สถานการณ์ยางรถจักรยานยนต์

  • อุตสาหกรรมยางล้อของโลกได้พัฒนาเป็นกลุ่มอุตสาหกรรมที่เข้มข้นสูง (กลุ่มอุตสาหกรรมที่มีการเติบโตทางเศรษฐกิจ มีการปรับปรุงคุณภาพและประสิทธิภาพ และมีการแข่งขันสูง) การผลิตและการบริโภคยางรถจักรยานยนต์ทั่วโลกส่วนใหญ่กระจุกตัวอยู่ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ยุโรป และอเมริกาเหนือ
  • ตลาดยางรถจักรยานยนต์ทั่วโลกมีการแข่งขันสูงเช่นกัน โดยส่วนแบ่งตลาดส่วนใหญ่ครองตำแหน่งโดยบริษัทยักษ์ใหญ่ 10 อันดับแรก อาทิ มิชลิน บริดสโตน กู๊ดเยียร์ ฯลฯ ซึ่งมีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับในประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์และมีความได้เปรียบในการแข่งขันทั้งด้านนวัตกรรมทางเทคโนโลยี การขยายตลาด และการสร้างแบรนด์
  • อย่างไรก็ดี สิ่งที่น่าจับตาก็คืออุตสาหกรรมยางล้อค่อยๆเปลี่ยนผ่านไปยังภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เนื่องจากการเติบโตทางเศรษฐกิจของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ความต้องการของตลาดขนาดใหญ่ รวมทั้งระบบห่วงโซ่การผลิตและการขนส่งที่สมบูรณ์แบบมากขึ้น บริษัทยางล้อยักษ์ใหญ่ระดับนานาชาติหลายเจ้าได้เพิ่มการลงทุนในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก โดยสร้างฐานการผลิตและศูนย์วิจัยและพัฒนาเพื่อขยายตลาดในภูมิภาคและขยายไปยังพื้นที่โดยรอบ
  • ทั้งนี้ ในส่วนอุตสาหกรรมยางล้อรถจักรยานยนต์ของจีน ได้เริ่มมีการพัฒนาต่อเนื่องนับแต่มีการปฏิรูปและเปิดประเทศ บริษัทยางรถจักรยานยนต์ท้องถิ่นของจีนมีการพัฒนานวัตกรรมการผลิต การปรับปรุงคุณภาพของผลิตภัณฑ์ การลดต้นทุนการผลิต และความได้เปรียบด้านราคา (โดยเฉลี่ยราคายางนอกมีราคา 60.1 หยวนต่อเส้น (~50 บาท) และยางในมีราคาเฉลี่ย 13.6 หยวน (~68 บาท) ต่อเส้น) ส่งผลให้แบรนด์ยางรถจักรยานยนต์ท้องถิ่นของจีนสามารถแข่งขันกับแบรนด์ต่างชาติได้
  • ความต้องการของผู้บริโภคที่หลากหลาย ทำให้ตลาดยางรถจักรยานยนต์มีโอกาสเปิดกว้างในการพัฒนารูปแบบที่หลากหลาย โดยภูมิภาคเอเชีย แอฟริกา และลาตินอเมริกา มีการขยายตัวของตลาดรถจักรยานยนต์ที่สำคัญ อีกทั้งศักยภาพของตลาดยางล้อรถจักรยานยนต์ก็ยังมีขนาดใหญ่ จึงเป็นโอกาสในการขยายไปยังตลาดเกิดใหม่เหล่านี้
  • ทั้งนี้ พบว่าสถานการณ์การผลิตและจำหน่ายรถจักรยานยนต์ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมต่อเนื่องของยางรถจักรยานยนต์ ในช่วงก่อนหน้ามีแนวโน้มสูงขึ้น แต่ปัจจุบันมีแนวโน้มลดลงเล็กน้อย โดยในช่วง ม.ค.-ส.ค. 2567 มียอดการผลิต09 ล้านคน ลดลงร้อยละ -3.65 จากปีก่อน และยอดจำหน่าย 13.08 ล้านคัน ลดลงร้อยละ -1.01 จากปีก่อน อย่างไรก็ดี การส่งออกมีแนวโน้มสูงขึ้น โดยในช่วง ม.ค.-ส.ค. 2567 มีการส่งออก 7.09 ล้านคัน เพิ่มขึ้นร้อยละ +26.12 เป็นไปตามกลยุทธ์การผลักดันการส่งออกยานยนต์ของจีน

