รายงานสถานการณ์เศรษฐกิจการค้าระหว่างประเทศของสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา ประจำเดือนมิถุนายน 2567

1.ภาพรวมเศรษฐกิจ/ สถานการณ์สำคัญ

  1. การค้าชายแดน (Border Trade) ของเมียนมา มีขั้นตอนการพิจารณาใบอนุญาตนำเข้า (Import License) ผ่าน EICC (Export Import Coordinating Committee) ซึ่งเป็นคณะกรรมการชุดเล็ก จึงสะดวกและคล่องตัวกว่าคณะกรรมการชุดใหญ่ หรือ FESC (Foreign Exchange Supervisory Committee) อย่างไรก็ตาม หากเป็นการค้าระหว่างประเทศ ทุกสินค้าต้องผ่าน FESC ส่วนการค้าชายแดนมีเฉพาะ “7 กลุ่มสินค้า” ที่ต้องขอ Import License ผ่าน FESC ได้แก่ 1. ปุ๋ย 2. เหล็ก 3. ผลิตภัณฑ์ Solar และที่เกี่ยวข้อง 4. เม็ดพลาสติก (Polypropylene) 5. วัตถุดิบเพื่อผลิตพลาสติก 6. ยานยนต์ commercial use และ 7. เครื่องจักร commercial use
  2. สำหรับ “4 กลุ่มสินค้า” ที่ได้รับการยกเว้น ผ่อนคลายให้สามารถเก็บไว้ในคลังสินค้าทัณฑ์บน (Bonded Warehouse) ได้ ก่อนได้รับ Import License ได้แก่ 1. ยาคนและยาสัตว์ 2. รถยนต์ไฟฟ้าและชิ้นส่วน 3. วัตถุดิบและสารเคมีเพื่อผลิตในอุตสาหกรรม และ 4. วัตถุดิบเพื่อผลิตอาหาร
  3. การพิจารณาใบอนุญาตนำเข้า (Import License) มี Priority List กลุ่มสินค้านำเข้า 3 ลำดับความสำคัญ ดังนี้ ลำดับ 1 ได้แก่ ปัจจัยการผลิตสินค้าเกษตร วัตถุดิบเพื่อการผลิต ยา น้ำมันเชื้อเพลิง ลำดับ 2 ได้แก่ วัสดุก่อสร้าง เครื่องจักรและชิ้นส่วน ลำดับ 3 ได้แก่ สินค้าอุปโภคบริโภค ยานยนต์สำหรับใช้เชิงพาณิชย์

โดยกฎระเบียบที่เปลี่ยนแปลงดังกล่าวมีความสำคัญยิ่ง ซึ่งภาคเอกชนต้องติดตามประกอบกับข้อมูลอื่นๆ เช่น ความต้องการตลาด การแข่งขัน สถานการณ์ที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำไปพิจารณาและปรับใช้วางแผนธุรกิจให้เหมาะสมต่อไป ทั้งนี้ แม้เมียนมาจะมีความท้าทายหลายประการ อย่างไรก็ตาม เมียนมาก็มีศักยภาพและโอกาสอีกมาก หากปรับแผนธุรกิจได้

เครื่องชี้วัดทางเศรษฐกิจที่สำคัญ

กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) คาดการณ์ว่า ในปี 2567 ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศของเมียนมา (GDP) เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.5 อัตราเงินเฟ้อในปี 2567 ของเมียนมา คาดการณ์อยู่ที่ร้อยละ 15 นอกจากนี้ ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศต่อหัว (GDP per Capita) อยู่ที่ระดับ 1,454 เหรียญสหรัฐฯ ดังตาราง

ตารางที่ 1 – เครื่องชี้วัดเศรษฐกิจเมียนมา

ตัวชี้วัดทาง

เศรษฐกิจที่สำคัญ

2017年 2018年

 

2019年

 

2020年

 

2021年

 

2022年 ปี 2566 ปี 2567

(คาดการณ์)

GDP Growth (%) 5.8 6.4 6.8 3.2 -17.9 2.0% 2.6% 1.5%
GDP (billions of US$) 61.27 66.7 68.8 81.26 65.16 66.12 74.86 79.27
GDP per Capita (US$) 1,180 1,270 1,300 1,530 1,217 1,228 1,381 1,454
Inflation (%) 4.62 5.94 8.63 5.73 3.64 16 14 15

ที่มา: IMF  https://www.imf.org/en/Countries/MMR#countrydata

1.2 อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ

ตารางที่ 2 เปรียบเทียบอัตราแลกเปลี่ยนเงินจ๊าตต่อสกุลเงินสำคัญ มิ.ย. 66 และ มิ.ย. 67

ประเทศ/สหภาพ สกุลเงิน อัตรา

สิ้นเดือน มิ.ย. 66

อัตรา

สิ้นเดือน มิ.ย. 67

アメリカ合衆国 1 USD 2,100 MMK 2,100.00 MMK
Euro 1 EUR 2,300.60 MMK 2,246.20 MMK
シンガポール 1 SGD 1,553.90 MMK 1,547.50 MMK
Thailand 1 THB 58.939 MMK 57.050 MMK

ข้อมูลจากธนาคารกลางเมียนมา : https://forex.cbm.gov.mm/index.php/fxrate

จากตารางที่ 2 จะเห็นได้ว่า อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศกับเงินสกุลท้องถิ่นเมียนมาจ๊าตในช่วงเดือนมิถุนายนของปี 2567 มีความคงที่สำหรับเงินเหรียญสหรัฐฯ อยู่ที่อัตรา 2,100 MMK ต่อ 1 USD เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา เนื่องจากการควบคุมอัตราแลกเปลี่ยนของธนาคารกลางเมียนมา ทั้งนี้ ตลาดแลกเงินนอกระบบมีอัตราที่แตกต่างจากอัตราแลกเปลี่ยนของธนาคารกลาง โดยอัตราแลกเปลี่ยนอยู่ประมาณ 4,500 จ๊าตต่อ 1 USD

กราฟแสดงค่าอัตราแลกเปลี่ยนเงินเมียนมาจ๊าต (MMK) ต่อ ดอลลาร์สหรัฐ (USD) ช่วงเดือนมิถุนายน 2567

รายงานสถานการณ์เศรษฐกิจการค้าระหว่างประเทศของสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา ประจำเดือนมิถุนายน 2567

เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2565 ธนาคารกลางเมียนมาได้ประกาศอัตราแลกเปลี่ยนใหม่ โดยมีอัตราแลกเปลี่ยนคงที่อยู่ที่ 2,100 MMK ต่อ 1 USD สําหรับเงินสกุลต่างประเทศอื่นๆ จะมีอัตราแลกเปลี่ยนโดยคำนวณจากอัตราแลกเปลี่ยน 2,100 จ๊าต ต่อ 1 ดอลลาร์ ทั้งนี้ ธนาคารกลางเมียนมาจะออกประกาศเพิ่มเติม หากอัตราแลกเปลี่ยนมีการเปลี่ยนแปลง

 1.3 ภาวะการลงทุน

1.3.1 มูลค่าการลงทุนตามรายประเทศนักลงทุนสำคัญ

ภาพรวมด้านการลงทุนทางตรงของต่างประเทศในเมียนมา (FDI) ในเดือนเมษายน – มิถุนายน 2567 คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนเมียนมา (Myanmar Investment Commission : MIC) อนุมัติโครงการไปแล้ว คิดเป็นมูลค่า 147.999  เหรียญสหรัฐฯ ดังตาราง

ตารางที่ 3 – ประเทศที่มีการลงทุนทางตรง FDI ในเมียนมา เดือนเมษายน – มิถุนายน 2567

อันดับ ประเทศ มูลค่าการลงทุน (ล้านเหรียญสหรัฐ)

เม.ย. – มิ.ย. 67

สัดส่วน (%)
1 シンガポール 84.019 56.77%
2 中国 32.659 22.07%
3 インドネシア 20.892 14.12%
4 台湾 2.628 1.78%
5 イングランド 2.519 1.70%
6 インド 2.088 1.41%
7 เกาหลีใต้ 1.931 1.30%
8 香港 0.827 0.56%
9 日本 0.436 0.29%
  รวม 147.999 100%

 ตารางที่ 4 – มูลค่าการลงทุนจากต่างประเทศที่เคยได้รับอนุญาตสะสม จนถึงปีงบประมาณ 2023-2024

