Snack Food กลายเป็นอาหารยอดนิยมในสหรัฐฯ   

( สคต. ลอสแอนเจลิส ฉบับวันที่ 29 พฤษภาคม – 2 มิถุนายน 2566 )

วิกฤต COVID-19 ได้เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการบริโภคและการดำรงชีวิตของคนอเมริกัน กระตุ้นความต้องการบริโภคอาหารประเภท comfort food เพื่อความสะดวกสบายในการดำรงชีวิต นำไปสู่การเติบโตของความต้องการบริโภคอาหารประเภทขนมขบเคี้ยว (snack) ปัจจุบันคนอเมริกันจำนวนมากบริโภค snack ตลอดทั้งวันหรือเกือบตลอดทั้งวัน ทั้งที่บ้านและที่ทำงาน แม้กระทั่งบริโภคแทนมื้ออาหาร โดยเฉพาะคนอเมริกันกลุ่ม Millennials และ Gen Z มีแนวโน้มว่าในแต่ละวันจะบริโภค snack ในอัตราเฉลี่ยสูงกว่าผู้บริโภคกลุ่มอื่นร้อยละ 10 ส่งผลให้มูลค่าอุตสาหกรรมขนมขบเคี้ยวของสหรัฐฯ พุ่งสูงถึง 181 พันล้านเหรียญฯ มีอัตราเติบโตสูงกว่าการผลิตประเภทอาหารอื่นๆ นอกจากนี้ ยังเป็นสินค้าอาหารที่ขายดีและสร้างผลกำไรให้แก่อุตสาหกรรมค้าปลีกสหรัฐฯ snack ที่ได้รับความนิยมบริโภคมากที่สุดในสหรัฐฯ คือ คุกกี้และลูกอม

แม้ว่าสถานการณ์เงินเฟ้อจะสร้างแรงกดดันด้านราคาให้สินค้าอาหารที่เป็นแบรนด์ของบริษัทผู้ผลิตรายใหญ่ ทำให้ผู้บริโภคหันไปบริโภค private brand ที่มีราคาถูกกว่าแทน แต่แรงกดดันเรื่องราคาไม่เกิดขึ้นกับสินค้า snack ผู้บริโภคยังคงซื่อสัตย์ต่อแบรนด์ของบริษัทผู้ผลิตรายใหญ่ที่มีสินค้าวางจำหน่ายแพร่หลายและเป็นที่รู้จักมานาน มีรายงานว่าในปีงบประมาณ 2019 และ 2022 ยอดขายของ Hershey และ Modelez International ผู้ผลิต snack รายใหญ่ในสหรัฐฯ เติบโตร้อยละ 30 และ 22 ตามลำดับ บริษัทห้างค้าปลีกเครือข่าย Kroger รายงานยอดขาย snack ของร้านค้าในเครือมีอัตราการเติบโตสูงมากเช่นกัน

กระแสความนิยมและการเติบโตของความต้องการบริโภคทำให้บริษัทผู้ผลิตอาหารรายใหญ่ของสหรัฐฯ และ Startups จำนวนมากเข้าสู่ตลาด snack เพิ่มขึ้น Startups ส่วนใหญ่จะนำเสนอ snack ที่เป็นนวัตกรรมใหม่ๆ เช่น salad bars ที่ผลิตจากผัก kale และ spinach และ noodles ในรูปของ chip

 

Snack Food กลายเป็นอาหารยอดนิยมในสหรัฐฯ

Snack Food กลายเป็นอาหารยอดนิยมในสหรัฐฯ

 

Snack Food กลายเป็นอาหารยอดนิยมในสหรัฐฯ

หมายเหตุ: ข่าวข้างบนนี้เป็นข้อมูลที่ได้มาจากแหล่งข้อมูลหลายแห่งที่จัดทำและนำเสนอข้อมูลเปิดเผยต่อสาธารณชนทั่วไป และบางส่วนเป็นความเห็นส่วนบุคคล สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครลอสแอนเจลิส นำมารวบรวมเผยแพร่เพื่อแก่ผู้สนใจ เนื่องจากเป็นข้อมูลและความเห็นจากบุคคลที่สาม การนำข้อมูลเหล่านี้ไปใช้ ไม่ว่าในกรณีใดๆ ขึ้นอยู่กับวิจารณญาณเฉพาะบุคคล สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครลอสแอนเจลิส ไม่ขอรับผิดชอบต่อความเสียหายใดๆที่อาจเกิดขึ้นจากการนำข้อมูลเหล่านี้ไปใช้

ข้อมูลเพิ่มเติม ความเห็นของ สคต.ลอสแอนเจลิส

วิกฤต COVID-19 นำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงของสภาพเศรษฐกิจ สังคม และสภาพจิตใจของคนอเมริกันจำนวนมากที่มีความเครียดในการดำรงชีวิตเพิ่มสูงขึ้น snack food ที่โดยธรรมชาติแล้วเป็นอาหารที่บริโภคเพื่อลดความเครียด ปัจจุบันยังช่วยบรรเทาปัญหาเศรษฐกิจในสถานการณ์ที่ราคาสินค้าอาหารต่างๆ พุ่งสูงขึ้น snack food หลายรายการจึงถูกนำไปบริโภคทดแทนอาหารที่เป็นมื้อหลัก สคต.ลอสแอนเจลิสมีความเห็นว่า snack food เป็นสินค้าที่มีศักยภาพสูงสำหรับผู้ผลิตสินค้าอาหารของไทยและมีข้อแนะนำสำหรับผู้สนใจเข้าสู่ตลาด snack food สหรัฐฯ ดังนี้

