ที่มาของรูป
https://k.sinaimg.cn/n/sinakd20115/107/w1024h683/20230620/88844736d8845ef152b879b8479637681420.jpg/w700d1q75cms.jpg?by=cms_fixed_width
ชา (中国茶) เป็นเครื่องดื่มแบบจีนโบราณ เป็นการดื่มชาแบบดั้งเดิม โดยพื้นฐานแล้วชาไม่มีน้ำตาล อย่างไรก็ตาม เครื่องดื่มชาเข้ามาแทนที่เครื่องดื่มอัดลมในอุตสาหกรรมเครื่องดื่มของจีน นอกจากนี้ น้ำตาลเองก็ทำให้เครื่องดื่มมีรสชาติดีขึ้น มีการเติมสารให้ความหวาน เช่น น้ำตาลหรือน้ำผึ้ง ตลาดจีนถูกครอบงำโดยชารสชาติหวาน จากนั้นค่อยๆให้กำเนิด เครื่องดื่มน้ำชาอีกหลายๆยี่ห้อเช่น หวางเลาจี้(王老吉), เจียตู้เป่า(加多宝) เป็นต้น เครื่องดื่มชากลายเป็นตลาดที่ใหญ่เป็นอันดับสองในอุตสาหกรรมเครื่องดื่มของจีนรองจากแพคเก็จการบรรจุน้ำต่างๆโดยมีมูลค่าตลาดประมาณที่ 120 พันล้าน หลังจากได้นั้นได้มีชาที่ไม่มีน้ำตาล ภายใต้แนวทางของเทรนด์ “ปราศจากน้ำตาล” ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา “สุขภาพ” ได้กลายเป็นประเด็นสำคัญของนวัตกรรมในอุตสาหกรรมเครื่องดื่ม พร้อมทั้งยังกลายเป็นเทรนด์ใหม่ในอุตสาหกรรมชาอีกด้วย สูตรชาไร้น้ำตาล ไม่ใช่แนวคิดใหม่ ในปี 1997 ชาอูหลง Suntory เปิดตัวในประเทศจีน และในปี 2002 Uni-President ได้เปิดตัว “Tea King” ในปี 2011 Nongfu Spring ได้เปิดตัวเครื่องดื่มชาปราศจากน้ำตาล Oriental Leaf ซึ่งไม่มีน้ำตาลและไม่มีไขมัน เครื่องดื่มไม่มีน้ำตาลหรือน้ำตาลต่ำจาก Suntory, Itoen, Kirin, Oriental Leaf, Nongfu Spring และแบรนด์อื่นๆ วางอยู่บนชั้นวางในซุปเปอร์มาร์เก็ตมาหลายปีแล้ว
ที่มาของรูป
https://k.sinaimg.cn/n/sinakd20115/10/w1024h586/20230620/f3c0-e50577614713a0c6b82ffca4518af1ef.jpg/w700d1q75cms.jpg?by=cms_fixed_width
เครื่องดื่มจำพวกชาที่ไม่มีน้ำตาลยังกลายเป็นตัวเลือกแรกของคนที่มีสุขภาพดีจำนวนมากในทุกวันนี้ การลดปริมาณน้ำตาลกลายเป็นแนวโน้มที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ในการพัฒนาอุตสาหกรรมเครื่องดื่มทั้งหมด ข้อมูลแสดงให้เห็นว่าในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ร้อยละ35 ของผู้บริโภคทั่วโลกให้ความสำคัญกับการควบคุมไขมันและน้ำตาลในอาหารของตัวเองมากขึ้น โดยรวมความต้องการอาหารเพื่อสุขภาพของผู้บริโภคชาวจีนนั้นสูงกว่าประเทศอื่นๆมาก สัดส่วนของผู้บริโภคที่ให้ความสำคัญกับการควบคุมน้ำตาลและไขมันสูงถึงร้อยละ 44 ดังนั้นผลิตภัณฑ์ชาที่ไม่มีน้ำตาล ปราศจากน้ำตาลหรือผลิตภัณฑ์ทดแทนน้ำตาลก็มีเพิ่มมากขึ้น