รายงานสถานการณ์เศรษฐกิจการค้าระหว่างประเทศของสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา ประจำเดือนมิถุนายน 2567

https://www.dica.gov.mm

สำหรับมูลค่าการลงทุนจากต่างประเทศที่เคยได้รับอนุญาตสะสม จนถึงปีงบประมาณ 2024-2025 (ณ เดือนมิถุนายน 2567) มีมูลค่าทั้งสิ้น 95,506.115 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยประเทศที่เข้ามาลงทุนในเมียนมาสูงที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่ 1) สิงคโปร์ 2) จีน 3) ไทย 4) ฮ่องกง และ 5) สหราชอาณาจักร ตามลำดับ โดยไทยอยู่ในลำดับที่ 3 มูลค่า 11,634.673 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือร้อยละ 12.47 โดยมีโครงการที่ได้รับอนุมัติแล้ว จำนวน 155 โครงการ

   ตารางที่ 5 – มูลค่าการลงทุนจากต่างประเทศที่ยังดำเนินการอยู่ จนถึงปีงบประมาณ 2023-2024

รายงานสถานการณ์เศรษฐกิจการค้าระหว่างประเทศของสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา ประจำเดือนมิถุนายน 2567

https://www.dica.gov.mm

สำหรับมูลค่าการลงทุนจากต่างประเทศของโครงการที่ยังดำเนินการอยู่ จนถึงปีงบประมาณ 2024-2025 (ณ เดือนมิถุนายน 2567) มีมูลค่าทั้งสิ้น 74,871.183 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยประเทศที่ยังคงลงทุนในเมียนมาสูงที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่ 1) สิงคโปร์ 2) จีน 3) ฮ่องกง 4) สหราชอาณาจักร และ 5) ไทย ตามลำดับ โดยไทยอยู่ในลำดับที่ 5 มูลค่า 4,454.639 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือร้อยละ 6.12 โดยมีโครงการที่ยังดำเนินการอยู่ จำนวน 105 โครงการ

1.3.2 มูลค่าการลงทุนตามประเภทสาขาการลงทุนที่สำคัญ

ในส่วนของอุตสาหกรรมที่ต่างชาติลงทุนในเมียนมาของปีงบประมาณ 2024 – 2025 ในเดือนเมษายน – มิถุนายน 2567 รายละเอียดดังตาราง

ตารางที่ 6 – อุตสาหกรรมที่นักลงทุนต่างชาติเข้ามาลงทุนในเมียนมา

ปีงบประมาณ 2024-2025 (เม.ย. – มิ.ย. 67)

อันดับ ประเภทธุรกิจ มูลค่า

(ล้านเหรียญสหรัฐ)

เม.ย.– มิ.ย. 67

สัดส่วน (%)
1 Transport& Communication 82.660 55.85%
2 Manufacturing 64.126 43.33%
3 Livestock & Fisheries 1.088 0.74%
4 農業 0.125 0.08%
  รวม 147.999 100%

สำหรับสาขาการลงทุนจากต่างประเทศที่ยังดำเนินการอยู่ จนถึงปีงบประมาณ 2024-2025          สามอันดับแรกได้แก่ พลังงาน ร้อยละ 28.00 น้ำมันและแก๊ส ร้อยละ 20.27 และอุตสาหกรรมการผลิต ร้อยละ 15.46

ตารางที่ 7 สาขาการลงทุนจากต่างประเทศที่ยังดำเนินการอยู่ จนถึงปีงบประมาณ 2024-2025

รายงานสถานการณ์เศรษฐกิจการค้าระหว่างประเทศของสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา ประจำเดือนมิถุนายน 2567

  1. สถานการณ์การค้า (การนำเข้า-ส่งออก) ของเมียนมา

      2.1 สถิติการค้าระหว่างประเทศของเมียนมา

ตารางที่ 8 – มูลค่าการค้าระหว่างประเทศของเมียนมา (เมษายน – พฤษภาคม 2567)

หน่วย : ล้านเหรียญสหรัฐฯ

Export Import Trade Volume
2024-2025 2023-2024 % 2024-2025 2023-2024 % 2024-2025 2023-2024 %
(31-5-2024) (31-5-2023) change (31-5-2024) (31-5-2023) change (31-5-2024) (31-5-2023) change
2,307.243 2,079.801 10.94% 2,243.717 3,243.129 -30.82% 4,550.960 5,322.930 -14.50%