  1. ผู้ผลิต/ผู้ประกอบการที่ยังไม่เคยเข้าตลาดสหรัฐฯ ต้องดำเนินการคือ การศึกษากฎระเบียบการผลิตสินค้าอาหารของ S. Food and Drug Administration: USFDA (www.fda.gov) ที่ทำหน้าที่บริหารจัดการกฎระเบียบความปลอดภัยของสินค้าอาหาร โดยมีรายละเอียดที่สำคัญดังนี้
  • สิ่งสำคัญอันดับแรก คือ การจดทะเบียนโรงงานกับ USFDA (https://www.fda.gov/food/guidance-regulation-food-and-dietary-supplements/registration-food-facilities-and-other-submissions) โดยต้องมีตัวแทนอยู่ในสหรัฐฯ (U.S. Agent) ทำหน้าที่เป็นคนกลางในการสื่อสารระหว่าง USFDA และโรงงาน และต้องระบุยินยอมให้ USFDA ส่งเจ้าหน้าที่เข้าไปตรวจโรงงานได้เมื่อต้องการ เป้าหมายของการจดทะเบียนโรงงานผลิต คือการกำหนดหมายเลขของแต่ละโรงงานสำหรับนำไปใช้ระบุแจ้งในเอกสารนำเข้าสหรัฐฯ เพื่อเจ้าหน้าที่สามารถนำไปใช้ในการตรวจสอบแหล่งที่มาของอาหารได้
  • ศึกษากฎระเบียบอื่นๆ ที่สำคัญคือ ระบบการผลิตที่ต้องเป็น GMPs (Good Manufacturing Practices) กฎระเบียบและแนวทางการปิดฉลากสินค้า (https://www.fda.gov/files/food/published/Food-Labeling-Guide-%28PDF%29.pdf) และการใช้ส่วนผสมตามที่กฎหมายยินยอม

 

หมายเหตุ: ข่าวข้างบนนี้เป็นข้อมูลที่ได้มาจากแหล่งข้อมูลหลายแห่งที่จัดทำและนำเสนอข้อมูลเปิดเผยต่อสาธารณชนทั่วไป และบางส่วนเป็นความเห็นส่วนบุคคล สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครลอสแอนเจลิส นำมารวบรวมเผยแพร่เพื่อแก่ผู้สนใจ เนื่องจากเป็นข้อมูลและความเห็นจากบุคคลที่สาม การนำข้อมูลเหล่านี้ไปใช้ ไม่ว่าในกรณีใดๆ ขึ้นอยู่กับวิจารณญาณเฉพาะบุคคล สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครลอสแอนเจลิส ไม่ขอรับผิดชอบต่อความเสียหายใดๆที่อาจเกิดขึ้นจากการนำข้อมูลเหล่านี้ไปใช้

 

2. เนื่องจาก snack food เป็นตลาดที่มีการแข่งขันสูงมาก จำเป็นที่ต้องสร้างความสามารถในการแข่งขัน สินค้าควรมีความแตกต่าง โดดเด่นจากสินค้าอื่น ตั้งแต่ตัวสินค้า บรรจุภัณฑ์ จนถึงการกำหนดราคาบนพื้นฐานของพฤติกรรมและความต้องการของผู้บริโภค คือ

(1) มีรสชาติอร่อย มีประโยชน์ และไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ปัจจุบันคนอเมริกันมีแนวโน้มลดการบริโภคน้ำตาลและเกลือ เพราะเชื่อว่ามีโทษมากกว่าคุณประโยชน์ คนอเมริกันรุ่นหนุ่มสาวกลุ่ม Millennials และ Gen Z ที่เป็นตลาดหลักของ snack food มีพฤติกรรมการบริโภคที่แตกต่างจากการบริโภคแบบดั้งเดิมของคนอเมริกันรุ่นก่อน และมีแนวโน้มนิยมรับประทานอาหารรสชาติแปลกๆ ของชนเชื้อชาติต่างๆ โดยเฉพาะรสชาติ “spicy” นอกจากนี้ ยังมีแนวโน้มสนใจบริโภคอาหารที่ผลิตจากข้าวสูงกว่าผู้บริโภคกลุ่มอื่น

