“จีนสั่งห้ามนำเข้าอาหารทะเลจากญี่ปุ่นส่งผลกระทบต่อผลิตภัณฑ์อื่นๆ”

 

นับตั้งแต่เดือนกันยายน 2566 เป็นระยะเวลา 6 เดือนแล้ว หลังจากที่ Tokyo Electric Power Company Holdings, Inc (TEPCO) เริ่มปล่อยน้ำบำบัดจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิม่า ลงสู่ทะเล ความกังวลเกี่ยวกับอาหารจากญี่ปุ่นยังคงแพร่หลายในจีน ซึ่งตรงกันข้ามกับ การปล่อยน้ำอย่างรุนแรง และเลิกนำเข้าผลิตภัณฑ์ทางทะเลของญี่ปุ่น ตามรายงานของ Global Fishing Watch ซึ่งข้อมูลตำแหน่งจากเรือประมงของจีนจำนวนมากยังคงปฏิบัติการในทะเลช่วงนอกเขตเศรษฐกิจจำเพาะของญี่ปุ่น รวมถึง มหาสมุทรแปซิฟิกเหนือ แม้กระทั่งหลังจากญี่ปุ่นเริ่มปล่อยน้ำบำบัด ตัวอย่างเช่น เรือประมงขนาด 1,100 ตันของบริษัทแห่งหนึ่งในมณฑลฝูเจี้ยนทำประมงนอกเมือง เนมูโระ ในจังหวัดฮอกไกโด ตั้งแต่ฤดูใบไม้ร่วง ถึงต้นเดือนธันวาคมปี 2566 ก่อนจะเดินทางกลับประเทศจีน โดยพื้นที่ทะเลแห่งนี้เป็นพื้นที่สำหรับตกปลาซัมมะในมหาสมุทรแปซิฟิก ซึ่งมีเรือจากประเทศญี่ปุ่นและประเทศอื่นๆ เข้ามาปฏิบัติการด้วย แม้จะอยู่ในพื้นที่เดียวกัน ปลาที่ถูกจับจากเรือญี่ปุ่น จะถือว่าเป็น “สินค้าผลิตจากญี่ปุ่น” ซึ่งหมายความว่าไม่สามารถส่งออกไปยังประเทศจีนได้ อย่างไรก็ตาม หากปลาที่จับได้นั้นมาขึ้นฝั่งที่จีน ก็สามารถนำไปขายโดยถือว่า เป็น “สินค้าผลิตจากจีน” มีรายงานว่าเรือของจีนหยุดปรากฏตัวในพื้นที่นี้หลังจากสิ้นสุดฤดูจับปลาซัมมะ ผู้บริหารของสมาคมสหกรณ์แห่งชาติของญี่ปุ่นด้านการประมง ในมหาสมุทรแปซิฟิก ได้ระบุว่า ก่อนที่จะปล่อยน้ำที่ผ่านการบำบัด เรือประมงของจีนดำเนินการเช่นเดียวกับปีที่แล้ว

"จีนสั่งห้ามนำเข้าอาหารทะเลจากญี่ปุ่นส่งผลกระทบต่อผลิตภัณฑ์อื่นๆ”                     มูลค่าการส่งออกผลิตภัณฑ์ทางทะเลของญี่ปุ่นในปี 2565 เพิ่มขึ้น 28.5% จากปีก่อนหน้า แต่เพิ่มขึ้นเพียง 0.7% เป็น 390.1 พันล้านเยน ในปี 2566 การส่งออกไปยังสหรัฐอเมริกาและประเทศอื่นๆ เพิ่มขึ้น แต่การส่งออกไปยังจีนแผ่นดินใหญ่ ได้ลดลงเหลือเกือบ 0 นับตั้งแต่เดือนกันยายนปี 2566 ลดลง 29.9% ตลอดทั้งปี สำหรับอาหารทะเลที่จีนนิยมนำเข้าจากญี่ปุ่น ได้แก่ หอยเชลล์ ทูน่า เม่นทะเล ปลากะพง และปลิงทะเล เป็นต้น ในขณะที่ปลาแปรรูป (HS 1604) แหล่งนำเข้าของจีนค่อนข้างกระจุกตัวที่เกาหลีใต้และไทย สัดส่วน39.7 %และ 34.1% ตามลำดับ โดยญี่ปุ่นเป็นแหล่งนำเข้าอันดับ 3 มีสัดส่วน 11.1% เท่านั้น