ในช่วงเดือนเมษายน – พฤษภาคม 2567 ของปีงบประมาณ 2024-2025 มูลค่าการค้าระหว่างประเทศโดยรวมของเมียนมามีมูลค่า 4,550.960 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 14.50 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว โดยในส่วนของการส่งออกมีมูลค่า 2,307.243 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.94 การนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศของเมียนมามีมูลค่า 2,243.717 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 30.82 ทั้งนี้ ในช่วงเดือนเมษายน – พฤษภาคม 2567 เมียนมาได้ดุลการค้าเป็นมูลค่า 63.53 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

 

2.2 สินค้าส่งออกสำคัญของเมียนมา

   ตารางที่ 9 – มูลค่าการส่งออกสินค้าที่สำคัญของเมียนมา (เมษายน – พฤษภาคม 2567) ที่มา : กระทรวงพาณิชย์เมียนมา

ลำดับ สินค้า มูลค่า (ล้านเหรียญสหรัฐฯ) สัดส่วน (%)
1 MANUFACTURING GOODS 1,146.704 49.70%
2 AGRICULTURAL PRODUCTS 971.957 42.13%
3 MARINE PRODUCTS 102.970 4.46%
4 MINERALS 28.268 1.23%
5 FOREST PRODUCTS 9.897 0.43%
6 ANIMAL PRODUCTS 1.143 0.05%
7 OTHER PRODUCTS 46.304 2.01%
  รวม 2,307.243 100.0%

2.3 สินค้านำเข้าสำคัญของเมียนมา

ตารางที่ 10 – มูลค่าการนำเข้าสินค้าที่สำคัญของเมียนมา (เมษายน – พฤษภาคม 2567)

ลำดับ สินค้า มูลค่า (ล้านเหรียญสหรัฐฯ) สัดส่วน (%)
1 สินค้า Commercial Raw material 1,194.146 53.22%
2 สินค้า Investment Goods 334.001 14.89%
3 สินค้าอุปโภคบริโภค (Consumer Goods) 254.876 11.36%
4 อื่นๆ (CMP: Cutting, Making, Packing) 460.694 20.53%
  รวม 2,243.717 100%

2.4 สถานการณ์การค้าระหว่างไทย – เมียนมา

ตารางที่ 11 สรุปมูลค่าการค้าระหว่างไทย – เมียนมา

รายการ มูลค่า: ล้านเหรียญสหรัฐฯ อัตราขยายตัว (%) สัดส่วน (%)
2566 2566

(ม.ค.-พ.ค.)

2567

(ม.ค.-พ.ค.)

2566 2566

(ม.ค.-พ.ค.)

2567

(ม.ค.-พ.ค.)

2566 2566

(ม.ค.- พ.ค.)

2567

(ม.ค.-พ.ค..)

มูลค่าการค้า 7,434.41 3,404.73 3,048.50 -9.68 -5.15 -10.46 1.29 1.42 1.24
การส่งออก 4,410.49 2,011.43 1,773.93 -6.17 -3.30 -11.81 1.55 1.71 1.47
การนำเข้า 3,023.92 1,393.29 1,274.57 -14.36 -7.69 -8.52 1.04 1.14 1.01
ดุลการค้า 1,386.57 618.14 499.37 18.56 8.32 -19.21      

ที่มา : OPS กระทรวงพาณิชย์ ประเทศไทย ณ วันที่ 4 ก.ค. 67

ปี 2567 มูลค่าการค้ารวมระหว่างไทยและเมียนมาระหว่างเดือนมกราคม – พฤษภาคม 2567     มีมูลค่ารวมทั้งสิ้น 3,048.50 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 10.46 จากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว โดยไทยมีการส่งออกไปยังเมียนมาเป็นมูลค่า 1,773.93 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 11.81 จากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา เนื่องจากการขอใบอนุญาตนำเข้าสินค้าของประเทศเมียนมาใช้เวลานาน สำหรับการนำเข้าสินค้าจากเมียนมามายังประเทศไทยมีมูลค่า 1,274.57 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 8.52 จากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ทั้งนี้ไทยได้ดุลการค้าเป็นมูลค่า 499.37 ล้านเหรียญสหรัฐ

