เมื่อไม่นานมานี้ นายหวงเจิ้งเอิน ประธานสถาบัน Hannan Academy of Agricultural Sciences ได้กล่าวในการประชุมนานาชาตินักวิทยาศาสตร์อุตสาหกรรมเมล็ดพันธุ์พืชเศรษฐกิจว่า ปัจจุบันพื่นที่การเพาะปลูกทุเรียนของมณฑลไหหลำ มีประมาณ 30,000 หมู่จีน หรือ 12,500 ไร่ ปี 2566 พื้นที่เพาะปลูกที่สามารถออกผลผลิตมีขนาดประมาณ 1,400 หมู่จีน หรือประมาณ 583 ไร่ ออกผลผลิตรวม 50 ตัน และคาดการณ์ว่าในปี 2567 พื้นที่เพาะปลูกที่สามารถออกผลผลิตจะเพิ่มขึ้นอีกประมาณ 4,000 หมู่จีน หรือประมาณ 1,666 ไร่ ผลผลิตรวมจะมีปริมาณประมาณ 250 ตัน พันธุ์ทุกเรียนหลักที่เพราะปลูก ได้แก่ หมอนทอง ก้านยาว และมูซังคิง เป็นต้น ซึ่งเป็นพันธุ์ทุเรียนที่นิยมในตลาดจีน
สำหรับประเทศจีน ทุเรียนถือเป็นสินค้าผลไม้นำเข้าและเป็นพันธุ์ผลไม้ปลูกยากชนิดหนึ่ง เนื่องจากต้องอาศัยความใส่ใจในการปลูกสูง และยังมีปัจจัยเรื่องสภาพอากาศ ที่ส่งผลกระทบต่อการให้ผลผลิตโดยตรง ผู้เชี่ยวชาญชาวจีนให้ข้อมูลว่า ปัจจัยเสี่ยงที่สุดสำหรับการเพาะปลูกทุเรียนมณฑลไหหลำในปัจจุบันอยู่ที่พายุไต้ฝุ่นเกิดบ่อยครั้ง และสภาพอากาศโดยเฉลี่ยที่ไม่แน่นอน ปริมาณน้ำฝนที่ไม่เท่ากัน และอุณหภูมิในฤดูหนาวต่ำ ซึ่งไม่เอื้อต่อการออกผลและปริมาณการผลิต เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวสถาบันวิจัยพืชผลไม้วิทยาศาสตร์การเกษตรมณฑลไหหลำ สถาบันวิจัยซานย่ามหาวิทยาลัยเกษตรจีน และทีมวิจัยทุเรียนมหาวิทยาลัยไหหลำ ได้ร่วมกันวิจัยและปรับสายพันธุ์ต้นทุเรียนให้เหมาะกับพื้นที่ เช่น เทคโนโลยีการเพาะปลูก การเพาะปลูกพันธุ์ทนความเย็น การป้องกันโรคและแมลงศัตรูพืชที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมแบบครบวงจร เพื่อช่วยต้านความเสี่ยงและขยายการพัฒนาการเพาะปลูก หลังจากการเพาะปลูก การสำรวจและศึกษามาหลายปีผ่านการบูรณาการทางเทคโนโลยี โดยสร้างฐานสาธิตการปลูกทุเรียนที่ใช้ระบบการเกษตรแบบดิจิทัล เช่น ระบบบูรณาการน้ำและปุ๋ย เป็นต้น ทำให้การเพาะปลูกทุเรียนในพื้นที่ได้เข้าสู่สภาวะที่เหมาะสมและบรรลุผลการปลูกให้เป็นผลสำเร็จ
นายตู้ไป่จง ประธานสมาคมทุเรียนมณฑลไหหลำกล่าวว่า เมื่อเทียบกับทุเรียนสดที่นำเข้าจากอาเซียน จุดเด่นของทุเรียนไหหลำจะมีข้อได้เปรียบด้านคุณภาพมากกว่า เนื่องจากทุเรียนสดนำเข้าต้องเผื่อระยะเวลาการขนส่ง มักจะเก็บผลระดับความสุกประมาณร้อยละ 70 – 80 ขณะที่ทุเรียนสดของมณฑลไหหลำสามารถเก็บผลเมื่อทุเรียนสุกบนต้น ทำให้ได้ความได้เปรียบด้านภูมิศาสตร์
อย่างไรก็ตามแม้การผลิตทุเรียนในประเทศจีนได้ ไม่ได้หมายความว่าผู้บริโภคชาวจีนสามารถบรรลุเสรีภาพในการกินทุเรียน ตามข้อมูลจากศุลกากรจีน จีนนำเข้าทุเรียนสดมากกว่า 1.4259 ล้านตัน หรือคิดเป็นมูลค่าประมาณ 671,600 ล้านเหรียญฯ มีอัตราขยายตัวร้อยละ 72.87 แสดงให้เห็นว่า ทุเรียนอาเซียนยังคงครองตลาดโดยเฉพาะทุเรียนไทย ประกอบความชื่นชอบในรสชาติ และภาพลักษณ์ทุเรียนไทยที่มีโดดเด่นและมีเอกลักษณ์ กับพื้นที่การเพาะปลูกและปริมาณการผลิตในประเทศจีนในปัจจุบันยังไม่สามารถตอบสนองความต้องการของตลาดอันมหาศาลได้ ซึ่งยังต้องพึ่งพาการนำเข้าจากต่างประเทศ
ความคิดเห็น สคต. ณ เมืองหนานหนิง
ที่ผ่านมาจีนมีการเพิ่มรายชื่อประเทศที่อนุญาตส่งออกทุเรียนสดสู่ประเทศจีนมากขึ้น เช่น เวียดนาม ฟิลิปปินส์ เป็นต้น ขณะนี้ประเทศจีนก็มีการเพาะปลูกทุเรียนและออกผลสู่ตลาดเช่นกัน และอีก 5 – 10 ข้างหน้า คาดการณ์ว่าผลผลิตทุเรียนในประเทศจะมีความเสถียรและขยายตัวเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัว กล่าวได้ว่า ผู้บริโภคชาวจีนจะมีทางเลือกที่หลากหลายเพิ่มมากขึ้น ทุเรียนไทยในจีนฐานะผู้ครองตลาดอันดับหนึ่งมาโดยตลอด การที่รักษาภาพลักษณ์ของทุเรียนไทยให้มีขีดความสามารถในการแข่งขัน จึงต้องให้ความสำคัญเรื่องการควบคุมและรักษาคุณภาพทุเรียนส่งออกอย่างเข้มงวดและสม่ำเสมอให้ได้คุณภาพความปลอดภัย และปฏิบัติตามข้อกำหนดเกี่ยวกับมาตรฐานด้านสุขอนามัยและสุขอนามัยพืชในพิธีสารฯ อย่างเคร่งครัด นอกจากนี้ ควรมีการส่งเสริมการวิจัยเพื่อพัฒนาการผลิตทุเรียนนอกฤดูกาลเพื่อให้มีผลผลิตตลอดทั้งปี หรือให้ตรงกับช่วงเทศกาลสำคัญของจีน เพื่อให้สามารถรักษาส่วนแบ่งทางการตลาดในจีนต่อไปอย่างยั่งยืน
———————————————————————————————
Royal Thai Consulate General, Commercial Office (Thai Trade Center) - Nanning
แหล่งที่มา :