เมื่อมองดูเครื่องดื่มชาก็มีหลายแบบทั้งชาดำเย็น ชามะลิ ชาเกรปฟรุตน้ำผึ้ง ชาอูหลง ชาอัดลมเป็นต้น ประเทศจีนได้มีมาตรฐานสำหรับเครื่องดื่มชาซึ่งเกี่ยวข้องกับกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับวัตถุดิบโดยมีรหัสตามนี้ (GB/T21733-2008) อีกทั้งยังต้องมีส่วนผสมของชาจะต้องถึงมาตราฐานต่อหนึ่งขวดจึงจะได้รหัสนี้
ที่มาของรูป
https://k.sinaimg.cn/n/sinakd20115/354/w863h291/20230620/b111-f17f049b51f213dfbeca1e169173516d.jpg/w700d1q75cms.jpg?by=cms_fixed_width
ในขณะเดียวกัน ข้อมูลระบุว่าตั้งแต่ปี 2023 ชาวจีนบริโภคเครื่องดื่มชาไร้น้ำตาลรายใหม่มากที่สุดคือกลุ่มอายุ 26-30 ปี กลุ่มนี้ก็เป็นกลุ่มผู้ซื้อบ่อยที่สุดเช่นกัน ช่วงอายุนี้มีความถี่ในการบริโภคเครื่องดื่มน้ำชา จากการวิจัยของ Yiou ช่วงราคาหลักของชาไร้น้ำตาลอยู่ระหว่าง 4 ถึง 7 หยวนนี้ถูกยอมรับจากผู้บริโภคก็ค่อนข้างสูงเช่นกัน เมื่อพิจารณาจากสถานการณ์การบริโภคในปัจจุบัน ในเมืองชั้นหนึ่งและเมืองชั้นหนึ่ง(ใหม่) เช่น ปักกิ่ง เซี่ยงไฮ้ กวางโจว และเซินเจิ้น จำนวนผู้ที่ซื้อสินค้ามากกว่าสามครั้งต่อสัปดาห์ จำนวนผู้ที่ซื้อ 1-3 ครั้งต่อสัปดาห์จากมุมมองของการเติบโตของการบริโภคตั้งแต่ปี 2023 ผู้บริโภคมีมากกว่าร้อยละ 50 เครื่องดื่มชา VS ใบชา ในมุมมองทางโภชนาการ แนะนำให้ใช้ใบชามากกว่า เนื่องจากเครื่องดื่มชาเป็นอาหารแปรรูปอยู่แล้ว ดังนั้นครื่องดื่มชาของเราอาจไม่เพียงแต่มีชาและน้ำเท่านั้น แต่ยังอาจมีการเติมน้ำตาลอีกด้วย
ข้อคิดเห็น สคต.เซี่ยงไฮ้
ถ้าดูจากข้อมูล การเลือกรับประทานอาหารและเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพก็เป็นอีกกระแสที่นิยมมากสำหรับชาวจีน นั้นคาดการณ์ว่าสินค้าอุปโภคและบริโภคในกลุ่มเพื่อสุขภาพอาจจะมีการเติบโตอย่างต่อเนื่องอย่างแน่นอน เช่นนี้ ผู้ประกอบการไทยอาจต้องมั่นศึกษาพฤติกรรมการบริโภคในแต่ละกลุ่มเป้าหมาย พร้อมทั้งเลือกกลยุทธ์ที่เหมาะสมกับผลิตภัณฑ์ด้วยถึงจะทำให้มีจุดเด่นในการค้าต่อไป
จัดทำโดย สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครเซี่ยงไฮ้
แหล่งที่มา
https://k.sina.com.cn/article_1922607521_7298a9a102701bhx0.html