สินค้าที่ไทยส่งออกไปเมียนมา ที่สำคัญ ได้แก่ น้ำมันสำเร็จรูป เครื่องดื่ม เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ เครื่องเทศและสมุนไพร เคมีภัณฑ์ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ปูนซิเมนต์ ผลิตภัณฑ์ข้าวสาลีและอาหารสำเร็จรูปอื่นๆ เครื่องสำอาง สบู่ และผลิตภัณฑ์รักษาผิว และเครื่องจักรกลและส่วนประกอบของเครื่องจักรกล เป็นต้น

สินค้าที่ไทยนำเข้าจากเมียนมา ที่สำคัญ ได้แก่ ก๊าซธรรมชาติ พืชและผลิตภัณฑ์จากพืช (ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์) สินแร่โลหะอื่นๆ เศษโลหะและผลิตภัณฑ์ เนื้อสัตว์สำหรับการบริโภค ผัก ผลไม้และของปรุงแต่งที่ทำจากผัก ผลไม้ สัตว์น้ำสด แช่เย็น แช่แข็ง แปรรูปและกึ่งสำเร็จรูป สัตว์และผลิตภัณฑ์จากสัตว์ เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ กาแฟ ชา เครื่องเทศ และเครื่องเพชรพลอย อัญมณี เงินแท่งและทองคำ เป็นต้น

3.สถานการณ์สำคัญ

3.1 เมียนมาไม่อนุญาตให้นำเข้าสินค้าที่ไม่ได้รับใบอนุญาตที่ท่าเรือ/สนามบิน

กรมการค้า กระทรวงพาณิชย์เมียนมา ออกจดหมายฉบับที่ 3/2024 เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2567 โดยระบุว่า หากพบว่าการนำเข้าสินค้า ณ ท่าเรือ หรือ สนามบิน ก่อนที่จะได้รับใบอนุญาตนำเข้า จะถูกดำเนินการภายใต้กฎหมายว่าด้วยการส่งออกและนำเข้า ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2567 เป็นต้นไป

ในประกาศฉบับที่ 50/2020 ออกเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2563 ว่าด้วยการห้ามมิให้สินค้านำเข้ามาถึงท่าเรือและสนามบินโดยไม่ได้รับอนุญาต ยกเว้นสินค้านำเข้าที่ได้รับอนุญาตให้เก็บไว้ในคลังสินค้าศุลกากร หากพบว่าสินค้ามาถึงก่อนกำหนดโดยไม่ได้รับอนุญาต บริษัทที่นำเข้าสินค้าเหล่านี้จะถูกดำเนินคดีทางกฎหมายตามกฎหมายว่าด้วยการส่งออกและนำเข้า

กรมศุลกากรอนุญาตให้จัดเก็บสินค้าที่จำเป็นสำหรับภาคการผลิตและสินค้าที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพไว้ในคลังสินค้า ผู้นำเข้าสินค้าควรปฏิบัติตามกฎหมายและระเบียบข้อบังคับ และไม่ควรนำเข้าสินค้าไปยังท่าเรือและสนามบินโดยไม่ได้รับใบอนุญาตนำเข้า

ผลกระทบ/โอกาส เนื่องจากรัฐบาลเมียนมาพยายามลดการขาดดุลการนำเข้า-ส่งออก รัฐบาลจึงลดการนำเข้าสินค้า ทำให้การขอใบอนุญาตการนำเข้าสินค้าใช้เวลานานมากกว่าปกติ

ข้อคิดเห็น/ข้อเสนอแนะ การที่รัฐบาลเมียนมาประกาศข้อจำกัดต่าง ๆ ในการนำเข้าสินค้า เพื่อควบคุมการนำเข้า-ส่งออกสินค้า ทำให้การยื่นขอใบอนุญาตนำเข้าใช้เวลานาน ใบอนุญาตนั้นยังมีการจำกัดเวลาใช้อีกด้วย สินค้าจึงมาถึงท่าเรือก่อนได้รับอนุญาต ผู้ประกอบการควรเผื่อเวลาในการขอใบอนุญาตนำเข้าก่อนสินค้ามาถึงประเทศเมียนมา                                                                                                                                                                                                           ที่มา: Global New Light Of Myanmar (www.gnlm.com.mm)

3.2 ธนาคารกลางเมียนมาประกาศว่า ผู้ค้าต้องส่งแบบฟอร์ม EBRE, IBPE ในธุรกรรมการแลกเปลี่ยน

กรมการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ธนาคารกลางเมียนมาประกาศว่า ผู้ค้าต้องส่งแบบฟอร์ม Export Bill Receivable Exemption (EBRE) และ Import Bill Payment Exemption (IBPE) ในการแลกเปลี่ยนสินค้า และบริการระหว่างประเทศคู่ค้าทางการค้า ผู้ค้าต้องส่งแบบฟอร์ม EBRE และ IBPE พร้อมใบอนุญาตการส่งออก สำเนาการสั่งซื้อ สัญญาซื้อขายของการนำเข้าการส่งออก และเอกสารที่เกี่ยวข้องอื่นๆไปยังอธิบดีของกรมการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศโดยผ่านทางอีเมล femd@cbm.gov.mm

กรมการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศจะตอบกลับเมื่อได้รับอีเมล หากไม่ได้รับอีเมลหลังจากผ่านไป 1 วันแนะนำให้ตรวจสอบอีเมลอีกครั้งหรือสอบถามกรมได้ตามเบอร์ติดต่อ 01 543511 (extension 461-462)

ผลกระทบ/โอกาส เมียนมามีกฎระเบียบใหม่ที่เกี่ยวข้องกับการค้าระหว่างประเทศ ทั้งการส่งออกและนำเข้าแบบฟอร์ม EBRE และ IBPE ดั่งกล่าวเป็นข้อกำหนดที่ผู้ทำการค้าทางระหว่างประเทศต้องปฎิบัติตามเพื่อดำเนินการซื้อทางสินค้าระหว่างประเทศของเมียนมา

ข้อคิดเห็น/ข้อเสนอแนะ ภาคเอกชนไทยที่สนใจตลาดเมียนมา จำเป็นต้องติดตามสถานการณ์และกฎระเบียบต่างๆของเมียนมา ทั้งกฎระเบียบการส่งออกจากเมียนมา การขอใบอนุญาตนำเข้า ตลอดจนกฎระเบียบเรื่องการชำระเงินและอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงกฎระเบียบข้องบังคับตลอดเวลา

ที่มา: Global New Light Of Myanmar (www.gnlm.com.mm)

3.3 เมียนมาได้ดำเนินการเพื่อลดธุรกรรมการเงินนอกระบบอย่างต่อเนื่อง

หลังจากธนาคารกลางเมียนมา (CBM : Central Bank of Myanmar) ถูกจัดอันดับเป็นประเทศที่มีความเสี่ยงสูงด้านการเงิน โดยคณะทำงานเฉพาะเรื่องการเงิน (FATF : Financial Action Task Force) ตั้งแต่ปลายปี 2565 โดยล่าสุดมีเรื่องดังกล่าวมีการดำเนินการที่ดีขึ้น เนื่องจากเมียนมาได้ดำเนินการเรื่องการต่อต้านฟอกเงินและต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินต่อการร้ายอย่างต่อเนื่อง เช่น การควบคุมธุรกรรมการเงินนอกระบบ การปิดเพจ Facebook การเงินนอกระบบ เป็นต้น

ผลกระทบ/โอกาส การดำเนินการเพื่อลดธุรกรรมการเงินนอกระบบอย่างต่อเนื่องของเมียนมา เป็นแนวโน้มสำคัญให้ภาคธุรกิจต้องปรับตัวและใช้ธุรกรรมการเงินในระบบ แม้ว่าอัตราแลกเปลี่ยนในระบบยังไม่เป็นราคาตลาดทั้งหมด อย่างไรก็ตาม    มีแนวโน้มการผ่อนคลายเป็นอัตราตลาดในสัดส่วนมากขึ้นเรื่อยๆ

ข้อคิดเห็น/ข้อเสนอแนะ เมียนมาดำเนินการเพื่อลดธุรกรรมการเงินนอกระบบอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งเริ่มผ่อนคลายอัตราแลกเปลี่ยนเป็นราคาตลาดมากขึ้นเรื่อยๆ อย่างไรก็ตาม หากอัตราแลกเปลี่ยนในระบบยังไม่เป็นราคาตลาดทั้งหมด ก็มีความเป็นไปได้ในการลักลอบให้บริการและใช้ธุรกรรมการเงินนอกระบบ ซึ่งภาคธุรกิจต้องมีความระมัดระวัง วางแผนนธุรกรรมการเงินในระบบให้เหมาะสม และหลีกเลี่ยงการใช้ธุรกรรมการเงินนอกระบบ เนื่องจากเมียนมามีการดำเนินการเพื่อลดธุรกรรมการเงินนอกระบบอย่างต่อเนื่องดังกล่าว

