เสียงสัญญาณนกหวีดปล่อยรถไฟขบวน 75100/099 ที่จะเดินบนเส้นทางที่ชื่อ “อำเภอชิงกัว (ก้านโจว) – เฉวียนโจว – ยุโรป” โดยเส้นทางจาก อำเภอชิงกัว (ก้านโจว) ไป เฉวียนโจว และใช้เส้นทางรถไฟเฉวียนโจว เดินทางตรงไปยังยุโรป ซึ่งรถไฟขบวนแรกได้เริ่มใช้เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2566 ได้บรรทุกสินค้าจำนวน 50 ตู้ขนาด 40 ฟุต ออกจากสถานี Huang tang เมืองเฉวียนโจว ผ่านสถานีพรมแดนแมนจูเรีย เขตมองโกเลียใน มุ่งหน้าสู่กรุงมอสโก ประเทศรัสเซีย รวมเป็นระยะทางประมาณ 10,700 กิโลเมตร โดยใช้เวลาในการเดินทางประมาณ 16 วัน ซึ่งการเดินทางในครั้งนี้ได้บรรทุกสินค้าจำพวกของใช้ในชีวิตประจำวันเป็นหลัก อาทิ สุขภัณฑ์ อุปกรณ์กีฬา ผลิตภัณฑ์อลูมิเนียม เป็นต้น ซึ่งสินค้าทั้งหมดมาจากบริษัทนําเข้าและส่งออกท้องถิ่นของเมืองเฉวียนโจว คิดเป็นปริมาณ 601.4 ตัน มีมูลค่าประมาณ 2.63 ล้านเหรียญสหรัฐ นับเป็นการเดินเส้นทางลำเรียงสินค้าครั้งแรกในปี 2566
ที่มา : FJSEN.com
การเปิดให้บริการเส้นรถไฟจีน (เฉวียนโจว) – ยุโรป ของบริษัท China Railway Nanchang Bureau Group Co.,Ltd. ในครั้งนี้ จะสามารถสร้างประโยชน์ทางการรถไฟ สร้างโอกาสทางการค้าระหว่างประเทศ และยังเป็นการสร้างเครือข่ายเชื่อมโยกข้อมูลด้านผู้ประกอบการ ศุลกากร และการรถไฟ เพื่อสร้างความสะดวกในการ ควบคุมดูแลแผนเส้นทางขนส่งสินค้าได้อย่างถูกต้องแม่นยำ ปลอดภัย และรวดเร็วให้กับหน่วยงานต่างๆ และผู้ประกอบการในการขนส่งสินค้า
เพื่อเป็นการผลักดันให้เกิดการขับเคลื่อนของเส้นทางรถไฟให้เป็นรูปธรรมและมีประสิทธิภาพ หน่วยงานการรถไฟของเมืองเฉวียนโจว ได้มีการสร้างปฏิสัมพันธ์กับลูกค้าในเชิงรุก และช่วยเหลือสถานประกอบการและธุรกิจในการแก้ไขปัญหาที่พบเจอในการใช้เส้นทางขนส่งสินค้าทางรถไฟจีน (เฉวียนโจว) – ยุโรป ในขณะเดียวกันก็มีการทดสอบการอำนวยความสะดวก และความปลอดภัยในการขนถ่ายสินค้าให้มีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น หลังจากการเปิดเส้นทางรถไฟ อำเภอชิงกัว (ก้านโจว) – เฉวียนโจว ทำให้สามารถลดระยะเวลาการขนส่งจากเส้นทางเดิมจางโจว-เฉวียนโจว ได้ถึง 2 วัน นอกจากนี้ ยังถือเป็นการเปิดเส้นทางการขนส่งสีเขียวที่รวดเร็วยิ่งขึ้น และนับเป็นจุดเริ่มต้นของเส้นทางสายไหนทางบก ที่จะนำมาซึ่งการพัฒนาทางเศรษฐกิจของเมืองเฉวียนโจว
ก่อนหน้านี้ ในปี 2558 เมืองเซี่ยเหมิน ได้เปิดตัว เส้นทางรถไฟ China-Europe Express ( สายเซี่ยเหมิน ) ซึ่งช่วยบูรณาการเส้นทางสายไหมทางทะเลในศตวรรษที่ 21 และเส้นทางสายไหม และกลายเป็นเครื่องมือใหม่สำหรับส่งเสริมความเชื่อมโยงของ BRI ปัจจุบัน เส้นทางการขนส่งจีน (เซี่ยเหมิน) – ยุโรป มีเส้นทางเดินรถไฟ ครอบคลุม 30 กว่าเมืองใน 12 ประเทศ ในยุโรป เอเชียกลางและรัสเซีย อาทิ ประเทศรัสเซีย โปแลนด์ บูดาเปสต์ ฮังการี ฮัมบูร์ก เยอรมนี และภูมิภาคเอเชียกลาง เป็นต้น โดยในปี 2565 มีการขนส่งสินค้าในเส้นทางดังกล่าวรวมถึง 1,208 ขบวน ที่แสดงให้เห็นถึงการพัฒนา และความสำเร็จในการขยายเส้นทางการขนส่ง ของมณฑลฝูเจี้ยน ในการพยายามเชื่อมต่อเส้นทางการขนส่งทางการค้าทั้งในและต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง
ความเห็นสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ เมืองเซี่ยเหมิน มณฑลฝูเจี้ยน อยู่ในเส้นทางสายไหมทางทะเล (Maritime Silk Road )เป็นหนึ่งในเส้นทางสายไหมใหม่ ตามยุทธศาสตร์หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง (One Belt One Road) ซึ่งรัฐบาลมีการผลักดันออกมาตการต่างๆ ที่เอื้อประโยชน์และความสะดวกสบายในทางการค้าระหว่างประเทศ เพื่อเชื่อมโยงเศรษฐกิจเอเชีย ยุโรป และแอฟริกาเข้าด้วยกัน การพัฒนาเส้นทางขนส่งสินค้าทางรถไฟ จะสามารถสร้างโอกาสทางการค้า เชื่อมโยงการค้าทั้งในประเทศและต่างประเทศ และนับเป็นโอกาสหนึ่งของผู้ประกอบการไทยในการเชื่อมโยงเส้นทางโลจิสติกส์กับรถไฟจีน-ยุโรป อาทิ วัตถุดิบไม้ยางพาราแปรรูปจากไทย นำมาผลิตเป็นเฟอร์นิเจอร์ในเขตหนานคัง เมืองก้านโจว มณฑลเจียงซี ซึ่งเป็นฐานการผลิตเฟอร์นิเจอร์ และเป็นศูนย์กลางการกระจายไม้เลื่อย ไม้แปรรูป และเฟอร์นิเจอร์ที่ใหญ่อันดับต้นๆ ของจีน ซึ่งเป็นศูนย์รวมผู้ให้บริการโลจิสติกส์จัดส่งเฟอร์นิเจอร์ไปยังยุโรป และเมืองอื่นๆในจีน
ที่มา:
http://qz.fjsen.com/wap/2023-02/03/content_31240886_0.htm
https://mp.weixin.qq.com/s/wpj8j1fAw1yVcv2FTtiA4w
เรียบเรียงโดยสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ เมืองเซี่ยเหมิน
7 กรกฎาคม 2566