ผลกระทบต่ออุตสาหกรรมอื่น
การห้ามนำเข้าผลิตภัณฑ์จากทะเลของจีน ส่งผลกระทบต่อ “เครื่องสำอาง” ซึ่งใช้น้ำในการผลิตเป็นจำนวนมาก โดยยอดขายเครื่องสำอางของ Kao Corp. ในจีนระหว่างเดือนตุลาคมถึงธันวาคมปีที่แล้วลดลง 30% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน “ผลกระทบร้ายแรงกว่าที่คาดไว้ ความคิดเห็น ของคนจีนเปลี่ยนไป” นายโทรุนิชิกุจิ เจ้าหน้าที่บริหารอาวุโส Kao Corp. กล่าว เขาคาดว่ายอดขายจะไม่สามารถฟื้นตัวได้จนกว่าจะถึงเดือนมิถุนายนปี 2567 หรือหลังจากนั้น
นอกจากนั้น ยังกระทบต่ออุตสาหกรรม “ข้าว” เช่น ร้าน “ฮามะชูชิ” HAMASUSHI ซึ่งเป็นเครือร้านอาหารซูชิบนสายพานลำเลียงรายใหญ่ เลิกใช้วัตถุดิบอาหารที่ผลิตในญี่ปุ่น ที่สาขา Tianjin “เทียนจิน” แล้วหันมาใช้ข้าวจีนและซีอิ๊วแทน แต่วัตถุดิบดังกล่าวส่วนใหญ่ไม่ถูกห้ามนำเข้า ซึ่งหากมาจากนอกชายฝั่งทะเล 10 จังหวัดของญี่ปุ่น รวมถึงจังหวัดฟุกุชิมะด้วย แต่เครือข่ายร้านอาหารดังกล่าวได้ตัดสินใจตามคำแนะนำของหน่วยงานท้องถิ่นของจีน ทำให้ผู้ค้าส่งข้าวญี่ปุ่นบางรายได้หยุดส่งออกข้าวขัดเงาไปจีน นอกเหนือจากความต้องการที่ลดลงในจีนแล้ว “ข้าว” อาจจะถูกระงับตามธรรมเนียมของภูมิภาคด้วย แหล่งข่าวกล่าว

บทวิเคราะห์ (ผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย)
จากญี่ปุ่นที่ปล่อยน้ำเสียที่ปนเปื้อนสารกัมมันตรังสี ซึ่งผ่านการบำบัดจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะลงสู่มหาสมุทรแปซิฟิก และจากการที่ไม่สามารถคาดการณ์สถานการณ์ในอนาคตของการส่งออกสินค้าอาหารทะเลไปประเทศจีนได้ จึงทำให้ไม่สามารถคาดการณ์ราคาสินค้าอาหารทะเลได้ด้วยเช่นกัน มีผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมเกี่ยวข้องของจีนเริ่มเรียกร้องให้ช่วยเหลือในการหาประเทศส่งออกอื่นด้วย ซึ่งจะเป็นเป็นโอกาสส่งออกอาหารทะเลของไทย และเป็นโอกาสของผลิตภัณฑ์อื่นๆ เช่นข้าว และเครื่องสำอาง ที่ได้รับผลกระทบในจีนเช่นเดียวกัน

ฉบับที่ 21 ประจำวันที่ 17 – 23 กุมภาพันธ์ 2567
สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น
อ้างอิงจาก
หนังสือพิมพ์ Nikkei MJ ฉบับวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2567

jaJapanese