สถานการณ์ยางล้อรถจักรยานยนต์ในจีน

สถานการณ์ยางล้อรถจักรยานยนต์ในจีน

  • นอกจากนี้ ยางรถจักรยานยนต์ของจีนมีแนวโน้มขยายตัวการส่งออกอย่างต่อเนื่อง โดยในช่วง ม.ค.-ส.ค. 2567 มีมูลค่าการส่งออก98 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.50 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และมีมูลค่าการนำเข้า 17.35 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงเล็กน้อยร้อยละ -0.01 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยเป็นการนำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 1 คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 32.7 และการเติบโตเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.47

สถานการณ์ยางล้อรถจักรยานยนต์ในจีน

แนวโน้มการพัฒนาของอุตสาหกรรมยางรถจักรยานยนต์ของจีน

 

ความก้าวหน้าของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จึงได้มีการนำวัสดุใหม่มาใช้อย่างแพร่หลายในการผลิตยางรถจักรยานยนต์มากขึ้น วัสดุใหม่เหล่านี้ไม่เพียงแต่ช่วยเพิ่มความทนทาน ความต้านทานการเจาะ และความหนาแน่นของยาง แต่ยังช่วยลดความต้านทานการหมุนของยาง ซึ่งช่วยประหยัดน้ำมันและประสิทธิภาพในการขับขี่ นอกจากนี้ การออกแบบโครงสร้างยางยังได้รับการปรับให้เหมาะสมอย่างต่อเนื่อง ยกตัวอย่าง ความนิยมยางตัน ไม่เพียงแต่ช่วยลดความยุ่งยากของโครงสร้างยาง แต่ยังช่วยเพิ่มความหนาแน่นและความปลอดภัยของยางด้วย ในขณะเดียวกัน ยางรถจักรยานยนต์พรีเมี่ยมบางรุ่นยังได้มีการออกแบบลวดลายพิเศษและดอกยางเพื่อตอบสนองสภาพถนนและความต้องการในการขับขี่ที่แตกต่างกัน

 

ด้วยกระแสความตระหนักด้านสิ่งแวดล้อมของโลก ยางรถจักรยานยนต์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม จึงกลายเป็นเทรนด์ใหม่ในตลาด บริษัทผู้ผลิตต่างให้ความสำคัญกับการรีไซเคิลยางและการปกป้องสิ่งแวดล้อมในกระบวนการผลิตมากขึ้น เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคที่ต้องการผลิตภัณฑ์รักษ์โลก

 

ความเห็นของสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ เมืองชิงต่าว

จีนยังเป็นประเทศที่มีเจ้าของรถจักรยานยนต์มากเป็นอันดับ 2 ของโลก ประมาณ 100 ล้านคัน ซึ่งถือว่าตลาดมีขนาดใหญ่และมีการเติบโตอยู่ในทิศทางที่ดี อีกทั้งการขับขี่รถจักรยานยนต์เพื่อการขนส่งและการเดินทางในเขตเมืองในจีนมีมากขึ้นอย่างชัดเจน โดยจีนมีไทยเป็นแหล่งนำเข้าอันดับ 1 ทั้งนี้ ไทยถือเป็นผู้ส่งออกยางล้อรถจักรยานยนต์อันดับ 3 ของโลก โดยมีจีนเป็นตลาดส่งออกอันดับ 9 (คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 5 ของมูลค่าการส่งออกยางล้อรถจักรยานยนต์ของไทย) ซึ่งทำให้ห่วงโซ่อุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ อย่างอุตสาหกรรมยางล้อรถจักรยานยนต์และอุตสาหกรรมยางพาราที่เป็นวัตถุดิบในการผลิตยางล้อยังคงมีความต้องการเพิ่มขึ้น ตลาดยางล้อรถจักรยานยนต์จึงยังมีโอกาสสำหรับการส่งออกของไทย

 

แหล่งที่มา

https://www.chinairn.com/hyzx/20240925/142609554.shtml

https://caifuhao.eastmoney.com/news/20240919110822346771160

https://www.chyxx.com/industry/1167424.html

https://www.163.com/dy/article/JCELSNEB051481OF.html

https://chejiahao.autohome.com.cn/info/14786131

 

******************************

 

青島海外貿易促進事務所

jaJapanese