สำนักงานนโยบายเกษตรและอาหารแห่งแคนาดา เปิดเผยรายงานระบุว่า แคนาดามีแนวโน้มที่จะประสบภาวะขาดแคลนสินค้าการเกษตรมากขึ้นเรื่อยๆ ท่ามกลางความเสี่ยงด้านรอบด้าน อาทิ ความต้องการอาหารในประเทศและโลกที่เพิ่มขึ้น ข้อจำกัดในเรื่องของทรัพยากรและในด้านสิ่งแวดล้อม อีกทั้งปัจจัยด้านแรงงานที่ไม่เพียงพอ อาจทำให้ความสามารถในการผลิตสินค้าในประเทศที่มีอยู่ อาจไม่เพียงพอต่อความต้องการที่มีมากขึ้น

แคนาดาถือเป็นหนึ่งในผู้ส่งออกสินค้าการเกษตรลำดับต้นๆ ของโลก เช่น คาโนลา ข้าวสาลี ถั่วเหลือง สะท้อนได้จากปริมาณการส่งออกสินค้าเกษตรปี 2565 คิดเป็นมูลค่าราว 91,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และถือยังเป็น 1 ใน 10 ของผู้ส่งออกรายใหญ่ในรายสินค้าเกษตรประเภทข้าวสาลี คาโนล่า เนื้อหมู และเนื้อวัว ในการนี้คุณ Tyler McCann ผู้อำนวยการอาวุโสสำนักงานนโยบายเกษตรและอาหารแห่งแคนาดา กล่าวว่า แม้แคนาดาจะประเทศที่มีขนาดใหญ่และปี 2565 ได้ถูกจัดว่ามีพื้นที่ทำการเกษตรขนาดใหญ่เป็นอันดับ 8 ของโลก ขณะที่ในเวลาเดียวกันกลับเผชิญว่า แคนาดามีพื้นที่ที่สามารถทำแปลงเกษตรได้มีขนาดลดลงร้อยละ 7 หากเทียบกับช่วงเวลา 20 ปีที่ผ่านมา เนื่องจากผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศของโลกที่มีนัยสำคัญ

แคนาดาเผชิญแรงกดดันต่อผลผลิตทางการเกษตรในประเทศ

ปัจจุบันความต้องการตลาดสินค้าเกษตรมีการเพิ่มขึ้นในหลายๆ ประเทศ เนื่องจากจำนวนประชากรเพิ่มขึ้น รวมไปถึงแคนาดาเองที่มีจำนวนชาวแคนาดาเพิ่มขึ้นเช่นกัน แน่นอนว่าย่อมทำให้เกิดความกังวลต่อความมั่งคงทางอาหารต่อคนในชาติมากขึ้น ส่งผลให้ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมองหาการแก้ปัญหาที่สามารถนำมาใช้ได้อย่างเหมาะสม

ทั้งนี้ หนึ่งในทางเลือกที่หลายประเทศใช้แก้ปัญหาพื้นที่การเกษตรไม่เพียงพอ คือ การปรับปรุงพื้นที่ป่าเพื่อนำมาเพิ่มให้กับพื้นที่การเกษตร แต่วิธีนี้คงไม่เกิดขึ้นในประเทศแคนาดาอย่างแน่นอน เพราะแคนาดามีแนวคิดที่ต้องการจะสงวนพื้นที่ป่าให้ได้มากที่สุด แต่ให้เน้นทำการเกษตรแบบยั่งยืนเพื่อที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด

 

แคนาดาเผชิญแรงกดดันต่อผลผลิตทางการเกษตรในประเทศ

ในการนี้ ด้านผู้เชี่ยวชาญการเกษตรในประเทศ จึงได้เสนอแนะให้เกษตกรมีวิธีการที่เพิ่มผลผลิตแบบยั่งยืน โดยมีการใช้นโยบายที่ให้แรงจูงใจทางการเงินและความช่วยเหลือทางเทคนิคแก่เกษตรกร พร้อมกับพัฒนาในการดูแลใช้ที่ดินอย่างถูกต้อง ตลอดจนส่งเสริมรณรงค์ด้านการศึกษาและความเข้าใจในเรื่องของการเกษตรแบบยั่งยืน เพื่อที่จะรับประกันความยั่งยืนในระยะยาวของภาคการเกษตรในแคนาดา และปกป้องสิ่งแวดล้อมไปควบคู่กัน

 

ข้อคิดเห็นจากสำนักงานฯ: วิกฤตความมั่นคงทางอาหารของแคนาดามีแนวโน้มที่จะรุนแรงมากขึ้น โดยปัจจุบันพบชาวแคนาดาร้อยละ 30 รับประทานอาหารที่เป็นประโชยน์ต่อสุขภาพลดลง เนื่องจากราคาอาหารในประเทศที่แพงขึ้น โดยราคาในกลุ่มธัญพืชและผลิตภัณฑ์จากนมเป็นกลุ่มที่ราคาเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วที่สุด ในอีกทางหนึ่งมองว่า วิกฤติดังกล่าวถือเป็นโอกาสดีของภาคส่งออกอาหารและสินค้าเกษตรของไทย เพราะความต้องการสินค้าอาหารหลายชนิดจากไทยจะเพิ่มขึ้น อาทิ ข้าว ผลิตภัณฑ์จากข้าว ผักและผลไม้กระป๋อง เพื่อมาทดแทนสินค้าในกลุ่มธัญพืช และขณะเดียวกัน วิกฤตความมั่นคงทางอาหารเป็นตัวเร่งให้ไทยต้องหันมาให้ความสำคัญกับการพัฒนาเทคโนโลยีด้านการเกษตรที่ทันสมัยและนำมาปรับใช้อย่างเหมาะสม เพื่อจะได้ขับเคลื่อนไปสู่การเป็นส่วนหนึ่งของผู้ผลิตอาหารที่สำคัญของโลกในอนาคตต่อไป

ที่มาของบทความ https://www.bnnbloomberg.ca/canada-under-pressure-to-produce-more-food-protect-agricultural-land-report-1.1930537


 จัดทำโดย: นางสาวภริดา ลาภทรงสุข นักศึกษาฝึกงานจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครแวนคูเวอร์ ประเทศแคนาดา

thThai