ตั้งแต่ยุค 90 แม้กระทั่งยุคมิลเลนเนีย เครื่องประดับก็ถือเป็นอุตสาหกรรมที่ทำกำไรในประเทศจีน โดยเฉพาะทองคำที่ยังได้รับความนิยมเป็นอันดับต้น ๆ อ้างอิงข้อมูลจาก IIMEDIA ในปี 2566 เครื่องประดับแฟชั่นจากหลากหลายแบรนด์ได้ร่วมมือกับเกมอนิเมชั่นชื่อดัง เพื่อออกแบบเครื่องประดับที่เข้ากับกระแสนิยม แต่ตรงกับรสนิยมส่วนตัว และโดนใจกลุ่มเด็กวัยรุ่นที่ชื่นชอบในการเล่นเกม  ซึ่งข้อมูลการสำรวจแสดงให้เห็นว่า  แบรนด์หลัก ๆ ที่เข้าร่วม IP และผู้บริโภคชาวจีนกว่าร้อยละ 49.4 นิยมซื้อ คือ ผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับแอนิเมชั่นและการ์ตูน เนื่องจากจำนวนผู้บริโภครุ่นใหม่ที่เพิ่มมากขึ้น ดังนั้นแบรนด์เครื่องประดับจำนวนไม่น้อยจึงต้องร่วมมือกับอุตสาหกรรมอื่น ๆ เพื่อสร้างอนาคตให้กับผลิตภัณฑ์ของตนเอง

อุตสาหกรรมเครื่องประดับของจีน

แหล่งที่มาของรูป https://img.iimedia.cn/10001c4ab7bebb585255f924a0289b0c6a5364448ec36e91495790088b47a14343583

อุตสาหกรรมเครื่องประดับเป็นอุตสาหกรรมเกิดใหม่ ที่ถูกแยกและบูรณาการจากอุตสาหกรรมของขวัญและงานฝีมือ สามารถแบ่งออกเป็นเครื่องประดับในบ้าน เครื่องประดับสำหรับสวมใส่ และเครื่องประดับรถยนต์   ซึ่งเครื่องประดับสำหรับสวมใส่ ส่วมมากจะเป็นเครื่องประดับบนร่างกาย ยกตัวอย่างเช่น ต่างหู สร้อยคอ กำไล แหวน นาฬิกา โดยแบ่งตามวิธีการใช้งาน และวัสดุในการประกอบ คือ โลหะกับอโลหะ

อุตสาหกรรมเครื่องประดับของจีน

แหล่งที่มาของรูป https://img.iimedia.cn/00001844f41523cd3de505ba069c6a8c5d909d7eb6c43e6bf2acbec161f6ca4bf6362

 

ภาพรวมอุตสาหกรรมเครื่องประดับจากทั่วโลก

อุตสาหกรรมเครื่องประดับเครื่องประดับที่โด่งดังในระดับโลก คือ อุตสาหกรรมเครื่องประดับของยุโรป ด้วยลักษณะที่ดูหรูหรา มีคุณค่า และมีราคาแพง ซึ่งอุตสาหกรรมเครื่องประดับของยุโรปถือกำเนิดในศตวรรษที่ 13 และได้พัฒนาแยกย่อยออกเป็นหมวดหมู่ที่หลากหลาย ครอบคลุมทั้งผลิตภัณฑ์และแบรนด์เป็นจำนวนมาก ตั้งแต่เครื่องประดับระดับไฮเอนด์ไปจนถึงเครื่องประดับแฟชั่น มีสินค้าและภาพลักษณ์ของแบรนด์ดังมากมายในอุตสาหกรรมเครื่องประดับของยุโรปที่ทรงอิทธิพลต่อตลาดเครื่องประดับระดับโลก เช่น Chanel, Dior, Gucci, Burberry เป็นต้น

เมื่อพิจารณาตามมูลค่าทางการตลาดในปี 2566 จะพบว่า 9 ใน 10 บริษัทสินค้าหรูหราชั้นนำของโลกมาจากยุโรป แม้อุตสาหกรรมทุกแขนงจะได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 แต่หลังจากการแพร่ระบาดสิ้นสุดลง พรมแดนระหว่างประเทศเปิดขึ้นอีกครั้ง อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของยุโรปก็เริ่มการฟื้นตัว และตลาดเครื่องประดับของยุโรปก็มีแนวโน้มการเติบโตเช่นกัน

ทว่าหากอ้างอิงข้อมูลจาก IIMEDIA แบรนด์เครื่องประดับที่ผู้บริโภคชาวจีนชื่นชอบมากที่สุด 5 อันดับแรกในปี 2567 ได้แก่ เครื่องประดับจากประเทศจีน สวิตเซอร์แลนด์ ฝรั่งเศส อิตาลี และเกาหลีใต้ ซึ่งในจำนวนนี้ผู้บริโภคมากกว่าครึ่งชอบแบรนด์จีน เพราะในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา แบรนด์เครื่องประดับของจีนกำลังพัฒนาและผลักดันอุตสาหกรรมของตนเองอย่างหนัก โดยผสมผสานระหว่างวัฒนธรรมดั้งเดิมและการออกแบบที่มีเอกลักษณ์ ทำให้เป็นที่ชื่นชอบของผู้บริโภคชาวจีน

ข้อคิดเห็น สคต.เซี่ยงไฮ้

      ตลาดเครื่องประดับในประเทศจีน ถือเป็นตลาดที่น่าสนใจสำหรับผู้ประกอบการจากทั่วโลก เนื่องจากจำนวนประชากรและความนิยมในเครื่องประดับ แต่ด้วยเหตุนี้เอง ทำให้การแข่งขันในตลาดเครื่องประดับของประเทศจีนค่อนข้างดุเดือด หากผู้ประกอบการไทยต้องการนำเครื่องประดับไทยเข้ามาขายในตลาดจีน จะต้องพัฒนาคุณภาพอย่างหนักหน่วง สร้างเอกลักษณ์ให้โด่ดเด่น และศึกษากระแสความนิยมในประเทศจีนให้ถี่ถ้วน เนื่องจากคู่แข่งทางการค้าจากทั้งในและนอกประเทศค่อนข้างทรงอิทธิพล โดยเฉพาะเครื่องประดับจากยุโรปที่มีชื่อเสียงมานานหลายทศวรรษ หรือแม้แต่แบรนด์ของประเทศจีนเอง ที่หมั่นพัฒนาตัวเองอยู่เสมอ

จัดทำโดย สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครเซี่ยงไฮ้

แหล่งที่มา 

https://www.iimedia.cn/c400/99156.html

jaJapanese