คำตอบ การเริ่มต้นธุรกิจส่งออก มีขั้นตอนดังนี้
1. จัดตั้งกิจการ ดำเนินการจัดตั้งหน่วยธุรกิจเพื่อประกอบการค้าขายหรือให้บริการ โดยสามารถ ดำเนินการได้ทั้งในลักษณะนิติบุคคลและไม่เป็นนิติบุคคล สามารถสืบค้นข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
www.dbd.go.th สายด่วน 1570
1.1 นิติบุคคล คือ การจัดตั้งหน่วยธุรกิจที่จดทะเบียนจัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย ประกอบด้วย
(1) ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน / ห้างหุ้นส่วนจำกัด
(2) บริษัทจำกัด
(3) บริษัทมหาชนจำกัด
(4) องค์กรธุรกิจที่จัดตั้งขึ้นภายใต้กฎหมายเฉพาะ
1.2. ไม่เป็นนิติบุคคล คือ การจดทะเบียนตาม พ.ร.บ. ทะเบียนพาณิชย์ ซึ่งประกอบด้วย
(1) กิจการร้านค้าที่จดทะเบียนพาณิชย์
(2) ห้างหุ้นส่วนสามัญไม่ได้จดทะเบียน
2. ขึ้นทะเบียนผู้เสียภาษี
กรมสรรพากรมีหน้าที่จัดเก็บภาษีจากผู้เสียภาษีอากรทั้งที่เป็นบุคคลธรรมดาและนิติบุคคลและเพื่อประสิทธิภาพในการบริหารการจัดเก็บจึงได้ใช้ระบบคอมพิวเตอร์ในการจัดเก็บฐานข้อมูลของผู้เสียภาษีอากรโดยกำหนดให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีอากรแต่ละรายมีและใช้เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรเพียง 1 หมายเลขสามารถสืบค้น ข้อมูลเพิ่มเติมในเว็บไซต์กรมสรรพกร http://www.rd.go.th สายด่วน 1161 ซึ่งแบ่งเป็นภาษีแต่ละประเภทดังนี้
2.1 ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คือ ภาษีที่จัดเก็บจากบุคคลทั่วไป ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล หรือจากหน่วยภาษีที่มีลักษณะพิเศษ ตามที่กฎหมายกำหนดและมีรายได้เกิดขึ้นตามเกณฑ์ที่กำหนด โดยปกติจัดเก็บเป็นรายปี รายได้ที่เกิดขึ้นในปีใดๆ ผู้มีรายได้มีหน้าที่ต้องนำไปแสดงรายการตนเองตาม แบบแสดงรายการภาษีที่กำหนดภายในเดือนมกราคมถึงมีนาคมของปีถัดไป
2.2. ภาษีเงินได้นิติบุคคลคือภาษีอากรประเภทหนึ่งที่บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากรจัดเก็บจากเงินได้ของบริษัท หรือ ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล
2.3. จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับผู้ประกอบกิจการที่มีรายรับจากการขายสินค้าหรือให้บริการเป็นปกติธุระเกินกว่า1.8ล้านบาทต่อปี
3. รู้จักสินค้า/บริการ
ศึกษากฎเกณฑ์และระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการส่งออก โดยเฉพาะกฎหมายเกี่ยวกับศุลกากร กฎหมายควบคุมสินค้าขาออก ทั้งนี้สามารถสืบค้นขั้นตอนการส่งออกรายสินค้าได้ที่เว็บไซต์กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ https://onestopservice.ditp.go.th/ หรือโทรสายตรงการค้าระหว่างประเทศ หมายเลข 1169
