมิถุนายน 2545 ทำให้ขณะนั้นบริษัทได้นำละครไทยเรื่องแรก คือ เรื่อง “สาวใช้หัวใจชิคาโก้ (俏女佣)” เข้าฉายในประเทศจีนผ่านสถานีโทรทัศน์ CCTV8
- ช่วงปี 2549-2551ในช่วงปี 2549 มีละครไทยที่ได้ออกฉายในประเทศจีน
เพิ่มขึ้น ได้แก่ เรื่อง “เลือดหงส์ (凤凰血)” ออกอากาศผ่าน
สถานีโทรทัศน์ CCTV1 และ CCTV8 ซึ่งขณะนั้นละครเกาหลี
เรื่อง “แดจังกึม” และ “เจ้าหญิงวุ่นวายกับเจ้าชายเย็นชา” ก็
กำลังเป็นที่นิยมอย่างมากในประเทศจีน ทำให้ละครไทยซบเซาลง
ช่วงปี 2551-2555
สถานีโทรทัศน์หูหนานได้นำละครไทยเรื่อง “เลือด
ขัตติยา (出逃的公主) เข้าฉายในประเทศจีน พร้อมกับการฉาย
ละครไทย เรื่อง “คุณนายสายลับ (卧底警花) ผ่านสถานี
โทรทัศน์ CCTV8 แต่ขณะนั้นแนวละครของทั้ง 2 เรื่องยังไม่ใช่
แนวละครที่ชาวจีนชื่นชอบ จนกระทั่งละครเรื่อง “สงคราม
นางฟ้า (天使之争)” ได้ถูกฉายผ่านสถานีโทรทัศน์อันฮุย โดยฉายได้เพียงแค่อาทิตย์เดียวก็สามารถทำให้เป็นกระแสได้โลกโซเชียลได้จนติด 10 อันดับละครที่มีจำนวนผู้เข้าชมมากที่สุด ทำให้ในช่วงปี 2552 – 2554 ถือว่าเป็นปีทองของละครไทยเลยทีเดียว ตั้งแต่นั้นมาชาวจีนนิยมชมละครไทยกันมากขึ้น และมีละครไทยหลายเรื่องที่ถูกซื้อลิขสิทธิ์นำเข้าไปฉายที่ประเทศจีน จนกระทั่งเกิดกลุ่มแฟนคลับที่ให้ความชื่นชอบในดารา/ นักแสดงของไทย ละครไทย รวมถึงวัฒนธรรมไทยอีกด้วย
- ช่วงปี 2555 – 2561หน่วยงาน State Administration of Radio, Film, and Television ของจีนได้ออกนโยบายปกป้องอุตสาหกรรมละครในประเทศจีน โดยสนับสนุนให้ชาวจีนรับชมละครภายในประเทศ อีกทั้งมี ความเข้มงวดในด้านการเซ็นเซอร์ นอกจากนี้ยังมีการย้ายช่วงเวลาการออกอากาศของละครไทยไปยังช่วงหลังเที่ยงคืน ทำให้กระแสละครไทยซบเซาลงอีกครั้ง
ช่วงปี 2561-2563
- ประเทศจีนมีการเปิดกว้างมากขึ้น และยอมรับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีและรูปแบบการใช้ชีวิตที่เปลี่ยนไปของคนยุคใหม่ ทำให้ชาวจีนสามารถดูละครได้เปิดกว้างมากขึ้น โดยเฉพาะการรับชมผ่านทาบงออนไลน์ ที่สามารถรับชมละครไทยได้ทุกแนวโดยไม่ผ่านเซ็นเซอร์ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับศาสนา ผีหรือสิ่งเร้นลับ การสลับร่างหรือข้ามภพข้ามชาติ การเมือง หรือซีรีส์วาย โดยในขณะนั้น ซีรีส์วาย เรื่อง “รักแห่งสยาม” “วัยว้าวุ่น” เป็นที่นิยมอย่างมากในประเทศจีน ทำให้เกิดฐานแฟนคลับของดารา/ นักแสดงซีรีส์วาย เช่น พิช-วิชญ์วิสิฐ หิรัญวงษ์กุล และโอ้-มาริโอ้ เมาเร่อ ต่อมาซีรีส์วายของไทยเริ่มเป็นที่รู้จักและเป็นกระแสในตลาดจีนมากขึ้น โดยจะหาชมได้แพลตฟอร์มชมวีดีโอออนไลน์
