การเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างจีนและสหรัฐฯคือโอกาสของคู่แข่งขันของจีน

Descartes บริษัทโลจิสติกส์ของแคนาดา ได้จัดทำรายงานเรื่อง China-U.S. Trade Shift: Where Did the Market Share Go or Did it? วิเคราะห์ข้อมูลการจัดส่งตู้สินค้านำเข้าสหรัฐฯ โดยใช้รหัสศุลกากร (Harmonized Tariff Schedule – HS) 2 หลักที่ระบุกลุ่มสินค้า และประเทศแหล่งอุปทาน สำหรับสินค้าสำคัญ 10 อันดับแรก ในระยะเวลา 20 ปี เริ่มต้นในปี 2004 ถึงปัจจุบัน พบว่า ในปี 2010 ตู้สินค้านำเข้าจากจีนมีส่วนแบ่งในตลาดนำเข้าสหรัฐฯประมาณร้อยละ 44.5 (หากรวมการนำเข้าจากฮ่องกงจะเท่ากับร้อยละ 50.1) สูงสุดทำสถิติ ในระหว่างปี 2011 -2017 ส่วนแบ่งตลาดนำเข้าของจีนทรงตัว และเพิ่มสูงทำสถิติอีกครั้งในปี 2018 เนื่องมาจากความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างจีนและสหรัฐฯเข้าสู่สภาวะตึงเครียดสูงสุดในปี 2017 เมื่อสหรัฐฯเริ่มประกาศทะยอยขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าจีนจนเกือบทุกรายการ ผู้นำเข้ารีบเร่งนำเข้าจากจีนก่อนที่กฎหมายขึ้นอัตราภาษีจะถึงกำหนดบังคับใช้ นอกจากนี้ ธุรกิจหลายรายที่เคยนำเข้าจากจีนเป็นหลักเริ่มแสวงหาแหล่งนำเข้าทางเลือกอื่น ปริมาณนำเข้าจากจีนเริ่มลดลงในปี 2019 จนถึง 5 เดือนแรกของปี 2023 ที่ปริมาณการนำเข้าจากจีนลดลงเหลือส่วนแบ่งตลาดเพียงร้อยละ 35.8

การเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างจีนและสหรัฐฯคือโอกาสของคู่แข่งขันของจีน

แม้ว่าการนำเข้าจากจีนจะลดลงอย่างมากแต่จากมูลค่านำเข้าสหรัฐฯ (ล้านเหรียญฯ) ที่กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯจัดทำ จีนยังคงเป็นหนึ่งในแหล่งอุปทานนำเข้าสำคัญของสหรัฐฯ ตัวเลขนำเข้าสหรัฐฯระหว่างปี 2010 – 2022 แสดงให้เห็นว่า มูลค่านำเข้าจากจีนขึ้นลงแตกต่างกันไปในแต่ละปี แต่มูลค่านำเข้าจากประเทศไทยแสดงการเติบโตต่อเนื่องเป็นประจำทุกปีและในอัตราเฉลี่ยร้อยละ 8.11 สูงกว่าอัตราเฉลี่ยมูลค่านำเข้าจากจีนที่ร้อยละ 3.43 ส่วนแบ่งตลาดนำเข้าของไทยในปี 2010 เท่ากับร้อยละ 1.19 ในปี 2022 ได้เพิ่มเป็นร้อยละ 1.81 ขณะที่ส่วนแบ่งตลาดจีนลดจากร้อยละ 19.15 ในปี 2010 เหลือเป็นร้อยละ 16.31 ในปี 2022

รายงาน China-U.S. Trade Shift: Where Did the Market Share Go or Did it? ของบริษัท Descartes ได้วิเคราะห์ปริมาณตู้สินค้าที่ติดอันดับสูงสุด  10 อันดับแรกและประเทศแหล่งอุปทาน ของ 10 กลุ่มสินค้าที่นำเข้าสหรัฐฯในระหว่างปี 2016 – 2022 พบว่า

 

