เล่าข่าวการค้า” โดย สคต. ชิคาโก EP22 เรื่อง ทิศทางตลาดกัญชาในสหรัฐฯ

 

ภายใต้รัฐบัญญัติสารควบคุมสหรัฐฯ ปี 2513 (Controlled Substance Act of 1970) รัฐบาลกลางสหรัฐฯ ยังคงจัดให้กัญชาเป็นสารเสพติดประเภทที่ 1 (Schedule 1 Drug) หากผู้ใดใช้ มีไว้ในครอบครอง เพาะปลูก ซื้อขาย รวมถึงการนำเข้าส่งออก ซึ่งเป็นความผิดอาญาและมีโทษทางกฎหมาย แม้ว่าในระดับรัฐหลายแห่งจะมีนโยบายควบคุมการใช้กัญชาที่ผ่อนคลายมากขึ้น โดยปัจจุบันมีรัฐในสหรัฐฯ ทั้งสิ้น 40 รัฐและ 2 เขตปกครอง ที่อนุญาตให้ใช้กัญชาทางการแพทย์ (Medical Use) ในจำนวนดังกล่าวมี 24 รัฐที่อนุญาตให้ใช้กัญชาเพื่อการผ่อนคลาย (Recreational Use) ได้

 

***รัฐที่อนุญาตให้ใช้กัญชาทางการแพทย์ ได้แก่  “Alabama” “Alaska” “Arizona” “Arkansas” “California” “Colorado” “Connecticut” “Delaware” “Florida” “Hawaii” “Illinois” “Kansas” “Kentucky” “Louisiana” “Maine” “Maryland” “Massachusetts” “Michigan” “Minnesota” “Mississippi” “Missouri” “Montana “Nevada” “New Hampshire” “New Jersey” “New Mexico” “New York” “North Dakota” “Ohio” “Oklahoma” “Oregon” “Pennsylvania” “Rhode Island” “South Carolina” “South Dakota” “Utah” “Vermont” “Virginia” “Washington” และ “West Virginia” ***

 

***รัฐที่อนุญาตให้ใช้กัญชาเพื่อการผ่อนคลาย ได้แก่ “Alaska” “Arizona” “California” “Colorado” “Connecticut” “Delaware” “Illinois” “Maine” “Maryland” “Massachusetts” “Michigan” “Minnesota” “Missouri” “Montana” “Nevada” “New Jersey” “New Mexico” “New York” “Ohio” “Oregon” “Rhode Island” “Vermont” “Virginia” “Washington” “Washington DC” และ “Guam”

 

นอกจากนี้ ปัจจุบันยังมีความพยายามในการศึกษาวิจัยคุณและโทษของกัญชามากขึ้น โดยงานศึกษาหลายชิ้นพบว่า กัญชาส่งผลกระทบต่อผู้ใช้น้อยกว่ายาเสพติดให้โทษรายการอื่นๆ ดังนั้น จึงมีความพยายามในการผลักดันให้หน่วยงานรัฐที่ดูแลรับผิดชอบโดยตรงพิจารณาปรับปรุงการบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องให้เหมาะสม

 

โดยล่าสุดสำนักงานปราบปรามยาเสพติดสหรัฐฯ  (Drug Enforcement  Administration หรือ DEA) ซึ่งเป็นหน่วยงานในกำกับของรัฐบาลกลาง สังกัดกระทรวงยุติธรรม มีหน้าที่ปราบปราบการจำหน่ายยาเสพติดในสหรัฐฯ กำลังอยู่ในระหว่างการพิจารณาทบทวนการบังคับใช้กฎหมายกับกัญชาในสหรัฐฯ โดยมีแผนที่จะเสนอปรับลดประเภทความรุนแรงของกัญชาจากเดิมที่ถูกจัดให้เป็นสารเสพติดประเภทที่ 1 ในกลุ่มเดียวกันกับ เฮโรอีน แอลเอสดี และยาอี (Ecstasy) ซึ่งมีความอันตรายสูง ไม่ถูกใช้ทางการแพทย์ และไม่ปลอดภัยหากถูกใช้โดยปราศจากการกำกับควบคุมดูแลโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เป็นสารเสพติดประเภทที่ 3 ในกลุ่มเดียวกันกับ เคตามีน และสเตียร์รอยด์ ซึ่งมีความอันตรายต่ำกว่าและอนุญาตให้ใช้ภายใต้การกำกับควบคุมดูแลโดยแพทย์ผู้เชี่ยชาญ ซึ่งการปรับลดระดับความรุนแรงของกัญชาดังกล่าวจะเป็นการเปลี่ยนแปลงนโยบายครั้งใหญ่ที่สุดในรอบกว่า 50 ปี และจะมีผลต่อวงการยาและการแพทย์ทั่วสหรัฐฯ