โดยสินค้าส่งออกแบ่งได้ 3 กลุ่มดังนี้
(1) สินค้าห้ามส่งออก / ของต้องห้ามนำเข้า-ส่งออก
(1.1) สินค้าห้ามส่งออกได้แก่ ทราย
(1.2) ของต้องห้ามหมายถึงของที่มีกฎหมายกำหนดห้ามนำเข้ามาหรือส่งออกไปนอกราชอาณาจักรโดยเด็ดขาด และในบางกรณีห้ามการส่งผ่านด้วย ผู้ใดนำสินค้าต้องห้ามเข้ามาหรือส่งออกไปนอกราชอาณาจักรจะมีความผิดต้องรับโทษตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องและเป็นความผิดตามมาตรา 27 และ 27 ทวิของกฎหมายศุลกากรด้วย ตัวอย่างสินค้าต้องห้ามในการนำเข้า-ส่งออกมีดังนี้
– วัตถุลามก การนำเข้าและส่งออกวัตถุลามก ไม่ว่าจะอยู่ในรูปแบบหนังสือ ภาพเขียน ภาพพิมพ์ ภาพระบายสี สิ่งที่พิมพ์ขึ้น รูปภาพ ภาพโฆษณา เครื่องหมาย รูปถ่าย และภาพยนตร์ลามกหรือวัตถุ ลามกอื่น ๆ
– สินค้าที่มีตราหรือลวดลายเป็นรูปธงชาติ
– ยาเสพติดให้โทษ
– เงินตรา พันธบัตร ใบสำคัญรับดอกเบี้ยพันธบัตรอันเป็นของปลอมหรือแปลงเหรียญกษาปณ์ที่ทำให้น้ำหนักลดลงโดยทุจริตดวงตราแผ่นดิน รอยตราแผ่นดินหรือพระปรมาภิไธย ดวงตราหรือรอยตรา ของทางราชการอันเป็นของปลอม
– สินค้าละเมิดลิขสิทธิ์ เช่น แถบบันทึกเสียง (เทปเพลง) แผ่นบันทึกเสียง (คอมแพคดิสก์) แถบบันทึกภาพ (วีดีโอเทป) โปรแกรมคอมพิวเตอร์ หนังสือ หรือสินค้าอื่นใดที่ทาซ้ำหรือดัดแปลงงานอันมี ลิขสิทธิ์ของผู้อื่น
– สินค้าปลอมแปลงหรือเลียนแบบเครื่องหมายการค้า
(2) สินค้า/ของต้องกำกัด
สินค้าที่มีกฎหมายกำหนดว่าหากจะมีการนาเข้า-ส่งออกหรือผ่านราชอาณาจักรจะต้องได้รับ อนุญาตหรือปฏิบัติให้ครบถ้วนตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายนั้นๆ เช่น ต้องมีใบอนุญาตการนำเข้าและส่งออก ต้องปฏิบัติตามประกาศอันเกี่ยวกับฉลากหรือใบรับรองการวิเคราะห์ หรือเอกสารกากับยา เป็นต้น ผู้ใดนำของต้องกำกัดเข้ามา หรือส่งออก หรือส่งผ่านราชอาณาจักรโดยมิได้รับอนุญาตหรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมายที่กำหนดไว้ให้ครบถ้วน จะมีความผิดตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายนั้นๆ และเป็นความผิดตามมาตรา 27 และ 27 ทวิของกฎหมายศุลกากรด้วย ตัวอย่างสินค้าที่มีมาตรการนำเข้า สินค้าที่มีมาตรการส่งออกสินค้ามาตรฐานและมาตรฐานสินค้า
(2.1) สินค้าที่ต้องขออนุญาตส่งออก
– เทวรูปและพระพุทธรูป
– กากถั่ว
– น้ำตาลทราย
– หอยมุกและผลิตภัณฑ์
– ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง/แป้งมันสาปะหลัง