  • จีนเริ่มสูญเสียส่วนแบ่งตลาดนำเข้าสหรัฐฯอย่างช้าๆ แต่จีนยังคงเป็นแหล่งอุปทานอันดับหนึ่งของสินค้า 8 ใน 10 อันดับแรก การนำเข้าจากจีนสองกลุ่มสินค้ามีการเติบโต การนำเข้าห้ากลุ่มสินค้าแม้ว่าจะยังมีการเติบโตแต่ส่วนแบ่งตลาดลดลง การนำเข้าสองกลุ่มสินค้ามีการนำเข้าและส่วนแบ่งตลาดลดลง และการนำเข้าหนึ่งกลุ่มสินค้าการนำเข้าลดลงและหลุดจากตำแหน่ง 1 ใน 10 อันดับแรก
  • การนำเข้าจากประเทศคู่แข่งของจีนในเอเซียใต้และเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น อินเดีย บังคลาเทศ เวียดนาม ไทย และอินโดนิเซียเติบโตอย่างมากและรวดเร็วกว่าจีน และเข้าไปแย่งส่วนแบ่งตลาดในสหรัฐฯของจีน
  • ประเทศคู่แข่งจีนที่เป็นแหล่งอุตสาหกรรมก้าวหน้า เช่น ยุโรป เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น ไม่ได้รับประโยชน์จากความตกต่ำของความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างสหรัฐฯและจีนแต่อย่างใด
  • ประโยชน์ที่ประเทศไทยได้รับคือการเติบโตของปริมาณตู้สินค้าเข้าสหรัฐฯส่วนแบ่งตลาดในตลาดนำเข้าสหรัฐฯเพิ่มขึ้น 8 ใน 10 กลุ่มสินค้า

 

สรุปสถานการณ์ปริมาณตู้สินค้านำเข้าสินค้า 10 อันดับแรกในระหว่างปี 2016 – 2022

รหัสศุลกากรสหรัฐฯ HS94  กลุ่มสินค้าเฟอร์นิเจอร์และอุปกรณ์การนอน ปริมาณตู้สินค้านำเข้าสหรัฐฯโดยรวมเติบโตร้อยละ 42.8 การนำเข้าจากจีนเติบโตในระดับต่ำและส่วนแบ่งตลาดลดลง การนำเข้าจากประเทศคู่แข่งจีนในเอเซียใต้และเอเซียตะวันออกเฉียงใต้เริ่มพุ่งสูงในปี 2018 ต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน การนำเข้าจากไทยและกัมพูชาเข้าไปแทนที่โปแลนด์และมาเก๊าในฐานะแหล่งอุปทานนำเข้าสำคัญอันดับ 9 และ 10

รหัส HS84 กลุ่มสินค้าเครื่องจักรกล(Nuclear Reactors, Boilers, Machinery etc.) ปริมาณตู้สินค้านำเข้าสหรัฐฯโดยรวมเติบโตร้อยละ 28.4 การนำเข้าจากจีนยังคงเติบโตแต่ส่วนแบ่งตลาดลดลง ขณะที่การนำเข้าจากไทยเติบโตถึงร้อยละ 173.2 โดยปริมาณนำเข้าเริ่มสูงขึ้นในปี 2019

การเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างจีนและสหรัฐฯคือโอกาสของคู่แข่งขันของจีน

รหัส HS85 กลุ่มสินค้าเครื่องจักรอิเล็กทรอนิกส์ (รวมเครื่องเสียงและทีวี) ปริมาณตู้สินค้านำเข้าสหรัฐฯโดยรวมเติบโตร้อยละ 34.8 ปริมาณนำเข้าจากจีนเติบโตแต่ส่วนแบ่งตลาดลดลง ปริมาณนำเข้าและส่วนแบ่งตลาดของไทยเริ่มเติบโตในปี 2020

การเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างจีนและสหรัฐฯคือโอกาสของคู่แข่งขันของจีน

รหัส HS39 กลุ่มพลาสติกและสินค้าพลาสติก ปริมาณตู้สินค้านำเข้ารวมเติบโตร้อยละ 62.6 ปริมาณและส่วนแบ่งในตลาดนำเข้าสหรัฐฯของจีนเติบโต เช่นเดียวกันกับปริมาณนำเข้าและส่วนแบ่งตลาดนำเข้าสหรัฐฯของสินค้าไทย

การเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างจีนและสหรัฐฯคือโอกาสของคู่แข่งขันของจีน