อย่างไรก็ตาม การพิจารณาดังกล่าวจะยังไม่มีการเสนอให้สหรัฐฯ อนุญาตให้ใช้กัญชาเพื่อความผ่อนคลายได้อย่างเสรี โดยเมื่อหน่วยงานรับผิดชอบทำเนียบขาวลงนามรับรองข้อเสนอแล้วสำนักงานปราบปรามยาเสพติดจะเปิดรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ รวมถึงความเห็นของกระทรวงสุขภาพและบริการมนุษย์สหรัฐฯ เมื่อกระบวนการดังกล่าวเสร็จเรียบร้อย และรับรองโดยผู้พิพากษาฝ่ายบริหารแล้ว จึงจะประกาศข้อเสนอดังกล่าวเป็นกฎหมายต่อไป

 

ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะ

ในช่วง 5 ปีทีผ่านมาอุตสาหกรรมกัญชาสหรัฐฯ มีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องคิดเป็นอัตราการขยายตัวราวร้อยละ 24 ต่อปี โดยในปี 2566 มีมูลค่าตลาดทั้งสิ้น 3.39 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากจำนวนผู้ใช้กัญชาที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากราวร้อยละ 12 ของประชากรชาวอเมริกันทั้งหมดในปี 2561 เป็นร้อยละ 17 ของประชากรชาวอเมริกันทั้งหมดในปี 2566 อีกทั้ง ยังคาดว่ามูลค่าอุตสาหกรรมกัญชาสหรัฐฯ จะยังคงขยายตัวไปเป็น มูลค่าทั้งสิ้น 6.72 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2571 อีกด้วย

 

โดยที่ผ่านมาท่าทีด้านการบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับกัญชาในระดับรัฐของสหรัฐฯ มีความผ่อนคลายตามลำดับ มีจำนวนรัฐที่อนุญาตให้ใช้กัญชาเพื่อการผ่อนคลายเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง การพิจารณาเสนอปรับลดประเภทความรุนแรงของกัญชาในระดับรัฐบาลกลางดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า สหรัฐฯ น่าจะมีท่าทีที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมบังคับใช้กัญชาลดลงตามลำดับในระยะยาว

 

ทั้งนี้ แม้ว่าปัจจุบันไทยจะได้ถอดกัญชาออกจากบัญชียาเสพติดไปแล้วในปี 2565 แต่รัฐบาลปัจจุบันก็มีนโยบายที่จะผลักดันให้กัญชาการพิจารณาบรรจุให้กัญชากลับเข้าสู่บัญชียาเสพและอนุญาตให้ใช้เฉพาะในทางการแพทย์ในอนาคตอันใกล้ นอกจากนี้ ในส่วนของสหรัฐฯ เอง แม้ว่าในระดับรัฐจะมีการอนุญาตให้ใช้กัญชาได้อย่างกว้างขวาง แต่ในระดับรัฐบาลกลางก็ยังถือเป็นสารเสพติดควบคุมยังไม่สามารถส่งออกหรือนำเข้าได้ ดังนั้น ในชั้นนี้จึงไม่มีโอกาสทางการค้าสำหรับผู้ประกอบการไทย

 

นอกจากนี้ ปัจจุบันสินค้าที่มีส่วนผสมของกัญชาในประเทศไทยมีแพร่หลายมากขึ้นผู้ประกอบการไทยรวมถึงนักท่องเที่ยวไทยจึงควรที่จะระมัดระวังไม่ส่งออกหรือนำสินค้าที่มีส่วนผสมของกัญชาซึ่งยังถือเป็นสารต้องห้ามผิดกฎหมายไปยังสหรัฐฯ เพื่อไม่ให้เสี่ยงที่จะถูกดำเนินคดีให้ได้รับโทษทางอาญา

 

อย่างไรก็ตาม หากผู้ประกอบการไทยรายใดที่สนใจทำตลาดกัญชาในสหรัฐฯ ซึ่งยังคงมีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้นในอนาคต อาจจะพิจารณาขยายกิจการในลักษณะบริษัทข้ามชาติ ( Internationalization) ไปตั้งกิจการเพาะปลูก แปรรูป หรือจำหน่ายสินค้าจากกัญชาในเขตรัฐที่มีนโยบายอนุญาตให้ใช้ถูกต้องตามกฎหมาย โดยเฉพาะในเขตตะวันตกของสหรัฐฯ ซึ่งปัจจุบันเริ่มมีผู้ประกอบการไทยสนใจร่วมลงทุนกับผู้ประกอบการในท้องถิ่นบ้างแล้ว

 

รายละเอียดเพิ่มเติมสามารถรับชมได้ทางช่องทางพอดแคส “เล่าข่าวการค้า” โดย สคต. ชิคาโก https://youtu.be/WRxIeq1VqpE

 

******************************

 

シカゴ国際貿易促進局

 

jaJapanese