สถานการณ์ตลาดน้ำตาลในญี่ปุ่น

ความต้องการบริโภค

ในปี 2567 มีความต้องการบริโภคน้ำตาลทราย 1,810,000 ตันต่อปีในตลาดญี่ปุ่น เพิ่มขึ้น
จากปี 2566 ร้อยละ 0.4 อย่างไรก็ดี ในภาพรวมความต้องการน้ำตาลทรายในญี่ปุ่นมีแนวโน้ม
ลดลง เนื่องด้วยจำนวนประชากรที่ลดลง พฤติกรรมผู้บริโภคที่ลดการบริโภคน้ำตาลเพื่อสุขภาพ
อีกทั้งการใช้วัตถุดิบทดแทนน้าตาลที่เพิ่มมากขึ้นในอุตสาหกรรมอาหาร ซึ่งราคาต่ำกว่าน้ำตาล เช่น
น้ำเชื่อมข้าวโพด (High-fructose corn syrup) และสารให้ความหวานชนิดต่างๆ เป็นต้น ใน
ปัจจุบัน ชาวญี่ปุ่นบริโภคน้ำตาลโดยเฉลี่ย 14.5 กิโลกรัมต่อคนต่อปี ลดลงร้อยละ 32 เมื่อเทียบกับ
ปี 2533 หรือประมาณ 30 กว่าปีก่อน

สถิติสถานการณ์น้ำตาลในประเทศญี่ปุ่น

สถานการณ์ตลาดน้ำตาลในญี่ปุ่น

 

 

 

 

 

ในปี 2567 ญี่ปุ่นมีการผลิตน้ำตาลในประเทศปริมาณ 662,000 ตัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ
13.4 โดยญี่ปุ่นมีการเพาะปลูกพืชน้าตาล 2 ชนิด ได้แก่ อ้อยซึ่งมีการเพาะปลูกในภาคใต้ สามารถ
ผลิตน้ำตาลดิบได้ประมาณ 130,000 ตันต่อปี และชูการ์บีทซึ่งมีการเพาะปลูกในภาคเหนือตอนบน
(ฮอกไกโด) สามารถผลิตน้าตาลดิบได้ประมาณ 520,000 ตันต่อปี ในปัจจุบัน มีโรงงานผลิตน้ำตาล
ทรายขาวบริสุทธิ์จำนวน 14 บริษัท 12 แห่งในญี่ปุ่น ซึ่งส่วนใหญ่มักตั้งอยู่ใกล้เมืองสำคัญและบน
พื้นที่ชายฝั่งทะเล

แผนที่แสดงที่ตั้งโรงงานผลิตน้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์ในประเทศญี่ปุ่น

สถานการณ์ตลาดน้ำตาลในญี่ปุ่น

 

 

 

 

 

แหล่งข้อมูล เว็บไซต์กระทรวง MAFF ญี่ปุ่น
https://www.maff.go.jp/j/seisan/tokusan/kansho/attach/pdf/index-7.pdf

การนำเข้า

ญี่ปุ่นนำเข้าน้ำตาลดิบจากออสเตรเลียมากเป็นอันดับ 1 ตามด้วยไทย โดยในปีการผลิต
น้ำตาลปี 2566 (ตุลาคม 2566 – กันยายน 2567) ญี่ปุ่นมีการนำเข้าน้ำตาลดิบรวมทั้งสิ้น
1,179,000 ตัน โดยนำเข้าจากออสเตรเลีย 1,082,000 ตัน คิดเป็นร้อยละ 91.7 และไทย 97,000
ตัน คิดเป็นร้อยละ 8.3 ของปริมาณการนำเข้าทั้งหมด

สถานการณ์ตลาดน้ำตาลในญี่ปุ่น

 

 

 

ภาษีและมาตรการการนำเข้า

น้ำตาลเป็นสินค้าที่มีมาตรการควบคุมการนำเข้าโดยรัฐบาลญี่ปุ่นเพื่อปกป้องอุตสาหกรรมน้ำตาลและเกษตรกรผู้เพาะปลูกพืชน้ำตาล (อ้อยและชูการ์บีท) ในประเทศ โดยมีอัตราภาษีนำเข้าตามตารางที่ 1
นอกจากภาษีนำเข้า กฎหมายว่าด้วยการปรับราคาน้ำตาลและแป้ง (Act on Price Adjustment of Sugar and Starch) ยังกำหนดให้ผู้นำเข้าเป็นผู้รับภาระค่าธรรมเนียมสำหรับการปรับราคาน้ำตาลเพื่อปกป้องเกษตรกรผู้เพาะปลูกพืชน้ำตาลในประเทศด้วย เนื่องจากราคาน้ำตาลดิบจากต่างประเทศต่ำกว่าราคาน้ำตาลดิบของญี่ปุ่นมาก รัฐบาลจึงกำหนดให้มีการเรียกเก็บเงินค่าธรรมเนียมจากผู้นำเข้าเพื่อนำไปจ่ายเงินช่วยเหลือเกษตรกรผู้เพาะปลูกพืชน้ำตาลและบริษัทผู้ผลิตน้ำตาลดิบในประเทศ เพื่อรักษาสมดุลระหว่างราคาน้ำตาลดิบนำเข้าและน้ำตาลดิบในประเทศ และเพื่อลดต้นทุนการผลิตน้ำตาลดิบในประเทศอีกด้วย โดยผู้นำเข้าต้องดำเนินการขออนุญาตนำเข้าจากกระทรวงเกษตร ป่าไม้และประมง (MAFF) ผ่านหน่วยงาน Agriculture & Livestock Industries Corporation ซึ่งจะเป็นผู้จัดเก็บค่าธรรมเนียมนำส่งให้กระทรวง MAFF
ทั้งนี้ กระทรวง MAFF เป็นผู้กำหนดอัตราค่าธรรมเนียม ตามระบบการปรับราคาน้ำตาล (Sugar Price Adjustment System) และประกาศอัตราค่าธรรมเนียมดังกล่าวทุกไตรมาส โดยพิจารณาจากทั้งราคาน้ำตาลในตลาดโลกและต้นทุนในการผลิตน้ำตาลดิบโดยเฉลี่ยในญี่ปุ่น อัตราค่าธรรมเนียมที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน ตามตารางที่ 2

ตารางที่ 1

สถานการณ์ตลาดน้ำตาลในญี่ปุ่น

 

 

 

 

 

ตารางที่ 2

สถานการณ์ตลาดน้ำตาลในญี่ปุ่น

 

 

ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะ
ญี่ปุ่นนำเข้าน้ำตาลดิบจากไทยลดลงอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ปี 2558 เนื่องจากความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจออสเตรเลีย-ญี่ปุ่นมีผลใช้บังคับเมื่อเดือนมกราคม 2558 มีการยกเว้นภาษีนำเข้าสำหรับน้ำตาลทรายดิบค่าความหวานสูง (ค่าความหวานไม่ต่ำกว่า 98.5 แต่ไม่เกิน 99.3) จากออสเตรเลีย เช่นเดียวกับน้ำตาลดิบทั่วไป (ค่าความหวานไม่เกิน 98.5) ในขณะที่ภายใต้ความตกลง JTEPA , ASEAN-Japan และ RCEP ไทยไม่มีสิทธิประโยชน์ทางภาษีสำหรับสินค้าดังกล่าว การนำเข้าจากไทยจึงต้องเสียภาษีนำเข้า 21.5 เยนต่อกิโลกรัม จึงทำให้ไทยเสียเปรียบออสเตรเลียอย่างมาก โดยเมื่อปี 2559 ไทยเคยมีสัดส่วนถึงร้อยละ 33 และออสเตรเลียร้อยละ 65 แต่ปัจจุบันไทยมีสัดส่วนลดลงเหลือเพียงร้อยละ 8.3 ในขณะที่ออสเตรเลียเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 91.7 ดังนั้น หากไทยสามารถเจรจากับญี่ปุ่นเพื่อขอสิทธิประโยชน์ทางภาษีสำหรับน้ำตาลดิบได้ให้เท่าเทียมกับออสเตรเลีย ก็จะเป็นประโยชน์อย่างมากต่อการส่งออกน้ำตาลของไทย

สถานการณ์ตลาดน้ำตาลในญี่ปุ่น

 

 

ที่มาข้อมูล
1. เว็บไซต์หน่วยงาน Agriculture & Livestock Industries Corporation(ALIC) https://sugar.alic.go.jp/
2. เว็บไซต์กระทรวงเกษตร ป่าไม้ และประมงญี่ปุ่น (MAFF) https://www.maff.go.jp
3. เว็บไซต์กรมศุลกากร ญี่ปุ่น https://www.customs.go.jp/english/tariff/2025_01_01/data/e_17.htm

Office of Commercial Affairs, Royal Thai Embassy (Thai Trade Center) - Tokyo
มีนาคม 2568

 

 

 

en_USEnglish