(2) บรรจุภัณฑ์ ที่นอกจากจะต้องตอบสนองต่อความต้องการความสะดวกสบายในการนำติดตัวไปได้ทุกหนแห่งและความสะดวกสบายในการเปิดใช้เพื่อการบริโภคแล้ว ยังต้องสามารถสร้างความโดดเด่นออกจากคู่แข่งเมื่อวางบนชั้นจำหน่ายสินค้า ลักษณะธุรกิจของตลาดค้าปลีกที่เป้าหมายในการวางจำหน่ายสินค้ามีความสำคัญต่อการทำขนาดบรรจุภัณฑ์สินค้า โดยขนาดบรรจุภัณฑ์ควรแตกต่างกันระหว่างร้านค้าปลีกทั่วไปและร้านค้าปลีกที่เป็น mass merchandise retail

(3) การกำหนดราคาสินค้าที่เหมาะสม จะช่วยเพิ่มโอกาสการขายได้มากยิ่งขึ้นในสภาพเศรษฐกิจปัจจุบัน

(4) ธุรกิจค้าปลีกที่เป็นตลาดหลักของการค้า snack food ในสหรัฐฯ คือธุรกิจ convenience stores ซึ่งเป็นการซื้อสินค้าในลักษณะ Grab and Go

Snack Food กลายเป็นอาหารยอดนิยมในสหรัฐฯ

 

Snack Food กลายเป็นอาหารยอดนิยมในสหรัฐฯ

 

Snack Food กลายเป็นอาหารยอดนิยมในสหรัฐฯ

 

หมายเหตุ: ข่าวข้างบนนี้เป็นข้อมูลที่ได้มาจากแหล่งข้อมูลหลายแห่งที่จัดทำและนำเสนอข้อมูลเปิดเผยต่อสาธารณชนทั่วไป และบางส่วนเป็นความเห็นส่วนบุคคล สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครลอสแอนเจลิส นำมารวบรวมเผยแพร่เพื่อแก่ผู้สนใจ เนื่องจากเป็นข้อมูลและความเห็นจากบุคคลที่สาม การนำข้อมูลเหล่านี้ไปใช้ ไม่ว่าในกรณีใดๆ ขึ้นอยู่กับวิจารณญาณเฉพาะบุคคล สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครลอสแอนเจลิส ไม่ขอรับผิดชอบต่อความเสียหายใดๆที่อาจเกิดขึ้นจากการนำข้อมูลเหล่านี้ไปใช้

 

  1. ผู้ประกอบการไทยที่สนใจขยายตลาดขนมขบเคี้ยวมายังตลาดสหรัฐฯ อาจพิจารณานำสินค้าวางขายทางออนไลน์ผ่าน TOPTHAI on Amazon.com (ติดต่อสำนักตลาดพาณิชย์ดิจิทัล กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ) หรือ Weee! แพลตฟอร์ม Asian & Hispanic Grocery ที่ได้รับความนิยมในกลุ่มผู้ซื้อรุ่นใหม่
  2. งานแสดงสินค้าอาหารและขนมขบเคี้ยวที่น่าสนใจในสหรัฐฯ
  • Natural Product Expo งานแสดงสินค้าออร์แกนิกส์และสินค้าจากธรรมชาติที่ใหญ่ที่สุดในสหรัฐฯ จัดขึ้น 2 ครั้งต่อปี
  • West จัดขึ้นช่วงเดือนมีนาคมของทุกปี ที่เมืองอนาไฮม์ รัฐแคลิฟอร์เนีย (expowest.com)
  • East จัดขึ้นช่วงเดือนกันยายนของทุกปี ที่เมืองฟิลาเดเฟีย รัฐเพนซิลวาเนีย (expoeast.com)
  • Fancy Food (specialtyfood.com) งานแสดงสินค้าอาหาร เครื่องดื่ม และขนมขบเคี้ยว ขนาดใหญ่ในสหรัฐฯ จัดขึ้น 2 ครั้งต่อปี
  • Winter จัดขึ้นช่วงเดือนมกราคมของทุกปี ที่เมืองลาสเวกัส รัฐเนวาดา
  • Summer จัดขึ้นช่วงเดือนมิถุนายนของทุกปี ที่นิวยอร์ก รัฐนิวยอร์ก
  • SIAL America (https://sialamerica.com) งานแสดงสินค้าอาหารและเครื่องดื่ม ที่เมืองลาสเวกัส รัฐเนวาดา กำหนดการครั้งต่อไปวันที่ 19 – 21 มีนาคม 2024

—————————————————–

หมายเหตุ: ข่าวข้างบนนี้เป็นข้อมูลที่ได้มาจากแหล่งข้อมูลหลายแห่งที่จัดทำและนำเสนอข้อมูลเปิดเผยต่อสาธารณชนทั่วไป และบางส่วนเป็นความเห็นส่วนบุคคล สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครลอสแอนเจลิส นำมารวบรวมเผยแพร่เพื่อแก่ผู้สนใจ เนื่องจากเป็นข้อมูลและความเห็นจากบุคคลที่สาม การนำข้อมูลเหล่านี้ไปใช้ ไม่ว่าในกรณีใดๆ ขึ้นอยู่กับวิจารณญาณเฉพาะบุคคล สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครลอสแอนเจลิส ไม่ขอรับผิดชอบต่อความเสียหายใดๆที่อาจเกิดขึ้นจากการนำข้อมูลเหล่านี้ไปใช้

thThai