ที่มา: Global New Light Of Myanmar (www.gnlm.com.mm)

3.4 ข่าวอัพเดทกฎระเบียบการนำเข้าของเมียนมา

ข้อมูลกฎระเบียบการนำเข้าของเมียนมา 7+4”Priority List ในการพิจารณาใบอนุญาตการนำเข้า (Import License) สรุปดังนี้

การค้าชายแดน (Border Trade) มีขั้นตอนการพิจารณา Import License ผ่าน EICC (Export Import Coordinating Committee) ซึ่งเป็น คกก.ชุดเล็ก จึงสะดวกคล่องตัวกว่า คกก.ชุดใหญ่ หรือ FESC (Foreign Exchange Supervisory Committee) โดยหากเป็นการค้าระหว่างประเทศ (Normal Trade / Sea Freight) ทุกสินค้า ต้องผ่าน FESC ส่วนการค้าชายแดนมีเฉพาะ 7 กลุ่มสินค้า” ที่ต้องขอ Import License ผ่าน FESC ได้แก่ 1. ปุ๋ย 2. เหล็ก 3. ผลิตภัณฑ์ Solar และที่เกี่ยวข้อง 4. เม็ดพลาสติก (Polypropylene) 5. วัตถุดิบเพื่อผลิตพลาสติก 6. ยานยนต์ commercial use และ 7. เครื่องจักร commercial use

ส่วน “4 กลุ่มสินค้า” ที่ได้รับการยกเว้นให้สามารถเก็บไว้ในคลังสินค้าทัณฑ์บน (Bonded Warehouse) ได้ ก่อนได้รับ Import License ได้แก่ 1. ยาคนและยาสัตว์ 2. รถยนต์ไฟฟ้าและชิ้นส่วน 3. วัตถุดิบและสารเคมีเพื่อผลิตในอุตสาหกรรม และ 4. วัตถุดิบเพื่อผลิตอาหาร

โดย Import License มี Priority List กลุ่มสินค้านำเข้า 3 ลำดับความสำคัญ ในการพิจารณาอนุญาต ดังนี้

ความสำคัญลำดับ 1 ได้แก่ ปัจจัยการผลิตสินค้าเกษตร วัตถุดิบเพื่อการผลิต ยา น้ำมันเชื้อเพลิง

ความสำคัญลำดับ 2 ได้แก่ วัสดุก่อสร้าง เครื่องจักรและชิ้นส่วน

ความสำคัญลำดับ 3 ได้แก่ สินค้าอุปโภคบริโภค ยานยนต์สำหรับใช้เชิงพาณิชย์

ผลกระทบ/โอกาส กฎระเบียบการค้าของเมียนมามีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ซึ่งเป็นทั้งผลกระทบและโอกาสทางธุรกิจที่ภาคเอกชนต้องติดตามข้อมูลเพื่อนำไปพิจารณาและปรับใช้วางแผนธุรกิจให้เหมาะสมต่อไป

ข้อคิดเห็น/ข้อเสนอแนะ การค้าระหว่างประเทศกับเมียนมา โดยเฉพาะการนำเข้าเมียนมา ต้องได้รับใบอนุญาตการนำเข้า (Import License) เนื่องจากเมียนมามีนโยบายควบคุมและจำกัดการนำเข้าเท่าที่จำเป็น ตามลำดับความสำคัญ (Priority List 1-3) รวมทั้งมีขั้นตอนการพิจารณา Import License และกลุ่มสินค้าที่เป็นเงื่อนไขในการพิจารณาหรือผ่อนคลายให้ยืดหยุ่นมากขึ้น เช่น 4 กลุ่มสินค้าที่ได้รับการยกเว้นให้สามารถเก็บไว้ใน Bonded Warehouse ก่อนได้รับ Import License เป็นต้น ซึ่งภาคเอกชนต้องติดตามข้อมูลกฎระเบียบ ข้อมูลอื่นๆ และสถานการณ์ที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำไปพิจารณาและปรับใช้วางแผนธุรกิจให้เหมาะสมต่อไป

ที่มา: งานสัมมนา Myanmar Update in Law

ヤンゴン海外貿易促進事務所

 กรกฎาคม 2567

jaJapanese