– แร่ที่มีทรายเป็นส่วนประกอบ
– ถ่านหิน
– ถ่านไม้
– กาแฟ
– ข้าว
– ข้าวส่งออกภายใต้โควตาภาษีของสหภาพยุโรป
– ช้าง
– ไม้และไม้แปรรูป
– กากถั่วเหลือง
– สินค้าใช้ได้สองทาง
(2.2) สินค้าที่ต้องมีหนังสือรับรอง/ขึ้นทะเบียน/ขึ้นบัญชีประกอบการส่งออก
– ผัก และผลไม้
– ดอกกล้วยไม้สด
– ลำไยสด
– ทุเรียนสด
– ปลาทะเลสวยงามที่มีชีวิต
– ผลิตภัณฑ์เปลือกหอยสำเร็จรูป
– ปลาทูน่าบรรจุกระป๋อง
– สับปะรดกระป๋อง
(3) สินค้าเสรี (ทั่วไป)
สินค้าทั่วไป สินค้าที่นอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น สินค้าหมวดนี้จะไม่มีกฎเกณฑ์ หรือข้อห้ามในการส่งออกสามารถดำเนินการส่งออกได้โดยเสรี โดยสินค้าหมวดนี้จะมีอยู่มากมาย ผู้ประกอบการสามารถสืบค้นข้อมูลหมวดหมู่สินค้าเพิ่มเติมได้จากเว็บไซต์ของกรมศุลกากร www.customs.go.th สายด่วน 1164 และ กรมการค้าต่างประเทศ www.dft.go.th สายด่วน 1385
4. จัดการด้านพิธีการการส่งออก
4.1 การขึ้นทะเบียนระบบ Paperless
ผู้ประกอบการที่ประสงค์จะผ่านพิธีการศุลกากรหรือดาเนินการในกระบวนการทางศุลกากร ทางอิเล็กทรอนิกส์แบบไร้เอกสาร(Paperless) จะต้องมาลงทะเบียนเป็นผู้ผ่านพิธีการศุลกากร เพื่อนำข้อมูลเข้าเก็บในระบบคอมพิวเตอร์ของกรมศุลกากร โดยสามารถยื่นแบบคำขอลงทะเบียนได้ที่ส่วนทะเบียนและสิทธิพิเศษ สำนักมาตรฐานพิธีการและราคาศุลกากร หรือฝ่ายบริหารงานทั่วไปของสำนักหรือสำนักงานศุลกากร หรือด่าน ศุลกากรทั่วประเทศ
4.2 ดำเนินการประเมินอากรและตรวจ-ปล่อยสินค้า
เมื่อผู้ประกอบการขึ้นทะเบียนเรียบร้อยแล้วก็ดำเนินการพิธีการต่างๆ ผ่านระบบเพื่อนำสินค้าออกนอกประเทศ โดยจะต้องดำเนินการผ่านพิธีการประเมินอากรก่อนที่จะดำเนินการตรวจ-ปล่อยสินค้าในลำดับถัดไป สืบค้นรายละเอียดเพิ่มเติมได้จาก www.customs.go.th สายด่วน 1164
นอกจากข้อมูลเบื้องต้นที่กล่าวมาแล้ว ยังมีกระบวนการและรายละเอียดปลีกย่อยอีกจำนวนมากที่จะต้องดำเนินการ โดยผู้ประกอบการสามารถเตรียมความพร้อมของกิจการด้วยการเข้าร่วมการฝึกอบรมในหลักสูตรด้านการค้าระหว่างประเทศ กับสถาบันพัฒนาผู้ประกอบการการค้ายุคใหม่ (New Economy Academy : NEA) ซึ่งมีหลักสูตรด้านการค้าระหว่างประเทศ ทั้งระยะสั้นและระยะยาวสำหรับผู้ประกอบการในทุกระดับศักยภาพ สามารถฝึกอบรมด้วยตนเอง ณ อาคารกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ หรืออบรมผ่านระบบออนไลน์ (e-Learning) สามารถตรวจสอบ และสมัครเข้าร่วมอบรมได้ที่ www.nea.ditp.go.th หรือติดต่อสายตรงการค้าระหว่างประเทศ หมายเลข 1169