รหัส HS87 กลุ่มยานยนต์และชิ้นส่วนประกอบ ไม่รวมรถไฟ ปริมาณตู้สินค้านำเข้าโดยรวมเติบโตร้อยละ 30.2 ปริมาณนำเข้าและส่วนแบ่งในตลาดนำเข้าสหรัฐฯของจีนเติบโต การนำเข้าจากไทยเติบโตเริ่มเติบโตอย่างมากในปี 2021

การเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างจีนและสหรัฐฯคือโอกาสของคู่แข่งขันของจีน

รหัส HS95  กลุ่มของเล่น เกมส์ และอุปกรณ์กีฬา และอื่นๆ ปริมาณนำเข้าตู้สินค้าโดยรวมเติบโตร้อยละ 49.8 ปริมาณนำเข้าจากจีนเพิ่มขึ้นและแต่ส่วนแบ่งตลาดลดลง ปริมาณนำเข้าจากไทยเพิ่มขึ้นแต่ส่วนแบ่งตลาดทรงตัว

การเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างจีนและสหรัฐฯคือโอกาสของคู่แข่งขันของจีน

รหัส HS40 กลุ่มยางและผลิตภัณฑ์ยาง ปริมาณตู้สินค้านำเข้าโดยรวมเติบโตร้อยละ 32.9 ปริมาณนำเข้าและส่วนแบ่งในตลาดนำเข้าสหรัฐฯของจีนลดลง ปริมาณนำเข้าและส่วนแบ่งตลาดนำเข้าสหรัฐฯของไทยเติบโตอย่างมากมาตั้งแต่ปี 2016 จนถึงปัจจุบัน

การเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างจีนและสหรัฐฯคือโอกาสของคู่แข่งขันของจีน

รหัส HS73 กลุ่มเหล็กและสินค้าเหล็ก ปริมาณตู้สินค้านำเข้าโดยรวมเติบโตร้อยละ 15.2 ปริมาณตู้สินค้านำเข้าจากจีนลดลงแต่ส่วนแบ่งในตลาดนำเข้าสหรัฐฯเพิ่มขึ้น ในปี 2022 ปริมาณการนำเข้าจากไทยและส่วนแบ่งในตลาดนำเข้าสหรัฐฯเริ่มพุ่งสูงขึ้น

การเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างจีนและสหรัฐฯคือโอกาสของคู่แข่งขันของจีน

รหัส HS08 กลุ่มผลไม้และถั่ว (nut) สำหรับบริโภค ส้มและแตง ปริมาณตู้สินค้านำเข้าโดยรวมเติบโตร้อยละ 24.8 ปี 2016 เป็นปีสุดท้ายที่ปริมาณนำเข้าจากจีนติดอันดับที่ 10 หลังจากนั้นการนำเข้าจากจีนไม่ติดอันดับอีกต่อไป ปริมาณการนำเข้าจากประเทศไทยไม่ติดอันดับ 1 ใน 10

การเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างจีนและสหรัฐฯคือโอกาสของคู่แข่งขันของจีน

รหัส HS61 กลุ่มสินค้าเสื้อผ้าสำเร็จรูปและสินค้าประดับตกแต่งร่างกาย ปริมาณตู้สินค้านำเข้าโดยรวมเติบโตร้อยละ 37.1 ปริมาณนำเข้าจากจีนเพิ่มสูงขึ้นแต่ส่วนแบ่งในตลาดนำเข้าสหรัฐฯลดลงอย่างมาก แต่ยังคงสามารถรักษาตำแหน่งแหล่งอุปทานนำเข้าอันดับหนึ่งไว้ได้และปริมาณตู้สินค้าที่ส่งเข้าสหรัฐฯยังคงสูงกว่าเวียดนามที่เป็นแหล่งอุปทานนำเข้าอันดับสองของสหรัฐฯ ปริมาณการนำเข้าจากประเทศไทยไม่ติดอันดับ 1 ใน 10

การเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างจีนและสหรัฐฯคือโอกาสของคู่แข่งขันของจีน

ที่มา: Descartes: “China-U.S. Trade Shift: Where Did the Market Share Go or Did It?

jaJapanese