- ช่วงปี 2563-ปัจจุบันละครไทยเข้าสู่ตลาดจีนอย่างล้นหลาม และมีผู้ให้ความสนใจละครไทยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง สร้างกระแสความนิยมไทย ไม่ว่าจะเป็นการเรียนภาษาไทย การแต่งชุดไทย การแต่งชุดนักเรียนไทย หรือ การรับประทานอาหารไทย โดยเฉพาะในกลุ่มวัยรุ่นที่มีการเลียนแบบพฤติกรรมจากละครไทย หรือ Soft Power จนเกิดมูลค่าทางการค้า ในขณะเดียวกันซีรีส์วายของไทยก็ยังเป็นที่นิยมและมีผู้ติดตามจำนวนมาก เรื่องที่โด่งดัง เช่น “แปลรักด้วยใจเธอ (以你的心诠释我的爱)” “ข้ามฟ้าเคียงเธอ (穿越天际只为你) ” ด้วยเหตุนี้ ทำให้มีดารา/ นักแสดงซีรีส์วายไทยโด่งดังเพิ่มขึ้นในประเทศจีน เช่น พีพี กฤษฏ์และบิวกิ้น พุฒิพงศ์ ซี พฤกษ์และนุนิว ชวรินทร์ เป็นต้น
- ความคิดเห็น สคต. จีนมีการเปิดกว้างในการรับวัฒนธรรมและสื่อบันเทิงจากต่างประเทศมากขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่หันมาให้ความสำคัญกับอุตสาหกรรมบันเทิงของต่างประเทศ รวมถึงไทยด้วย อุตสาหกรรมบันเทิงของไทยที่โดดเด่นที่สุดในประเทศจีน คือ ผลงานละครไทย ซึ่งเนื้อหาละครและศิลปินนักแสดงของไทยได้กลายเป็นที่รู้จักและมีฐานแฟนคลับกระจายไปทั่วประเทศจีน ตลอดจนกลายเป็นกระแสไวรัล ถูกพูดถึงกันบนโลกโซเชียลมีเดียต่าง ๆ ซึ่งปัจจัยหลักมาจากการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อใช้มาสนับสนุนข้อมูลทางดิจิตอล โดยละครไทยสามารถหาดูได้ง่ายและสะดวกในแฟลตฟอร์มต่าง ๆ ของจีน รวมถึงการสนับสนุนนโยบายส่งเสริมความเป็นเมือง ผลักดันให้ประชากรมีรายได้สูงขึ้น และการผ่อนปรนการควบคุมอุตสาหกรรมบันเทิง เป็นต้น
ละครไทยมีความโดดเด่นและมีเอกลักษณ์สายตาชาวจีน ด้วยลักษณะเนื้อหาของละครที่สื่อถึงความเป็นไทยและมีการสอดแทรกวัฒนธรรมไทยลงไปละคร ทำให้มีจุดขายและสร้างความแตกต่างจากละครชาติอื่นอย่างชัดเจน
โดยปัจจุบันชาวจีนมีความสนใจและชอบในวัฒนธรรมไทยมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง มีการเรียนรู้วัฒนธรรมไทยผ่านละคร หรือแม้กระทั่งละครจีนที่ถ่ายทำในไทย ทำให้ละครกลายเป็นหนึ่ง Soft Power ที่สำคัญ ซึ่งส่งผลให้เกิดการเลียนแบบพฤติกรรมจากละครไทย จนนำไปสู่การเพิ่มมูลค่าการค้าสินค้าไทยต่าง ๆ เช่น การแต่งกายชุดนักเรียน ชุดไทย หรือการเลือกซื้อสินค้าไทย เป็นต้น ทั้งนี้ ประเทศไทยควรมีการยกระดับคุณภาพละครไทย หรือสถานที่ถ่ายทำละครในประเทศไทย ก็จะไม่เพียงแต่ช่วยเสริมสร้างอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว แต่ยังส่งผลให้เกิดมูลค่าการซื้อขายสินค้าและบริการของไทยตามมา
****************************************
https://www.ditp.go.th/post/150984
https://baijiahao.baidu.com/s?id=1764305995871812162&wfr=spider&for=pc
https://www.tcjapress.com/2023/03/01/thai-drama/
https://baijiahao.baidu.com/s?id=1629150770775097035&wfr=spider&for=pc
https://wapbaike.baidu.com/starmap/view?nodeId=6d6b44f74115b31e14d81eff&fr=api_bake_search_starmap
สคต. คุนหมิง
ธันวาคม 2566