อาหารว่างหรือของว่าง (snack food หรือ snack) หมายถึง อาหารที่รับประทานในยามว่าง พักผ่อน พกพาสะดวกและรับประทานได้ง่าย โดยระหว่างรับประทานอาหารว่างผู้บริโภคสามารถรู้สึกถึงความสุขและผ่อนคลายในระดับหนึ่ง ทำให้อาหารว่างกลายเป็นที่นิยมสำหรับผู้บริโภคสมัยใหม่ การพัฒนาตลาดอาหารว่างมีความเกี่ยวข้องอย่างลึกซึ้งกับสภาพสังคมและเศรษฐกิจจีน จากการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในจีนอย่างต่อเนื่อง ทำให้ระดับรายได้ของชาวจีนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และความสามารถการใช้จ่ายซื้อของของผู้บริโภคชาวจีนก็เพิ่มขึ้น ทำให้อาหารว่างกลายเป็นอีกหนึ่งความต้องการที่จำเป็นในชีวิตประจำวันของผู้บริโภค โดยในอนาคตตลาดอาหารว่างของจีนจะมีศักยภาพและมูลค่ามหาศาล
1. มูลค่าตลาดอาหารว่างของจีน
จากข้อมูลการสำรวจพบว่า มูลค่าตลาดอาหารว่างของจีนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2553 มูลค่าตลาดอาหารว่างของจีนมีมูลค่ารวมทั้งสิ้น 410,000 ล้านหยวน และขยับเพิ่มขึ้นเป็น 1,165,400 ล้านหยวน ในปี 2565 และคาดว่าในปี 2570 จะมีมูลค่าประมาณ 1,237,800 ล้านหยวน ผู้เชี่ยวชาญของ iiMedia Research เผยว่า เนื่องจากรายได้ของประชาชนจีนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้ผู้บริโภคมีความต้องการอาหารว่างที่มีนวัตกรรมใหม่และมีคุณภาพสูงขึ้น ซึ่งสัดส่วนอาหารว่างแบบดั้งเดิมได้ถูกทดแทนด้วยอาหารว่างรูปแบบใหม่
2. โครงสร้างตลาด
ประเภทของผลิตภัณฑ์อาหารว่างในตลาดจีนมีความหลากหลาย โดยขนมและเนื้อสัตว์ ปรุงรสมีสัดส่วนมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 38 ของสัดส่วนตลาดอาหารว่างทั้งหมด จากการตระหนักถึงการดูแลสุขภาพ ผู้บริโภคชาวจีนมีความกระตือรือร้นเกี่ยวกับการซื้ออาหารว่างแปรรูปจากเนื้อสัตว์ที่มีไขมันต่ำและให้โปรตีนสูง จึงทำให้ความต้องการอาหารว่างประเภทดังกล่าวเพิ่มมากขึ้น ขณะที่ขนมเบเกอรี่ครองสัดส่วนตลาดเป็นอันดับ 2 คิดเป็นร้อยละ 34 โดยปัจจุบันผู้ประกอบที่ดำเนินธุรกิจเบเกอรี่ในจีนค่อนข้างกระจัดกระจาย ได้แก่ แบรนด์ Dali Foods Group, Toly Bread Panpan, Aout Panpan foods, และ Orion
3. กลุ่มผู้บริโภค
4. พฤติกรรมผู้บริโภค
4.1 อาหารว่างที่รับประทานพร้อมกับชายามบ่ายได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น
จากข้อมูลการสำรวจพบว่า ผู้บริโภคมากกว่าร้อยละ 80 นิยมรับประทานอาหารว่างพร้อมกับการจิบชายามบ่าย โดยน้ำชาและเค้กได้กลายเป็นการบริโภคอาหารว่างที่สำคัญในช่วงตลอดทั้งวัน นอกจากนี้ ผู้บริโภคมากกว่าร้อยละ 60 นิยมทานอาหารว่างเพื่อทดแทนมื้ออาหารปกติ และแนวโน้มของอาหารว่างเพื่อสุขภาพได้กลายเป็นความต้องการใหม่ในปัจจุบัน
4.2 อาหารว่างที่ทำจากพืชได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่อง
จากกระแสรักสุขภาพ ทำให้ผู้บริโภคชาวจีนหันมาให้ความสนใจอาหารว่างที่ทำจากพืช ได้แก่ โยเกิร์ตจากพืช ผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์จากพืช เป็นต้น เนื่องจากมีประโยชน์ต่อสุขภาพและสามารถควบคุมรูปร่างได้
5. ช่องทางการจำหน่ายผลิตภัณฑ์อาหารว่างในตลาดจีน
6. ตัวอย่างแบรนด์อาหารว่างที่ได้รับความนิยมในตลาดจีน
7. แนวโน้มตลาดอาหารว่างของจีน
7.1 ขนาดตลาดอาหารว่างมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง
จากข้อมูลจำนวนวิสาหกิจใหม่ในอุตสาหกรรมอาหารว่างของจีนมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องโดยในปี 2565 มีบริษัทที่ดำเนินธุรกิจอาหารว่างเพิ่มขึ้นจำนวน 147,416 บริษัท ภายใต้แรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจของจีน ผู้ประกอบการจีนส่วนใหญ่ได้ผลิตสินค้าอาหารว่างออกสู่ตลาด โดยการตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคให้หลากหลาย เฉพาะทาง และจากการยกระดับรายได้ของผู้บริโภคจีน คาดว่าในอนาคตอุตสาหกรรมอาหารว่างในจีนจะขยายตัวอย่างต่อเนื่องและมีการแข่งขันในตลาดอย่างดุเดือด
7.2 อุตสาหกรรมอาหารว่างของจีนกำลังพัฒนาไปสู่ “กระแสการรักสุขภาพ”
จากสถิติพบว่ามีผู้บริโภคชาวจีนเพียงร้อยละ 1.9 เท่านั้นที่ไม่สนใจดูรายการส่วนผสมของผลิตภัณฑ์อาหารว่าง จากการยกระดับการบริโภคและการเพิ่มพูนความรู้ทางโภชนาการ ผู้บริโภคส่วนใหญ่หันมาให้ความสนใจกับส่วนผสมของผลิตภัณฑ์ โดยส่วนผสมของเกลือ น้ำตาลและไขมันได้กลายเป็นตัวชี้วัดที่สำคัญว่าอาหารว่างประเภทดังกล่าวดีต่อสุขภาพหรือไม่ ขณะที่ส่วนผสมที่ “ไม่มีน้ำตาล ไม่มีไขมัน และแคลอรี่ต่ำ” กลายเป็นตัวแปรสำคัญใน การขับเคลื่อนอุตสาหกรรมอาหารว่างให้พัฒนาไปสู่กระแสการรักสุขภาพ
ความคิดเห็น สคต.
ปัจจุบันเทรนด์การบริโภคอาหารว่าง (Snack Food หรือ Snack) ในตลาดจีนมีการเปลี่ยนแปลงไป โดยผู้บริโภคชาวจีนส่วนใหญ่หันไปซื้ออาหารว่างผ่านช่องทางออนไลน์เพิ่มมากขึ้น จึงทำให้ผู้ประกอบการทั้ง รายเก่าและสตาร์ทอัปหันมาทำการค้าผ่านตลาดออนไลน์มากขึ้น โดยการนำเสนอผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ เป็นที่ดึงดูดและดีต่อสุขภาพออกสู่ตลาดเพื่อเป็นทางเลือกให้กับผู้บริโภคจีนอย่างต่อเนื่อง
จึงเป็นอีกหนึ่งโอกาสของผู้ประกอบการไทยในการขยายฐานการค้าเข้ามายังตลาดจีน โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ที่มีวัตถุดิบจากธรรมชาติ น้ำตาลน้อย รับประทานแล้วเป็นประโยชน์ต่อร่างกาย และที่สำคัญควรออกแบบให้พกพาง่าย สะดวกในการรับประทานและเซ็ตของขวัญ โดยผู้ประกอบการไทยสามารถทำการตลาดแบบบูรณาการ (Integrated Marketing Communication หรือ IMC) ด้วยการใช้ช่องทางทั้ง “ออนไลน์” และ “ออฟไลน์” เพื่อให้เกิดประโยชน์มากที่สุด โดยช่องทางออฟไลน์ผู้ประกอบการไทยสามารถเข้าร่วมงานแสดงสินค้า THAIFEX – Anuga Asia 2023 หรืองานแสดงสินค้าอาหารในประเทศจีนที่จัดขึ้นในมณฑลต่าง ๆ เพื่อหาคู่ค้าและตัวแทนจำหน่ายให้ได้ ส่วนทางออนไลน์สามารถทำกลยุทธ์ผ่านการ Live Streaming บนแพลตฟอร์มค้าปลีกชื่อดังต่างๆในจีน เพื่อสร้างการรับรู้ของแบรนด์ รวมทั้งให้ Influencer เขียนบล็อกแนะนำสินค้า การเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ด้วยการสร้าง Story สินค้า และการสอดแทรกวัฒธรรมไทยผ่านแพลตฟอร์ม Red Book หรือ Weibo เป็นต้น เพื่อสร้างการติดตามและความสนใจของกลุ่มผู้บริโภค
ดังนั้น การศึกษาภาพรวมตลาด พฤติกรรมการบริโภค แนวโน้ม กฎระเบียบและการจดเครื่องหมายการค้าในตลาดจีนก็เป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการไทยไม่ควรมองข้าม
*****************************************
แหล่งที่มา: https://mp.weixin.qq.com/s/ICz-pvthvQ74VFQZxIU5jQ
https://mp.weixin.qq.com/s/SoR2ExFiUunTdbtqzK-6RQ
สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครคุนหมิง